คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 910

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้สั่งจ่ายลงชื่อใต้ช่องวันที่ ถือเจตนาให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่เองภายหลังได้ ไม่ถือว่าเช็คไม่สมบูรณ์
เช็คพิพาทผู้สั่งจ่ายออกให้ใช้เงินแก่ผู้ถือโดยผู้สั่งจ่ายได้ลงวันที่ในช่องวันที่ออกเช็คและลงชื่อกำกับไว้ใต้ช่องวันที่ออกเช็คดังนี้แม้ผู้สั่งจ่ายจะมิได้ลงเดือนและปีไว้ในช่องวันที่ออกเช็คก็ต้องถือว่าผู้สั่งจ่ายเจตนาให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่ในเช็คเอาเองในภายหลังผู้ทรงเช็คย่อมลงวันที่ในเช็คเป็นวันไหนก็ได้ผู้สั่งจ่ายจะโต้แย้งว่าผู้ทรงเช็คกระทำการโดยไม่สุจริตและเช็คนั้นไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายหาได้ไม่
เช็คพิพาทเป็นเช็คออกให้ใช้เงินแก่ผู้ถือซึ่งโอนเปลี่ยนมือกันได้เพียงด้วยการส่งมอบให้กันเมื่อโจทก์มีเช็คไว้ในครอบครองนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายให้รับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 989ประกอบมาตรา 967
อายุความที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็คเรียกเงินตามเช็คห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การลงวันที่เช็คไม่สมบูรณ์ ผู้สั่งจ่ายยินยอมให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่เองได้
เช็คพิพาทผู้สั่งจ่ายออกให้ใช้เงินแก่ผู้ถือโดยผู้สั่งจ่ายได้ลงวันที่ในช่องวันที่ออกเช็คและลงชื่อกำกับไว้ใต้ช่องวันที่ออกเช็คดังนี้แม้ผู้สั่งจ่ายจะมิได้ลงเดือนและปีไว้ในช่องวันที่ออกเช็คก็ต้องถือว่าผู้สั่งจ่ายเจตนาให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่ในเช็คเอาเองในภายหลังผู้ทรงเช็คย่อมลงวันที่ในเช็คเป็นวันไหนก็ได้ผู้สั่งจ่ายจะโต้แย้งว่าผู้ทรงเช็คกระทำการโดยไม่สุจริตและเช็คนั้นไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายหาได้ไม่ เช็คพิพาทเป็นเช็คออกให้ใช้เงินแก่ผู้ถือซึ่งโอนเปลี่ยนมือกันได้เพียงด้วยการส่งมอบให้กันเมื่อโจทก์มีเช็คไว้ในครอบครองนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายให้รับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา989ประกอบมาตรา967 อายุความที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็คเรียกเงินตามเช็คห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลา1ปีนับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1002.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็คเพื่อนำไปใช้โดยที่ไม่มีเงินในบัญชี แม้ไม่ได้ลงวันเดือนปีด้วยตนเองก็ยังมีความผิด
ขณะจำเลยนำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดจากโจทก์เช็คพิพาทมีวันเดือนปีที่ออกเช็คครบถ้วนสมบูรณ์ตามกฎหมายจำเลยผู้ออกเช็คย่อมทราบได้ว่าจะต้องมีการใช้เงินตามเช็คนั้นในวันใด เมื่อเช็คถึงกำหนด ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยอ้างว่าบัญชีปิดแล้ว จำเลยจึงต้องมีความผิด ส่วนจำเลยจะเป็นผู้ลงวันเดือนปีที่ออกเช็คด้วยลายมือของจำเลยเองหรือไม่ ไม่เป็นข้อสำคัญ และไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไปได้กรณีมิใช่เป็นเรื่องไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คโดยสุจริตของผู้ทรงเช็คและการรับผิดของผู้สั่งจ่ายแม้จะมีการตกลงเรื่องหนี้สินก่อนหน้านี้
การโอนเช็คจะถือว่ามีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำสืบให้ฟังได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยรู้ว่าจำเลยไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามเช็ค การที่จำเลยเอาเงินของบ. ไปแล้วออกเช็คมิได้ลงวันถึงกำหนดให้ใช้เงินให้บ. ไว้แสดงอยู่ในตัวว่ายินยอมให้บ. กรอกวันตามที่บ. เห็นสมควรลงในเช็คเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ อายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากผู้สั่งจ่ายเริ่มนับตั้งแต่วันที่เช็คถึงกำหนดหรือวันที่ลงในเช็ค.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทรงเช็คโดยชอบ ฟ้องเท็จ-เบิกความเท็จ การพิพากษาคดีแพ่งเป็นผลต่อคดีอาญา
เช็คที่บริษัท อ.มอบให้บริษัทย. โดยระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินโดยบริษัท อ. ลูกหนี้และโจทก์ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายยอมรับว่ามีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตามเช็ค จำเลยจึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ แม้เช็คพิพาทจะไม่ได้ลงวันที่จำเลยทำการโดยสุจริตย่อมมีอำนาจจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงได้ การที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาโดยอ้างว่าโจทก์ออกเช็คให้จำเลยเป็นการชำระหนี้ค่านายหน้าและแม้จำเลยจะลงวันที่ในเช็คก็ไม่เป็นการฟ้องเท็จ เพราะการนำสืบของโจทก์ก็ยังยอมรับว่าโจทก์และบริษัท อ. มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินตามเช็คให้บริษัท ย. เมื่อจำเลยเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบและได้ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้พิพากษายืนให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยตามเช็คจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฟ้องเท็จ และเมื่อจำเลยเบิกความไปตามคำฟ้องจึงไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2965/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็ค: การลงวันที่เช็คไม่ตรงตามข้อตกลงวงแชร์ทำให้ขาดอายุความ
โจทก์จำเลยเป็นผู้เล่นแชร์วงเดียวกัน มีข้อตกลงกันว่าผู้เล่นแชร์ที่ประมูลได้ต้องออกเช็คสั่งจ่ายเงินฉบับละ30,000 บาท โดยไม่ลงวันสั่งจ่ายให้หัวหน้าวงแชร์นำไปเก็บเงินค่าแชร์และมอบเช็คนั้นให้ผู้เล่นแชร์ที่ยังประมูลไม่ได้เมื่อถึงเดือนที่ผู้เล่นแชร์ประมูลได้ก็ให้ลงวันที่ 27 ของเดือนปีที่ประมูลได้ในเช็คที่รับไว้แล้วนำไปเรียกเก็บเงิน เช็คดังกล่าวจึงเป็นเช็คที่มีวันสั่งจ่ายที่ถูกต้องแท้จริงเป็นวันที่ 27 ของเดือนปีที่ผู้ทรงเช็คประมูลได้ เมื่อจำเลยประมูลได้แล้ววงแชร์ล้ม ผู้ร่วมเล่นแชร์ที่ยังประมูลไม่ได้และได้รับเช็คของจำเลยไว้ได้มีการจับสลากกันว่าผู้ใดจะนำเช็คไปเรียกเก็บเงินในเดือนใด โจทก์จับสลากได้และจะต้องลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คเป็นวันที่ 27 มิถุนายนหรือกรกฎาคม 2523 ตามข้อตกลง แต่โจทก์กลับลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คเป็นวันที่ 14 มกราคม 2525 จึงเป็นวันสั่งจ่ายที่ไม่ถูกต้องแท้จริง เป็นการไม่สุจริตและเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ถูกต้องแท้จริงในเช็คคดีโจทก์จึงขาดอายุความ คดีที่ฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน แต่ถ้าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดวันสั่งจ่ายเช็คหลังผู้สั่งจ่ายเสียชีวิต และความรับผิดของผู้รับอาวัล
การจดวันสั่งจ่าย 'ตามที่ถูกต้องแท้จริง' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 ประกอบด้วยมาตรา 989หมายถึงวันที่ผู้ทรงเช็คเห็นสมควรที่จะจดหรือกรอกลงในเช็คซึ่งผู้ทรงมีสิทธิกระทำได้โดยพลการ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ใดแจ้งให้จด ส่วนคำว่า'ทำการโดยสุจริต' นั้น กฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนทำการโดยสุจริตตาม นัยมาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากจำเลยหรือผู้ใดอ้างว่าการจดหรือกรอกวันสั่งจ่ายโดยไม่สุจริตผู้กล่าวอ้างต้องระบุให้ชัดแจ้งถึงเหตุที่ไม่สุจริต และมีหน้าที่นำสืบด้วย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงจดวันสั่งจ่ายลงในเช็คภายหลังจากทราบว่าผู้สั่งจ่ายถึงแก่ความตายถือได้ว่าโจทก์ทำการโดยสุจริต
ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังถึงแก่ความตายบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินหรือเช็คยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความแห่งตั๋วเงินหรือเช็คนั้น
กรณีที่ผู้สั่งจ่ายเช็คถึงแก่ความตาย ผู้ทรงมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้ 2 วิธีคือ1. นำเช็คไปยื่นแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินตามเช็คถ้าธนาคารทราบว่าผู้สั่งจ่ายตายก็จะปฏิเสธการจ่ายเงินตามมาตรา 992(2) เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินด้วยเหตุใดก็ตาม ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกตลอดจนมีสิทธิฟ้องผู้สลักหลังเช็คด้วย หรือ 2. ผู้ทรงมีสิทธิทวงถามให้ชำระเงินตามเช็คจากทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกและผู้สลักหลังได้เลยถ้าผู้ถูกทวงถามไม่ชำระเงินตามเช็ค ผู้ทรงก็มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้โดยไม่จำเป็นต้องนำเช็คไปยื่นหรือเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามมาตรา 990 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1003/2524)
แม้จำเลยจะได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแต่จำเลยมิได้ขอให้ศาลชั้นต้นยกขึ้นเป็นประเด็นเพื่อวินิจฉัยถือว่าจำเลยสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้อนี้แล้วและศาลก็ไม่รับฎีกาข้อนี้ของจำเลย จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดวันสั่งจ่ายเช็คหลังผู้สั่งจ่ายเสียชีวิต และความรับผิดของผู้รับอาวัล
การจดวันสั่งจ่าย "ตามที่ถูกต้องแท้จริง" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 ประกอบด้วยมาตรา 989 หมายถึงวันที่ผู้ทรงเช็คเห็นสมควรที่จะจดหรือกรอกลงในเช็คซึ่งผู้ทรงมีสิทธิกระทำได้โดยพลการ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ใดแจ้งให้จด ส่วนคำว่า'ทำการโดยสุจริต' นั้นกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนทำการโดยสุจริตตามนัยมาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากจำเลยหรือผู้ใดอ้างว่าการจดหรือกรอกวันสั่งจ่ายโดยไม่สุจริต ผู้กล่าวอ้างต้องระบุให้ชัดแจ้งถึงเหตุที่ไม่สุจริตและมีหน้าที่นำสืบด้วย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงจดวันสั่งจ่ายลงในเช็คภายหลังจากทราบว่าผู้สั่งจ่ายถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าโจทก์ทำการโดยสุจริต
ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังถึงแก่ความตาย บุคคลผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินหรือเช็คยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความแห่งตั๋วเงินหรือเช็คนั้น
กรณีที่ผู้สั่งจ่ายเช็คถึงแก่ความตาย ผู้ทรงมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้ 2 วิธีคือ 1. นำเช็คไปยื่นแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินตามเช็คถ้าธนาคารทราบว่าผู้สั่งจ่ายตายก็จะปฏิเสธการจ่ายเงินตามมาตรา 992(2) เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินด้วยเหตุใดก็ตาม ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกตลอดจนมีสิทธิฟ้องผู้สลักหลังเช็คด้วย หรือ 2. ผู้ทรงมีสิทธิทวงถามให้ชำระเงินตามเช็คจากทายาทผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกและผู้สลักหลังได้เลย ถ้าผู้ถูกทวงถามไม่ชำระเงินตามเช็ค ผู้ทรงก็มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้โดยไม่จำเป็นต้องนำเช็คไปยื่นหรือเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามมาตรา 990(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1003/2524)
แม้จำเลยจะได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ แต่จำเลยมิได้ขอให้ศาลชั้นต้นยกขึ้นเป็นประเด็นเพื่อวินิจฉัย ถือว่าจำเลยสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้อนี้แล้ว และศาลก็ไม่รับฎีกาข้อนี้ของจำเลย จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงวันออกเช็คโดยผู้จัดการมรดกหลังผู้ทรงเช็คถึงแก่กรรม และอายุความฟ้องร้อง
ย.ผู้ทรงเช็คพิพาทตายก่อนที่จะนำเช็คพิพาทไปขึ้นเงิน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ย.พบเช็คพิพาท ปรากฏว่าเช็คพิพาทมิได้ลงวันออกเช็คโจทก์จึงกรอกวันเดือนปีในเช็คพิพาทนำเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน ดังนี้ การที่จำเลยเว้นวันออกเช็คพิพาทไว้ก็โดยเจนนาจะให้ ย. ลงวันออกเช็คเอาเองในภายหลังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกชอบที่จะลงวันออกเช็คพิพาทได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 ประกอบ มาตรา 989

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงวันออกเช็คโดยผู้จัดการมรดกหลังเจ้าของเสียชีวิต และผลต่ออายุความของฟ้องร้องเรียกเก็บเช็ค
ย.ผู้ทรงเช็คพิพาทตายก่อนที่จะนำเช็คพิพาทไปขึ้นเงิน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ย.พบเช็คพิพาท ปรากฏว่าเช็คพิพาทมิได้ลงวันออกเช็ค โจทก์จึงกรอกวันเดือนปีในเช็คพิพาทนำเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน ดังนี้ การที่จำเลยเว้นวันออกเช็คพิพาทไว้ก็โดยเจนนาจะให้ ย. ลงวันออกเช็คเอาเองในภายหลัง โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกชอบที่จะลงวันออกเช็คพิพาทได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 ประกอบ มาตรา 989
of 11