พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6792/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจหน้าที่มิชอบ สั่งใช้รถเทศบาลขนทรายส่วนตัว มีความผิด ม.157
การที่จะถือว่าเป็นสาธารณภัยต้องเป็นภัยที่เกิดแก่คนหมู่มากอันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ได้ความว่าบ้านพักของจำเลยซึ่งตั้งอยู่ที่ซอยประชาชื่น 35 มีการยกระดับถนนประชาชื่นสูงกว่าถนนในซอย ทำให้ระดับบ้านของจำเลยมีน้ำท่วมขังในเวลาที่ฝนตกหนัก สาเหตุที่น้ำท่วมบ้านของจำเลยเกิดจากการระบายน้ำในท่อไม่ทัน แต่เมื่อฝนหยุดตก 5 ถึง 6 ชั่วโมง น้ำจึงระบายออกหมด การที่น้ำท่วมบ้านจำเลยดังกล่าวยังไม่ถือว่าเป็นสาธารณภัย จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุสาธารณภัยเพื่อให้ตนเองพ้นผิดในการใช้รถยนต์เทศบาลเมืองคูคตขนทรายพิพาทไปใช้โดยขัดต่อระเบียบหาได้ไม่ ทั้งจำเลยนำทรายพิพาทไปคืนหลังเกิดเหตุแล้วถึง 5 เดือน ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่ส่อเจตนาว่า จำเลยนำทรายพิพาทไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลย ไม่ใช่เป็นการยืมทรายพิพาทแล้วนำมาใช้คืนตามที่กล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยเป็นการอาศัยอำนาจในตำแหน่งนายกเทศมนตรีสั่งการให้ใช้รถยนต์ของเทศบาลเมืองคูคตขนย้ายทรายพิพาทไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติ
สำหรับองค์ประกอบตามความผิด ป.อ. มาตรา 147 และ 151 ผู้กระทำความผิดต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ได้เบียดบังทรัพย์ที่ตนมีหน้าที่ดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริตหรือใช้อำนาจในตำแหน่งดังกล่าวโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ พยานโจทก์ที่นำสืบมาไม่ได้เบิกความยืนยันว่า จำเลยมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด อย่างไร เพียงได้ความแต่ว่าจำเลยเป็นนายกเทศมนตรีเมืองคูคต มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบาย สั่งอนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาลและมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ซื้อหรือจ้างทุกวิธีที่ใช้จ่ายจากเงินรายได้ไม่จำกัดวงเงินตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ส่วนการจัดซื้อทรายพิพาทได้ความว่าอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของฝ่ายโยธา ในขณะที่การจัดการดูแลรับผิดชอบรถยนต์ของเทศบาลเมืองคูคต เป็นหน้าที่ของงานป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยของเทศบาลเมืองคูคต เห็นได้ว่า จำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องเพียงเป็นผู้อนุมัติเกี่ยวกับงานราชการของเทศบาลเมืองคูคต ไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงในการซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 และ 151 แต่การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาศัยอำนาจในตำแหน่งนายกเทศมนตรีสั่งการให้ใช้รถยนต์ของเทศบาลเมืองคูคตขนทรายพิพาทไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เทศบาลเมืองคูคตจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
สำหรับองค์ประกอบตามความผิด ป.อ. มาตรา 147 และ 151 ผู้กระทำความผิดต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ได้เบียดบังทรัพย์ที่ตนมีหน้าที่ดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริตหรือใช้อำนาจในตำแหน่งดังกล่าวโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ พยานโจทก์ที่นำสืบมาไม่ได้เบิกความยืนยันว่า จำเลยมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด อย่างไร เพียงได้ความแต่ว่าจำเลยเป็นนายกเทศมนตรีเมืองคูคต มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบาย สั่งอนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาลและมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ซื้อหรือจ้างทุกวิธีที่ใช้จ่ายจากเงินรายได้ไม่จำกัดวงเงินตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ส่วนการจัดซื้อทรายพิพาทได้ความว่าอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของฝ่ายโยธา ในขณะที่การจัดการดูแลรับผิดชอบรถยนต์ของเทศบาลเมืองคูคต เป็นหน้าที่ของงานป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยของเทศบาลเมืองคูคต เห็นได้ว่า จำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องเพียงเป็นผู้อนุมัติเกี่ยวกับงานราชการของเทศบาลเมืองคูคต ไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงในการซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 และ 151 แต่การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาศัยอำนาจในตำแหน่งนายกเทศมนตรีสั่งการให้ใช้รถยนต์ของเทศบาลเมืองคูคตขนทรายพิพาทไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เทศบาลเมืองคูคตจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบฝ่าฝืนระเบียบจัดซื้อเพื่ออนุมัติเอง แม้มีเหตุสมควรแต่ยังคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้วไม่ใช้การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษตามที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว เพราะยังไม่ได้รับประกาศภัยพิบัติจากจังหวัดนครสวรรค์ อันไม่เข้าเงื่อนไขการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2544 ข้อ 17 (2) ต้องการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคาตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2544 ข้อ 14 ตามที่จำเลยที่ 2 เสนอต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งจะมีผลให้ใช้เวลาในการซื้อหรือการจ้างนานขึ้น จำเลยที่ 1 จึงไม่เห็นชอบให้ใช้การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคาตามที่จำเลยที่ 2 โต้แย้ง กลับสั่งการให้ใช้การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคาตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2544 ข้อ 13 เพื่อจำเลยที่ 1 จะได้มีอำนาจอนุมัติการซื้อการจ้างนั้นได้ทันที ทำให้ต้องแบ่งการซื้อผ้าห่มนวมออกเป็นสองครั้ง ครั้งละ 500 ผืน เป็นเงินครั้งละ 100,000 บาท เท่ากับจำเลยที่ 1 จงใจกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2544 ข้อ 16 วรรคสอง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแล้ว แต่พยานหลักฐานของโจทก์กลับไม่ปรากฏว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นอย่างใด จึงรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต อย่างไรก็ดี การกระทำของจำเลยที่ 1 จงใจฝ่าฝืนต่อระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2544 ดังกล่าวย่อมมีผลกระทบกระเทือนและก่อให้เกิดความเสียหายแก่การบริหารราชการแผ่นดินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และเข้าองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 อยู่ดี ส่วนการทำฎีกาเบิกเงินนอกงบประมาณรายจ่ายและเอกสารประกอบครั้งที่ 2 เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 162 (4) หรือไม่นั้น เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่โจทก์อ้างก็ตาม การทำฎีกาเบิกเงินนอกงบประมาณรายจ่ายครั้งที่ 2 ก็เป็นเพียงการทำไว้ล่วงหน้าอันเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการจัดทำฎีกาเบิกเงินโดยทั่วไปเท่านั้น เมื่อมีการเบิกจ่ายเงินกันจริงหาได้ไม่มีการเบิกจ่ายเงินกันตามนั้นอันเป็นความเท็จไม่ ดังนั้น แม้อาจเป็นไปเพื่อให้เป็นหลักฐานอ้างอิงว่ามีการจัดซื้อผ้าห่มนวมตามวันเวลาเกิดเหตุซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริงไปบ้างก็หาได้เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 162 (4) ไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 เท่านั้น สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 นั้นเป็นเจ้าพนักงานและเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา แม้มีการแบ่งการซื้อหรือการจ้างออกเป็นสองครั้ง แต่การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคาในแต่ละครั้งก็เป็นไปโดยชอบด้วยระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2544 ข้อ 13 คำสั่งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ต้องถือปฏิบัติตาม ทั้งพยานหลักฐานของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าการแบ่งการซื้อหรือการจ้างออกเป็นสองครั้งดังกล่าวเกิดจากจำเลยอื่นเป็นผู้เสนอต่อจำเลยที่ 1 แต่กลับปรากฏตามเอกสารหมาย จ.41 ว่าเป็นการสั่งการของจำเลยที่ 1 เอง โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงเป็นการขาดเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและไม่เป็นความผิดตามฟ้อง อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์เองรับฟังได้ว่าทางจังหวัดนครสวรรค์ประกาศให้พื้นที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติหนาวในวันที่ 14 มกราคม 2552 อันเข้าเงื่อนไขที่จะดำเนินการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้วได้ แต่ก็เป็นวันเดียวกับที่ได้ดำเนินการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคาไปแล้ว อันแสดงว่ามีภัยพิบัติภัยหนาวเกิดขึ้นที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนจริงการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่มุ่งบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วนเป็นสำคัญ แม้เป็นการผิดกฎหมาย แต่ก็มีเหตุสมควรที่จะลงโทษจำเลยที่ 1 แต่เพียงสถานเบา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458-2459/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมขายทอดตลาด และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 98/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "กรณีที่มีการฟ้องคดีผู้ถูกกล่าวหาเป็นคดีอาญาต่อศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดี ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดียึดรายงานและสำนวนคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นหลักในการพิจารณาและอาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ในการดำเนินคดีตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยใช้ระบบไต่สวน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" แสดงว่าจะนำบทบัญญัติมาตราดังกล่าวตามวรรคสองมาใช้บังคับได้ต่อเมื่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ออกระเบียบในเรื่องนี้มาใช้บังคับแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกายังไม่ได้ออกระเบียบการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยใช้ระบบไต่สวน ที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไต่สวนมูลฟ้อง และสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองจนเสร็จและพิพากษาคดีแล้ว โดยที่โจทก์ไม่ได้ยกข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นโต้แย้งคัดค้านศาลชั้นต้นว่าดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ จนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี โจทก์เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ แม้จะกล่าวอ้างว่าศาลดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะส่งเพิกถอนได้ แต่ก็เป็นดุลยพินิจของศาล เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยมิได้สั่งเพิกถอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและพิจารณาพิพากษาต่อไป จึงฟังได้ว่าศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกายังไม่ได้ออกระเบียบการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยใช้ระบบไต่สวน ที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไต่สวนมูลฟ้อง และสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองจนเสร็จและพิพากษาคดีแล้ว โดยที่โจทก์ไม่ได้ยกข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นโต้แย้งคัดค้านศาลชั้นต้นว่าดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ จนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี โจทก์เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ แม้จะกล่าวอ้างว่าศาลดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะส่งเพิกถอนได้ แต่ก็เป็นดุลยพินิจของศาล เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยมิได้สั่งเพิกถอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและพิจารณาพิพากษาต่อไป จึงฟังได้ว่าศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ยักยอกทรัพย์-สนับสนุนการกระทำผิด กรณีขายทรัพย์สินของรัฐโดยมิชอบ
ศาลาทรงไทยกลางน้ำสร้างจากงบประมาณของเทศบาลตำบล ป. แม้ไม่มีเลขทะเบียนครุภัณฑ์หรือเป็นพัสดุที่ไม่มีทะเบียนคุม การดำเนินการใดๆ กับศาลาทรงไทยดังกล่าวต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 ที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะว่าเป็นอำนาจสั่งการของจำเลยที่ 1 ในฐานะนายกเทศมนตรีตำบล ป. ผู้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น การตรวจสอบและจำหน่ายพัสดุของจำเลยที่ 1 ภายใต้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติราชการในฐานะเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ตาม ป.อ. จำเลยที่ 1 จำหน่ายศาลาทรงไทยกลางน้ำของเทศบาลให้แก่เอกชนในลักษณะที่ฝ่าฝืนต่อระเบียบดังกล่าว อีกทั้งไม่นำเงินที่ขายได้ส่งเป็นรายได้เทศบาลในทันที จนกระทั่งถูกเจ้าหน้าที่เทศบาลทักท้วง ทวงถาม และถูกตรวจสอบโดยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด จึงให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเลขานุการนำเงินมาคืนในภายหลัง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 และมาตรา 151 ซึ่งเป็นบทเฉพาะของบททั่วไปตามมาตรา 157 ย่อมไม่จำต้องปรับบทความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
จำเลยที่ 2 เป็นเลขานุการนายกเทศมนตรีของจำเลยที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการติดต่อขายศาลาทรงไทยกลางน้ำของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 เข้าร่วมประชุมวาระอนุมัติรื้อถอนศาลาทรงไทยกลางน้ำ ก็เป็นเวลาในภายหลังจากจำเลยที่ 1 ติดต่อขายศาลาทรงไทยดังกล่าวไปแล้ว ทั้งการที่จำเลยที่ 2 รับฝากเงินค่าขายศาลาดังกล่าวไว้จากผู้ซื้อแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่อยู่ที่สำนักงาน เป็นการกระทำตามคำสั่งของ จำเลยที่ 1 ผู้บังคับบัญชา ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 และ 151 ก่อนหรือขณะกระทำความผิด จำเลยที่ 2 ย่อมมิใช่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 เป็นเลขานุการนายกเทศมนตรีของจำเลยที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการติดต่อขายศาลาทรงไทยกลางน้ำของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 เข้าร่วมประชุมวาระอนุมัติรื้อถอนศาลาทรงไทยกลางน้ำ ก็เป็นเวลาในภายหลังจากจำเลยที่ 1 ติดต่อขายศาลาทรงไทยดังกล่าวไปแล้ว ทั้งการที่จำเลยที่ 2 รับฝากเงินค่าขายศาลาดังกล่าวไว้จากผู้ซื้อแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่อยู่ที่สำนักงาน เป็นการกระทำตามคำสั่งของ จำเลยที่ 1 ผู้บังคับบัญชา ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 และ 151 ก่อนหรือขณะกระทำความผิด จำเลยที่ 2 ย่อมมิใช่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016-3017/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และสนับสนุนการกระทำความผิดในการออกเอกสารสิทธิที่ดิน
จำเลยที่ 2 นำแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ไปดำเนินการเพื่อขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) โดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินนั้นเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่ขออออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แล้วร่วมกับจำเลยที่ 1 พนักงานเจ้าหน้าที่ตำแหน่งนายช่างรังวัดไปรังวัดที่ดิน ทำแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์เพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และรู้เห็นเสนอรูปแผนที่ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกรังวัดต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชุมพร สาขาปะทิว เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินลงชื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งการกระทำในแต่ละขั้นตอนดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายสุดท้ายคือ การได้มาซึ่งหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ที่ทางราชการกรมที่ดินออกให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินลงชื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 ในวันดังกล่าวการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกอันเป็นการสนับสนุนของจำเลยที่ 2 ยังดำเนินอยู่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในคดีกล่าวหาคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องเป็นไปตามช่องทางที่กฎหมายเฉพาะกำหนด ตัดสิทธิฟ้องร้องต่อศาลทั่วไป
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งบัญญัติเรื่องการดำเนินคดีอาญาแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไว้เป็นการเฉพาะไม่มีผลใช้บังคับแล้ว แต่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ยังมีผลใช้บังคับอยู่ และมีข้อกำหนดทำนองเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภาตามจำนวนที่กำหนดมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอว่า กรรมการ ป.ป.ช. ผู้ใดร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และเมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำร้องให้ส่งคำร้องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 9 (3) บัญญัติรับรองให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น จึงเป็นการกำหนดช่องทางและวิธีการนำคดีอาญาดังกล่าวขึ้นสู่การพิจารณาของศาล และกำหนดศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีไว้เป็นการเฉพาะ มีผลเป็นการตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคณะกรรมการ ป.ป.ช.ต่อศาลตาม ป.วิ.อ.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2559)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2559)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2408/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมคดีอาญา มาตรา 157: จำเป็นต้องบรรยายหน้าที่ของจำเลยในการฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองบรรยายถึงอำนาจหน้าที่ของจำเลยในฐานะนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ว่ามีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด และประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับพนักงานจ้าง แต่จำเลยใช้ตำแหน่งหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง เรียกประชุมข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง แล้วแจ้งต่อที่ประชุมว่าขอหักเงินโบนัสคนละ 5 เปอร์เซ็นต์ ของเงินโบนัสที่แต่ละคนจะได้รับ หากผู้ใดไม่จ่ายเงินให้จำเลยก็จะกลั่นแกล้งจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ จนทำให้ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างทุกคน รวมทั้งโจทก์ทั้งสองต้องยอมจ่ายเงินโบนัสให้ เป็นการบรรยายถึงอำนาจหน้าที่ของจำเลยในการบริหารราชการในภาพรวมในฐานะที่จำเลยเป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร แต่ใช้อำนาจหน้าที่ที่จำเลยมีไปในทางที่ผิดกฎหมายในลักษณะใช้ตำแหน่งหน้าที่ไปแสวงหาผลประโยชน์ คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10742/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเจ้าพนักงานใช้อำนาจโดยทุจริต จัดซื้อที่ดินเกินราคา และทำเอกสารเท็จทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ
การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 45 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เทศบาล (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2519 แต่งตั้งคณะเทศมนตรีนครอุดรธานีชั่วคราว มีจำเลยที่ 1 เป็นนายกเทศมนตรี กับพวกอีก 4 คน เป็นเทศมนตรี เท่าจำนวนของคณะเทศมนตรีที่ต้องออกจากตำแหน่งทั้งคณะตามคำวินิจฉัยของสภาเทศบาล ตามคำสั่งจังหวัดอุดรธานีที่ 557/2542 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2542 นั้น เป็นกรณีแต่งตั้งคณะเทศมนตรีชั่วคราวโดยชอบด้วยบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว และต่อมาวันที่ 8 มีนาคม 2542 ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีประกาศแต่งตั้งคณะเทศมนตรีนครอุดรธานีขึ้นใหม่ มีจำเลยที่ 1 เป็นนายกเทศมนตรี และเทศมนตรีชั่วคราวชุดเดิมเป็นเทศมนตรี ตามประกาศจังหวัดอุดรธานี ลงวันที่ 8 มีนาคม 2542 แต่เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2542 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1151/2542 ให้เพิกถอนประกาศแต่งตั้งคณะเทศมนตรีนครอุดรธานีดังกล่าว ซึ่งระหว่างนั้น พ.ร.บ.เทศบาล (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2542 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2542 แล้ว โดยมีมาตรา 3 และมาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 (ฉบับเดิม) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เทศบาล (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2519 ที่กำหนดว่า ในกรณีที่คณะเทศมนตรีต้องออกจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งผู้ที่เห็นสมควรเท่าจำนวนของคณะเทศมนตรีที่ต้องออกจากตำแหน่งให้เป็นคณะเทศมนตรีชั่วคราวเพื่อดำเนินกิจการของเทศบาลไปจนกว่าจะได้แต่งตั้งคณะเทศมนตรีขึ้นใหม่ และแก้ไขใหม่ตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.เทศบาล (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2542 ว่า "ในระหว่างที่ไม่มีคณะเทศมนตรี ให้ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีเป็นการชั่วคราวเท่าที่จำเป็นได้จนกว่าคณะเทศมนตรีที่แต่งตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่" ก็ตาม แต่กฎหมายฉบับใหม่นี้มิได้กล่าวถึงสถานะของคณะเทศมนตรีชั่วคราวซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายฉบับเดิมว่าจะให้ดำรงอยู่ในสถานะใด เช่นนี้ คณะเทศมนตรีนครอุดรธานีชั่วคราวซึ่งแต่งตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายฉบับเดิม จึงยังคงมีสถานะเป็นคณะเทศมนตรีชั่วคราว รวมทั้งมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการของเทศบาลนครอุดรธานีไปจนกว่าจะมีการส่งมอบงานในหน้าที่ให้แก่ปลัดเทศบาลนครอุดรธานีปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีนครอุดรธานีเป็นการชั่วคราวต่อไปจนกว่าคณะเทศมนตรีนครอุดรธานีที่แต่งตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ เมื่อขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ส่งมอบงานในหน้าที่ให้แก่ปลัดเทศบาลนครอุดรธานี และได้ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่นายกเทศมนตรีนครอุดรธานีในการบริหารงานของเทศบาลนครอุดรธานีต่อไป ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์อ้างในฟ้อง จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานตามกฎหมาย การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับเรื่องร้องเรียน แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน ลงมติว่าจำเลยที่ 1 มีมูลความผิดอาญา กับส่งรายงานเอกสารและความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีนี้ เป็นการกระทำที่มีอำนาจกระทำได้ ถือว่ามีการสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการย่อมอ้างรายงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังกล่าวเป็นสำนวนการสอบสวนเพื่อยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้โจทก์นำ ช. เข้าเบิกความในชั้นพิจารณาโดยทำบันทึกคำเบิกความพยานแทนการซักถามพยานต่อหน้าศาล แต่ก็ไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยคัดค้าน ทั้งยังถามค้านพยานต่อมาอีกหลายนัดจนเสร็จการสืบพยานดังกล่าว ก็ไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยได้คัดค้านเช่นกัน ดังนี้ จำเลยที่ 5 จะยกขึ้นเถียงในชั้นฎีกาว่า การสืบพยานดังกล่าวขัดต่อวิธีพิจารณาความอาญาหาได้ไม่ และแม้คำเบิกความของ ช. ดังกล่าวจะเป็นพยานบอกเล่า แต่เมื่อคำนึงถึงตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ คำเบิกความของ ช. จึงรับฟังได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (1)
เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่เป็นกรรมการจัดซื้อที่ดินร่วมกันลงนามในรายงานการประชุมและบันทึกผลการจัดซื้อที่ดินว่ามีการประชุมและต่อรองราคาที่ดินซึ่งความจริงไม่ได้มีการประชุมและต่อรองราคาที่ดินแต่อย่างใด ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติงานในตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครอุดรธานี มีหน้าที่รับเอกสารลงนามรับรองรายงานการประชุมและบันทึกผลการจัดซื้อที่ดินที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เสนอให้พิจารณาอนุมัติจัดซื้อซึ่งตนมีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการจัดทำเอกสารดังกล่าวด้วย การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ลงนามรับรองว่าได้กระทำการดังกล่าวเป็นการร่วมกันรับรองเอกสารเท็จและรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 162 (1) (4) ประกอบมาตรา 83
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่เป็นกรรมการจัดซื้อที่ดินให้แก่เทศบาลนครอุดรธานี ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติงานในฐานะนายกเทศมนตรีนครอุดรธานีและเป็นผู้แต่งตั้งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นคณะกรรมการจัดซื้อที่ดิน แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นกรรมการจัดซื้อที่ดิน แต่มีหน้าที่จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ มิให้เป็นการเสียหายแก่รัฐและเทศบาลนครอุดรธานี การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ร่วมกันจัดซื้อที่ดินจาก ท. ในราคาไร่ละ 286,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ที่ดินมีราคาเพียงไร่ละ 50,000 บาท เท่านั้น ทำให้เทศบาลนครอุดรธานีเสียหายต้องซื้อที่ดินในราคาสูงกว่าราคาที่แท้จริงมาก และจำเลยที่ 1 ไม่ตรวจสอบการจัดซื้อที่ดินให้ถูกต้องตามระเบียบ ทั้งยังออกเช็คสั่งจ่ายเงินผิดระเบียบเพราะไม่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้หรือคู่สัญญาโดยตรงหรือในนามของผู้มอบฉันทะ แต่กลับไปจ่ายให้แก่จำเลยที่ 7 ผู้รับมอบอำนาจ ดังนี้ พฤติการณ์บ่งชี้ชัดแจ้งว่าเป็นการร่วมรู้เห็นกันมาแต่ต้นในการจัดซื้อที่ดิน เป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐและเทศบาลนครอุดรธานีแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 ประกอบมาตรา 83
แม้โจทก์นำ ช. เข้าเบิกความในชั้นพิจารณาโดยทำบันทึกคำเบิกความพยานแทนการซักถามพยานต่อหน้าศาล แต่ก็ไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยคัดค้าน ทั้งยังถามค้านพยานต่อมาอีกหลายนัดจนเสร็จการสืบพยานดังกล่าว ก็ไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยได้คัดค้านเช่นกัน ดังนี้ จำเลยที่ 5 จะยกขึ้นเถียงในชั้นฎีกาว่า การสืบพยานดังกล่าวขัดต่อวิธีพิจารณาความอาญาหาได้ไม่ และแม้คำเบิกความของ ช. ดังกล่าวจะเป็นพยานบอกเล่า แต่เมื่อคำนึงถึงตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ คำเบิกความของ ช. จึงรับฟังได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (1)
เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่เป็นกรรมการจัดซื้อที่ดินร่วมกันลงนามในรายงานการประชุมและบันทึกผลการจัดซื้อที่ดินว่ามีการประชุมและต่อรองราคาที่ดินซึ่งความจริงไม่ได้มีการประชุมและต่อรองราคาที่ดินแต่อย่างใด ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติงานในตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครอุดรธานี มีหน้าที่รับเอกสารลงนามรับรองรายงานการประชุมและบันทึกผลการจัดซื้อที่ดินที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เสนอให้พิจารณาอนุมัติจัดซื้อซึ่งตนมีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการจัดทำเอกสารดังกล่าวด้วย การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ลงนามรับรองว่าได้กระทำการดังกล่าวเป็นการร่วมกันรับรองเอกสารเท็จและรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 162 (1) (4) ประกอบมาตรา 83
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่เป็นกรรมการจัดซื้อที่ดินให้แก่เทศบาลนครอุดรธานี ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติงานในฐานะนายกเทศมนตรีนครอุดรธานีและเป็นผู้แต่งตั้งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นคณะกรรมการจัดซื้อที่ดิน แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นกรรมการจัดซื้อที่ดิน แต่มีหน้าที่จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ มิให้เป็นการเสียหายแก่รัฐและเทศบาลนครอุดรธานี การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ร่วมกันจัดซื้อที่ดินจาก ท. ในราคาไร่ละ 286,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ที่ดินมีราคาเพียงไร่ละ 50,000 บาท เท่านั้น ทำให้เทศบาลนครอุดรธานีเสียหายต้องซื้อที่ดินในราคาสูงกว่าราคาที่แท้จริงมาก และจำเลยที่ 1 ไม่ตรวจสอบการจัดซื้อที่ดินให้ถูกต้องตามระเบียบ ทั้งยังออกเช็คสั่งจ่ายเงินผิดระเบียบเพราะไม่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้หรือคู่สัญญาโดยตรงหรือในนามของผู้มอบฉันทะ แต่กลับไปจ่ายให้แก่จำเลยที่ 7 ผู้รับมอบอำนาจ ดังนี้ พฤติการณ์บ่งชี้ชัดแจ้งว่าเป็นการร่วมรู้เห็นกันมาแต่ต้นในการจัดซื้อที่ดิน เป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐและเทศบาลนครอุดรธานีแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 ประกอบมาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8716/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับการเบิกจ่ายเงินจ้างงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ลงลายมือชื่อในเอกสาร
วันที่ 19 สิงหาคม 2552 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวบานเพิ่งมีคำสั่งให้จำเลยที่ 5 ไปช่วยราชการที่องค์การบริหารส่วนตำบลหมากหญ้า ในการนี้วันที่ 21 สิงหาคม 2552 องค์การบริหารส่วนตำบลหมากหญ้ามีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 5 ปฏิบัติหน้าที่จัดทำร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 โดยนัยของคำสั่งดังกล่าว จำเลยที่ 5 มีหน้าที่ปฏิบัติเฉพาะงานตามที่ระบุไว้ในคำสั่งเท่านั้น จำเลยที่ 5 จึงไม่มีหน้าที่ในการควบคุมโครงการจ้างแรงงานเร่งด่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ จังหวัดอุดรธานี ปีงบประมาณ 2552 แต่อย่างใด หากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหมากหญ้าต้องการแต่งตั้งจำเลยที่ 5 ให้เป็นผู้ควบคุมโครงการดังกล่าว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหมากหญ้าต้องขอความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 5 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 ข้อ 32 วรรคหนึ่ง เสียก่อน แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ขอความเห็นชอบจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวบานซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 5 ดังนั้นคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลหมากหญ้าในส่วนแต่งตั้งจำเลยที่ 5 เป็นกรรมการผู้ควบคุมงานจึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยไม่ชอบด้วยระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ถือว่าจำเลยที่ 5 ไม่มีหน้าที่เป็นกรรมการผู้ควบคุมงานโครงการตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6905/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กำนันเพิกเฉยคำสั่งปิดประกาศกระทบการพิจารณาอนุญาตทางสาธารณประโยชน์
การที่โจทก์จะได้รับการอนุญาตหรือไม่ต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2543 แต่การที่จำเลยหน่วงเหนี่ยวไม่ปิดประกาศแบบ ท.ด.25 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเปิดเผยต่อสาธารณะให้ทราบทั่วกัน โดยเฉพาะราษฎรในพื้นที่ให้ทราบว่ามีผู้ขอใช้ทางสาธารณประโยชน์ หากราษฎรผู้ใดมีส่วนได้เสีย ก็สามารถคัดค้านหรือแสดงความคิดเห็นได้นั้น ย่อมเป็นเหตุให้นายอำเภอทับคล้อไม่สามารถรายงานความเห็นเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เพื่อพิจารณาตามคำขออนุญาตของโจทก์ได้ตามขั้นตอนและตามกำหนดเวลา ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ผู้ยื่นคำขอที่ต้องได้รับผลกระทบต่อการดำเนินกิจการในความล่าช้าอันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่จงใจขัดขวางการขออนุญาตใช้ทางสาธารณประโยชน์เพื่อสร้างบ่อเก็บกากแร่แห่งที่ 2 ให้เกิดอุปสรรคและความล่าช้าในการดำเนินการ โจทก์เป็นผู้ซึ่งได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งการกระทำของจำเลยที่จงใจเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายอำเภอ เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ป.อ. มาตรา 157