พบผลลัพธ์ทั้งหมด 381 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คพิพาทโดยทุจริตและการพิสูจน์มูลหนี้ที่ชอบ โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิด
คำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ว่าโจทก์ได้เช็คพิพาทไว้ในครอบครองโดยทุจริตนั้นทุจริตอย่างไรก็ไม่ได้กล่าวไว้ชัด ที่ว่าคบคิดกับบุคคลอื่น บุคคลอื่นนั้น เป็นผู้ทรงเช็คคนก่อนหรือไม่ หรือเป็นผู้ใดไม่ปรากฏ ที่ว่าโจทก์ควรรู้ว่าเช็คพิพาทมีการชำระหนี้แล้ว ก็ไม่ใช่คำยืนยันว่าโจทก์รู้ แปลความว่าอาจไม่รู้ก็ได้เช่นกันแล้วให้การว่าโจทก์ได้เช็คพิพาทมาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้ง ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทจาก ร. โดยคบคิดกันฉ้อฉล จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นพิพาท
จำเลยที่ 2 ให้ ร. นำเช็คแลกเงินสดจากโจทก์และมีการเปลี่ยนเช็คเรื่อยมาต่อมาได้รวมจำนวนเงินที่เป็นหนี้และกู้เงินเพิ่มอีกแล้วจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นการกู้เงินและการแลกเปลี่ยนเช็ค โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้ติดต่อกันโดยตรงแต่ติดต่อผ่าน ร. เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้โดยชอบ โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท จำเลยทั้งสองเป็นผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900,987และ 989
จำเลยที่ 2 ให้ ร. นำเช็คแลกเงินสดจากโจทก์และมีการเปลี่ยนเช็คเรื่อยมาต่อมาได้รวมจำนวนเงินที่เป็นหนี้และกู้เงินเพิ่มอีกแล้วจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นการกู้เงินและการแลกเปลี่ยนเช็ค โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้ติดต่อกันโดยตรงแต่ติดต่อผ่าน ร. เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้โดยชอบ โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท จำเลยทั้งสองเป็นผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900,987และ 989
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่สมบูรณ์ - ผู้ลงลายมือชื่อไม่จำเป็นต้องผิด - เหตุไม่มีข้อมูลสำคัญครบถ้วน
ว. นำเช็คพิพาทที่มีจำเลยเพียงแต่ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายไว้ โดยมิได้กรอกข้อความทั้งวันเดือนปีที่สั่งจ่าย ชื่อผู้รับเงินและจำนวนเงิน ไปมอบให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ เมื่อขณะที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท ยังไม่มีรายการวันที่ออกเช็คอันเป็นวันกระทำความผิด คำสั่งให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน และชื่อผู้รับเงินซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988(2)(4) และ (6) บังคับให้ต้องมีรายการเหล่านี้ เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 910 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง จำเลยผู้ออกเช็คย่อมไม่มีความผิดทางอาญา อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้รับโอนเช็คมีอำนาจฟ้อง แม้ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คขณะปฏิเสธการจ่ายเงิน อายุความ 1 ปี
เช็คพิพาทระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน แต่ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่าผู้ถือเช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือด้วย การสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบด้วยมาตรา 989 บัญญัติว่าเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ ดังนั้นการที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีของผู้อื่นซึ่งเป็นตัวแทน หรือโอนเช็คพิพาทไป เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้เช็คพิพาทกลับมาอยู่ในความยึดถือครอบครอง โจทก์ย่อมมีฐานะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002
ผู้ทรงเช็คที่จะมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คมิได้จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็คขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น ผู้ที่รับโอนเช็คมาโดยสุจริตหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็เป็นผู้ทรงเช็คที่มีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คได้ ดังนั้นโจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ผู้ทรงเช็คที่จะมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คมิได้จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็คขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น ผู้ที่รับโอนเช็คมาโดยสุจริตหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็เป็นผู้ทรงเช็คที่มีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คได้ ดังนั้นโจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้รับเงินตามเช็คมีอำนาจฟ้องได้แม้สลักหลังเช็คหรือไม่ และอายุความฟ้อง
เช็คพิพาทระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินแต่ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่าผู้ถือ จึงเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือด้วย ย่อมโอนได้ด้วยการส่งมอบ ไม่จำต้องสลักหลัง หากมีการสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบด้วยมาตรา 989 บัญญัติว่าเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีของผู้อื่นซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์หรือโอนเช็คพิพาทไป เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้เช็คพิพาทกลับมาอยู่ในความยึดถือครอบครอง โจทก์ย่อมมีฐานะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 ไม่อยู่ในฐานะผู้สลักหลัง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ไม่ใช่กรณีที่จะบังคับตามมาตรา 1003 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันที่ผู้สลักหลังถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ผู้ทรงเช็คที่จะมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็ค ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็คขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น ผู้ที่รับโอนเช็คมาโดยสุจริต หลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็เป็นผู้ทรงเช็คที่มีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คได้ โจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะยื่นฟ้อง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ผู้ทรงเช็คที่จะมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็ค ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็คขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น ผู้ที่รับโอนเช็คมาโดยสุจริต หลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็เป็นผู้ทรงเช็คที่มีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คได้ โจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะยื่นฟ้อง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้รับเงินตามเช็คมีอำนาจฟ้องได้ แม้สลักหลังเช็ค และไม่จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็ค ณ เวลาปฏิเสธการจ่าย
เช็คพิพาทระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน แต่ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่าผู้ถือเช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือด้วย การสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ป.พ.พ. มาตรา 921 ประกอบด้วยมาตรา 989 บัญญัติว่าเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ ดังนั้น การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีของผู้อื่นซึ่งเป็นตัวแทน หรือโอนเช็คพิพาทไป เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้เช็คพิพาทกลับมาอยู่ในความยึดถือครอบครอง โจทก์ย่อมมีฐานะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท ตามป.พ.พ. มาตรา904 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนด ตามป.พ.พ. มาตรา 1002
ผู้ทรงเช็คที่จะมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คมิได้จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็คขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น ผู้ที่รับโอนเช็คมาโดยสุจริตหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็เป็นผู้ทรงเช็คที่มีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คได้ ดังนั้นโจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ผู้ทรงเช็คที่จะมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คมิได้จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็คขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น ผู้ที่รับโอนเช็คมาโดยสุจริตหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็เป็นผู้ทรงเช็คที่มีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คได้ ดังนั้นโจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้ทรงเช็คโดยชอบ ผู้มีหน้าที่ชำระหนี้ และการเล่นแชร์ที่ไม่ผิดกฎหมาย
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยนั้น แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาด้วยมูลหนี้ใด ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะพึงนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป ไม่เป็นเหตุให้คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
จำเลยซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ไปได้แล้วมีหน้าที่ผูกพันตามข้อตกลงต้องส่งเงินคืนโดยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ หรือสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบแก่ ป. หัวหน้าวงแชร์เพื่อมอบแก่ผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ ซึ่งถือว่าเช็คพิพาทนั้นมีมูลหนี้ต่อกันแล้วเมื่อโจทก์ได้เช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือไว้ในครอบครองไม่ว่าจะเป็นโดย ป. ส่งมอบให้เพื่อชำระค่าแชร์ หรือโจทก์รับมาจากจำเลยโดยตรงก็ตาม โจทก์ก็เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 การที่ต่อมานายวงแชร์หนีและแชร์วงนี้ล้ม โจทก์ย่อมหมดโอกาสที่จะประมูลแชร์ได้ต่อไป โจทก์จึงชอบที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าแชร์ที่ต้องส่งคืนให้แก่โจทก์ได้ทันทีเมื่อวงแชร์ล้ม ดังนั้น ตั้งแต่วันที่แชร์วงนี้ล้ม โจทก์ชอบที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทและนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ เพราะโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายและวันสั่งจ่ายที่ลงในเช็คพิพาทถือว่าเป็นวันที่ถูกต้องแท้จริง เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้จำเลยผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 914 ประกอบมาตรา 989
การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งอันเกิดจากการตกลงกันระหว่างสมาชิกผู้เล่นซึ่งมีผลผูกพันและบังคับได้ตามกฎหมาย การชำระหนี้ค่าแชร์จึงหาใช่มีมูลหนี้ที่ขัดต่อกฎหมายไม่ ส่วนการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนนั้นมีการรับเงินและผู้กู้ยืมเงินตกลงว่าจะจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีการประมูลจ่ายผลตอบแทนดังเช่นการเล่นแชร์ ทั้งการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนก็เป็นกรณีที่กำหนดดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ตอบแทนไว้แน่นอน ซึ่งอาจมีอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ เมื่อการเล่นแชร์วงนี้เป็นการประมูลผลประโยชน์ที่จะให้แก่สมาชิกลูกวงแชร์ด้วยกันที่มีจำนวนมากหรือน้อยตามความต้องการของผู้ประมูลจึงไม่อยู่ในข่ายเป็นความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ทั้งในทางนำสืบของจำเลยก็รับว่าเมื่อจำเลยประมูลแชร์ได้ก็จะสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่ ป. นายวงแชร์ซึ่งมิใช่นิติบุคคลการเล่นแชร์วงนี้จึงหาขัดต่อพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ฯ ไม่
จำเลยซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ไปได้แล้วมีหน้าที่ผูกพันตามข้อตกลงต้องส่งเงินคืนโดยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ หรือสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบแก่ ป. หัวหน้าวงแชร์เพื่อมอบแก่ผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ ซึ่งถือว่าเช็คพิพาทนั้นมีมูลหนี้ต่อกันแล้วเมื่อโจทก์ได้เช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือไว้ในครอบครองไม่ว่าจะเป็นโดย ป. ส่งมอบให้เพื่อชำระค่าแชร์ หรือโจทก์รับมาจากจำเลยโดยตรงก็ตาม โจทก์ก็เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 การที่ต่อมานายวงแชร์หนีและแชร์วงนี้ล้ม โจทก์ย่อมหมดโอกาสที่จะประมูลแชร์ได้ต่อไป โจทก์จึงชอบที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าแชร์ที่ต้องส่งคืนให้แก่โจทก์ได้ทันทีเมื่อวงแชร์ล้ม ดังนั้น ตั้งแต่วันที่แชร์วงนี้ล้ม โจทก์ชอบที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทและนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ เพราะโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายและวันสั่งจ่ายที่ลงในเช็คพิพาทถือว่าเป็นวันที่ถูกต้องแท้จริง เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้จำเลยผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 914 ประกอบมาตรา 989
การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งอันเกิดจากการตกลงกันระหว่างสมาชิกผู้เล่นซึ่งมีผลผูกพันและบังคับได้ตามกฎหมาย การชำระหนี้ค่าแชร์จึงหาใช่มีมูลหนี้ที่ขัดต่อกฎหมายไม่ ส่วนการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนนั้นมีการรับเงินและผู้กู้ยืมเงินตกลงว่าจะจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีการประมูลจ่ายผลตอบแทนดังเช่นการเล่นแชร์ ทั้งการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนก็เป็นกรณีที่กำหนดดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ตอบแทนไว้แน่นอน ซึ่งอาจมีอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ เมื่อการเล่นแชร์วงนี้เป็นการประมูลผลประโยชน์ที่จะให้แก่สมาชิกลูกวงแชร์ด้วยกันที่มีจำนวนมากหรือน้อยตามความต้องการของผู้ประมูลจึงไม่อยู่ในข่ายเป็นความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ทั้งในทางนำสืบของจำเลยก็รับว่าเมื่อจำเลยประมูลแชร์ได้ก็จะสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่ ป. นายวงแชร์ซึ่งมิใช่นิติบุคคลการเล่นแชร์วงนี้จึงหาขัดต่อพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ฯ ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8149/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงิน, เช็คไม่ลงวันที่, การสลักหลัง, สิทธิเรียกร้องของผู้ทรงเช็ค, ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากโจทก์และสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อสลักหลังให้โจทก์ยึดถือไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระดอกเบี้ยและโจทก์กำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระโจทก์มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายจะจดแจ้งลงวันเดือนปีในเช็คพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคหนึ่ง เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังเช็คพิพาทต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7191/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผู้ถือ โอนด้วยการส่งมอบ ทายาทผู้สั่งจ่ายมีหน้าที่รับผิดชอบตามเช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยการส่งมอบให้แก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 เมื่อ ศ. นำเช็คพิพาทมาขายลดให้แก่โจทก์โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยในฐานะทายาทของ พ. จึงต้องร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ แต่ต้องไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6388/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเช็คปลอม ทำให้โจทก์เสียหายต้องรับผิดละเมิด
++ เรื่อง ละเมิด ++
เช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเช็คที่บริษัท ด.สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์เป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน ฉบับที่สองเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะ (A/C PAYEE ONLY) ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินเช่นกัน โจทก์มอบหมายให้ ร.พนักงานของโจทก์เป็นผู้ไปรับเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาจากบริษัท ด. เมื่อ ร.ได้รับเช็คพิพาทมาแล้ว ร.กับพวกได้ร่วมกันทุจริตปลอมเช็คพิพาททั้งสองฉบับดังกล่าว โดยการขีดฆ่าชื่อโจทก์ในช่องผู้รับเงิน แล้วปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งจ่ายของบริษัท ด.กำกับบริเวณที่มีการขีดฆ่าชื่อโจทก์โดยไม่มีตราประทับของบริษัท ด.แล้วกับพวกได้นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่ปลอมดังกล่าวเข้าฝากในบัญชีของพวก ร.เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค ธนาคารจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีของพวก ร.ไป อันเป็นเหตุให้ ร.กับพวกได้รับเงินดังกล่าวไปทั้ง ๆ ที่เงื่อนไขการลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของบริษัท ด.และในการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันของบริษัท ด. มีว่า จะต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายของบริษัท ด.ตามที่ระบุไว้พร้อมทั้งประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 พนักงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของเช็คที่นำไปเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1จึงควรใช้ความระมัดระวังตรวจสอบให้ดีว่าเหตุใดการลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของบริษัท ด.ตรงที่มีการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงิน จึงไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไข และทำการสอบถามผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายถึงเหตุที่ไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไขก่อน เนื่องจากจำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจธนาคาร การจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ย่อมต้องมีความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คตลอดจนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเช็คมากกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป แม้เช็คดังกล่าวจะเป็นเช็คผู้ถือก็ตาม เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงินซึ่งไม่มีตราประทับของบริษัท ด. ดังกล่าว เป็นเหตุให้ ร.กับพวกนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่ปลอมนั้นเข้าฝากในบัญชีของพวก ร.ซึ่งไม่ใช่บัญชีของผู้มีสิทธิรับเงินตามกฎหมายเพื่อเรียกเก็บเงิน และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีของพวก ร.ไปเป็นเหตุให้ ร.กับพวกได้รับเงินไปจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยทั้งห้าจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์
เช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเช็คที่บริษัท ด.สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์เป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน ฉบับที่สองเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะ (A/C PAYEE ONLY) ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินเช่นกัน โจทก์มอบหมายให้ ร.พนักงานของโจทก์เป็นผู้ไปรับเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาจากบริษัท ด. เมื่อ ร.ได้รับเช็คพิพาทมาแล้ว ร.กับพวกได้ร่วมกันทุจริตปลอมเช็คพิพาททั้งสองฉบับดังกล่าว โดยการขีดฆ่าชื่อโจทก์ในช่องผู้รับเงิน แล้วปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งจ่ายของบริษัท ด.กำกับบริเวณที่มีการขีดฆ่าชื่อโจทก์โดยไม่มีตราประทับของบริษัท ด.แล้วกับพวกได้นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่ปลอมดังกล่าวเข้าฝากในบัญชีของพวก ร.เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค ธนาคารจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีของพวก ร.ไป อันเป็นเหตุให้ ร.กับพวกได้รับเงินดังกล่าวไปทั้ง ๆ ที่เงื่อนไขการลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของบริษัท ด.และในการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันของบริษัท ด. มีว่า จะต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายของบริษัท ด.ตามที่ระบุไว้พร้อมทั้งประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 พนักงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของเช็คที่นำไปเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1จึงควรใช้ความระมัดระวังตรวจสอบให้ดีว่าเหตุใดการลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของบริษัท ด.ตรงที่มีการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงิน จึงไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไข และทำการสอบถามผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายถึงเหตุที่ไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไขก่อน เนื่องจากจำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจธนาคาร การจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ย่อมต้องมีความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คตลอดจนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเช็คมากกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป แม้เช็คดังกล่าวจะเป็นเช็คผู้ถือก็ตาม เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงินซึ่งไม่มีตราประทับของบริษัท ด. ดังกล่าว เป็นเหตุให้ ร.กับพวกนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่ปลอมนั้นเข้าฝากในบัญชีของพวก ร.ซึ่งไม่ใช่บัญชีของผู้มีสิทธิรับเงินตามกฎหมายเพื่อเรียกเก็บเงิน และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีของพวก ร.ไปเป็นเหตุให้ ร.กับพวกได้รับเงินไปจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยทั้งห้าจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คลงวันที่ล่วงหน้าเป็นมัดจำได้ การปฏิเสธการจ่ายเงินเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
คำว่า มัดจำ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 มีความหมายว่าจะต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ให้ไว้แก่กันเมื่อเข้าทำสัญญา ซึ่งอาจเป็นเงินหรือสิ่งมีค่าอื่นซึ่งมีค่าในตัวเอง สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยระบุว่า ในวันทำสัญญาผู้จะซื้อได้รับเงินจำนวน 1,788,000 บาท เพื่อเป็นการวางมัดจำไว้กับผู้จะขายโดยเงินมัดจำดังกล่าวจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้า 3 ฉบับ เมื่อเช็คเป็นตราสารซึ่งผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้เงินเมื่อทวงถามให้แก่ผู้รับเงิน จึงเป็นทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 138 และเป็นสิ่งที่มีค่าในตัวเอง เพราะสามารถเรียกเก็บเงินหรือโอนเปลี่ยนมือได้จึงส่งมอบ ให้แก่กันเป็นมัดจำได้ แม้เช็คลงวันที่หลังจากวันทำสัญญา แต่เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534