พบผลลัพธ์ทั้งหมด 381 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คคืนเงิน, การไล่เบี้ย, อายุความ, การสลักหลัง, สิทธิเรียกร้อง
โจทก์มิได้เสียค่าอ้างเอกสาร เพราะไม่ทราบว่ามีค่าอ้างเอกสารค้างชำระอยู่ ครั้นเมื่อโจทก์ทราบก็รีบจัดการชำระค่าอ้างเอกสารก่อนยื่นคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับไว้ อันเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงให้ถูกต้องแล้วไม่ทำให้การรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวของโจทก์เสียไป
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับเช็คตามฟ้องจากจำเลยทั้งสามเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์สลักหลังเช็คนั้นไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนด ธนาคารที่รับซื้อลดเช็คนำไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ โจทก์ได้ใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่ธนาคารผู้ทรงเช็คเรียบร้อยแล้วและได้รับเช็คคืนมา พร้อมทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์นำเงินไปชำระแก่ธนาคารและรับเช็คคืนมาเมื่อวันที่เท่าใดเป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทนำไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ ธนาคารผู้รับซื้อลดเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็ค การสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกัน (อาวัล)สำหรับผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 โจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเท่านั้น หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนจำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 กรณีดังกล่าวนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ไล่เบี้ยจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 หาใช่มีอายุความ 6 เดือน ตามป.พ.พ.มาตรา 1003 ไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งหกฉบับรวมเป็นเงิน 1,757,500 บาท ชำระหนี้ให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1และที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งหกฉบับแก่โจทก์ไปแล้วบางส่วนเป็นจำนวนเงิน 670,603.56 บาท โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระไปนั้นเป็นเงินค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเป็นค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการนำสืบของโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบแม้ไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเป็นประเด็นขึ้นมาได้ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับเช็คตามฟ้องจากจำเลยทั้งสามเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์สลักหลังเช็คนั้นไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนด ธนาคารที่รับซื้อลดเช็คนำไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ โจทก์ได้ใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่ธนาคารผู้ทรงเช็คเรียบร้อยแล้วและได้รับเช็คคืนมา พร้อมทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์นำเงินไปชำระแก่ธนาคารและรับเช็คคืนมาเมื่อวันที่เท่าใดเป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทนำไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ ธนาคารผู้รับซื้อลดเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็ค การสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกัน (อาวัล)สำหรับผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 โจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเท่านั้น หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนจำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 กรณีดังกล่าวนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ไล่เบี้ยจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 หาใช่มีอายุความ 6 เดือน ตามป.พ.พ.มาตรา 1003 ไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งหกฉบับรวมเป็นเงิน 1,757,500 บาท ชำระหนี้ให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1และที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งหกฉบับแก่โจทก์ไปแล้วบางส่วนเป็นจำนวนเงิน 670,603.56 บาท โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระไปนั้นเป็นเงินค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเป็นค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการนำสืบของโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบแม้ไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเป็นประเด็นขึ้นมาได้ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 915/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบริษัทจากการสลักหลังเช็คโดยกรรมการผู้มีอำนาจ แม้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการ
จำเลยที่ 1 ได้กู้เงินโจทก์จำนวน 2,000,000 บาท และจำเลยที่ 1 ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาท โดยมีบริษัทจำเลยที่ 3 สลักหลังชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ ขณะที่จำเลยที่ 3 สลักหลังเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 และอ.ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 อยู่ ทั้งเช็คพิพาทก็เป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์ในฐานะผู้ครอบครองเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คเพื่อการชำระหนี้เงินกู้โดยชอบ การที่เช็คพิพาททั้งสองฉบับถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลังเช็คทั้งสองฉบับนั้นจะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ย โดยได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายทั้งสองฉบับ เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายตามเช็คทั้งสองฉบับนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะต้องร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว จะเห็นได้ว่า คำฟ้องของโจทก์ที่ว่านี้ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับพร้อมทั้งได้แสดงถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติบังคับไว้แล้วฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ หาได้เคลือบคลุมไม่
ข้อฎีกาของจำเลยที่ 3 ที่จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้คดีไว้แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ก่อนที่จำเลยที่ 1 และ อ.ลาออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 และ อ.ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาททั้งสองฉบับในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 และประทับตราของจำเลยที่ 3 เป็นสำคัญโดยชอบ แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 และ อ.จะได้ลาออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 3 และบุคคลทั้งสองได้โอนหุ้นที่มีอยู่ในบริษัทจำเลยที่ 3ให้แก่บุคคลอื่นก่อนเช็คพิพาททั้งสองฉบับถึงกำหนดชำระเงิน โดยที่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 ชุดใหม่ไม่ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาททั้งสองฉบับเลยก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 และ อ.ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 3 โดยชอบนั้นเอง การเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 ในภายหลัง ไม่มีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 3ที่มีอยู่ต่อโจทก์ก่อนแล้วต้องเปลี่ยนแปลงไป แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกจากกันตามวาระของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนก็ไม่ได้ทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยที่ 2ต้องหลุดพ้นไป ผลแห่งการลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาททั้งสองฉบับของจำเลยที่ 1และ อ.ซึ่งมีตราของจำเลยที่ 3 ประทับเป็นสำคัญย่อมผูกพันให้จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในเช็คพิพาทต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ย โดยได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายทั้งสองฉบับ เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายตามเช็คทั้งสองฉบับนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะต้องร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว จะเห็นได้ว่า คำฟ้องของโจทก์ที่ว่านี้ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับพร้อมทั้งได้แสดงถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติบังคับไว้แล้วฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ หาได้เคลือบคลุมไม่
ข้อฎีกาของจำเลยที่ 3 ที่จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้คดีไว้แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ก่อนที่จำเลยที่ 1 และ อ.ลาออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 และ อ.ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาททั้งสองฉบับในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 และประทับตราของจำเลยที่ 3 เป็นสำคัญโดยชอบ แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 และ อ.จะได้ลาออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 3 และบุคคลทั้งสองได้โอนหุ้นที่มีอยู่ในบริษัทจำเลยที่ 3ให้แก่บุคคลอื่นก่อนเช็คพิพาททั้งสองฉบับถึงกำหนดชำระเงิน โดยที่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 ชุดใหม่ไม่ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาททั้งสองฉบับเลยก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 และ อ.ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 3 โดยชอบนั้นเอง การเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 ในภายหลัง ไม่มีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 3ที่มีอยู่ต่อโจทก์ก่อนแล้วต้องเปลี่ยนแปลงไป แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกจากกันตามวาระของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนก็ไม่ได้ทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยที่ 2ต้องหลุดพ้นไป ผลแห่งการลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาททั้งสองฉบับของจำเลยที่ 1และ อ.ซึ่งมีตราของจำเลยที่ 3 ประทับเป็นสำคัญย่อมผูกพันให้จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในเช็คพิพาทต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 915/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คโดยกรรมการ, ความรับผิดของนิติบุคคล, ฟ้องเคลือบคลุม, การชำระหนี้
จำเลยที่1ได้กู้เงินโจทก์จำนวน2,000,000บาทและจำเลยที่1ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยมีบริษัทจำเลยที่3สลักหลังชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ขณะที่จำเลยที่3สลักหลังเช็คพิพาททั้งสองฉบับจำเลยที่1และอ.ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่3อยู่ทั้งเช็คพิพาทก็เป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือโจทก์ในฐานะผู้ครอบครองเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าวย่อมเป็นผู้ทรงเช็คเพื่อการชำระหนี้เงินกู้โดยชอบการที่เช็คพิพาททั้งสองฉบับถูกธนาคารตามเช็คปฎิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่3ในฐานะผู้สลักหลังเช็คทั้งสองฉบับนั้นจะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา914ประกอบด้วยมาตรา989โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10130/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในเช็คพิพาทโดยทายาทตามพินัยกรรม และการหักกลบลบหนี้
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือผู้ถือย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา918ประกอบมาตรา989ช. เป็นผู้จัดการมรดกของก.ตามคำสั่งศาลก.ทำพินัยกรรมต่อหน้าช.น.และย. โดยพินัยกรรมระบุให้โจทก์เป็นผู้ร่วมรับมรดกหลังจากช.เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแล้วช. ได้มอบเช็คพิพาทซึ่งเป็นส่วนแบ่งมรดกให้แก่โจทก์จำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดบ้างและคำให้การของจำเลยก็มิได้ปฏิเสธว่าก.มิได้ทำพินัยกรรมแต่อย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของจำเลยในข้อที่ว่าเป็นที่น่าสงสัยว่าก.ทำพินัยกรรมจริงหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้วเมื่อโจทก์ผู้เป็นทายาทโดยพินัยกรรมได้รับมอบเช็คพิพาทจากผู้จัดการมรดกเช่นนี้โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยการสืบสิทธิจากก.เจ้ามรดกหาใช่เป็นผู้รับโอนจากผู้ทรงคนก่อนโดยลำพังไม่จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับก. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา916 จำเลยอ้างว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไปด้วยการหักกลบลบหนี้กันจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นโดยชัดแจ้งแต่เมื่อพยานหลักฐานจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงมิได้ระงับสิ้นไปจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10130/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คพิพาททางมรดก ผู้รับมรดกมีสิทธิเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบธรรม แม้มีการอ้างหักกลบลบหนี้
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 ช. เป็นผู้จัดการมรดกของ ก.ตามคำสั่งศาล ก.ทำพินัยกรรมต่อหน้า ช.น.และ ย. โดยพินัยกรรมระบุให้โจทก์เป็นผู้ร่วมรับมรดกหลังจากช.เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแล้วช. ได้มอบเช็คพิพาทซึ่งเป็นส่วนแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ จำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดบ้าง และคำให้การของจำเลยก็มิได้ปฏิเสธว่า ก.มิได้ทำพินัยกรรมแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของจำเลยในข้อที่ว่าเป็นที่น่าสงสัยว่า ก.ทำพินัยกรรมจริงหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว เมื่อโจทก์ผู้เป็นทายาทโดยพินัยกรรมได้รับมอบเช็คพิพาทจากผู้จัดการมรดกเช่นนี้โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยการสืบสิทธิจาก ก.เจ้ามรดกหาใช่เป็นผู้รับโอนจากผู้ทรงคนก่อนโดยลำพังไม่จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับ ก. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 จำเลยอ้างว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไปด้วยการหักกลบลบหนี้กัน จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นโดยชัดแจ้ง แต่เมื่อพยานหลักฐานจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงมิได้ระงับสิ้นไปจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9215/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนเช็คโดยมิได้สมคบกันฉ้อฉล และความรับผิดของผู้สั่งจ่ายต่อผู้ทรงคนปัจจุบัน
เมื่อวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทจากจำเลยที่2โดยมิได้คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่1แล้วคดีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่ามีหนี้ที่จำเลยที่1จะต้องชำระแก่จำเลยที่2ตามเช็คพิพาทหรือไม่เพราะเป็นข้อต่อสู้ที่อาศัยความเกี่ยวพันกันระหว่างจำเลยที่1ผู้สั่งจ่ายกับจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนจำเลยที่1หาอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนปัจจุบันได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา916ประกอบด้วยมาตรา989จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9215/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและผู้ทรงคนปัจจุบันมีผลต่อความรับผิด
เมื่อวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยมิได้คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 แล้ว คดีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่ามีหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่จำเลยที่ 2 ตามเช็คพิพาทหรือไม่ เพราะเป็นข้อต่อสู้ที่อาศัยความเกี่ยวพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน จำเลยที่ 1 หาอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนปัจจุบันได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 916ประกอบด้วยมาตรา 989 จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6339/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: สิทธิของผู้สลักหลังหลังรับเช็คคืนจากธนาคาร
เช็คพิพาทเป็นเช็คระบุชื่อย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทแล้วส่งมอบให้ธนาคารก.เพื่อขายลดเช็ค ย่อมโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่เช็คนั้นธนาคารก. จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ และเมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจึงมิใช่การเรียกเก็บเงินในฐานะที่โจทก์ยังเป็นผู้ทรงเช็คอยู่ครั้นเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ได้ชำระเงินตามเช็คให้ธนาคารก.และรับเช็คพิพาทคืนมาโจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้สลักหลังหาใช่ผู้ทรงเช็ค ขณะนั้นไม่จึงต้องฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายภายในเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่โจทก์เข้าถือเอาเช็คพิพาทและใช้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6339/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช็คและการขาดอายุความฟ้องไล่เบี้ย
เช็คพิพาทเป็นเช็คระบุชื่อ จึงย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทแล้วส่งมอบให้ธนาคาร ก.เพื่อขายลดเช็คนั้น ย่อมโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่เช็คนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 920, 989ธนาคาร ก.จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ธนาคาร ก.นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินจึงมิใช่การเรียกเก็บเงินในฐานะที่โจทก์ยังเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทแต่อย่างใด ครั้นต่อมาเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่ธนาคาร ก.และรับเช็คพิพาทคืนมา โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้สลักหลังหาใช่ผู้ทรงเช็คขณะนั้นไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายได้ภายในเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่โจทก์เข้าถือเอาเช็คพิพาทและใช้เงินตามป.พ.พ.มาตรา 1003 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อล่วงเลยระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7948/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดแย้งในคำให้การของผู้สลักหลังเช็ค และผลต่อความรับผิดตามเช็ค
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาท จำเลยที่ 3 ยื่นคำให้การปฏิเสธในข้อ 1ว่า ไม่เคยลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาท ลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อปลอม แต่ในข้อ 2 กลับปฏิเสธว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทซึ่งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยไม่มีการแจ้งให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลังเช็คก่อน เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ให้ความยินยอมด้วยจำเลยที่ 3 จึงหลุดพ้นความรับผิด ดังนี้เป็นการยอมรับว่าจำเลยที่ 3 เป็นคู่สัญญาในเช็คพิพาทฐานะผู้สลักหลัง และคำให้การของจำเลยที่ 3 ในข้อ 1 และข้อ 2 จึงขัดแย้งกันไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ปฏิเสธหรือรับตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นนำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 แต่คำให้การของจำเลยที่ 3 เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 3 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีจึงยังมีประเด็นข้อพิพาท ที่โจทก์ยังต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องจึงจะชนะคดีได้ จำเลยที่ 3 ได้ทราบหรือยินยอมในการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในขณะลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทแล้วเช็คพิพาทจึงไม่เสียไปและใช้ได้กับจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คผู้ถือ ต้องร่วมกับผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 921,967 ประกอบมาตรา 989