คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 157

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดหลายกระทง เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ-ข่มขืนใจ-ทำร้ายร่างกาย-แจ้งความเท็จ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายข้อหาในคดีที่มีข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำหรือกรอกข้อความในบันทึกการจับกุม รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงซึ่งมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จโดยบรรยายฟ้องรวมกันมาเป็นข้อเดียว มิได้แยกกระทงแต่อย่างใด อีกทั้งการกระทำตามฟ้อง แม้จำเลยทั้งสองจะกระทำการหลายอย่าง แต่ด้วยเจตนาเดียวกัน คือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงเป็นกรรมเดียวกัน เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 162 มีอัตราโทษจำคุกเกินสามปีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 และมาตรา 310 วรรคแรก เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 162 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไปด้วย
1/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9368/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่รัฐทุจริตประมูลงานก่อสร้าง, บิดเบนข้อเท็จจริง, เบียดบังผลประโยชน์, มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยที่ 1 รับราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนโยธา องค์การบริหารส่วนตำบลหัวลำ ช่วยราชการองค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมงาน จำเลยที่ 2 เป็นกำนันตำบลซับจำปา และเป็นกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการตรวจการจ้าง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ตรวจผลการปฏิบัติและตรวจรับงานตามสัญญาจ้าง โดยจำเลยทั้งสองทราบแต่แรกแล้วว่างานจ้างเหมาก่อสร้างถนนตามสัญญามีความยาว 1,350 เมตร การที่จำเลยที่ 1 ไม่ออกไปตรวจสอบการก่อสร้าง ทำให้เกิดความเสียหายเพราะหากจำเลยที่ 1 ไปตรวจย่อมทราบได้ว่าถนนที่ก่อสร้างเสร็จมีความยาวเพียงประมาณ 1,024 เมตร การที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทำหลักฐานเท็จด้วยเจตนาพิเศษที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปาและเป็นการกระทำโดยสุจริต ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปาต้องจ่ายเงินค่าจ้างเกินไป และมีผู้ได้ประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเป็นค่าก่อสร้างที่เกินไปจากความจริง แม้ภายหลังจำเลยที่ 2 จะนำเงินค่ารับจ้างส่วนที่รับเกินไปมาคืน ก็เนื่องมาจากองค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปาแจ้งเรียกเงินคืน จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
จำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ไม่อาจเป็นตัวการในการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 2 จัดทำบันทึกประจำวันและผลการปฏิบัติงานฉบับใหม่มาให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อย่อมลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7737/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ: การเบิกความในฐานะนักศึกษาแพทย์ ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
จำเลยรับราชการเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลเลิดสิน มีหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการคือตรวจและรักษาคนไข้ การที่จำเลยไปเบิกความเกี่ยวกับการตรวจร่างกายโจทก์ที่โรงพยาบาลศิริราชขณะจำเลยเป็นนักศึกษาแพทย์ จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่จำเลยได้รับมอบหมายจากทางราชการ การกระทำของจำเลยไม่มีมูลความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 165 วรรคสาม จะบัญญัติว่า ก่อนที่ศาลประทับฟ้องมิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น แต่ตามบทมาตราดังกล่าวก็บัญญัติให้สิทธิจำเลยตั้งทนายเข้าซักค้านพยานโจทก์ได้ ดังนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำแถลงการณ์ชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาไต่สวนว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10165/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานสอบสวน การข่มขู่พยาน และความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
จำเลยที่ 1 ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้สืบสวนข้อเท็จจริงตามหนังสือร้องเรียนของจำเลยที่ 2 ซึ่งร้องเรียนว่าโจทก์ร่วมร่วมกับพวกสร้างหลักฐานเท็จออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 1 จึงไปพบและสอบถาม ส. ภริยาของ ม. และ ค. เพื่อให้ ม. และ ค. ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่มีการกล่าวหาว่ามีการกระทำผิดมาให้มีข้อเท็จจริง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาพยานบุคคลมาให้การประกอบการดำเนินคดีแก่โจทก์ร่วม แม้จำเลยที่ 1 จะพูดว่าหากไม่ได้ความร่วมมือเป็นพยานจะดำเนินคดีแก่ ม. และ ค. ก็ตาม ก็อยู่ในขบวนการสืบสวนหาข้อเท็จจริง ทั้งการไปเป็นพยานย่อมเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ถึงขั้นรับฟังได้ว่าเป็นการข่มขู่ที่จะทำให้เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และจำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นผู้เสียหายในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 กรณีกล่าวหาแพทย์ประพฤติผิดจริยธรรม - ต้องเสียหายโดยตรง
พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 เป็นกฎหมายมุ่งคุ้มครองและควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม แม้ให้สิทธิโจทก์ทั้งสองเป็นผู้กล่าวหาผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมโดยนำเรื่องยื่นต่อจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 32 แต่ตามมาตรา 39 ก็ให้อำนาจคณะกรรมการจำเลยที่ 1 ที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเพียงว่า ยกข้อกล่าวหา ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งเป็นการกระทำต่อผู้ถูกกล่าวหาที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองโดยตรงแต่ประการใด การที่จำเลยที่ 28 ถึงที่ 33 สรุปผลการแสวงหาข้อเท็จจริงว่า คดีไม่มีมูล และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 27 พิจารณารายงานและความเห็นดังกล่าวแล้วมีมติว่า คดีไม่มีมูลให้ยกข้อกล่าวหา จึงไม่เป็นการกระทำต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรงและไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเนื่องจากการกระทำความผิดตามฟ้อง โจทก์ทั้งสองไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(4) และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามสิบสามในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ คดีอาญาแผ่นดิน
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ได้มีคำอธิบายความหมายของผู้เสียหายไว้ว่าหมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 ซึ่งข้อกล่าวหาตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยทั้งสามสิบสามในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 เป็นบทบัญญัติที่ต้องการเอาโทษแก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เป็นความผิดอาญาแผ่นดินโดยปกติเป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย เอกชนคนหนึ่งคนใดย่อมไม่เป็นผู้เสียหาย ยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าวข้อความในตอนแรก คำว่าเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดนั้นหมายความรวมถึง เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือเอกชนผู้หนึ่งผู้ใดด้วย ดังนั้น หากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยมิชอบ เป็นการกระทำต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรง และเป็นการทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายเป็นพิเศษแล้วโจทก์ทั้งสองย่อมเป็นผู้เสียหายได้ โดยที่ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรมฯ เป็นกฎหมายมุ่งคุ้มครองและควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม แม้ให้สิทธิโจทก์ทั้งสองเป็นผู้กล่าวหาผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมโดยนำเรื่องยื่นต่อจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 32 แต่ตามมาตรา 39 ก็ให้อำนาจคณะกรรมการจำเลยที่ 1 ที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเพียงว่า ยกข้อกล่าวหา ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งเป็นการกระทำต่อผู้ถูกกล่าวหาที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองโดยตรงแต่ประการใด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 28 ถึงที่ 33 สรุปผลการแสวงหาข้อเท็จจริงว่า คดีไม่มีมูล และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 27 พิจารณารายงานและความเห็นดังกล่าวแล้วมีมติว่า คดีไม่มีมูลให้ยกข้อกล่าวหาจึงไม่เป็นการกระทำต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรงและไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเนื่องจากการกระทำความผิดตามฟ้อง โจทก์ทั้งสองไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามสิบสามในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่: โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
จำเลยเป็นนายอำเภอสองพี่น้องมีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางราชการ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีคำสั่งให้ดำเนินการสอบสวนคุณสมบัติของ ก. ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลดังกล่าว และมิได้ดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่ ก. ที่ได้ทำการแก้ไขและสอดแทรกโครงการในร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2543 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรโดยไม่มีอำนาจเป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการอันเป็นผลเสียหายแก่รัฐ มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรโดยตรง โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย
องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรเป็นผู้เสียหายโดยตรงและผู้ที่จะดำเนินคดีอาญาแทนองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรเพื่อเอาผิดแก่ ก. ก็คือ ก. แต่ ก. ไม่ยอมดำเนินคดีแก่ตนเอง แต่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรจะมีอำนาจฟ้อง ก. แทนองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรได้หรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย จึงไม่ทำให้โจทก์กลายเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเจ้าพนักงานเลือกตั้งที่กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง แม้ลงโทษตามกฎหมายอาญาแล้ว ก็ต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายเฉพาะ
การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทโดยนอกจากมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ป.อ. มาตรา 157 แล้วยังมีความผิดต่อ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ฯ มาตรา 59 ซึ่งบัญญัติให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่ต่ำกว่าสี่ปีและไม่เกินแปดปีด้วย อันเป็นมาตรการที่มุ่งจะจำกัดสิทธิของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งซึ่งกระทำหน้าที่โดยทุจริตไม่ใช่โทษตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตาม ป.อ. มาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ศาลก็ต้องสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ด้วย ตามที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้โดยไม่อาจใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นได้ มิฉะนั้นจะเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญาเจ้าหน้าที่ทุจริต: ป.ป.ช. vs. ประมวลกฎหมายอาญา
อายุความการฟ้องคดีอาญาแก่ผู้ถูกกล่าวหาที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ไต่สวนแล้วมีมติว่า ผู้ถูกกล่าวหามีความผิดทางอาญา ต้องพิจารณาตามความใน ป.อ. มาตรา 95 กำหนดระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ตามความใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 84 เป็นเพียงกำหนดระยะเวลาที่กำหนดให้ผู้กล่าวหาต้องยื่นคำกล่าวหาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของตนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. นับถัดจากวันที่ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและมิใช่บุคคลตามมาตรา 66 ได้พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น หาใช่อายุความฟ้องร้องคดีอาญาไม่
เมื่อความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 147 มีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงคือ จำคุกตลอดชีวิต และความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม ป.อ. มาตรา 157 มีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงคือ 10 ปี อายุความการฟ้องคดีอาญาในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงเป็นไปตาม ป.อ. มาตรา 95 (1) และ (2) คือ 20 ปี และ 15 ปี ตามลำดับ จำเลยที่ 1 กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าวนี้เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2543 เวลากลางคืนหลังเที่ยง โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 วันที่ 20 พฤษภาคม 2546 เป็นเวลาห่างกันเพียง 3 ปีเศษ คดียังไม่ขาดอายุความ โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พนักงานสอบสวนละเว้นหน้าที่รับคำร้องทุกข์คดีทำร้ายร่างกาย อ้างคดีก่อนหน้านี้เลิกกันแล้ว
โจทก์เมาสุราจนครองสติไม่ได้ ประพฤติตนวุ่นวายในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน และโจทก์ได้ชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว ทำให้คดีอาญาที่โจทก์ถูกกล่าวหาเป็นอันเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 (2) แต่เมื่อโจทก์กล่าวหาต่อจำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนว่าจ่าสิบตำรวจ ป. ทำร้ายร่างกายโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายโดยมีเจตนาจะให้จ่าสิบตำรวจ ป. ได้รับโทษ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามมาตรา 2 (7) และเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ถูกกล่าวหาดังกล่าว จำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องรับคำร้องทุกข์ของโจทก์ไว้เพื่อดำเนินการสอบสวนตามอำนาจหน้าที่ต่อไป การที่จำเลยไม่รับคำร้องทุกข์ของโจทก์ในข้อหาทำร้ายร่างกาย อ้างเพียงว่าคดีเลิกกันแล้วโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ จึงเป็นการละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
of 62