คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 292

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ซ้ำซ้อนในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้รับชำระหนี้เต็มจำนวนจากลูกหนี้ร่วมแล้ว ไม่อาจขอรับชำระหนี้ซ้ำจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้อีก
แม้หนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษา แต่ก็หามีผลผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตามไม่ เพราะเป็นกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายคนละขั้นตอน เมื่อศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายคดีก่อนมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ทั้ง 7 อันดับ ของเจ้าหนี้เป็นเงินทั้งสิ้น10,781,495.35 บาท เป็นจำนวนที่น้อยกว่าที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้มิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงผูกพันเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จ่ายเงินจำนวน 10,781,495.35 บาท ให้แก่เจ้าหนี้ จึงเป็นการจ่ายเงินเต็มจำนวนมูลหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับตามคำขอรับชำระหนี้ทั้ง 7 อันดับ ถือว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิงแล้ว หาใช่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ที่เพียงเป็นส่วนเฉลี่ยจากกองทรัพย์สินของ ส. ดังที่เจ้าหนี้อ้างในคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ไม่ เมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนทั้ง 7 อันดับจากกองทรัพย์สินของ ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ที่ 1 ในคดีนี้ในคดีล้มละลายคดีก่อนแล้ว การที่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งชำระหนี้นั้นย่อมได้เป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่นด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่งเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ทั้ง 7 อันดับจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ในคดีนี้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอมยอมความเรื่องหนี้จำนอง: การชำระหนี้แทนกันและสิทธิในการรับโอนที่ดิน
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาที่ว่าเมื่อโจทก์ทั้งสองชำระหนี้จำนองแทนจำเลยครึ่งหนึ่งก็ก่อให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิจะรับโอนที่ดินตามข้อตกลงเช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าหนี้ที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระหนี้จำนองครึ่งหนึ่งแทนจำเลยตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นโจทก์ทั้งสองจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจะต้องชำระหนี้สิ้นเชิงอันถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา291ดังนั้นการที่โจทก์ที่1ชำระหนี้จำนองตามข้อตกลงย่อมมีผลเป็นการชำระหนี้แทนโจทก์ที่2ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา292โดยเหตุนี้แม้โจทก์ที่2จะถอนคำฟ้องแต่เมื่อโจทก์ที่1ได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วโจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิรับโอนที่ดินจากจำเลยตามข้อตกลงได้ทันที ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ทั้งสองและจำเลยยอมรับผิดในหนี้จำนองคนละครึ่งฉะนั้นหนี้จำนองทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจำนวนครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ทั้งสองที่โจทก์ทั้งสองยอมรับตามสัญญาณวันที่26ธันวาคม2531เป็นต้นไปจึงตกเป็นภาระแก่โจทก์ทั้งสองดอกเบี้ยที่เกิดจากยอดเงินในส่วนที่โจทก์ทั้งสองต้องรับผิดจึงตกเป็นภาระหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะต้องร่วมกันชำระจำเลยคงมีภาระที่จะต้องชำระดอกเบี้ยจำนองของยอดเงินในส่วนที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญานับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสองเป็นต้นไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ร่วมและการโอนสิทธิในที่ดินหลังประนีประนอมยอมความ
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาที่ว่า เมื่อโจทก์ทั้งสองชำระหนี้จำนองแทนจำเลยครึ่งหนึ่งก็ก่อให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิจะรับโอนที่ดินตามข้อตกลง เช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าหนี้ที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระหนี้จำนองครึ่งหนึ่งแทนจำเลยตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นโจทก์ทั้งสองจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจะต้องชำระหนี้สิ้นเชิงอันถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ดังนั้น การที่โจทก์ที่ 1 ชำระหนี้จำนองตามข้อตกลงย่อมมีผลเป็นการชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 2 ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 โดยเหตุนี้ แม้โจทก์ที่ 2 จะถอนคำฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ที่ 1ได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิรับโอนที่ดินจากจำเลยตามข้อตกลงได้ทันที
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ทั้งสองและจำเลยยอมรับผิดในหนี้จำนองคนละครึ่ง ฉะนั้นหนี้จำนองทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจำนวนครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ทั้งสองที่โจทก์ทั้งสองยอมรับตามสัญญา ณ วันที่ 26 ธันวาคม2531 เป็นต้นไป จึงตกเป็นภาระแก่โจทก์ทั้งสอง ดอกเบี้ยที่เกิดจากยอดเงินในส่วนที่โจทก์ทั้งสองต้องรับผิด จึงตกเป็นภาระหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะต้องร่วมกันชำระจำเลยคงมีภาระที่จะต้องชำระดอกเบี้ยจำนองของยอดเงินในส่วนที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญานับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสองเป็นต้นไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6896/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมจากอุบัติเหตุรถแข่ง: ลูกหนี้ร่วม, ประนีประนอม, ค่าเสียหาย
การที่รถยนต์โดยสารทั้งสองคันวิ่งแข่งกันมาและต่างชนโจทก์นั้นแม้จะเป็นกรณีต่างคนต่างประมาทเลินเล่อก็ตาม แต่ความประมาทเลินเล่อของคนขับรถทั้งสองไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นต่อโจทก์ คนขับรถทั้งสองจึงต้องร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม โดยคนขับรถทั้งสองหรือคนใดคนหนึ่งต้องรับผิดต่อโจทก์เต็มจำนวน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์โดยสารทั้งสองคันที่ก่อเหตุร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในรถยนต์โดยสารทั้งสองคันดังกล่าวต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมในจำนวนค่าเสียหายเป็นเงิน 730,000 บาท แต่เนื่องจากโจทก์ จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3ได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นเงิน 60,000 บาทส่วนค่าเสียหายที่เหลือโจทก์ยังติดใจเรียกร้องจากจำเลยอื่นอีก สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมีเพียง 60,000 บาทคงเหลือส่วนที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์จำนวนเงิน 670,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีเมื่อลูกหนี้ร่วมฟ้องคดีเรียกทรัพย์จากเจ้าหนี้ และการใช้ดุลพินิจของศาลตามมาตรา 292(2)
การงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 เป็นกรณีลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ฟ้องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไว้เป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งในคราวเดียวกัน โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าหากศาลพิพากษาให้ฝ่ายลูกหนี้ชนะคดีก็ไม่ต้องมีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้โดยวิธีอื่นเพราะสามารถจะหักกลบลบกันได้ ส่วนการงดบังคับคดีตามมาตรา 292(2) นั้นเป็นดุลพินิจของศาลโดยมีเงื่อนไขเพียงว่า ศาลต้องใช้ดุลพินิจให้เหมาะสมแก่รูปคดี การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้น และศาลพิพากษาให้โจทก์คืนข้าวเปลือกหรือใช้ราคาแก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ขอให้ศาลงดการบังคับคดี ศาลย่อมใช้ดุลพินิจงดการบังคับคดีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไว้ในระหว่างที่คดีจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ยังไม่ถึงที่สุดได้ เพราะหากคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ดังกล่าวถึงที่สุดและศาลพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็อาจจะขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ได้ผลก็คือจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดการบังคับคดีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไว้จนกว่าคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ ถึงที่สุดตามมาตรา 292(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างลูกหนี้ร่วมไม่ผูกพันลูกหนี้ที่ไม่ได้ร่วมทำสัญญา และไม่ถือเป็นการแปลงหนี้
การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 - 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยที่ 1 - 2 ยอมใช้ต้นเงิน 100,000 บาทกับดอกเบี้ย ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้เซ็นชื่อกู้เงินนี้จากโจทก์ ร่วมกับจำเลยที่ 1 - 2 นั้น ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งต่อสู้คดีไปคนละประเด็นกับจำเลยที่ 1 - 2 พ้นผิด เพราะการทำสัญญาประนีประนอมดังกล่าวเป็นแต่สัญญาระงับข้อพิพาท ไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ ไม่ใช่เป็นการที่ลูกหนี้ร่วมชำระหนี้ และไม่ใช่เป็นการปลดหนี้ เพราะในสัญญาประนีประนอมนั้นมิได้ระบุให้จำเลยที่ 3 พ้นความผิด ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาคดีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมระหว่างลูกหนี้ร่วมไม่ผูกพันลูกหนี้ที่ไม่ได้ร่วมทำสัญญา และไม่ถือเป็นการแปลงหนี้
การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1-2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยที่ 1-2 ยอมใช้ต้นเงิน 100,000 บาท กับดอกเบี้ยซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้เซ็นชื่อกู้เงินนี้จากโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1-2 นั้นไม่ทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งต่อสู้คดีไปคนละประเด็นกับจำเลยที่ 1-2พ้นผิด เพราะการทำสัญญาประนีประนอมดังกล่าวเป็นแต่สัญญาระงับข้อพิพาท ไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ ไม่ใช่เป็นการที่ลูกหนี้ร่วมชำระหนี้ และไม่ใช่เป็นการปลดหนี้เพราะในสัญญาประนีประนอมนั้นมิได้ระบุให้จำเลยที่ 3 พ้นความผิด ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาคดีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 221/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมรับผิดชอบหนี้ทั้งหมด หากทำสัญญาโดยไม่ได้แยกความรับผิด
ลูกหนี้ซึ่งทำสัญญาร่วมกันโดยมิได้แยกความรับผิดไว้ก็ต้องรับผิดร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 221/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทางร่วมกัน ความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วม
ลูกหนี้ซึ่งทำสัญญาร่วมกันโดยมีได้แยกความรับผิดไว้ ก็ต้องรับผิดร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ร่วม: ผลกระทบต่อลูกหนี้ร่วม
หนี้ร่วมซึ่งลูกหนี้คนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้.ย่อมเป็นผลแก่ลูกหนี้ร่วมอีกคนหนึ่งที่ไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย.
of 3