คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 989

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 381 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สลักหลังเช็ค: การผูกพันในฐานะผู้รับอาวัลเมื่อลงลายมือชื่อสลักหลัง
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาท จำเลยที่ 2 ให้การว่ามิได้ค้ำประกันเป็นอาวัลเช็คพิพาทโดยไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธให้ชัดแจ้งว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 เพราะเหตุใด จำเลยที่ 2 จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 หรือไม่
แม้ผู้ที่โอนเช็คพิพาทให้โจทก์จะได้รับเช็คพิพาทมาจากจำเลยที่ 1ตามมูลหนี้กู้ยืมเงิน โจทก์ก็ไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้มานำสืบ เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้ยืมเงิน
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ต. โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉล และจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทโดยไม่ได้ลงชื่อร่วมกับ ป.เป็นการผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับธนาคาร โดยที่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือจึงต้องผูกพันในฐานะผู้รับอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ทำให้เช็คเป็นโมฆะ, สิทธิเรียกร้องต้นเงินยังคงอยู่
แม้จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าเช็คพิพาทมีการรวมดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทบต้นไว้ในเช็คนั้นด้วยจึงเป็นโมฆะทั้งฉบับ ทั้งท้ายคำให้การยังมีคำขอให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนของเงินที่เป็นดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะ แต่กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ไม่ชอบ
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยออกให้เพื่อชำระหนี้เดิมซึ่งจำเลยกู้ยืมจากโจทก์จำนวน 100,000 บาทโดยมีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนรวมอยู่ด้วย ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ในการเรียกดอกเบี้ยเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 แต่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงิน เพราะส่วนของนิติกรรมที่เป็นโมฆะคือการคิดดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ในนิติกรรมกู้ยืมเงินเท่านั้น ส่วนต้นเงินที่กู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานยังสมบูรณ์อยู่แยกออกจากกันได้ สำหรับเช็คพิพาทเป็นนิติกรรมคนละอันกับนิติกรรมการกู้ยืม เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้กู้ยืมและโจทก์ยอมรับเอาเช็คนั้นแทนการชำระหนี้โดยใช้เงิน หนี้กู้ยืมจะระงับไปก็ต่อเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 โจทก์จึงมีสิทธิอาศัยเช็คพิพาทเป็นมูลหนี้ฟ้องจำเลยได้ แต่จำเลยคงต้องรับผิดเพียงต้นเงิน เพราะส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะแล้วจำเลยจะไม่ยอม รับผิดตามเช็คเสียเลยไม่ได้ กรณีไม่ใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6922/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้บรรยายรายละเอียดการได้มาซึ่งเช็ค การแสดงสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับชัดเจนเพียงพอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คผู้ถือให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปขายลดแก่ธนาคารถึงกำหนดจ่ายเงินตามเช็คธนาคารผู้ซื้อเช็ค เรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็คไม่ได้ จึงได้หักจากบัญชีของโจทก์ ตามจำนวนเงินในเช็คแล้วมอบเช็คคืนแก่โจทก์ โจทก์จึงกลับเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมาย และได้ทวงถามจำเลยให้ชำระเงินตามเช็คแล้วจำเลยไม่ชำระขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่า จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คจะต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่าย อันเป็นข้ออ้างให้จำเลยรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 กับมีคำขอบังคับครบถ้วน สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาอย่างไรเมื่อใด และไม่ได้บรรยายถึงวันที่โจทก์เข้ายึดถือเช็คและใช้เงินตามเช็คนั้น ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ที่สมบูรณ์แล้วกลับเป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6922/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินตามเช็ค: แม้ไม่ได้บรรยายรายละเอียดการได้มาซึ่งเช็ค ก็ไม่ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คผู้ถือให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปขายลดแก่ธนาคาร ถึงกำหนดจ่ายเงินตามเช็คธนาคารผู้ซื้อเช็ค เรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็คไม่ได้ จึงได้หักจากบัญชีของโจทก์ ตามจำนวนเงินในเช็คแล้วมอบเช็คคืนแก่โจทก์ โจทก์จึงกลับเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมาย และได้ทวงถามจำเลยให้ชำระเงินตามเช็คแล้วจำเลยไม่ชำระขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่า จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คจะต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่าย อันเป็นข้ออ้างให้จำเลยร้บผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 กับมีคำขอบังคับครบถ้วนสมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาอย่างไร เมื่อใด และไม่ได้บรรยายถึงวันที่โจทก์เข้ายึดถือเช็คและใช้เงินตามเช็คนั้น ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ที่สมบูรณ์แล้วกลับเป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6842/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้รับโอนเช็คมีสิทธิฟ้องได้ แม้จะมีการโอนโดยไม่ชอบ หากโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็น
เช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทมาจึงเป็นผู้ถือ ย่อมเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามมาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 ที่จำเลยให้การว่า ผู้มีชื่อ พ. และโจทก์ได้ร่วมกันฉ้อฉลจำเลยโดยผู้มีชื่อได้มอบเช็คให้ พ. โดยทุจริต โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกันเพื่อให้ พ. โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยไม่มีมูลหนี้เช่นเดียวกันนั้น ไม่ปรากฏในคำให้การของจำเลยว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉล คำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร จึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 905 และมาตรา 916 จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ตาม มาตรา 914 ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จโดยมิได้กำหนดให้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับถึงวันฟ้องรวมไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6842/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องได้ เว้นแต่โอนด้วยเจตนาฉ้อฉล
เช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทมาจึงเป็นผู้ถือ ย่อมเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามมาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989
ที่จำเลยให้การว่า ผู้มีชื่อ พ. และโจทก์ได้ร่วมกันฉ้อฉลจำเลยโดยผู้มีชื่อได้มอบเช็คให้ พ. โดยทุจริต โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกันเพื่อให้ พ.โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยไม่มีมูลหนี้เช่นเดียวกันนั้น ไม่ปรากฏในคำให้การของจำเลยว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉล คำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร จึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 905 และมาตรา 916จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ตาม มาตรา914
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จโดยมิได้กำหนดให้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับถึงวันฟ้องรวมไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6196/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเช็ค: คำฟ้องไม่เคลือบคลุม, การแก้ไขวันสั่งจ่ายเช็คโดยสุจริต, และค่าฤชาธรรมเนียม
คดีสำนวนแรกมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองฎีกาว่าจำเลยทั้งสองชำระเงินตามเช็คจำนวนเงิน 110,000 บาทแก่โจทก์แล้ว และฟ้องโจทก์เกี่ยวกับเช็คฉบับนี้ขาดอายุความเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คงรับวินิจฉัยเฉพาะข้อกฎหมายและฎีกาของจำเลยที่ 2ในสำนวนหลัง โจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ ครบกำหนดสั่งจ่ายแล้วธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ฟ้องโจทก์ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติไว้แล้ว ส่วนวันที่โจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาจากจำเลยเป็นวันใดและจำเลยมอบเช็คพิพาทชำระหนี้อะไรแก่โจทก์นั้น มิใช่สภาพแห่งข้อหาที่กฎหมายบังคับให้ต้องแสดงไว้ในคำฟ้อง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์แก้วันสั่งจ่ายเงินในเช็คโดยสุจริตตามความยินยอมที่จำเลยที่ 2 ให้ไว้แก่โจทก์ วันสั่งจ่ายในเช็คดังกล่าวจึงเป็นวันสั่งจ่ายที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ภายในเวลา 1 ปีนับแต่วันที่เช็คดังกล่าวถึงกำหนดสั่งจ่าย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นจำเลยในสำนวนหลัง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองสำนวนจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย, ผู้สลักหลัง, และผู้รับอาวัลเช็ค แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
เมื่อเช็คพิพาทมีรายการครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 988 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ยังคงเป็นเช็คตามมาตรา 987 จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้สลักหลังยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทตาม มาตรา 900 เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ จำเลยที่ 4 สลักหลังเช็คพิพาทย่อมเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับจำเลยที่ 1 และมีความรับผิดอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 921,940 ประกอบด้วยมาตรา 989ทั้งต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้รับอาวัลรับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ตามมาตรา 967ประกอบด้วยมาตรา 989 แม้จำเลยที่ 4 สลักหลังเช็คพิพาทหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิดตามเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในเช็คพิพาท: ผู้สั่งจ่าย, ผู้สลักหลัง, ผู้รับอาวัล แม้ปฏิเสธการจ่ายเงินก็ยังคงรับผิด
เมื่อเช็คพิพาทมีรายการครบถ้วนตาม ป.พ.พ.มาตรา 988 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ยังคงเป็นเช็คตามมาตรา 987 จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้สลักหลังยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทตาม มาตรา900 เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ จำเลยที่ 4 สลักหลังเช็คพิพาทย่อมเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับจำเลยที่ 1 และมีความรับผิดอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 921, 940 ประกอบด้วยมาตรา 989 ทั้งต้องร่วมกับจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้รับอาวัลรับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ตามมาตรา 967 ประกอบด้วยมาตรา 989 แม้จำเลยที่ 4 สลักหลังเช็คพิพาทหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิดตามเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5547/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คสลักหลัง: สิทธิไล่เบี้ยและอายุความ
โจทก์สลักหลังเช็คผู้ถือซึ่งจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 921 ประกอบมาตรา989 จึงอยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คที่จะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเท่านั้น หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามเช็คแทนจำเลยไปแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับภายในกำหนดเวลาเท่าใด จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม) มิใช่อายุความ1 ปี หรือ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002 และ มาตรา 1003
of 39