คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 21

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาจะซื้อขายที่ไม่มีการอนุญาตจึงไม่ผูกพัน
การขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็ก ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาต และผู้ใช้อำนาจจะให้ความยินยอมแก่เด็กโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล ก็ไม่อาจทำได้เช่นเดียวกัน ทั้งการขายนั้นหมายความรวมถึงสัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กด้วย เมื่อผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีอำนาจที่จะทำได้ สัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กย่อมไม่ผูกพันเด็ก เด็กจะอ้างว่าผู้จะซื้อผิดสัญญาและจะริบมัดจำหาได้ไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 816-817/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาจะซื้อขายที่ไม่มีการอนุญาตจึงไม่ผูกพัน
การขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาต และผู้ใช้อำนาจจะให้ความยินยอมแก่เด็กโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลก็ไม่อาจทำได้เช่นเดียวกัน ทั้งการขายนั้นหมายความรวมถึงสัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กด้วย เมื่อผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีอำนาจที่จะทำได้ สัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กย่อมไม่ผูกพันเด็ก เด็กจะอ้างว่าผู้จะซื้อผิดสัญญาและจะริบมัดจำหาได้ไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 816-817/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิด: ผู้ถูกละเมิดและผู้แทนโดยชอบธรรม
การที่จำเลยใช้กำลังกายประทุษร้ายกอดปล้ำและฉุดคร่ากระทำอนาจารผู้เยาว์อายุ 13 ปี บุตรสาวของโจทก์อันเป็นการทำละเมิดนั้นผู้ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดก็คือผู้เยาว์ซึ่งถูกกอดปล้ำและฉุดคร่ากระทำอนาจารโจทก์ซึ่งเป็นมารดามิใช่เป็นผู้เสียหายจากการทำละเมิดด้วย จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นส่วนตัว
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุฐานะของมารดาผู้เยาว์ซึ่งเป็นโจทก์ไว้ว่า "นางวิง ยังสุข ในฐานะส่วนตัวและมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิงมะลิวัลย์ ยังสุข ผู้เยาว์" แสดงชัดแจ้งว่า มารดาเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในสองฐานะ คือ ฟ้องในฐานะส่วนตัวฐานะหนึ่งกับฟ้องแทนผู้เยาว์ในฐานะที่เป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมอีกฐานะหนึ่งจึงถือว่าคำฟ้องนั้น จึงเป็นคำฟ้องของผู้เยาว์โดยมารดาฟ้องแทนอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิด: แยกพิจารณาความเสียหายของผู้ถูกละเมิดและผู้แทนโดยชอบธรรม
การที่จำเลยใช้กำลังกายประทุษร้ายกอดปล้ำและฉุดคร่ากระทำอนาจารผู้เยาว์อายุ 13 ปีบุตรสาวของโจทก์อันเป็นการทำละเมิดนั้นผู้ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดก็คือผู้เยาว์ซึ่งถูกกอดปล้ำและฉุดคร่ากระทำอนาจารโจทก์ซึ่งเป็นมารดามิใช่เป็นผู้เสียหายจากการทำละเมิดด้วย จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นส่วนตัว
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุฐานะของมารดาผู้เยาว์ซึ่งเป็นโจทก์ไว้ว่า 'นางวิง ยังสุข ในฐานะส่วนตัวและมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิงมะลิวัลย์ ยังสุข ผู้เยาว์' แสดงชัดแจ้งว่า มารดาเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในสองฐานะ คือ ฟ้องในฐานะส่วนตัวฐานะหนึ่ง กับฟ้องแทนผู้เยาว์ในฐานะที่เป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมอีกฐานะหนึ่งจึงถือว่าคำฟ้องนั้น จึงเป็นคำฟ้องของผู้เยาว์โดยมารดาฟ้องแทนอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมรดกของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรส ย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้บถือได้ว่า ผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 (4) ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล ย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งที่เกี่ยวพัน ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง ย่อมขาดอายุความมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมรดกของผู้เยาว์: โมฆะหากไม่มีคำอนุญาตจากศาล และผลกระทบของอายุความมรดก
ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา. แต่มิได้จดทะเบียนสมรส.ย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่า.ผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว.
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม. เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น. จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ.
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้. เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล. ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก.
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล.ย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน. แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวพัน. ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้. ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น.
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด. เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย. ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น. ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง. ย่อมขาดอายุความมรดก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมรดกของผู้เยาว์: โมฆะหากไม่มีคำอนุญาตจากศาล
ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรสย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวพัน ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง ย่อมขาดอายุความมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เยาว์และการแก้ไขความบกพร่องด้านความสามารถในการฟ้องคดี
ฟ้องซึ่งตั้งรูปว่า ผู้เยาว์โดยบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์นั้น เป็นเรื่องผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีเองโดยอาศัยอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมถึงหากจะฟังว่าบุคคลนั้นมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และขณะฟ้องคดีโจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็เป็นเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีของโจทก์ผู้เยาว์บกพร่อง ซึ่งศาลมีอำนาจสอบสวนและสั่งแก้ไขความบกพร่องนั้นให้บริบูรณ์ได้ก่อนศาลพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา56 ส่วนอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น ถ้าไม่มีหรือไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม ศาลจะยกฟ้องหรือจะสั่งอย่างอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ต้องยกฟ้องก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา66
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาปรากฏว่าโจทก์ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว มีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้แล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องสั่งให้โจทก์แก้ไขเรื่องความสามารถ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เยาว์และการแก้ไขความบกพร่องในความสามารถของคู่ความ
ฟ้องซึ่งตั้งรูปว่าผู้เยาว์โดยบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์นั้น. เป็นเรื่องผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง.โดยอาศัยอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมถึงหากจะฟังว่าบุคคลนั้นมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์. และขณะฟ้องคดีโจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ. ก็เป็นเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีของโจทก์ผู้เยาว์บกพร่อง. ซึ่งศาลมีอำนาจสอบสวนและสั่งแก้ไขความบกพร่องนั้นให้บริบูรณ์ได้ก่อนศาลพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา56. ส่วนอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น. ถ้าไม่มีหรือไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม. ศาลจะยกฟ้องหรือจะสั่งอย่างอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ต้องยกฟ้องก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา66.
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา.ปรากฏว่าโจทก์ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว. มีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้แล้ว. ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องสั่งให้โจทก์แก้ไขเรื่องความสามารถ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสามารถในการฟ้องคดีของผู้เยาว์ และอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรมในการฟ้องคดีแทน
ฟ้องซึ่งตั้งรูปว่าผู้เยาว์โดยบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์นั้น เป็นเรื่องผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีเองโดยอาศัยอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมถึงหากจะฟังว่าบุคคลนั้นมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และขณะฟ้องคดีโจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็เป็นเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีของโจทก์ผู้เยาว์บกพร่อง ซึ่งศาลมีอำนาจสอบสวนและสั่งแก้ไขความบกพร่องนั้นให้บริบูรณ์ได้ก่อนศาลพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ส่วนอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น ถ้าไม่มีหรือไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม ศาลจะยกฟ้องหรือจะสั่งอย่างอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ต้องยกฟ้องก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาปรากฏว่าโจทก์ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว มีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้แล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องสั่งให้โจทก์แก้ไขเรื่องความสามารถ
of 6