พบผลลัพธ์ทั้งหมด 381 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบขัดแย้งกับคำให้การเดิม ถือเป็นการนำสืบนอกคำให้การ
จำเลยที่ 4 มิได้ให้การปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท แม้จำเลยที่ 4 ให้การว่าห้าง จำเลยที่ 1 ไม่เคยผูกนิติสัมพันธ์กับโจทก์ เช็คตามฟ้องไม่มีมูลหนี้อันโจทก์จะอ้างกับห้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ชัดแจ้งว่าได้ให้การปฏิเสธเกี่ยวกับลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นคำให้การที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ทำให้ไม่มีประเด็นเรื่องนี้ การที่จำเลยที่ 4นำสืบปฏิเสธว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คมีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่ 6 เดือน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คนำไปขายลดให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับซื้อเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คการสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921ประกอบด้วยมาตรา 989 โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะค้ำประกันหนี้ตามเช็คของจำเลย เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลย และเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงเช็คบรรดามีเหนือจำเลยด้วย กรณีเช่นนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ทรงจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 หาใช่อายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 1003 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ไม่ใช่ 6 เดือนตามมาตรา 1003
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คนำไปขายลดให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับซื้อเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คการสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921ประกอบด้วยมาตรา 989 โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะค้ำประกันหนี้ตามเช็คของจำเลย เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลย และเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงเช็คบรรดามีเหนือจำเลยด้วย กรณีเช่นนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ทรงจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 หาใช่อายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 1003 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็ค และการรับผิดในหนี้ค่าซื้อขาย
ผู้สลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือย่อมอยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็ค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989เมื่อได้ชำระหนี้แก่ผู้ทรงไปแล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ย เอาจากผู้สั่งจ่ายและเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงที่มีเหนือผู้สั่งจ่ายด้วยกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดอายุความเท่าใด สิทธิเรียกร้องของผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงต่อผู้สั่งจ่าย จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 ผู้สลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือมิใช่ผู้สลักหลังตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1003 จึงไม่นำอายุความ 6 เดือนตามมาตรานี้มาใช้บังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5594/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค – การลงวันที่เช็คหลังขาดอายุความ – ผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยร่วม
โจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ พร้อมทั้งแนบสำเนาเช็คและใบคืนเช็คมาด้วย เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ได้ทวงถามจำเลยแล้วจำเลยทั้งสองไม่ชำระ จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ย ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึงว่าเป็นหนี้ค่าอะไร เมื่อใด หรือร่วมกันออกเช็คอย่างไรตามที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เช็คที่มิได้ลงวันออกเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คได้แต่จะกรอกวันเดือนปีลงตามที่ถูกต้องแท้จริงเท่านั้น เพราะผู้สั่งจ่ายเช็คและผู้สลักหลังย่อมประสงค์ที่จะผูกพันโดยอายุความอยู่ด้วยเสมอถ้าไม่ปรากฏว่ามีข้อจำกัดในเรื่องวันสั่งจ่ายที่ผู้ทรงจะลงอย่างไรจึงจะถือว่า ผู้ทรงเช็คจะลงวันไหนก็ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์โดยไม่ลงวัน เดือน ปี ในเช็คเมื่อต้นปี 2526 โดยมีข้อตกลงว่าให้โจทก์ลงวันที่ในเช็คภายหลังจากนั้นเป็นเวลา 3 เดือน เมื่อโจทก์มาลงวัน เดือน ปีในเช็คเมื่อปี2528 จึงถือว่าโจทก์มิได้ลงวัน เดือน ปี ในเช็คพิพาทตามข้อตกลงที่ถูกต้องแท้จริง เช็คพิพาทจึงขาดอายุความ
หนี้ตามเช็คเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่ง ให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ดังนี้การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย ตามมาตรา 59(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
เช็คที่มิได้ลงวันออกเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คได้แต่จะกรอกวันเดือนปีลงตามที่ถูกต้องแท้จริงเท่านั้น เพราะผู้สั่งจ่ายเช็คและผู้สลักหลังย่อมประสงค์ที่จะผูกพันโดยอายุความอยู่ด้วยเสมอถ้าไม่ปรากฏว่ามีข้อจำกัดในเรื่องวันสั่งจ่ายที่ผู้ทรงจะลงอย่างไรจึงจะถือว่า ผู้ทรงเช็คจะลงวันไหนก็ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์โดยไม่ลงวัน เดือน ปี ในเช็คเมื่อต้นปี 2526 โดยมีข้อตกลงว่าให้โจทก์ลงวันที่ในเช็คภายหลังจากนั้นเป็นเวลา 3 เดือน เมื่อโจทก์มาลงวัน เดือน ปีในเช็คเมื่อปี2528 จึงถือว่าโจทก์มิได้ลงวัน เดือน ปี ในเช็คพิพาทตามข้อตกลงที่ถูกต้องแท้จริง เช็คพิพาทจึงขาดอายุความ
หนี้ตามเช็คเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่ง ให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ดังนี้การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย ตามมาตรา 59(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5594/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค-การลงวันที่เช็ค-การรับผิดร่วมกันของหุ้นส่วน
โจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ พร้อมทั้งแนบสำเนาเช็คและใบคืนเช็คมาด้วย เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ได้ทวงถามจำเลยแล้วจำเลยทั้งสองไม่ชำระ จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ย ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึงว่าเป็นหนี้ค่าอะไร เมื่อใด หรือร่วมกันออกเช็คอย่างไรตามที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม เช็คที่มิได้ลงวันออกเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คได้แต่จะกรอกวันเดือนปีลงตามที่ถูกต้องแท้จริงเท่านั้น เพราะผู้สั่งจ่ายเช็คและผู้สลักหลังย่อมประสงค์ที่จะผูกพันโดยอายุความอยู่ด้วยเสมอถ้าไม่ปรากฏว่ามีข้อจำกัดในเรื่องวันสั่งจ่ายที่ผู้ทรงจะลงอย่างไรจึงจะถือว่า ผู้ทรงเช็คจะลงวันไหนก็ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์โดยไม่ลงวัน เดือน ปี ในเช็คเมื่อต้นปี 2526 โดยมีข้อตกลงว่าให้โจทก์ลงวันที่ในเช็คภายหลังจากนั้นเป็นเวลา 3 เดือน เมื่อโจทก์มาลงวัน เดือน ปีในเช็คเมื่อปี2528 จึงถือว่าโจทก์มิได้ลงวัน เดือน ปี ในเช็คพิพาทตามข้อตกลงที่ถูกต้องแท้จริง เช็คพิพาทจึงขาดอายุความ หนี้ตามเช็คเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่ง ให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ดังนี้การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย ตามมาตรา 59(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องผู้สั่งจ่ายได้
แม้เช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือเช็คผู้ถือจะถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ก็ยังคงเป็นเช็คซึ่งผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 และย่อมโอนแก่กันได้โดยการส่งมอบ เมื่อโจทก์ได้รับโอนเช็คดังกล่าวมาภายหลังถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 และมีอำนาจฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดชดใช้เงินตามเช็คได้โดยไม่จำต้องนำเช็คไปขึ้นเงินอีกครั้งหนึ่งเสียก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องเรียกเงินได้
แม้เช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือเช็คผู้ถือจะถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ก็ยังคงเป็นเช็คซึ่งผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 และย่อมโอนแก่กันได้โดยการส่งมอบ เมื่อโจทก์ได้รับโอนเช็คดังกล่าวมาภายหลังถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 และมีอำนาจฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดชดใช้เงินตามเช็คได้โดยไม่จำต้องนำเช็คไปขึ้นเงินอีกครั้งหนึ่งเสียก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5250/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผู้ถือ: ธนาคารรับเช็คโดยสุจริต ไม่ต้องตรวจสอบที่มาของผู้สั่งจ่าย
เช็คผู้ถือมีรายการครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว แม้จะมีข้อความอื่นบันทึกไว้ด้านหลังเช็คและถูกขีดฆ่าก่อนที่โจทก์ได้รับมา ข้อความดังกล่าวก็หามีผลกระทบต่อเช็คไม่ และถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้เช็คมาโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์เป็นธนาคารได้รับเช็คจากลูกค้าเพื่อชำระหนี้ตามปกติทางการค้า หาจำต้องมีหน้าที่ตรวจสอบถึงที่มาหรือฐานะของผู้สั่งจ่ายเช็คไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์คบคิดกับลูกค้าฉ้อฉลจำเลย จำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5250/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผู้ถือ: ธนาคารรับเช็คโดยสุจริต ไม่ต้องตรวจสอบที่มาของผู้สั่งจ่าย
เช็คผู้ถือมีรายการครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว แม้จะมีข้อความอื่นบันทึกไว้ด้านหลังเช็คและถูกขีดฆ่าก่อนที่โจทก์ได้รับมา ข้อความดังกล่าวก็หามีผลกระทบต่อเช็คไม่ และถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้เช็คมาโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
โจทก์เป็นธนาคารได้รับเช็คจากลูกค้าเพื่อชำระหนี้ตามปกติทางการค้า หาจำต้องมีหน้าที่ตรวจสอบถึงที่มาหรือฐานะของผู้สั่งจ่ายเช็คไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์คบคิดกับลูกค้าฉ้อฉลจำเลย จำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย.
โจทก์เป็นธนาคารได้รับเช็คจากลูกค้าเพื่อชำระหนี้ตามปกติทางการค้า หาจำต้องมีหน้าที่ตรวจสอบถึงที่มาหรือฐานะของผู้สั่งจ่ายเช็คไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์คบคิดกับลูกค้าฉ้อฉลจำเลย จำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย.