พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6877/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทุจริตและการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของพนักงานสอบสวนภายใต้กฎหมาย ป.ป.ช. และประมวลกฎหมายอาญา
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 31 เรื่อง การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ข้อ 6 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการกำหนดขั้นตอนวิธีการดำเนินคดีในการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมาย อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอาญา ย่อมมีผลใช้บังคับทันทีหลังจากมีประกาศ เมื่อปรากฏว่ากฎหมายดังกล่าวประกาศใช้บังคับขณะคดีของจำเลยอยู่ในขั้นตอนดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงมีอำนาจที่จะเลือกใช้ช่องทางตามประกาศดังกล่าวแก่คดีของจำเลยหรือไม่ก็ได้ เพราะเป็นทางเลือกที่เพิ่มเติมจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 31 ข้อ 8 ยังกำหนดว่า บรรดาบทบัญญัติใดของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน ดังนั้น การดำเนินการตามข้อ 6 ของประกาศดังกล่าวจึงมิได้อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แต่อย่างใด เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาเรื่องของจำเลยแล้วมีมติให้ส่งเรื่องกล่าวหาร้องเรียนจำเลยไปให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรห้างฉัตรดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไป ย่อมเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจที่จะสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การสอบสวนของพนักงานสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
การยึดรถกระบะของกลางตลอดจนการคืนล้วนเกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 85 วรรคสาม (เดิม), 131 ส่วนเรื่องการเก็บรักษา ดูแล หรือพิจารณาสั่งคืนของกลาง แม้ตามข้อบังคับหรือระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะมิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนโดยลำพังก็ตาม ก็หาทำให้อำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายหมดสิ้นไป จำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนเรียกรับเงินค่าตรวจสภาพรถกระบะของกลางโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
การยึดรถกระบะของกลางตลอดจนการคืนล้วนเกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 85 วรรคสาม (เดิม), 131 ส่วนเรื่องการเก็บรักษา ดูแล หรือพิจารณาสั่งคืนของกลาง แม้ตามข้อบังคับหรือระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะมิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนโดยลำพังก็ตาม ก็หาทำให้อำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายหมดสิ้นไป จำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนเรียกรับเงินค่าตรวจสภาพรถกระบะของกลางโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล, การพิพากษาเกินฟ้อง, และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีทุจริตเงินของทางราชการ
แม้โจทก์ฟ้องจำเลยและ ว. ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารว่าร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหารต่อศาลยุติธรรม แต่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าคู่ความที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยาน แต่จำเลยไม่ได้ยื่นคำร้อง เป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว แสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลยุติธรรมที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ และเมื่อศาลยุติธรรมพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้ว จำเลยย่อมไม่อาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาได้
การนำข้อเท็จจริงที่ไม่ได้กล่าวในฟ้องมาพิพากษาลงโทษจำเลย แม้เป็นการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 157 เช่นเดียวกัน ก็ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
การนำข้อเท็จจริงที่ไม่ได้กล่าวในฟ้องมาพิพากษาลงโทษจำเลย แม้เป็นการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 157 เช่นเดียวกัน ก็ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15232/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการการเลือกตั้งใช้อำนาจหน้าที่มิชอบ เอื้อประโยชน์พรรคการเมือง คดีถึงที่สุด ศาลฎีกายืนโทษ
คณะกรรมการการเลือกตั้งถูกจัดตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ให้มีหน้าที่ควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงเป็นองค์กรที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการได้มาซึ่งผู้แทนของประชาชน หากไม่สามารถควบคุมหรือจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมแล้วจะบังเกิดผลทำให้บุคคลที่ไม่สุจริตโกงการเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปใช้อำนาจนิติบัญญัติหรืออำนาจบริหารราชการแผ่นดิน ย่อมคาดหมายได้ว่าบุคคลจำพวกนี้จะใช้อำนาจหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์แก่ตนและพวกพ้องยิ่งกว่าประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม อันทำให้ระบบการปกครองที่เรียกว่าประชาธิปไตยผิดเพี้ยนไป ความเสียหายย่อมตกแก่ประชาชน หรือรัฐซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน อันถือเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 24 จึงได้บัญญัติเป็นข้อห้ามของกรรมการการเลือกตั้งว่า ห้ามมิให้กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งจังหวัด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและอนุกรรมการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้ง กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด หรือกระทำการหรือละเว้นกระทำการโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบในการปฏิบัติหน้าที่ และมาตรา 42 บัญญัติกำหนดโทษทางอาญาแก่กรรมการการเลือกตั้งผู้ฝ่าฝืนมาตรา 24 ไว้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ได้ยื่นคำร้องกล่าวโทษต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมตามกฎหมาย เพราะก่อนวันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรค ท. หรือผู้บริหารพรรค ท. กระทำการโดยไม่สุจริตด้วยการจ้างวานหรือใช้ให้พรรค พ. และพรรค ผ. จัดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งต่าง ๆ หลายเขตหลายจังหวัดในประเทศเพื่อแข่งขันกับผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค ท. ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในแต่ละเขตดังกล่าวนั้น โดยผู้บริหารของพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งปลอมทะเบียนผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งซึ่งเป็นเอกสารราชการเก็บรักษาอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยการแก้ไขฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ด้วยการลบชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งที่แท้จริงออกไปแล้วใส่ชื่อผู้ที่จะจัดให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค พ. และพรรค ผ. แทน เพื่อให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค พ. และพรรค ผ. มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งโดยไม่สุจริตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่เมื่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งทำการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วมีมติว่าพรรค พ. และพรรค ผ. ได้รับเงินสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงของพรรค ท. เพื่อดำเนินการแก้ไขข้อมูลในทะเบียนผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและจัดส่งสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 จริง สมควรแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งพันตำรวจโท ท. รักษาการนายกรัฐมนตรีและในฐานะหัวหน้าพรรค ท. จำเลยทั้งสี่กลับดำเนินการบางส่วนแก่พรรค พ. และพรรค ผ. แต่เพิกเฉยไม่ดำเนินการแก่พรรค ท. และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่ามีเจตนาหน่วงเหนี่ยวประวิงเวลาเพื่อช่วยเหลือพรรค ท. อันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นการปฏิบัติต่อโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 136 ถึง มาตรา 148 กำหนดให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรอิสระโดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และให้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้งอื่น ทั้งมาตรา 147 แห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้กำหนดไว้ด้วยว่า หากปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าก่อนได้รับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ฯลฯ ผู้ใดได้กระทำการโดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริตโดยผลของการที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดได้กระทำลงไปอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง นอกจากคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงโดยพลันแล้ว เมื่อได้ผลการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องวินิจฉัยสั่งการโดยพลันด้วย การที่ข้อเท็จจริงปรากฏต่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกตั้งแต่แรกแล้วว่า พลเอก ธ. รองหัวหน้าพรรค ท. และ พ. รองเลขาธิการพรรค ท. ซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อันแสดงให้เห็นได้ว่าคนทั้งสองเป็นกรรมการบริหารของพรรค ท. ที่มีบทบาทสูงจึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ คนทั้งสองได้กระทำการอันฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 และกระทำความผิดต่อกฎหมายอาญาในเรื่องของการสนับสนุนให้มีการปลอมแปลงเอกสารราชการด้วย แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก กลับมิได้วินิจฉัยสั่งการให้ดำเนินคดีแก่คนทั้งสองโดยพลันทั้งนี้น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก ทราบดีอยู่แล้วว่าการดำเนินคดีแก่พลเอก ธ. และ พ. ย่อมส่งผลกระทบต่อพรรค ท. อย่างรุนแรง เพราะเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐทั้งขัดต่อกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองย่อมมีหน้าที่แจ้งต่ออัยการสูงสุดให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบพรรค ท. ได้ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ตามมาตรา 67 ประกอบมาตรา 66 (1) และ (3) การประชุมของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เพื่อพิจารณารายงานการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงที่มี น. เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2549 และลงมติในส่วนที่เกี่ยวกับพรรค ท. ว่าให้คณะอนุกรรมการฯ สอบสวนพยานเพิ่มเติมจึงมิได้เป็นการวินิจฉัยสั่งการโดยพลันเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อเป็นคุณแก่พรรค ท. และจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก มิได้กระทำการตามหน้าที่โดยสุจริต จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 24, 42 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยรับราชการในตำแหน่งสำคัญและทำคุณความดี ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติมากมายขณะดำรงตำแหน่งหรือในระยะต่อมาจนได้รับการสรรหาและคัดเลือกให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง แสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับการเชื่อถือว่าเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์โดยผลงาน ชื่อเสียงและเกียรติคุณที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้สร้างสมไว้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีอำนาจหน้าที่อันสำคัญ ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องดำรงความซื่อสัตย์สุจริตและความเป็นกลางทางการเมืองให้มั่นคงที่สุด แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กลับกระทำการในลักษณะตรงกันข้าม วินิจฉัยสั่งการโดยมิชอบด้วยหน้าที่เป็นคุณแก่พรรค ท. อันเป็นพรรครัฐบาล อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและคุณธรรม เท่ากับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมละทิ้งคุณความดี คุณประโยชน์ของตนที่มีมาก่อนจนหมดสิ้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ควรยกคุณความดี คุณประโยชน์ที่เคยทำมากล่าวอ้างเพื่อประโยชน์แก่ตนได้อีก แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ละคนจะมีอายุประมาณ 70 ปีแล้ว และมีสุขภาพไม่ดีก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 136 ถึง มาตรา 148 กำหนดให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรอิสระโดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และให้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้งอื่น ทั้งมาตรา 147 แห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้กำหนดไว้ด้วยว่า หากปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าก่อนได้รับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ฯลฯ ผู้ใดได้กระทำการโดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริตโดยผลของการที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดได้กระทำลงไปอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง นอกจากคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงโดยพลันแล้ว เมื่อได้ผลการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องวินิจฉัยสั่งการโดยพลันด้วย การที่ข้อเท็จจริงปรากฏต่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกตั้งแต่แรกแล้วว่า พลเอก ธ. รองหัวหน้าพรรค ท. และ พ. รองเลขาธิการพรรค ท. ซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อันแสดงให้เห็นได้ว่าคนทั้งสองเป็นกรรมการบริหารของพรรค ท. ที่มีบทบาทสูงจึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ คนทั้งสองได้กระทำการอันฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 และกระทำความผิดต่อกฎหมายอาญาในเรื่องของการสนับสนุนให้มีการปลอมแปลงเอกสารราชการด้วย แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก กลับมิได้วินิจฉัยสั่งการให้ดำเนินคดีแก่คนทั้งสองโดยพลันทั้งนี้น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก ทราบดีอยู่แล้วว่าการดำเนินคดีแก่พลเอก ธ. และ พ. ย่อมส่งผลกระทบต่อพรรค ท. อย่างรุนแรง เพราะเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐทั้งขัดต่อกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองย่อมมีหน้าที่แจ้งต่ออัยการสูงสุดให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบพรรค ท. ได้ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ตามมาตรา 67 ประกอบมาตรา 66 (1) และ (3) การประชุมของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เพื่อพิจารณารายงานการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงที่มี น. เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2549 และลงมติในส่วนที่เกี่ยวกับพรรค ท. ว่าให้คณะอนุกรรมการฯ สอบสวนพยานเพิ่มเติมจึงมิได้เป็นการวินิจฉัยสั่งการโดยพลันเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อเป็นคุณแก่พรรค ท. และจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก มิได้กระทำการตามหน้าที่โดยสุจริต จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 24, 42 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยรับราชการในตำแหน่งสำคัญและทำคุณความดี ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติมากมายขณะดำรงตำแหน่งหรือในระยะต่อมาจนได้รับการสรรหาและคัดเลือกให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง แสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับการเชื่อถือว่าเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์โดยผลงาน ชื่อเสียงและเกียรติคุณที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้สร้างสมไว้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีอำนาจหน้าที่อันสำคัญ ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องดำรงความซื่อสัตย์สุจริตและความเป็นกลางทางการเมืองให้มั่นคงที่สุด แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กลับกระทำการในลักษณะตรงกันข้าม วินิจฉัยสั่งการโดยมิชอบด้วยหน้าที่เป็นคุณแก่พรรค ท. อันเป็นพรรครัฐบาล อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและคุณธรรม เท่ากับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมละทิ้งคุณความดี คุณประโยชน์ของตนที่มีมาก่อนจนหมดสิ้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ควรยกคุณความดี คุณประโยชน์ที่เคยทำมากล่าวอ้างเพื่อประโยชน์แก่ตนได้อีก แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ละคนจะมีอายุประมาณ 70 ปีแล้ว และมีสุขภาพไม่ดีก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14738/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเพื่ออนุมัติสัญญาจ้าง ความผิดมาตรา 149 แก้ไขโทษ
พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 58/2 ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุบัญญัติว่า "ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่วันเลือกตั้ง..." เมื่อประกาศผลเลือกตั้งในวันที่ 15 กันยายน 2551 จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 59, 60 และ 65 มีอำนาจหน้าที่ควบคุม รับผิดชอบ ในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ ตลอดทั้งมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ เพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จำเลยจึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามความหมายของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4
พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 58/5 วรรคสอง บัญญัติว่า "...หากมีกรณีที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วนซึ่งปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์สำคัญของราชการหรือราษฎร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะดำเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จำเป็นก็ได้..." แสดงว่ากฎหมายกำหนดให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตั้งแต่วันได้รับเลือกตั้ง ส่วนการแถลงนโยบายก่อนเข้ารับหน้าที่เป็นเพียงเงื่อนไขในการเข้าปฏิบัติงานเท่านั้น ไม่ใช่จำเลยไม่มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ หากยังไม่ได้แถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ
พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 58/5 วรรคสอง บัญญัติว่า "...หากมีกรณีที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วนซึ่งปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์สำคัญของราชการหรือราษฎร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะดำเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จำเป็นก็ได้..." แสดงว่ากฎหมายกำหนดให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตั้งแต่วันได้รับเลือกตั้ง ส่วนการแถลงนโยบายก่อนเข้ารับหน้าที่เป็นเพียงเงื่อนไขในการเข้าปฏิบัติงานเท่านั้น ไม่ใช่จำเลยไม่มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ หากยังไม่ได้แถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14066/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนวินัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งและการปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมาย ป.ป.ช.
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 91 บัญญัติว่า เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วมีมติว่าข้อกล่าวหาใดไม่มีมูลให้ข้อกล่าวหานั้นเป็นอันตกไป ข้อกล่าวหาใดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ามีมูลความผิดให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ถ้ามีมูลความผิดทางวินัย ให้ดำเนินการตามมาตรา 92 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีมีมูลความผิดทางวินัย เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดแล้วมีมติว่าผู้ถูกกล่าวหาผู้ใดกระทำความผิดวินัย ให้ประธานกรรมการส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่ พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาผู้นั้นเพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ในการพิจารณาโทษทางวินัยแก่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถือว่ารายงานเอกสารและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัยตามกฎหมายหรือระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ แล้วแต่กรณี บทบัญญัติดังกล่าวบังคับเฉพาะกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำความผิดวินัยเท่านั้นที่ให้ถือตามรายงานเอกสารและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ได้บังคับในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูลความผิด จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จึงยังคงมีอำนาจมีมติให้คณะกรรมการสอบสวนวินัยสอบสวนโจทก์ได้ ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้มีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มาตรา 28 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีเลขาธิการคนหนึ่ง ซึ่งประธานกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2542 ข้อ 76 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า พนักงานผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้เลขาธิการหรือประธานกรรมการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี และ ( 2 ) กำหนดว่า สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้สั่งการ ดังนั้น แม้คณะกรรมการสอบสวนวินัยรายงานการสอบสวนโจทก์ว่าเห็นควรยุติเรื่องและจำเลยที่ 1 เห็นชอบ ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งเป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งและลงโทษโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ในฐานะคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีอำนาจมีมติให้คณะกรรมการสอบสวนวินัยสอบสวนโจทก์ต่อไปได้ ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้มีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มาตรา 28 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีเลขาธิการคนหนึ่ง ซึ่งประธานกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2542 ข้อ 76 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า พนักงานผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้เลขาธิการหรือประธานกรรมการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี และ ( 2 ) กำหนดว่า สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้สั่งการ ดังนั้น แม้คณะกรรมการสอบสวนวินัยรายงานการสอบสวนโจทก์ว่าเห็นควรยุติเรื่องและจำเลยที่ 1 เห็นชอบ ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งเป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งและลงโทษโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ในฐานะคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีอำนาจมีมติให้คณะกรรมการสอบสวนวินัยสอบสวนโจทก์ต่อไปได้ ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14062/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ย้ายข้าราชการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่มีเจตนาทำให้เสียหาย ไม่เป็นความผิด ม.157
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งเก้าร่วมกันออกข้อกำหนดเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์หรือผู้หนึ่งผู้ใดให้ได้รับความเสียหาย แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยทั้งเก้าออกข้อกำหนดเพื่อให้จำเลยทั้งเก้ามีอำนาจอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้บุคคลใดย้ายตามอำเภอใจของจำเลยทั้งเก้า เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งเก้ากระทำไปเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือผู้อื่น ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13274/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญามาตรา 157 ต้องระบุเจตนาพิเศษทำให้เสียหาย หากขาดองค์ประกอบนี้ คำฟ้องไม่ชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสองคอน มีหน้าที่แจ้งให้ผู้สอบราคาได้มาทำสัญญากับองค์การบริหารส่วนตำบลสองคอน จำเลยได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยไม่แจ้งให้ผู้สอบราคาได้ไปทำสัญญาจ้าง แต่กลับสั่งยกเลิกประกาศสอบราคาโครงการเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2551 และไม่ทำเรื่องเบิกตัดปีเพื่อกันเงินไว้เพื่อจัดทำโครงการ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้สอบราคาได้ องค์การบริหารส่วนตำบลสองคอน และประชาชน คำฟ้องของโจทก์มุ่งหมายให้ลงโทษจำเลยฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ฉะนั้น ความสำคัญของความผิดย่อมอยู่ที่เจตนาในการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด อันเป็นองค์ประกอบของความผิดประการหนึ่งด้วยตาม ป.อ. มาตรา 157 เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นจำเลยกระทำด้วยเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใด คำฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบของความผิด ย่อมเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้อ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วทำให้เห็นเจตนาพิเศษหรือพอเข้าใจได้ว่าเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้สอบราคาได้ ก็ไม่ทำให้คำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12091/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุม ลักทรัพย์ และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ: การยกฟ้องคดีอาญา
ก่อนจับกุมโจทก์ทั้งสองได้มีการจับกุม ช. กับพวกในข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ช. ให้การว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ใช้จ้างวาน จึงมีการสอบสวน ขยายผลและจับกุมโจทก์ทั้งสองมาลงบันทึกประจำวันไว้ และตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีระบุว่า พันตำรวจเอก ส. ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลพระโขนง สั่งให้จำเลยทั้งสิบสามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนปราบปรามนำตัว ช. ไปสอบสวนขยายผล โดยนัดโจทก์ที่ 2 มารับรถยนต์ที่หน้าห้างสรรพสินค้า ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนหากต้องไปขอหมายจับจากศาลชั้นต้นแล้วผู้ร่วมกระทำความผิดอาจหลบหนีไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (3) ทั้งรถที่ถูกลักอยู่ที่บ้านของโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 2 เป็นผู้พาเจ้าพนักงานตำรวจไปทำการตรวจค้นเอง จึงไม่จำต้องขอหมายค้นจากศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (4) และมาตรา 94 การกระทำของจำเลยทั้งสิบสามเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งการโดยชอบ จึงไม่มีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา 157
ฟ้องของโจทก์ทั้งสองมิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยทั้งสิบสามร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ทั้งสองขณะโจทก์ทั้งสองถูกควบคุมตัว ฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงมิได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสิบสามกระทำความผิด เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
การที่จำเลยทั้งสิบสามจับกุมโจทก์ทั้งสองสืบเนื่องจากคำซัดทอดของ ช. กับพวก ต่อมามีการแจ้งข้อหาและทำหลักฐานการจับกุม การระบุวันที่จับกุมและบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนคลาดเคลื่อนไปบ้างเป็นเพียงรายละเอียด แต่สาระสำคัญมีความถูกต้องตามพฤติการณ์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และมีการนำสืบพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาไปตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งจำเลยทั้งสิบสามอาจเชื่อว่าโจทก์ทั้งสองมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานเท็จ การกระทำของจำเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีมูลความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ หรือนำสืบพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 162, 172, 173, 174, 179 และ 180
โจทก์ที่ 2 พาเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นที่บ้านของโจทก์ที่ 2 โดยความยินยอมของโจทก์ที่ 2 เอง การกระทำของจำเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีมูลเป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนตาม ป.อ. มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 362
ของกลางทั้งหมดเจ้าพนักงานตำรวจนำไปเป็นของกลางคดีอาญา ทั้งโจทก์ทั้งสองได้อ่านข้อความในบันทึกการจับกุมที่ระบุว่ามีการยึดเงินสด ธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท 20 ฉบับ รวมเป็นเงิน 20,000 บาท แล้วมิได้โต้แย้งว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงแต่อย่างใด เชื่อว่าเจ้าพนักงานตำรวจบันทึกข้อความในบันทึกการจับกุมโดยถูกต้องแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีมูลเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340
ฟ้องของโจทก์ทั้งสองมิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยทั้งสิบสามร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ทั้งสองขณะโจทก์ทั้งสองถูกควบคุมตัว ฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงมิได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสิบสามกระทำความผิด เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
การที่จำเลยทั้งสิบสามจับกุมโจทก์ทั้งสองสืบเนื่องจากคำซัดทอดของ ช. กับพวก ต่อมามีการแจ้งข้อหาและทำหลักฐานการจับกุม การระบุวันที่จับกุมและบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนคลาดเคลื่อนไปบ้างเป็นเพียงรายละเอียด แต่สาระสำคัญมีความถูกต้องตามพฤติการณ์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และมีการนำสืบพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาไปตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งจำเลยทั้งสิบสามอาจเชื่อว่าโจทก์ทั้งสองมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานเท็จ การกระทำของจำเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีมูลความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ หรือนำสืบพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 162, 172, 173, 174, 179 และ 180
โจทก์ที่ 2 พาเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นที่บ้านของโจทก์ที่ 2 โดยความยินยอมของโจทก์ที่ 2 เอง การกระทำของจำเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีมูลเป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนตาม ป.อ. มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 362
ของกลางทั้งหมดเจ้าพนักงานตำรวจนำไปเป็นของกลางคดีอาญา ทั้งโจทก์ทั้งสองได้อ่านข้อความในบันทึกการจับกุมที่ระบุว่ามีการยึดเงินสด ธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท 20 ฉบับ รวมเป็นเงิน 20,000 บาท แล้วมิได้โต้แย้งว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงแต่อย่างใด เชื่อว่าเจ้าพนักงานตำรวจบันทึกข้อความในบันทึกการจับกุมโดยถูกต้องแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีมูลเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10616/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา: การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำผิดเป็นประโยชน์แก่ผู้กระทำความผิด
คำร้องขอให้ศาลออกหมายจับผู้คัดค้านทั้งสองระบุว่า ผู้คัดค้านทั้งสองมีพฤติการณ์กระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 โดยเหตุเกิดระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2539 เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ที่ผู้ร้องขอให้ออกหมายจับมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงมีอายุความสิบห้าปีนับแต่วันกระทำความผิดตามมาตรา 95 (2) แห่ง ป.อ. ความผิดตามที่ผู้ร้องขอให้ศาลออกหมายจับดังกล่าวจึงขาดอายุความนับแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2554 และมีผลทำให้หมายจับดังกล่าวสิ้นผลไปด้วยนับแต่วันดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 68
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 74/1 ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับวันที่ 19 เมษายน 2554 ซึ่งเป็นระยะเวลาภายหลังการกระทำความผิดของผู้คัดค้านทั้งสองและการนับอายุความโดยมิให้นับระยะเวลาที่หลบหนีเข้าด้วยตามมาตราดังกล่าวมีผลทำให้ผู้คัดค้านทั้งสองถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาได้ทั้งที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ตัวผู้คัดค้านทั้งสองมาฟ้องภายใน 15 ปี ซึ่งไม่เป็นคุณแก่ผู้คัดค้านทั้งสอง จึงต้องนำอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะผู้คัดค้านทั้งสองกระทำความผิดมาบังคับใช้เพราะเป็นคุณแก่ผู้คัดค้านทั้งสองมากกว่า จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องการนับอายุความตามมาตรา 98 และมาตรา 74/1 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาใช้บังคับแก่ผู้คัดค้านทั้งสองได้
แม้ความผิดตามหมายจับที่ศาลชั้นต้นออกให้แก่ผู้ร้องขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (2) และสิ้นผลไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 68 แล้วก็ตาม แต่เนื่องจากหมายจับดังกล่าวมีข้อความว่า (จนกระทั่งจับตัวได้ตามมาตรา 74/1 ประกอบมาตรา 98 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2550 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2554)) กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะสั่งเพิกถอนหมายจับดังกล่าวเสีย
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 74/1 ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับวันที่ 19 เมษายน 2554 ซึ่งเป็นระยะเวลาภายหลังการกระทำความผิดของผู้คัดค้านทั้งสองและการนับอายุความโดยมิให้นับระยะเวลาที่หลบหนีเข้าด้วยตามมาตราดังกล่าวมีผลทำให้ผู้คัดค้านทั้งสองถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาได้ทั้งที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ตัวผู้คัดค้านทั้งสองมาฟ้องภายใน 15 ปี ซึ่งไม่เป็นคุณแก่ผู้คัดค้านทั้งสอง จึงต้องนำอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะผู้คัดค้านทั้งสองกระทำความผิดมาบังคับใช้เพราะเป็นคุณแก่ผู้คัดค้านทั้งสองมากกว่า จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องการนับอายุความตามมาตรา 98 และมาตรา 74/1 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาใช้บังคับแก่ผู้คัดค้านทั้งสองได้
แม้ความผิดตามหมายจับที่ศาลชั้นต้นออกให้แก่ผู้ร้องขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (2) และสิ้นผลไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 68 แล้วก็ตาม แต่เนื่องจากหมายจับดังกล่าวมีข้อความว่า (จนกระทั่งจับตัวได้ตามมาตรา 74/1 ประกอบมาตรา 98 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2550 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2554)) กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะสั่งเพิกถอนหมายจับดังกล่าวเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10237/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานทุจริต-สนับสนุนการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างเทศบาล - พยานหลักฐานรับฟังได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าพนักงานของรัฐร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต อนุมัติและดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่าง ๆ ของเทศบาลตำบลสว่างแดนดิน 16 โครงการ โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำการโดยใช้อุบายหลอกลวงหรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าเสนอราคาอย่างเป็นธรรมอันทำให้เกิดความเสียหายแก่เทศบาลตำบลสว่างแดนดิน ราชการ เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลสว่างแดนดิน บริษัทห้างร้านที่มีอาชีพรับเหมาก่อสร้างทั่วไปหรือบุคคลอื่นและประชาชน ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ลงลายมือชื่อรับบันทึกรับส่งประกาศสอบราคา บันทึกรับเอกสารสอบราคาและบันทึกการยื่นซองสอบราคาซึ่งเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการทุจริตทั้ง 16 โครงการโดยที่ไม่มีการปิดประกาศเผยแพร่ไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการสำนักงานเทศบาล ตำบลสว่างแดนดินหรือให้มีการประชาสัมพันธ์การสอบราคาให้ประชาชนทั่วไปทราบ ทั้งเจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลสว่างแดนดินบางส่วนก็ไม่ทราบ ผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างทั่วไปไม่มีโอกาสเข้าแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม มีแต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กับจำเลยอื่นเท่านั้นที่รู้และยื่นซองเสนอราคา พฤติกรรมของจำเลยที่ 3 และที่ 4 บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประกอบกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2
แม้ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151, 157, 162 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 กฎหมายมุ่งประสงค์เอาผิดกับผู้กระทำความผิดที่เป็นเจ้าพนักงานแต่เอกชนก็ร่วมกระทำความผิดกับเจ้าพนักงานได้โดยต้องลงโทษเอกชนผู้ร่วมกระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเอกชน ร่วมกระทำความผิดกับเจ้าพนักงานคือจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของเจ้าพนักงาน
แม้ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151, 157, 162 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 กฎหมายมุ่งประสงค์เอาผิดกับผู้กระทำความผิดที่เป็นเจ้าพนักงานแต่เอกชนก็ร่วมกระทำความผิดกับเจ้าพนักงานได้โดยต้องลงโทษเอกชนผู้ร่วมกระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเอกชน ร่วมกระทำความผิดกับเจ้าพนักงานคือจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของเจ้าพนักงาน