พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4825/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิรูปที่ดิน: การเพิกถอนสิทธิผู้รับประโยชน์เนื่องจากคุณสมบัติไม่ครบถ้วน ไม่ถือเป็นละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ
คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดได้ประกาศรายชื่อโจทก์เป็นผู้ได้รับคัดเลือกให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินตามระเบียบแล้ว ต่อมาจำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งปฏิรูปที่ดินจังหวัดเห็นว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงเสนอเรื่องให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิจารณาทบทวนมติเดิม คณะกรรมการมีมติให้รอการพิจารณาของศาลก่อนจึงจะมีมติต่อไป จำเลยจึงต้องรอฟังมติดังกล่าวทำให้ไม่สามารถมอบหนังสือรับมอบที่ดินให้โจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการมุ่งหมายเพื่อให้การปฏิรูปที่ดินดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4254/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ติดตามจับกุมผู้ต้องสงสัย การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน การพิสูจน์ข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานและวัตถุพยาน
คำเบิกความของโจทก์ร่วมที่ว่าตนเป็นฝ่ายเข้าไปแตะที่ข้อศอกจำเลยที่1ในขณะที่จำเลยที่1ขับรถจักรยานยนต์มาจอดที่ลานจอดรถและจากคำเบิกความของส. พยานโจทก์และโจทก์ร่วมที่เบิกความรับว่าได้ยินเสียงจำเลยที่1พูดขึ้นว่า"มึงจะกระตุกสร้อยกูหรือ"หลังจากนั้นโจทก์ร่วมก็วิ่งหนีจำเลยที่1วิ่งไล่ตามกรณีจึงเป็นการเจือสมพยานหลักฐานจำเลยทั้งสามที่นำสืบได้ว่าโจทก์ร่วมมีพฤติการณ์ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจแก่จำเลยที่1ว่าโจทก์ร่วมเป็นคนร้ายที่จะประทุษร้ายจำเลยที่1จริงเมื่อจำเลยที่1วิ่งไล่โจทก์ร่วมไม่ทันก็ไปแจ้งเหตุต่อจำเลยที่2และที่3ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบอยู่บริเวณใกล้เคียงเสริมให้เห็นชัดถึงความเข้าใจโดยสุจริตว่าโจทก์ร่วมเป็นคนร้ายที่จำเลยที่2และที่3พบตัวโจทก์ร่วมภายหลังและทำการค้นตัวตลอดจนรอให้จำเลยที่1มาชี้ตัวโจทก์ร่วมแล้วจึงจับโจทก์ร่วมไว้นั้นจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบปราศจากข้อระแวงสงสัยใดๆส่วนการนำตัวโจทก์ร่วมออกนอกเส้นทางที่จะไปสถานีตำรวจนั้นก็มีเหตุผลที่ต้องการจะติดตามขยายผลเพื่อจับพวกของโจทก์ร่วมที่ต้องสงสัยว่าร่วมกับโจทก์ร่วมกระทำผิดโดยมีการรายงานผู้บังคับบัญชารับทราบตามระเบียบปฏิบัติแล้วเป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นการกระทำของจำเลยที่2และที่3จึงเป็นการปฏิบัติที่ชอบแล้ว ส่วนเหตุการณ์ที่โจทก์ร่วมนำสืบว่ามีการพูดว่าจะพาโจทก์ร่วมไปยิงทิ้งนั้นหากจำเลยทั้งสามมีความประสงค์เช่นนั้นจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องพูดให้โจทก์ร่วมรู้ตัวโดยเฉพาะเป็นการพูดต่อหน้าส. พวกของโจทก์ร่วมที่ขออาศัยรถไปด้วยจึงไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังเชื่อถือประกอบกับพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมตั้งแต่เริ่มก่อเหตุถูกจำเลยที่1วิ่งไล่จับและภายหลังที่ได้รับบาดเจ็บแล้วไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่โรงแรมกลับอิดออดไม่ยอมแจ้งความจนกระทั่งเจ้าหน้าที่โรงแรมต้องเป็นผู้แจ้งเหตุเองล้วนแต่แสดงออกชัดถึงความไม่สุจริตของโจทก์ร่วมเป็นเหตุผลที่ชี้ให้เห็นว่าความจริงโจทก์ร่วมถือโอกาสที่รถยนต์ของเจ้าพนักงานตำรวจชะลอความเร็วกระโดดรถเพื่อหนีจากการควบคุมตัวของเจ้าพนักงานตำรวจมากกว่าหาได้มีการขู่จะยิงทิ้งดังที่อ้างไม่ ที่โจทก์ร่วมเบิกความถึงข้อเท็จจริงในขณะที่วิ่งหนีว่าโจทก์ร่วมกระโดดลงจากรถและล้มลงแล้วลุกขึ้นวิ่งหนีไปได้ถึง4ก้าวได้ยินเสียงปืนดังขึ้น1นัดโจทก์ร่วมหันไปดูแต่ไม่ทราบว่าใครยิงเป็นข้อเท็จจริงที่ขัดต่อวิสัยคนที่กำลังพยายามจะหนีเอาชีวิตรอดเมื่อได้ยินเสียงปืนแทนที่จะรีบเร่งหนียิ่งขึ้นกลับใจเย็นพอที่จะหันไปดูแต่ก็ไม่ทราบว่าใครเป็นคนยิงอีกเป็นคำเบิกความที่เชื่อไม่ได้โจทก์ร่วมยังเบิกความว่าวิ่งต่อไปอีก10ก้าวได้ยินเสียงปืนดังขึ้นอีก1นัดกระสุนปืนถูกบริเวณเหนือข้อมือซ้ายโจทก์ร่วมล้มลงแล้วก็ลุกขึ้นวิ่งหนีและได้ยินเสียงปืนดังขึ้นอีก1นัดจึงได้กระโดดหน้าผาหลบหนีคำเบิกความของโจทก์ร่วมจำได้ละเอียดละออถึงขนาดจำนวนก้าวของการวิ่งลำดับเหตุการณ์เป็นขั้นเป็นตอนทุกระยะผิดวิสัยคนที่อยู่ในระหว่างตกใจและวิ่งหนีเพื่อเอาชีวิตรอดนั้นจะสามารถจำและสาธยายเหตุการณ์ได้ละเอียดถึงปานนั้นและแม้ส. พวกของโจทก์ร่วมที่นั่งอยู่บนรถในขณะเกิดเหตุจะเบิกความว่าจำเลยที่1เป็นผู้ยิงปืนทั้งสามนัดในขณะนั่งอยู่บนรถแต่จากแผนที่แสดงสถานที่เกิดเหตุพบรอยเลือดจุดแรกอยู่ใกล้ๆกับปลอกกระสุนปืนที่ตกอยู่รวม2ปลอกอยู่ห่างและคนละฟากถนนกับเส้นทางของรถยนต์ที่อ้างว่าจำเลยที่1นั่งและยิงปืนปรากฎว่าอาวุธปืนของกลางเป็นแบบออโตเมติกเมื่อมีการยิงแล้วปลอกกระสุนน่าจะสลัดตกอยู่บริเวณใกล้ๆจุดที่ยิงดังนี้จากวัตถุพยานที่ปรากฎจึงชี้ชัดว่าที่โจทก์ร่วมและส. ยืนยันว่าจำเลยที่1ยิงปืนในขณะที่อยู่บนรถยนต์นั้นไม่ตรงต่อความเป็นจริงตรงกันข้ามเป็นการยิงในระยะใกล้ประชิดตัวมากกว่าเมื่อนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิเคราะห์ประกอบกับคำให้การของโจทก์ร่วมในชั้นสอบสวนที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอยู่หลายครั้งหลายคราวส่อให้เห็นถึงความไม่ยึดมั่นต่อความจริงมุ่งจะเสริมแต่งข้อเท็จจริงเพื่อปรักปรำจำเลยทั้งสามมากกว่าพยานหลักฐานโจทก์และโจทก์ร่วมที่นำสืบนอกจากจะเชื่อถือไม่ได้แล้วยังกลับไปเจือสมข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำเลยที่1ได้วิ่งไล่จับโจทก์ร่วมและมีการกอดปล้ำกันเป็นเหตุให้ปืนลั่นถูกโจทก์ร่วมมากกว่าหาใช่การยิงโดยมีเจตนาฆ่าไม่จำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วมและจำเลยที่2และที่3ไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3112/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องอาญาที่ไม่มีมูลความผิด การกระทำเจ้าหน้าที่เพื่อประโยชน์ราชการ ไม่ถือเป็นความผิด
ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องไม่ปรากฏว่าหมายเลขคดีที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงตามที่อ้างถึงเป็นหมายเลขคดีที่นอกสารบบหรือกระทำขึ้นโดยมิได้มีอยู่จริงหรือปราศจากอำนาจตรงกันข้ามเลขคดีที่อ้างถึงเป็นเลขคดีที่ได้แก้ไขและถือใช้อยู่ในสารบบของทางราชการที่เกี่ยวข้องจริงจึงเป็นหมายเลขคดีที่แท้จริงทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งเก้าปฏิบัติหรือละเว้นไม่ปฏิบัติต่อโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่มีการร้องทุกข์อย่างไรอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522มาตรา70การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา162,165,264,265,266และพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522มาตรา70 จำเลยทั้งเก้าปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของทางราชการมิได้มีเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปลอมเอกสารสิทธิเบิกจ่ายเงินราชการโดยทุจริต
เอกสารที่ใช้ประกอบเป็นรายงานการเดินทางไปราชการได้แก่ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินที่แสดงว่าได้จ่ายเงินไปจริงโดยมีหลักฐานการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่ข้าราชการผู้นั้นเซ็นชื่อรับเงินไว้ด้วยเพื่อเบิกเงินจากส่วนราชการไปจ่ายให้และเอกสารการรับเงินที่ส่งไปล้างฎีกาเพื่อแสดงว่าได้มีการจ่ายเงินไปถูกต้องแล้วนั้นเป็นหลักฐานแห่งการก่อและระงับสิทธิในเงินค่าใช้จ่ายไปราชการซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นและรับรองในหน้าที่จึงเป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา1(8)และ(9) จำเลยที่2เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานทั่วไปและช่วยควบคุมการจ่ายเงินให้ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริตปลอมเอกสารดังกล่าวเพื่อขอเบิกเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของข้าราชการในสังกัดจำนวนหลายคนด้วยกันจึงมีความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา264,266(1),268ประกอบมาตรา157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ-เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ: ข้อเท็จจริงต้องสอดคล้องและสถานะต้องเป็นเจ้าพนักงานจริง
ข้อความที่จำเลยที่3แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงกับสภาพที่จำเลยที่2ไปพบเห็นมาจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่3แจ้งข้อความตรงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยที่3แจ้งหรือไม่ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความหมายถึงแจ้งข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมายจึงไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ พนักงานของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครไม่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครถือไม่ได้ว่ามีฐานะเป็นข้าราชการจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157 ศาลจะมีอำนาจลงโทษจำเลยในฐานความผิดหรือบทมาตราที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคห้าได้นั้นต้องเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่กล่าวในฟ้องจริงเพียงแต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไปเท่านั้นทั้งจะต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างตัวบทกฎหมายผิดเป็นคนละฉบับไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ-เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ: ข้อเท็จจริงไม่สนับสนุนความผิด, จำเลยไม่เป็นข้าราชการ
ตั้งแต่วันที่23มีนาคม2532ถึงวันที่6ตุลาคม2532โจทก์ไม่ใช่ผู้เช่าแผงค้าตลาดมีนบุรีของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครแต่โจทก์ยังคงวางสินค้าที่แผงค้าตลาดมีนบุรีที่เคยเช่าและแผงค้าอื่นที่ไม่เคยเช่ารวมทั้งทางเดินในตลาดมีนบุรีด้วยจึงทำให้จำเลยที่1เข้าใจว่าเมื่อการเช่าสิ้นสุดลงแล้วแต่โจทก์ยังวางสินค้าอยู่และจำเลยที่2แจ้งให้โจทก์ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้วแต่โจทก์ไม่ยอมโจทก์จึงเป็นผู้บุกรุกและได้มอบอำนาจให้จำเลยที่3ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนข้อความที่จำเลยที่3ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงกับสภาพที่จำเลยที่2ไปพบเห็นมาจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่3แจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยที่3แจ้งหรือไม่ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความย่อมหลายถึงแจ้งข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมายหลังจากจำเลยที่3ได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนแล้วพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีแก่โจทก์แม้ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยที่3แจ้งนั้นเป็นความเท็จเมื่อข้อความที่จำเลยที3ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่1แจ้งนั้นเป็นความจริงจำเลยที่1ที่3จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่2ว่าจำเลยที่2อ้างว่าเป็นผู้พบการกระทำความผิดของโจทก์ในข้อหาบุกรุกและได้ยื่นเรื่องราวต่อจำเลยที่1ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่2จึงมิใช่ให้ลงโทษจำเลยที่2ฐานเป็นตัวการแต่เป็นเพียงผู้สนับสนุนเมื่อจำเลยที่1และที่3ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จจำเลยที่2ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานแจ้งความเท็จด้วย จำเลยทั้งสามเป็นพนักงานของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครซึ่งตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตราดกรุงเทพมหานครพ.ศ.2527ข้อ4และข้อ6กำหนดให้ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องวิธีการงบประมาณพ.ศ.2529จำเลยทั้งสามจึงไม่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครถือไม่ได้ว่ามีฐานะเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครดังนั้นจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายอาญาภาค2ว่าด้วยความผิดลักษณะ2ความผิดเกี่ยวกับการปกครองหมวด2ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ การที่ศาลจะมีอำนาจลงโทษจำเลยในฐานความผิดหรือบทมาตราที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคห้าได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่กล่าวในฟ้องจริงเพียงแต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไปเท่านั้นทั้งจะต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างตัวบทกฎหมายผิดเป็นคนละฉบับไปด้วยเมื่อในคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1ที่2และที่3ได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157ตามที่โจทก์ฟ้องจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502มาตรา11ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จและเจ้าพนักงาน เนื่องจากไม่มีฐานะเป็นข้าราชการ และข้อเท็จจริงไม่ตรงตามฟ้อง
ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2532 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2532 โจทก์ไม่ใช่ผู้เช่าแผงค้าตลาดมีนบุรีของสำนักงานตลาด กรุงเทพมหานคร แต่โจทก์ยังคงวางสินค้าที่แผงค้าตลาดมีนบุรีที่เคยเช่า และแผงค้าอื่นที่ไม่เคยเช่า รวมทั้งทางเดินในตลาดมีนบุรีด้วย จึงทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าเมื่อการเช่าสิ้นสุดลงแล้ว แต่โจทก์ยังวางสินค้าอยู่ และจำเลยที่ 2 แจ้งให้โจทก์ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมโจทก์จึงเป็นผู้บุกรุกและได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ข้อความที่จำเลยที่ 3 ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงกับสภาพที่จำเลยที่ 2 ไปพบเห็นมา จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 แจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยที่ 3 แจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย หลังจากจำเลยที่ 3 ได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ แม้ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยที่ 3 แจ้งนั้นเป็นความเท็จ เมื่อข้อความที่จำเลยที่ 3 ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 แจ้งนั้นเป็นความจริงจำเลยที่ 1 ที่ 3 จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นผู้พบการกระทำความผิดของโจทก์ในข้อหาบุกรุกและได้ยื่นเรื่องราวต่อจำเลยที่ 1ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นตัวการ แต่เป็นเพียงผู้สนับสนุน เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานแจ้งความเท็จด้วย
จำเลยทั้งสามเป็นพนักงานของสำนักงานตลาด กรุงเทพ-มหานคร ซึ่งตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตลาด กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2527 ข้อ 4 และข้อ 6 กำหนดให้ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2529 จำเลยทั้งสามจึงไม่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครถือไม่ได้ว่ามีฐานะเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร ดังนั้นจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ.การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งป.อ.ภาค 2 ว่าด้วยความผิดลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง หมวด 2ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
การที่ศาลจะมีอำนาจลงโทษจำเลยในฐานความผิดหรือบทมาตราที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้าได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่กล่าวในฟ้องจริง เพียงแต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไปเท่านั้น ทั้งจะต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างตัวบทกฎหมายผิดเป็นคนละฉบับไปด้วยเมื่อในคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ตามที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502 มาตรา 11 ได้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นผู้พบการกระทำความผิดของโจทก์ในข้อหาบุกรุกและได้ยื่นเรื่องราวต่อจำเลยที่ 1ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นตัวการ แต่เป็นเพียงผู้สนับสนุน เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานแจ้งความเท็จด้วย
จำเลยทั้งสามเป็นพนักงานของสำนักงานตลาด กรุงเทพ-มหานคร ซึ่งตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตลาด กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2527 ข้อ 4 และข้อ 6 กำหนดให้ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2529 จำเลยทั้งสามจึงไม่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครถือไม่ได้ว่ามีฐานะเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร ดังนั้นจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ.การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งป.อ.ภาค 2 ว่าด้วยความผิดลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง หมวด 2ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
การที่ศาลจะมีอำนาจลงโทษจำเลยในฐานความผิดหรือบทมาตราที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้าได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่กล่าวในฟ้องจริง เพียงแต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไปเท่านั้น ทั้งจะต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างตัวบทกฎหมายผิดเป็นคนละฉบับไปด้วยเมื่อในคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ตามที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502 มาตรา 11 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบยึดเช็คชำระค่าที่ดินโดยไม่มีอำนาจ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ขาย
จำเลยรับราชการตำแหน่งปฏิรูปที่ดินจังหวัด มีหน้าที่ในการจัดซื้อที่ดินและจัดการจ่ายเงินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดให้แก่ผู้ขายสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดดำเนินการจัดซื้อที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินแปลงที่ 4และแปลงที่ 5 จาก ร. สำหรับแปลงที่ 5 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดได้ดำเนินการจัดซื้อและชำระราคาที่ดินให้แก่ ร.ผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ส่วนแปลงที่ 4นั้น ในวันที่ 14 มิถุนายน 2527 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดได้ดำเนินการจัดซื้อและชำระราคาที่ดินให้แก่ผู้ขายโดยปราศจากเงื่อนไขและแยกชำระราคาเป็นพันธบัตรรัฐบาลและเงินสด ในส่วนที่จ่ายเป็นเงินสดนั้นได้แยกจ่ายเป็นเช็คผู้ถือจากบัญชีของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด รวม 3 ฉบับ จำเลยได้มอบเช็คให้แก่ ส.เพียง 2 ฉบับ จำเลยจะอ้างเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งอาจเป็นปัญหาขึ้นมาเพื่อยึดถือเอาเช็คฉบับที่ 3 จำนวนเงิน 280,000 บาท ไว้เป็นประกันค่าเสียหายค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการซื้อขายที่ดินแปลงที่ 5 โดยไม่มีกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการใด ๆ ให้อำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นหาได้ไม่ หากจะมีปัญหาขึ้นมาในอนาคตว่าที่ดินแปลงที่ 5 มีการรุกล้ำป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่เพียงใด ก็เป็นปัญหาที่จะไปแก้ไขกันในเรื่องที่ดินแปลงที่ 5 นั้น จำเลยไม่มีอำนาจหรือหน้าที่เข้าไปแก้ไขปัญหาล่วงหน้าเช่นนั้นด้วยการยึดเช็คที่ชำระราคาค่าที่ดินแปลงที่ 4 ให้แก่ ร.ผู้ขายมาเข้าบัญชีธนาคารในนามของตนได้ ทั้งเมื่อปรากฏว่าไม่มีปัญหาใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินแปลงที่ 5 การที่จำเลยยึดเช็คไว้เช่นนี้จึงไม่ชอบและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ร.ที่ไม่สามารถได้รับชำระราคาค่าที่ดินจำนวน 280,000 บาท ตามวันสั่งจ่ายในเช็คได้ นอกจากนี้หลังจากจำเลยนำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีเงินฝากของตนแล้วจำเลยได้เบิกถอนเงินจากบัญชีนั้นเป็นระยะ ๆ ไป อันแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่าที่จำเลยเบิกถอนมาเพื่อประโยชน์มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น แม้ต่อมาจำเลยจะได้คืนเงินให้แก่ ร.และตัวแทนเรียบร้อยแล้ว และ ร.หรือ ส.ผู้รับมอบอำนาจ มิได้โต้แย้งหรือร้องเรียนว่าไม่เต็มใจหรือถูกจำเลยเพทุบายให้ยึดเช็คดังกล่าวก็ตาม การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ ร.และปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7188/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแต่งตั้งสมุห์บัญชีสุขาภิบาล และความผิดฐานยักยอกทรัพย์
การแต่งตั้งเสมียนตราอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่มีสุขาภิบาลให้เป็นสมุห์บัญชีสุขาภิบาลนั้น จะต้องเป็นเรื่องเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งนายอำเภอแม้จะเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่ด้วย ก็ไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งเสมียนตราอำเภอให้เป็นสมุห์บัญชีสุขาภิบาลได้ด้วยตนเอง ดังนั้นการที่ ป.นายอำเภอพรหมพิรามสั่งให้จำเลยไปปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีสุขาภิบาลจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ จำเลยไม่มีฐานะเป็นพนักงานของสุขาภิบาลและไม่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จึงลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147 และ 157 ไม่ได้ แต่อาศัยอำนาจตามความใน ป.วิ.อ.มาตรา 192 ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของสุขาภิบาลตาม ป.อ. มาตรา 352 หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงโดยผู้พิพากษาที่รับประเด็น และการพิจารณาว่าการกระทำหลายอย่างเป็นกรรมเดียว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, 69 วรรคสอง (2), 73 วรรคสอง (2) รวม2 กระทง จำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 4 ปี เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อยซึ่งโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157, 160, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) (ข) และ (ค) ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดรวม 3 กระทง จำคุกกระทงละ2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ข) และมาตรา 157, 160ตามฟ้องข้อ 2 (ค) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) ดังนั้นเฉพาะความผิดตามฟ้องข้อ 2 (ข) และ (ค) เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อย คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230 ที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนนั้น แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีข้อความระบุให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดั่งศาลเดิม และศาลที่รับประเด็นมีอำนาจส่งประเด็นไปยังศาลอื่นอีกต่อหนึ่งได้ก็ตาม ความหมายก็คงจำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้น และตามป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ก็โดยมุ่งหมายให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง เพราะเป็นผู้ทราบดีว่าควรจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ส่วนผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นนั้นเป็นเพียงสืบแทนเฉพาะพยานหลักฐานที่ศาลที่พิจารณาคดีส่งมา หาได้ทราบถึงข้อเท็จจริงทั้งสำนวนไม่ ตลอดทั้งการวินิจฉัยคดีก็มิได้เกี่ยวข้องด้วย การที่จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกานั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามระเบียบปฏิบัติของกรมป่าไม้ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งการใช้ตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่า ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงหน้าที่ว่าการอำเภอท้องที่โดยละเว้นการตรวจสอบไม้ของกลางตามระเบียบปฏิบัติดังกล่าวกับการที่จำเลยที่ 2 กรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ซึ่งทำขึ้นในวันเดียวกันก็เพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการวางไว้และเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จลุล่วงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 2 (ข)และ (ค) จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นสองกรรมต่างกันไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157, 160, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) (ข) และ (ค) ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดรวม 3 กระทง จำคุกกระทงละ2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ข) และมาตรา 157, 160ตามฟ้องข้อ 2 (ค) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) ดังนั้นเฉพาะความผิดตามฟ้องข้อ 2 (ข) และ (ค) เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อย คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230 ที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนนั้น แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีข้อความระบุให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดั่งศาลเดิม และศาลที่รับประเด็นมีอำนาจส่งประเด็นไปยังศาลอื่นอีกต่อหนึ่งได้ก็ตาม ความหมายก็คงจำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้น และตามป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ก็โดยมุ่งหมายให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง เพราะเป็นผู้ทราบดีว่าควรจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ส่วนผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นนั้นเป็นเพียงสืบแทนเฉพาะพยานหลักฐานที่ศาลที่พิจารณาคดีส่งมา หาได้ทราบถึงข้อเท็จจริงทั้งสำนวนไม่ ตลอดทั้งการวินิจฉัยคดีก็มิได้เกี่ยวข้องด้วย การที่จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกานั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามระเบียบปฏิบัติของกรมป่าไม้ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งการใช้ตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่า ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงหน้าที่ว่าการอำเภอท้องที่โดยละเว้นการตรวจสอบไม้ของกลางตามระเบียบปฏิบัติดังกล่าวกับการที่จำเลยที่ 2 กรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ซึ่งทำขึ้นในวันเดียวกันก็เพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการวางไว้และเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จลุล่วงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 2 (ข)และ (ค) จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นสองกรรมต่างกันไม่