พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7836-7837/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่-ข่มขืนใจให้เสพยาเสพติด ศาลฎีกาแก้เป็นจำคุกเฉพาะความผิดข่มขืนใจ
แม้จำเลยจะเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำผิด แต่เป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วย การร่วมเล่นการพนันไพ่รัมมี่แล้วจำเลยไม่จับกุมผู้ร่วมเล่นไพ่รัมมี่นั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร่วมเล่นการพนันหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตาม ป.อ. มาตรา 157
จำเลยได้ใช้กำลังประทุษร้ายและใช้อาวุธปืนข่มขืนใจให้ผู้เสียหายเสพเมทแอมเฟตามีนโดยวิธีสูดรับเอาควันเข้าสู่ร่างกาย การกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 93 วรรคท้าย เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้อง โจทก์คงอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยเฉพาะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 93 วรรคท้าย อันเป็นบทหนักตาม ป.อ. มาตรา 90 เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 และศาลฎีกาไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 93 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้เช่นกัน คงพิพากษาลงโทษจำเลยได้เพียงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง
ในสำนวนแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 8 เดือน ในสำนวนที่สองศาลฎีกาลงโทษจำเลยในความผิดฐานใช้กำลังประทุษร้ายข่มขืนใจผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืน ซึ่งเป็น ความผิดหลายกรรมต่างกันและศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตาม ป.อ. มาตรา 91 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า เมื่อศาลชั้นต้นรวมการพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วไม่อาจนับโทษต่อกันได้เพราะ คดีทั้งสองสำนวนได้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน ซึ่งไม่ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจึง ไม่อาจพิพากษาให้นำโทษฐานเสพเมทแอมเฟตามีนมานับโทษต่อกันตามที่ถูกต้องได้
จำเลยได้ใช้กำลังประทุษร้ายและใช้อาวุธปืนข่มขืนใจให้ผู้เสียหายเสพเมทแอมเฟตามีนโดยวิธีสูดรับเอาควันเข้าสู่ร่างกาย การกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 93 วรรคท้าย เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้อง โจทก์คงอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยเฉพาะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 93 วรรคท้าย อันเป็นบทหนักตาม ป.อ. มาตรา 90 เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 และศาลฎีกาไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 93 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้เช่นกัน คงพิพากษาลงโทษจำเลยได้เพียงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง
ในสำนวนแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 8 เดือน ในสำนวนที่สองศาลฎีกาลงโทษจำเลยในความผิดฐานใช้กำลังประทุษร้ายข่มขืนใจผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืน ซึ่งเป็น ความผิดหลายกรรมต่างกันและศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตาม ป.อ. มาตรา 91 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า เมื่อศาลชั้นต้นรวมการพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วไม่อาจนับโทษต่อกันได้เพราะ คดีทั้งสองสำนวนได้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน ซึ่งไม่ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจึง ไม่อาจพิพากษาให้นำโทษฐานเสพเมทแอมเฟตามีนมานับโทษต่อกันตามที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7728-7731/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ขัดขวางการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่โจทก์ ก่อความเสียหาย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
โจทก์ทั้งสี่มาปฏิบัติราชการทำการสอนนักศึกษาตามกระบวนวิชาที่ได้รับมอบหมาย โจทก์ทั้งสี่จึงมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษแม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จะไม่ลงเวลาทำงานตามระเบียบว่าด้วยการลงเวลาอันเป็นการผิดระเบียบก็ตาม ก็เป็นเรื่องคนละส่วนกันกับเรื่องนี้ที่จะต้องไปดำเนินการตามระเบียบข้าราชการพลเรือนอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หาได้กระทบถึงสิทธิอันมีอยู่โดยชอบในการรับเงินค่าตอบแทนพิเศษของโจทก์ทั้งสี่แต่อย่างใดไม่ ทั้งแบบฟอร์มก็เป็นแบบฟอร์มที่ให้จำเลยในฐานะหัวหน้าภาควิชารับรองการปฏิบัติราชการของอาจารย์ในภาควิชาไม่ใช่หลักฐานรับรองการลงเวลาปฏิบัติงาน จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องรับรองการปฏิบัติราชการของโจทก์ทั้งสี่และไม่มีสิทธิขีดฆ่าชื่อโจทก์ทั้งสี่ออกจากแบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษได้ นอกจากนี้จำเลยในฐานะหัวหน้าภาควิชาซึ่งมีหน้าที่รับรองการปฏิบัติราชการเพื่ออนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ จะต้องปฏิบัติการในส่วนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์โดยเคร่งครัดด้วยความเที่ยงธรรมและเสมอภาค แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่า จำเลยก็รับรองการปฏิบัติราชการและทำเรื่องขออนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษให้อาจารย์อื่นซึ่งไม่ได้ลงชื่อในบัญชีลงเวลาการปฏิบัติราชการของข้าราชการเช่นเดียวกัน แสดงว่าจำเลยไม่ใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณารับรองการปฏิบัติราชการเช่นเดียวกับที่ใช้กับโจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นการเลือกปฏิบัติและเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่ในการที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษซึ่งโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิโดยชอบที่จะได้รับ ดังนั้น การที่จำเลยไม่รับรองการปฏิบัติราชการของโจทก์ทั้งสี่และขีดฆ่าชื่อโจทก์ทั้งสี่ออกจากแบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ เพื่อขออนุมัติเบิกจ่ายในงวดประจำเดือนตามฟ้องของโจทก์ทั้งสี่ ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
แม้จำเลยจะมีเจตนาอย่างเดียวในอันที่จะไม่เสนอชื่อโจทก์ที่ 1ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในแต่ละงวดเดือน เจตนาของจำเลยเช่นว่านั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ธุรการการเงินเสนอขึ้นมาให้จำเลยพิจารณาลงลายมือชื่อรับรองการปฏิบัติราชการของโจทก์ที่ 1 เฉพาะในวันหนึ่งวันหนึ่งที่จำเลยพบเห็นแบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษในแต่ละเดือนที่เจ้าหน้าที่เสนอขึ้นมาเท่านั้น เมื่อสิ้นวันแล้วจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นอีกในงวดเดือนต่อมาก็เป็นการกระทำอีกวันหนึ่งซึ่งเป็นการกระทำต่างหากจากวันที่ล่วงมาเป็นอีกกรรมหนึ่ง ดังนั้น การที่จำเลยไม่รับรองการปฏิบัติราชการของโจทก์ที่ 1 และขีดฆ่าชื่อโจทก์ที่ 1 ออกจากฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษจำนวน 7 งวดจึงเป็นความผิด 7 กรรมต่างกันต้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91
แม้จำเลยจะมีเจตนาอย่างเดียวในอันที่จะไม่เสนอชื่อโจทก์ที่ 1ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในแต่ละงวดเดือน เจตนาของจำเลยเช่นว่านั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ธุรการการเงินเสนอขึ้นมาให้จำเลยพิจารณาลงลายมือชื่อรับรองการปฏิบัติราชการของโจทก์ที่ 1 เฉพาะในวันหนึ่งวันหนึ่งที่จำเลยพบเห็นแบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษในแต่ละเดือนที่เจ้าหน้าที่เสนอขึ้นมาเท่านั้น เมื่อสิ้นวันแล้วจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นอีกในงวดเดือนต่อมาก็เป็นการกระทำอีกวันหนึ่งซึ่งเป็นการกระทำต่างหากจากวันที่ล่วงมาเป็นอีกกรรมหนึ่ง ดังนั้น การที่จำเลยไม่รับรองการปฏิบัติราชการของโจทก์ที่ 1 และขีดฆ่าชื่อโจทก์ที่ 1 ออกจากฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษจำนวน 7 งวดจึงเป็นความผิด 7 กรรมต่างกันต้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีอาญา: ศาลมีอำนาจงดไต่สวนมูลฟ้องได้ หากมีคำพิพากษายกฟ้องในประเด็นเดียวกันแล้ว
คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโดยไม่นัดไต่สวนมูลฟ้องหรือนัดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องหรือไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องก็ได้ทั้งสิ้น เพราะเป็นดุลพินิจในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วและชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอจะวินิจฉัยชี้ขาดได้ และมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้องและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาไป ย่อมมีอำนาจกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คดีก่อนโจทก์และจำเลยทั้งแปดเป็นคู่ความรายเดียวกับคดีนี้ โดยโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งแปดร่วมกระทำความผิดในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157 เช่นเดียวกับคดีนี้ ซึ่งในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งในชั้นตรวจคำฟ้องว่า "การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าเป็นการไม่ชอบด้วยหน้าที่ โดยทุจริต หรือเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือผู้อื่นที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 อย่างไร พิพากษายกฟ้อง" เท่ากับศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วว่า การกระทำของจำเลยทั้งแปดไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ซึ่งเป็นการยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาของการกระทำของจำเลยว่าไม่ได้กระทำผิดและมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งแปดเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ เพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ได้ระงับไปแล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คดีก่อนโจทก์และจำเลยทั้งแปดเป็นคู่ความรายเดียวกับคดีนี้ โดยโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งแปดร่วมกระทำความผิดในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157 เช่นเดียวกับคดีนี้ ซึ่งในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งในชั้นตรวจคำฟ้องว่า "การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าเป็นการไม่ชอบด้วยหน้าที่ โดยทุจริต หรือเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือผู้อื่นที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 อย่างไร พิพากษายกฟ้อง" เท่ากับศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วว่า การกระทำของจำเลยทั้งแปดไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ซึ่งเป็นการยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาของการกระทำของจำเลยว่าไม่ได้กระทำผิดและมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งแปดเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ เพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ได้ระงับไปแล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายกรัฐมนตรีชอบด้วยกฎหมายและเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ได้ การร้องทุกข์และการใช้ดุลพินิจ
จำเลยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สั่งพักราชการโจทก์ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยปราศจากเหตุอันสมควรด้วยเหตุที่บริษัท ฮ. ฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และศาลชั้นต้นสั่งประทับฟ้องต่อมานายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้จำเลยยกเลิกคำสั่งพักราชการโจทก์และมีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม ซึ่งขณะนั้นตำแหน่งยังว่างอยู่ จำเลยสามารถสั่งให้เข้ารับราชการได้ทันที แต่จำเลยกลับเสนอขอกำหนดตำแหน่งที่ปรึกษา เพื่อจะให้โจทก์เข้ารับราชการในตำแหน่งดังกล่าว และได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ทบทวนคำสั่งทั้งที่จำเลยเป็นนักกฎหมายและมีประสบการณ์ในการทำงานราชการมามาก ทั้งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2535 มาตรา 126 วรรคสาม ระบุไว้ว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งการแล้วจะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเท่านั้นแม้คำสั่งดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้ปฏิบัติไว้ แต่ก็ต้องปฏิบัติตามในเวลาอันสมควร ทั้งการปฏิบัติตามก็กระทำได้โดยง่าย แต่จำเลยกลับปล่อยให้ล่วงเลยถึง 7 เดือน จึงมีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม ซึ่งเหลือเวลา 15 วัน โจทก์จะครบเกษียณอายุ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 130 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา อ.ก.พ.จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณีแต่มาตรา 130 วรรคสอง กำหนดวิธีการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ว่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. เมื่อในขณะนั้นยังไม่มีกฎ ก.พ. ที่ออกตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาบังคับใช้ จึงต้องบังคับตามมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 โดยนำกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ที่ใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับ กฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว ข้อ 7 วรรคสี่ กำหนดว่า ในกรณีที่เหตุร้องทุกข์เกิดจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ร้องต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล กรณีเช่นนี้ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ การที่โจทก์ร้องทุกข์ต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและนายกรัฐมนตรีส่งคำร้องทุกข์ของโจทก์ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาจึงชอบด้วยกฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว
กฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 3 กำหนดว่า การร้องทุกข์ในชั้นต้นร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งเสียก่อนหากได้รับคำชี้แจงไม่เป็นที่พอใจหรือไม่ได้รับคำชี้แจงภายในเจ็ดวันนับแต่วันร้องทุกข์ด้วยวาจา จึงให้ผู้ร้องทุกข์ยื่นเรื่องร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาตามข้อ 7 การกำหนดให้ร้องทุกข์ด้วยวาจาก็เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาได้มีโอกาสชี้แจงทำความเข้าใจในชั้นต้นเสียก่อนนั่นเองมิได้ถือเป็นข้อสำคัญเคร่งครัด ประกอบกับโจทก์ไม่ได้พบกับจำเลยจึงไม่อาจจะร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อจำเลย กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 4 โจทก์มีสิทธิร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีได้ตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 7
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 130 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518)ข้อ 2 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การร้องทุกข์ไว้ว่า เหตุร้องทุกข์ต้องเกิดจากผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์โดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนนั้น การปฏิบัติไม่ถูกต้องมีความหมายกว้าง รวมทั้งการใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วย
อ.ก.พ. วิสามัญฯ ตั้งขึ้นโดย ก.พ. เพื่อทำการใด ๆ แทน ก.พ.ตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2535 เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของ ก.พ. ประกอบกับกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 7 วรรคสี่ กำหนดให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์เสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ อ.ก.พ.วิสามัญฯ มีหน้าที่เพียงแต่ช่วย ก.พ.พิจารณาคำร้องทุกข์เท่านั้นถ้ามติใดของ อ.ก.พ. วิสามัญฯ มีปัญหาเป็นที่สงสัยไม่ชัดเจนก็เสนอให้ก.พ. ผู้มีอำนาจหน้าที่ที่แท้จริงพิจารณาได้ ดังนั้น การทบทวนมติของอ.ก.พ. วิสามัญฯ จึงกระทำเพื่อให้เกิดความถูกต้องและยุติธรรม ก.พ. ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์เสนอนายกรัฐมนตรีโดยตรงจึงมีอำนาจทบทวนมติของ อ.ก.พ. วิสามัญฯ ซึ่งได้รับมอบหมายให้พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์แทน ก.พ. ได้
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 129 วรรคสอง บัญญัติให้นำมาตรา 126 ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. และมาตรา 127 มาใช้บังคับโดยอนุโลมมาตรา 126 วรรคสาม ซึ่งอนุโลมมาใช้ในการร้องทุกข์บัญญัติว่า ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการหรือให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือให้ดำเนินการประการใด ให้กระทรวง ทบวง กรม ดำเนินการให้เป็นตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรีและเมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งเป็นประการใดแล้วจะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้ คำสั่งของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลผู้มีอำนาจบริหารสูงสุดจึงเป็นที่สุดจะอุทธรณ์คำสั่งหรือให้ทบทวนคำสั่งอีกไม่ได้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 130 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา อ.ก.พ.จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณีแต่มาตรา 130 วรรคสอง กำหนดวิธีการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ว่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. เมื่อในขณะนั้นยังไม่มีกฎ ก.พ. ที่ออกตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาบังคับใช้ จึงต้องบังคับตามมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 โดยนำกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ที่ใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับ กฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว ข้อ 7 วรรคสี่ กำหนดว่า ในกรณีที่เหตุร้องทุกข์เกิดจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ร้องต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล กรณีเช่นนี้ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ การที่โจทก์ร้องทุกข์ต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและนายกรัฐมนตรีส่งคำร้องทุกข์ของโจทก์ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาจึงชอบด้วยกฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว
กฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 3 กำหนดว่า การร้องทุกข์ในชั้นต้นร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งเสียก่อนหากได้รับคำชี้แจงไม่เป็นที่พอใจหรือไม่ได้รับคำชี้แจงภายในเจ็ดวันนับแต่วันร้องทุกข์ด้วยวาจา จึงให้ผู้ร้องทุกข์ยื่นเรื่องร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาตามข้อ 7 การกำหนดให้ร้องทุกข์ด้วยวาจาก็เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาได้มีโอกาสชี้แจงทำความเข้าใจในชั้นต้นเสียก่อนนั่นเองมิได้ถือเป็นข้อสำคัญเคร่งครัด ประกอบกับโจทก์ไม่ได้พบกับจำเลยจึงไม่อาจจะร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อจำเลย กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 4 โจทก์มีสิทธิร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีได้ตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 7
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 130 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518)ข้อ 2 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การร้องทุกข์ไว้ว่า เหตุร้องทุกข์ต้องเกิดจากผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์โดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนนั้น การปฏิบัติไม่ถูกต้องมีความหมายกว้าง รวมทั้งการใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วย
อ.ก.พ. วิสามัญฯ ตั้งขึ้นโดย ก.พ. เพื่อทำการใด ๆ แทน ก.พ.ตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2535 เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของ ก.พ. ประกอบกับกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 7 วรรคสี่ กำหนดให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์เสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ อ.ก.พ.วิสามัญฯ มีหน้าที่เพียงแต่ช่วย ก.พ.พิจารณาคำร้องทุกข์เท่านั้นถ้ามติใดของ อ.ก.พ. วิสามัญฯ มีปัญหาเป็นที่สงสัยไม่ชัดเจนก็เสนอให้ก.พ. ผู้มีอำนาจหน้าที่ที่แท้จริงพิจารณาได้ ดังนั้น การทบทวนมติของอ.ก.พ. วิสามัญฯ จึงกระทำเพื่อให้เกิดความถูกต้องและยุติธรรม ก.พ. ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์เสนอนายกรัฐมนตรีโดยตรงจึงมีอำนาจทบทวนมติของ อ.ก.พ. วิสามัญฯ ซึ่งได้รับมอบหมายให้พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์แทน ก.พ. ได้
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 129 วรรคสอง บัญญัติให้นำมาตรา 126 ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. และมาตรา 127 มาใช้บังคับโดยอนุโลมมาตรา 126 วรรคสาม ซึ่งอนุโลมมาใช้ในการร้องทุกข์บัญญัติว่า ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการหรือให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือให้ดำเนินการประการใด ให้กระทรวง ทบวง กรม ดำเนินการให้เป็นตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรีและเมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งเป็นประการใดแล้วจะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้ คำสั่งของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลผู้มีอำนาจบริหารสูงสุดจึงเป็นที่สุดจะอุทธรณ์คำสั่งหรือให้ทบทวนคำสั่งอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานปลอมเอกสารราชการและช่วยเหลือการหลีกเลี่ยงภาษี การกระทำความผิดร่วมกัน
การที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตอบหนังสือแจ้งให้กรมการขนส่งทราบตามความเป็นจริงว่ารถยนต์คันที่จดทะเบียนเป็นรถยนต์ใหม่ไม่ตรงกับรายงานการยึดว่าเป็นรถยนต์เก่า แต่ปรากฏว่าลายมือชื่อในหนังสือถึงกรมการขนส่งเป็นลายมือชื่อของผู้พิพากษาซึ่งเป็นลายมือชื่อปลอมเป็นผลให้กรมการขนส่งจดทะเบียนโอนรถให้แก่ผู้ประมูลซื้อได้ แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะที่จำเลยกระทำการปลอมและใช้เอกสารปลอมดังกล่าว แต่จากพฤติการณ์แวดล้อมกรณีย่อมเชื่อว่า จำเลยเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมด้วย เนื่องจากจำเลยเป็นจ่าศาลมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบังคับคดีโดยตรง จำเลยได้ทราบและติดตามเรื่องนี้มาตลอด หากจำเลยไม่เกี่ยวข้อง หลังจากไปยึดทรัพย์แล้วจำเลยก็ไม่ควรไปปรึกษาหารือผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเกี่ยวกับเรื่องการตอบหนังสือ หลังจากที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ตอบหนังสือแล้ว จำเลยก็ไม่นำสืบให้ปรากฏว่า จำเลยไม่ได้รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกหรือบุคคลอื่นได้มากระทำการปลอมหนังสือและใช้เอกสารปลอมดังกล่าว เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องรับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการตอบเอกสารแล้ว พฤติการณ์แห่งคดีเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้มีส่วนร่วมในการทำเอกสารดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสารราชการปลอมและใช้เอกสารดังกล่าวในการดำเนินการให้บุคคลอื่นเสียหาย
จำเลยเป็นจ่าศาลมีหน้าที่ตามกฎหมายเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการยึดทรัพย์ตามคำพิพากษา จำเลยไปยึดทรัพย์ลูกหนี้ตามคำพิพากษายึดได้รถยนต์ของกลาง รายงานผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนว่าเป็นรถเก่าไม่มีหมายเลขทะเบียน เมื่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนสั่งให้ตรวจสอบก็ยืนยันว่าไม่สามารถตรวจสอบหมายเลขทะเบียนได้ ทั้งนี้เพื่อนำไปขอเลขทะเบียนใหม่ได้ตามความต้องการ เมื่อกรมการขนส่งมีหนังสือสอบถามเพื่อให้ยืนยันถึงเรื่องการจดทะเบียนรถยนต์ของกลางก็มีการร่วมกันทำเอกสารราชการปลอมขึ้นเพื่อให้กรมการขนส่งออกทะเบียนรถให้ พฤติการณ์ทั้งหมดแสดงว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นในการช่วยจำหน่ายซึ่งสิ่งของที่จำเลยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากรตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ
จำเลยเป็นจ่าศาลมีหน้าที่ตามกฎหมายเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการยึดทรัพย์ตามคำพิพากษา จำเลยไปยึดทรัพย์ลูกหนี้ตามคำพิพากษายึดได้รถยนต์ของกลาง รายงานผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนว่าเป็นรถเก่าไม่มีหมายเลขทะเบียน เมื่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนสั่งให้ตรวจสอบก็ยืนยันว่าไม่สามารถตรวจสอบหมายเลขทะเบียนได้ ทั้งนี้เพื่อนำไปขอเลขทะเบียนใหม่ได้ตามความต้องการ เมื่อกรมการขนส่งมีหนังสือสอบถามเพื่อให้ยืนยันถึงเรื่องการจดทะเบียนรถยนต์ของกลางก็มีการร่วมกันทำเอกสารราชการปลอมขึ้นเพื่อให้กรมการขนส่งออกทะเบียนรถให้ พฤติการณ์ทั้งหมดแสดงว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นในการช่วยจำหน่ายซึ่งสิ่งของที่จำเลยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากรตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7663/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัยการพิเศษถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง: การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์
แม้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯ มาตรา 27บัญญัติให้เป็นอำนาจของประธานคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.)ที่จะเสนอก.อ.ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งข้าราชการอัยการนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วยแต่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในฐานะผู้บังคับบัญชาของข้าราชการอัยการทั่วประเทศในการใช้อำนาจบริหารงานบุคคลยังมีอำนาจเสนอตารางประวัติการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติหน้าที่ของประธาน ก.อ.รวมทั้งมีอำนาจเสนอเรื่องต่อก.อ. ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 การจัดทำตารางประวัติการปฏิบัติราชการเสนอที่ประชุมก.อ. เพื่อพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการอัยการ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลย
อำนาจของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นอำนาจในเชิงดุลพินิจที่อาจเลือกวินิจฉัยหรือเลือกกระทำได้หลายอย่างที่ชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157นี้ นอกจากหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจประการหนึ่ง ที่เป็นการกระทำฝ่าฝืนต่อวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้นประการหนึ่ง และที่เป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกประการหนึ่งแล้ว ยังหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบอีกด้วย
การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสั่งการหรือเลือกกระทำตามที่เห็นว่าเหมาะสมโดยศาลไม่แทรกแซงนั้น หมายความว่า เมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจไปในทางใดแล้ว ศาลต้องยอมรับการใช้ดุลพินิจนั้น แต่การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย คือ ต้องมิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ มิใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ หรือโดยปราศจากเหตุผล
การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายนั้นมีการพิจารณาอาวุโสประกอบ การที่จำเลยเสนอตารางประวัติการปฏิบัติราชการแก่ประธาน ก.อ. เพื่อแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายโดยเสนอชื่อบุคคลที่มีอาวุโสต่ำกว่าโจทก์ไว้เป็นอันดับสูงกว่าโจทก์ถึงสามครั้งเพราะถือเอาสาเหตุที่จำเลยมีสาเหตุส่วนตัวกับโจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,91
อำนาจของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นอำนาจในเชิงดุลพินิจที่อาจเลือกวินิจฉัยหรือเลือกกระทำได้หลายอย่างที่ชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157นี้ นอกจากหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจประการหนึ่ง ที่เป็นการกระทำฝ่าฝืนต่อวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้นประการหนึ่ง และที่เป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกประการหนึ่งแล้ว ยังหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบอีกด้วย
การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสั่งการหรือเลือกกระทำตามที่เห็นว่าเหมาะสมโดยศาลไม่แทรกแซงนั้น หมายความว่า เมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจไปในทางใดแล้ว ศาลต้องยอมรับการใช้ดุลพินิจนั้น แต่การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย คือ ต้องมิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ มิใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ หรือโดยปราศจากเหตุผล
การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายนั้นมีการพิจารณาอาวุโสประกอบ การที่จำเลยเสนอตารางประวัติการปฏิบัติราชการแก่ประธาน ก.อ. เพื่อแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายโดยเสนอชื่อบุคคลที่มีอาวุโสต่ำกว่าโจทก์ไว้เป็นอันดับสูงกว่าโจทก์ถึงสามครั้งเพราะถือเอาสาเหตุที่จำเลยมีสาเหตุส่วนตัวกับโจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7423/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของประธานศาลฎีกาที่ไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือไต่สวนคำร้องคัดค้าน ไม่ถือเป็นละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ
การที่จำเลยที่ 3 จะตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือไม่ เป็นอำนาจบริหารงานในหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ในตำแหน่งประธานศาลฎีกา และไม่มีผลให้คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และองค์คณะซึ่งมีอำนาจอิสระในการพิจารณาพิพากษาตามกฎหมายต้องเปลี่ยนแปลงไป โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติดังกล่าวของจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2539 จ. นำร่างคำพิพากษาศาลฎีกาไปให้โจทก์ดู และปรากฏจากสำเนาภาพถ่ายคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวว่า คำพิพากษาศาลฎีกาลงวันที่ 11 มีนาคม 2539 แสดงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาได้ถูกเรียงเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่วันดังกล่าว แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2539 และวันที่ 21 พฤษภาคม 2539 อันเป็นระยะเวลาหลังจากที่ศาลฎีกาได้เรียงคำพิพากษาศาลฎีกาเสร็จสิ้น ดังนั้น แม้จะไต่สวนคำร้องคัดค้านและได้ความดังคำคัดค้านก็ไม่ทำให้กระบวนพิจารณาและคำพิพากษาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และองค์คณะได้ดำเนินและเรียงเสร็จสิ้นก่อนโจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านเสียไป ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 13 วรรคสอง การไต่สวนคำร้องคัดค้านจึงไม่อาจจะทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง และไม่เป็นประโยชน์ต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 3 ไม่ไต่สวนคำร้องคัดค้านของโจทก์และสั่งรวมไว้ในสำนวนไม่เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์
โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2539 จ. นำร่างคำพิพากษาศาลฎีกาไปให้โจทก์ดู และปรากฏจากสำเนาภาพถ่ายคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวว่า คำพิพากษาศาลฎีกาลงวันที่ 11 มีนาคม 2539 แสดงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาได้ถูกเรียงเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่วันดังกล่าว แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2539 และวันที่ 21 พฤษภาคม 2539 อันเป็นระยะเวลาหลังจากที่ศาลฎีกาได้เรียงคำพิพากษาศาลฎีกาเสร็จสิ้น ดังนั้น แม้จะไต่สวนคำร้องคัดค้านและได้ความดังคำคัดค้านก็ไม่ทำให้กระบวนพิจารณาและคำพิพากษาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และองค์คณะได้ดำเนินและเรียงเสร็จสิ้นก่อนโจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านเสียไป ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 13 วรรคสอง การไต่สวนคำร้องคัดค้านจึงไม่อาจจะทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง และไม่เป็นประโยชน์ต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 3 ไม่ไต่สวนคำร้องคัดค้านของโจทก์และสั่งรวมไว้ในสำนวนไม่เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5787/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องเป็นประธานสภาฯ หรือนายอำเภอ การประชุมโดยรองประธานสภาฯ ย่อมไม่ชอบ
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จะต้องได้ความว่า เจ้าพนักงานผู้นั้นได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบหรือโดยทุจริตเฉพาะเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนตามกฎหมาย หรือระเบียบหรือที่ได้รับมอบหมายให้กระทำโดยตรงเท่านั้น
จำเลยทั้งเก้าเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำเลยที่ 1เป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล นายอำเภออนุมัติและมีคำสั่ง ประกาศให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเปิดสมัยประชุมวิสามัญและ ชอบด้วยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 55 วรรคหนึ่ง ในการเรียกประชุมพระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 54 กำหนด ให้เป็นหน้าที่ของประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้เรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดและ ปิดประชุมเว้นแต่กรณีที่ยังไม่มีประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หรือประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เรียกประชุมตามกฎหมาย จึงเป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะต้องเรียกประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม เมื่อนายอำเภอได้มีประกาศให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเปิดสมัยประชุมวิสามัญตามคำร้องขอของจำเลยทั้งเก้ากับพวกได้แล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เรียกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาประชุมตามวันที่ กำหนดย่อมต้องเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคือนายอำเภอ เท่านั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีหน้าที่ในการเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เว้นแต่ จะได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ เมื่อนายอำเภอไม่ได้มอบหมายให้ จำเลยเรียกประชุม จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจหน้าที่จะเรียกประชุมสมัยวิสามัญดังกล่าวได้ แม้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือเรียกประชุม สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 พร้อมสมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาร่วมประชุม โดยมีจำเลยที่ 1 ทำหน้าที่ ประธานที่ประชุมในวันดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เป็นการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสมัยวิสามัญ โดยชอบตาม พระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 หมวด 2 ส่วนที่ 1 ว่าด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำเลยทั้งเก้าจึงไม่มีหน้าที่ ต้อง เข้าร่วมประชุมสมัยวิสามัญซึ่งเรียกประชุมโดยไม่ชอบด้วยบทกฎหมายหากมติที่ประชุมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งเก้า ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติโดยมิชอบ
จำเลยทั้งเก้าเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำเลยที่ 1เป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล นายอำเภออนุมัติและมีคำสั่ง ประกาศให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเปิดสมัยประชุมวิสามัญและ ชอบด้วยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 55 วรรคหนึ่ง ในการเรียกประชุมพระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 54 กำหนด ให้เป็นหน้าที่ของประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้เรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดและ ปิดประชุมเว้นแต่กรณีที่ยังไม่มีประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หรือประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เรียกประชุมตามกฎหมาย จึงเป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะต้องเรียกประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม เมื่อนายอำเภอได้มีประกาศให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเปิดสมัยประชุมวิสามัญตามคำร้องขอของจำเลยทั้งเก้ากับพวกได้แล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เรียกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาประชุมตามวันที่ กำหนดย่อมต้องเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคือนายอำเภอ เท่านั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีหน้าที่ในการเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เว้นแต่ จะได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ เมื่อนายอำเภอไม่ได้มอบหมายให้ จำเลยเรียกประชุม จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจหน้าที่จะเรียกประชุมสมัยวิสามัญดังกล่าวได้ แม้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือเรียกประชุม สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 พร้อมสมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาร่วมประชุม โดยมีจำเลยที่ 1 ทำหน้าที่ ประธานที่ประชุมในวันดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เป็นการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสมัยวิสามัญ โดยชอบตาม พระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 หมวด 2 ส่วนที่ 1 ว่าด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำเลยทั้งเก้าจึงไม่มีหน้าที่ ต้อง เข้าร่วมประชุมสมัยวิสามัญซึ่งเรียกประชุมโดยไม่ชอบด้วยบทกฎหมายหากมติที่ประชุมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งเก้า ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติโดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5787/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานสภา อบต. การเรียกประชุมสภาที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 จะต้องได้ความว่า เจ้าพนักงานผู้นั้นได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตเฉพาะเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนตามกฎหมายหรือระเบียบหรือที่ได้รับมอบหมายให้กระทำโดยตรงเท่านั้น
จำเลยทั้งเก้าซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และจำเลยที่ 1 เป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล นายอำเภออนุมัติและมีคำสั่งประกาศให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเปิดสมัยประชุมวิสามัญและชอบด้วย พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 55 วรรคหนึ่ง ในการเรียกประชุม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 54 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้เรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดและปิดประชุม เว้นแต่กรณีที่ยังไม่มีประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหรือประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เรียกประชุมตามกฎหมาย จึงเป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะต้องเรียกประชุม และเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม เมื่อนายอำเภอได้มีประกาศให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเปิดสมัยประชุมวิสามัญตามคำร้องขอของจำเลยทั้งเก้ากับพวกได้แล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เรียกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาประชุมตามวันที่กำหนดย่อมต้องเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคือนายอำเภอเท่านั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีหน้าที่ในการเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เว้นแต่จะได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ เมื่อนายอำเภอไม่ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เรียกประชุม จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจหน้าที่จะเรียกประชุมสมัยวิสามัญดังกล่าวได้ แม้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 พร้อมสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาร่วมประชุม โดยมีจำเลยที่ 1 ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมในวันดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เป็นการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสมัยวิสามัญโดยชอบตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 หมวด 2 ส่วนที่ 1 ว่าด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำเลยทั้งเก้าจึงไม่มีหน้าที่ต้องเข้าร่วมประชุมสมัยวิสามัญซึ่งเรียกประชุมโดยไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงไม่ใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่โดยตรงต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว หากมติที่ประชุมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งเก้าก็ไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติโดยมิชอบ
จำเลยทั้งเก้าซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และจำเลยที่ 1 เป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล นายอำเภออนุมัติและมีคำสั่งประกาศให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเปิดสมัยประชุมวิสามัญและชอบด้วย พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 55 วรรคหนึ่ง ในการเรียกประชุม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 54 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้เรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดและปิดประชุม เว้นแต่กรณีที่ยังไม่มีประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหรือประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เรียกประชุมตามกฎหมาย จึงเป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะต้องเรียกประชุม และเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม เมื่อนายอำเภอได้มีประกาศให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเปิดสมัยประชุมวิสามัญตามคำร้องขอของจำเลยทั้งเก้ากับพวกได้แล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เรียกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาประชุมตามวันที่กำหนดย่อมต้องเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคือนายอำเภอเท่านั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีหน้าที่ในการเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เว้นแต่จะได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ เมื่อนายอำเภอไม่ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เรียกประชุม จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจหน้าที่จะเรียกประชุมสมัยวิสามัญดังกล่าวได้ แม้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 พร้อมสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาร่วมประชุม โดยมีจำเลยที่ 1 ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมในวันดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เป็นการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสมัยวิสามัญโดยชอบตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 หมวด 2 ส่วนที่ 1 ว่าด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำเลยทั้งเก้าจึงไม่มีหน้าที่ต้องเข้าร่วมประชุมสมัยวิสามัญซึ่งเรียกประชุมโดยไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงไม่ใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่โดยตรงต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว หากมติที่ประชุมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งเก้าก็ไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติโดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของวิศวกรออกแบบต่อเติมอาคารที่ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตจากความผิดพลาดในการคำนวณโครงสร้าง
จำเลยที่ 1 เป็นวิศวกรผู้คำนวณโครงสร้างการรับน้ำหนักของอาคารจำเลยที่ 9 ในการปลูกสร้างย่อมต้องทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารดังกล่าวได้กำหนดการรับน้ำหนักไว้เพียง 4 ชั้นรวมชั้นใต้ดิน แต่จำเลยที่ 1 กลับมาคำนวณออกแบบต่อเติมอาคารโดยที่ทราบดีอยู่แล้วว่าอาคารเดิมรับน้ำหนักส่วนที่ต่อเติมไม่ได้และยังใช้ฐานรากและเสาในแนวซีซึ่งออกแบบให้รับน้ำหนักไว้เพียง 2 ชั้นเป็นจุดเชื่อมต่ออาคารเดิมและอาคารที่ต่อเติม ทำให้น้ำหนักของอาคารทั้งหมดถ่ายเทลงสู่เสาและฐานรากในแนวซีให้ต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังเบิกความและยอมรับในฎีกาว่าได้ดูแบบแปลนของอาคารเดิมดูสภาพของอาคารที่มีอยู่เดิมและทราบว่าเสาในแนวซีต้นที่ 176 มีขนาด และส่วนประกอบผิดไปจากแปลน เช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามวิธีการอันพึงกระทำในการออกแบบเพราะเดิมจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ออกแบบ เมื่อพบเห็นสภาพอาคารก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนเช่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาข้อมูลที่ถูกต้องให้ได้มากที่สุดว่าโครงสร้างอาคารเดิมมั่นคงแข็งแรงพอจะรับน้ำหนักอาคารในส่วนที่ต่อเติมได้อีกหรือไม่ โดยการสอบถามหรือขอข้อมูลเดิมจากสถาปนิกและวิศวกรที่ออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเดิม แต่จำเลยที่ 1 ก็หาได้ทำเช่นนั้นไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้เหตุที่อาคารจำเลยที่ 9 พังทลายจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายก็เป็นเพราะจำเลยที่ 1 คำนวณออกแบบโครงสร้างและการรับน้ำหนักของอาคารไว้ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 โดยตรง การกระทำของจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 227 ประกอบกับมาตรา 238
กรรมการของจำเลยที่ 9 ตลอดจนจำเลยที่ 15 มิได้เป็นวิศวกร ย่อมไม่อาจทราบถึงความมั่นคงแข็งแรงของอาคารจำเลยที่ 9 ว่าจะต่อเติมได้หรือไม่และใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าการประกอบกิจการโรงแรมต้องต่อใบอนุญาตทุกปีและจำเลยที่ 9 ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงแรมตลอดมา ก่อนออกใบอนุญาตในแต่ละปีจะมีเจ้าพนักงานทั้งของเทศบาลและของจังหวัดมาตรวจสอบอาคารในด้านความมั่นคงปลอดภัย ความสะอาด การระบายอากาศและสุขอนามัย ซึ่งเจ้าพนักงานดังกล่าวไม่เคยทักท้วงว่าอาคารจำเลยที่ 9 ไม่มั่นคงปลอดภัยแต่อย่างใด ประกอบกับกรรมการของจำเลยที่ 9 ตลอดจนจำเลยที่ 15 ล้วนแต่ทำงานหรือใช้ประโยชน์อยู่ในอาคารดังกล่าวทั้งสิ้นหากทราบว่าอาคารไม่มั่นคงปลอดภัยย่อมจะไม่มีผู้ใดยอมเสี่ยงชีวิตเข้าไปทำงานหรือใช้ประโยชน์ในอาคารจำเลยที่ 9 อย่างแน่นอน เพราะทุกคนย่อมรักชีวิตของตนยิ่งกว่าผลประโยชน์รายได้ทางธุรกิจ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 9 ที่ 10 และที่ 12 ถึงที่ 15 กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 จึงยังมีความสงสัยตามสมควรตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
การตรวจคำขอก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารนั้นพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 28 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้คำนวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณที่ได้ยื่นมาพร้อมคำขอตามมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 23 หรือมาตรา 24 เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคำขอก่อสร้างต่อเติมอาคารของจำเลยที่ 9 มีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเป็นผู้ออกแบบคำนวณโครงสร้างและลงชื่อรับรองมาด้วย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมไม่จำต้องตรวจแบบแปลนหรือรายการคำนวณโครงสร้างเพื่อให้ทราบว่าโครงสร้างอาคารเดิมมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักอาคารส่วนต่อเติมได้หรือไม่ เพราะเป็นรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งจำเลยที่ 1 ยังบันทึกหมายเหตุไว้ในใบปะหน้าการคำนวณว่าได้ทำการตรวจสอบดูแล้วฐานรากและส่วนของอาคารเดิมสามารถรับน้ำหนักส่วนต่อเติมได้มาแสดงด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ตรวจคำขอต่อเติมอาคารจำเลยที่ 9 และทำความเห็นเสนอต่อจำเลยที่ 7 และที่ 8 ว่าควรอนุญาตให้จำเลยที่ 9 ต่อเติมอาคารได้ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ไปโดยชอบแล้ว ส่วนจำเลยที่ 7 และที่ 8 นั้น ได้พิจารณาและสั่งอนุญาตให้ต่อเติมได้ตามความเห็นที่เสนอขึ้นมาโดยชอบของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ทั้งไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด อันเป็นเจตนาพิเศษซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อย่างไร จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ย่อมไม่มีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 28 กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งในการคำนวณเกี่ยวกับรายละเอียดของวิศวกรรมนั้นวิศวกรผู้คำนวณและออกแบบจะต้องปฏิบัติตามค่ากำหนดที่ปรากฏในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ส่วนวิศวกรของเทศบาลผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบทางด้านวิศวกรรมนั้นไม่ต้องตรวจในรายละเอียดของหลักวิศวกรรมศาสตร์ เพียงแต่ต้องตรวจและพิจารณาว่ามีการปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงหลักการและเหตุผลในการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 แล้ว เป็นการออกมาเพื่อรองรับมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แม้กฎกระทรวงดังกล่าวจะไม่ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 28 ก็ตาม โจทก์จะอ้างว่าขณะที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ตรวจพิจารณาคำขออนุญาตดัดแปลง ต่อเติมอาคารของจำเลยที่ 9 ยังไม่มีการออกกฎกระทรวงรองรับ จึงไม่อาจนำความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาใช้ไม่ได้
จำเลยที่ 1 เป็นวิศวกรผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ย่อมมีความรู้ความชำนาญในการออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารอันเป็นที่เชื่อถือแก่บุคคลทั่วไป การที่จำเลยที่ 1 รับจ้างออกแบบคำนวณต่อเติมและควบคุมการก่อสร้างต่อเติมอาคารเกิดเหตุ ซึ่งเป็นโรงแรมอันเป็นอาคารสาธารณะที่มีประชาชนจำนวนมากมาใช้บริการ จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ความระมัดระวังและคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้นเป็นพิเศษตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ โดยต้องออกแบบและคำนวณโครงสร้างให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่จำเลยที่ 1 กลับประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพโดยไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษและออกแบบไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ อันเป็นเหตุให้อาคารเกิดเหตุพังทลายทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก พฤติการณ์และสภาพความผิดของจำเลยที่ 1 จึงร้ายแรงสมควรลงโทษสถานหนัก
กรรมการของจำเลยที่ 9 ตลอดจนจำเลยที่ 15 มิได้เป็นวิศวกร ย่อมไม่อาจทราบถึงความมั่นคงแข็งแรงของอาคารจำเลยที่ 9 ว่าจะต่อเติมได้หรือไม่และใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าการประกอบกิจการโรงแรมต้องต่อใบอนุญาตทุกปีและจำเลยที่ 9 ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงแรมตลอดมา ก่อนออกใบอนุญาตในแต่ละปีจะมีเจ้าพนักงานทั้งของเทศบาลและของจังหวัดมาตรวจสอบอาคารในด้านความมั่นคงปลอดภัย ความสะอาด การระบายอากาศและสุขอนามัย ซึ่งเจ้าพนักงานดังกล่าวไม่เคยทักท้วงว่าอาคารจำเลยที่ 9 ไม่มั่นคงปลอดภัยแต่อย่างใด ประกอบกับกรรมการของจำเลยที่ 9 ตลอดจนจำเลยที่ 15 ล้วนแต่ทำงานหรือใช้ประโยชน์อยู่ในอาคารดังกล่าวทั้งสิ้นหากทราบว่าอาคารไม่มั่นคงปลอดภัยย่อมจะไม่มีผู้ใดยอมเสี่ยงชีวิตเข้าไปทำงานหรือใช้ประโยชน์ในอาคารจำเลยที่ 9 อย่างแน่นอน เพราะทุกคนย่อมรักชีวิตของตนยิ่งกว่าผลประโยชน์รายได้ทางธุรกิจ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 9 ที่ 10 และที่ 12 ถึงที่ 15 กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 จึงยังมีความสงสัยตามสมควรตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
การตรวจคำขอก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารนั้นพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 28 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้คำนวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณที่ได้ยื่นมาพร้อมคำขอตามมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 23 หรือมาตรา 24 เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคำขอก่อสร้างต่อเติมอาคารของจำเลยที่ 9 มีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเป็นผู้ออกแบบคำนวณโครงสร้างและลงชื่อรับรองมาด้วย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมไม่จำต้องตรวจแบบแปลนหรือรายการคำนวณโครงสร้างเพื่อให้ทราบว่าโครงสร้างอาคารเดิมมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักอาคารส่วนต่อเติมได้หรือไม่ เพราะเป็นรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ทั้งจำเลยที่ 1 ยังบันทึกหมายเหตุไว้ในใบปะหน้าการคำนวณว่าได้ทำการตรวจสอบดูแล้วฐานรากและส่วนของอาคารเดิมสามารถรับน้ำหนักส่วนต่อเติมได้มาแสดงด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ตรวจคำขอต่อเติมอาคารจำเลยที่ 9 และทำความเห็นเสนอต่อจำเลยที่ 7 และที่ 8 ว่าควรอนุญาตให้จำเลยที่ 9 ต่อเติมอาคารได้ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ไปโดยชอบแล้ว ส่วนจำเลยที่ 7 และที่ 8 นั้น ได้พิจารณาและสั่งอนุญาตให้ต่อเติมได้ตามความเห็นที่เสนอขึ้นมาโดยชอบของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ทั้งไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด อันเป็นเจตนาพิเศษซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อย่างไร จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ย่อมไม่มีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 28 กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแต่เฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดตามหลักวิศวกรรมศาสตร์โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งในการคำนวณเกี่ยวกับรายละเอียดของวิศวกรรมนั้นวิศวกรผู้คำนวณและออกแบบจะต้องปฏิบัติตามค่ากำหนดที่ปรากฏในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ส่วนวิศวกรของเทศบาลผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบทางด้านวิศวกรรมนั้นไม่ต้องตรวจในรายละเอียดของหลักวิศวกรรมศาสตร์ เพียงแต่ต้องตรวจและพิจารณาว่ามีการปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงหลักการและเหตุผลในการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 แล้ว เป็นการออกมาเพื่อรองรับมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แม้กฎกระทรวงดังกล่าวจะไม่ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 28 ก็ตาม โจทก์จะอ้างว่าขณะที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ตรวจพิจารณาคำขออนุญาตดัดแปลง ต่อเติมอาคารของจำเลยที่ 9 ยังไม่มีการออกกฎกระทรวงรองรับ จึงไม่อาจนำความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาใช้ไม่ได้
จำเลยที่ 1 เป็นวิศวกรผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ย่อมมีความรู้ความชำนาญในการออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารอันเป็นที่เชื่อถือแก่บุคคลทั่วไป การที่จำเลยที่ 1 รับจ้างออกแบบคำนวณต่อเติมและควบคุมการก่อสร้างต่อเติมอาคารเกิดเหตุ ซึ่งเป็นโรงแรมอันเป็นอาคารสาธารณะที่มีประชาชนจำนวนมากมาใช้บริการ จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ความระมัดระวังและคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้นเป็นพิเศษตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ โดยต้องออกแบบและคำนวณโครงสร้างให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่จำเลยที่ 1 กลับประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพโดยไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษและออกแบบไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ อันเป็นเหตุให้อาคารเกิดเหตุพังทลายทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก พฤติการณ์และสภาพความผิดของจำเลยที่ 1 จึงร้ายแรงสมควรลงโทษสถานหนัก