พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมของผู้เยาว์และการยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม รวมถึงผลของการจดทะเบียนสมรส
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ได้บัญญัติไว้เฉพาะในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองของผู้เยาว์ทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ผู้เยาว์เป็นผู้ทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความเอง บิดาโจทก์เพียงแต่ลงลายมือชื่อในฐานะพยานเท่านั้น ดังนี้จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ผู้เยาว์ทำขึ้น มี บ.ผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อเป็นพยานในเอกสารนั้น ย่อมถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว ดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงสมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 21
ขณะจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว ทั้งได้แสดงความยินยอมเป็นสามีภริยาโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและพยานซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองอีกด้วย เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการจดทะเบียนสมรสได้กระทำไปโดยเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายประการใดแล้ว ย่อมไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ผู้เยาว์ทำขึ้น มี บ.ผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อเป็นพยานในเอกสารนั้น ย่อมถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว ดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงสมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 21
ขณะจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว ทั้งได้แสดงความยินยอมเป็นสามีภริยาโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและพยานซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองอีกด้วย เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการจดทะเบียนสมรสได้กระทำไปโดยเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายประการใดแล้ว ย่อมไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความของผู้เยาว์: ความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม และข้อยกเว้นการขออนุญาตศาล
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 ได้บัญญัติไว้เฉพาะในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองของผู้เยาว์ทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์เป็นผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยทั้งสองเองบิดาโจทก์เพียงแต่ลงลายมือชื่อในฐานะพยานเท่านั้น จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลและถือได้ว่าบิดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จึงสมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความของผู้เยาว์ & การจดทะเบียนสมรสโดยสมัครใจ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 ได้บัญญัติไว้เฉพาะในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองของผู้เยาว์ทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ผู้เยาว์เป็นผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเอง บิดาโจทก์เพียงแต่ลงลายมือชื่อในฐานะพยานเท่านั้นดังนี้ จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ผู้เยาว์ทำขึ้น มี บ.ผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อเป็นพยานในเอกสารนั้น ย่อมถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว ดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงสมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 21 ขณะจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว ทั้งได้แสดงความยินยอมเป็นสามีภริยาโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและพยานซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองอีกด้วยเมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการจดทะเบียนสมรสได้กระทำไปโดยเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายประการใดแล้ว ย่อมไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล แม้ผู้แทนโดยชอบธรรมยินยอมก็ไม่สมบูรณ์
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรม มีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อนหรือถือว่านิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำด้วยตนเองในขณะยังไม่บรรลุนิติภาวะโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลมีผลผูกพันผู้เยาว์เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อขายที่จำเลยที่ 8 ได้กระทำไปในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 8 แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 8 จะบรรลุนิติภาวะแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นสัญญาไม่มีผลผูกพัน แม้ผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะแล้ว
การ ขาย อสังหาริมทรัพย์ ของ ผู้เยาว์ ผู้เยาว์ เอง หรือ ผู้ใช้ อำนาจ ปกครอง จะ กระทำ มิได้ เว้นแต่ ศาล จะ อนุญาต ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อ ผู้แทนโดยชอบธรรม ต้องห้าม โดย กฎหมาย มิให้ ทำนิติกรรม ขาย ที่ดิน ซึ่ง หมายความ รวม ถึง นิติกรรม จะขาย ที่ดิน แทน ผู้เยาว์ โดย ลำพัง แล้ว จะ ถือว่า การ ที่ ผู้เยาว์ ทำนิติกรรม พร้อม กับ ผู้แทนโดยชอบธรรม มีผล ว่า ผู้แทน โดย ชอบธรรม อนุญาต ให้ ทำได้ โดย ไม่ต้อง ขออนุญาต จาก ศาล ก่อน หรือ ถือว่า นิติกรรม ที่ ผู้เยาว์ กระทำ ด้วย ตนเอง ใน ขณะ ยัง ไม่ บรรลุนิติภาวะ โดย มิได้ รับ อนุญาต จาก ศาล มีผล ผูกพัน ผู้เยาว์ เมื่อ บรรลุนิติภาวะ แล้ว ก็ เท่ากับ เป็น การ หลีกเลี่ยง ไม่ต้อง มา ขออนุญาต จาก ศาล ซึ่ง ผิด ไป จาก เจตนา รม ณ์ ของ กฎหมาย สัญญาจะซื้อขาย ที่ จำเลย ที่ 8 ได้ กระทำ ไป ใน ขณะที่ ยัง เป็น ผู้เยาว์ จึง ไม่มี ผล ผูกพัน จำเลย ที่ 8 แม้ ขณะที่ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 8 จะ บรรลุนิติภาวะ แล้ว .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5965/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์: รูปแบบไม่จำกัดกฎเกณฑ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 21 มิได้บัญญัติถึงแบบหรือวิธีปฏิบัติในการที่ผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ไว้ดังนั้นการให้ความยินยอมดังกล่าวจึงกระทำด้วยวาจาลายลักษณ์อักษรหรือพฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เมื่อบิดาและมารดาให้ความยินยอมแก่บุตรผู้เยาว์ในการทำนิติกรรมแล้ว นิติกรรมจึงสมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีส่วนร่วมในความประมาท และความสามารถในการฟ้องคดีของผู้เยาว์ที่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดา
ข้อที่ว่าผู้เสียหายมีส่วนร่วมในการประมาทด้วยหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ต่อสู้ไว้ในคดีอาญา ก็ไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีแพ่ง
ผู้เยาว์ถูกจำเลยขับรถชนได้รับอันตราย มารดาดำเนินคดีแทนผู้เยาว์โดยฟ้องเรียกค่าเสียหาย มิได้ฟ้องในนามของมารดาเองเป็นการส่วนตัว เท่ากับผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีนั่นเอง เมื่อผู้เยาว์ยังมิได้รับความยินยอมจากบิดา จึงเป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสองศาลมีอำนาจสอบสวนในเรื่องความสามารถของคู่แล้วและมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องได้ หาใช่ว่าฟ้องของโจทก์เสียไป เพราะเป็นการดำเนินคดีโดยผู้ไม่มีอำนาจไม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถจึงชอบแล้ว
(ตามวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2518)
ผู้เยาว์ถูกจำเลยขับรถชนได้รับอันตราย มารดาดำเนินคดีแทนผู้เยาว์โดยฟ้องเรียกค่าเสียหาย มิได้ฟ้องในนามของมารดาเองเป็นการส่วนตัว เท่ากับผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีนั่นเอง เมื่อผู้เยาว์ยังมิได้รับความยินยอมจากบิดา จึงเป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสองศาลมีอำนาจสอบสวนในเรื่องความสามารถของคู่แล้วและมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องได้ หาใช่ว่าฟ้องของโจทก์เสียไป เพราะเป็นการดำเนินคดีโดยผู้ไม่มีอำนาจไม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถจึงชอบแล้ว
(ตามวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสามารถของโจทก์เด็กและสิทธิของจำเลยในการยกประเด็นประมาทร่วมกัน แม้ไม่เคยอ้างในคดีอาญา
ข้อที่ว่าผู้เสียหายมีส่วนรวมในการประมาทด้วยหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ต่อสู้ไว้ในคดีอาญา ก็ไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีแพ่ง
ผู้เยาว์ถูกจำเลยขับรถชนได้รับอันตราย มารดาดำเนินคดีแทนผู้เยาว์โดยฟ้องเรียกค่าเสียหาย มิได้ฟ้องในนามของมารดาเองเป็นการส่วนตัว เท่ากับผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีนั่นเอง เมื่อผู้เยาว์ยังมิได้รับความยินยอมจากบิดา จึงเป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสอง ศาลมีอำนาจสอบสวนในเรื่องความสามารถของคู่ความและมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องได้ หาใช่ว่าฟ้องของโจทก์เสียไป เพราะเป็นการดำเนินคดีโดยผู้ไม่มีอำนาจไม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถจึงชอบแล้ว
(ตามวรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2518)
ผู้เยาว์ถูกจำเลยขับรถชนได้รับอันตราย มารดาดำเนินคดีแทนผู้เยาว์โดยฟ้องเรียกค่าเสียหาย มิได้ฟ้องในนามของมารดาเองเป็นการส่วนตัว เท่ากับผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีนั่นเอง เมื่อผู้เยาว์ยังมิได้รับความยินยอมจากบิดา จึงเป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสอง ศาลมีอำนาจสอบสวนในเรื่องความสามารถของคู่ความและมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องได้ หาใช่ว่าฟ้องของโจทก์เสียไป เพราะเป็นการดำเนินคดีโดยผู้ไม่มีอำนาจไม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถจึงชอบแล้ว
(ตามวรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมของผู้เยาว์ในการกู้เงินและจำนองทรัพย์สิน: สิทธิของเจ้าหนี้ในการยึดทรัพย์
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้เยาว์ บิดาตายไปแล้ว มารดาโจทก์ไปกู้เงินจำเลยและได้นำโฉนดที่ดินของโจทก์ไปให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันโดยโจทก์รู้เห็นยินยอมกรณีเช่นนี้ไม่อยู่ใต้บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 และตามพฤติการณ์ถือได้ว่ามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ได้ให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวนั้น ถึงแม้ว่าโจทก์มิใช่ผู้กู้เงินจากจำเลยจำเลยก็มีสิทธิที่จะยึดโฉนดของโจทก์ไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมของผู้เยาว์ในการกู้เงินและการยึดที่ดินเป็นประกัน จำเลยมีสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้เยาว์บิดาตายไปแล้ว มารดาโจทก์ไปกู้เงินจำเลยและได้นำโฉนดที่ดินของโจทก์ไปให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันโดยโจทก์รู้เห็นยินยอม กรณีเช่นนี้ไม่อยู่ใต้บัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 และตามพฤติการณ์ถือได้ว่ามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ได้ให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวนั้น ถึงแม้ว่าโจทก์มิใช่ผู้กู้เงินจากจำเลย จำเลยก็มีสิทธิที่จะยึดโฉนดของโจทก์ไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญา