พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายแจ้งคำสั่งศาลและการดำเนินคดีฎีกา การปิดหมายไม่ชอบด้วยกฎหมาย การทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฎีกาจำเลย สำเนาให้โจทก์แก้ ให้นัดให้จำเลยนำส่งใน 3 วัน แจ้งให้มานำส่งโดยด่วน เป็นการสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ฎีกาปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ป.วิ.พ.มาตรา 70 วรรคท้าย บัญญัติไว้ จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวที่จะต้องดำเนินคดีต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้ส่งหมายแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบโดยวิธีปิดหมาย การที่พนักงานเดินหมายส่งหมายแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบโดยวิธีปิดหมาย ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบ และไม่มีผลตามกฎหมาย ถือว่าจำเลยยังไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้น การที่จำเลยมิได้นำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันจะถือว่าเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 ศาลชั้นต้นจะถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องฎีกาและให้ส่งสำนวนมาศาลฎีกาพิจารณาสั่งนั้นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นแจ้งจำเลยนำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาใหม่ แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายแจ้งคำสั่งทางวิธีปิดหมายไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จำเลยไม่ทราบคำสั่งศาลและไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฎีกาจำเลย สำเนาให้โจทก์แก้ ให้นัดให้จำเลยนำส่งใน 3 วัน แจ้งให้มานำส่งโดยด่วน เป็นการสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ฎีกาปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้าย บัญญัติไว้ จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวที่จะต้องดำเนินคดีต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้ส่งหมายแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบโดยวิธีปิดหมาย การที่พนักงานเดินหมายส่งหมายแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบโดยวิธีปิดหมาย ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบ และไม่มีผลตามกฎหมาย ถือว่าจำเลยยังไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้น การที่จำเลยมิได้นำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันจะถือว่าเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 ศาลชั้นต้นจะถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องฎีกาและให้ส่งสำนวนศาลฎีกาพิจารณาสั่งนั้นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นแจ้งจำเลยนำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาใหม่ แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการแสดงอำนาจเหนือทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี: กรอบเวลาการยื่นคำร้องและการสันนิษฐานสถานภาพ
ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา (3) ไม่ใช่เอกสารที่ศาลกำหนดให้ส่งแก่คู่ความหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในคดีตามมาตรา 67 และ 70 แต่เป็นประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ปิดประกาศให้ผู้ที่มีอำนาจพิเศษเหนือทรัพย์ที่ถูกบังคับคดียื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษของตน อันเป็นมาตรการส่วนหนึ่งในการบังคับคดีให้ดำเนินไปโดยรวดเร็วและถูกต้องและเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่ความใช้สิทธิของตนเหนือทรัพย์สินที่กำลังถูกบังคับคดีอยู่ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย จึงต้องบังคับโดยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อมิให้การบังคับคดีต้องล่าช้าอันอาจเป็นผลเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้เพราะฉะนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)ที่กำหนดให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นจึงเริ่มนับแต่วันที่มีการปิดประกาศโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลาสิบห้าวันไปเสียก่อนตามมาตรา 79 วรรคสอง
ปัญหาว่า ระยะเวลาการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษไม่บังคับตายตัวอาจยื่นภายหลังพ้นแปดวันแล้วก็ได้นั้น แม้เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจการยื่นคำร้อง ซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในปัญหาดังกล่าวในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)มิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึง สถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้
แม้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นสินสมรส ระหว่างจำเลยและผู้ร้องให้แก่โจทก์ โดยผู้ร้องไม่ทราบและ มิได้ให้ความยินยอมก็ตาม แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินพิพาท บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย และไม่อาจร้องให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้
ปัญหาว่า ระยะเวลาการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษไม่บังคับตายตัวอาจยื่นภายหลังพ้นแปดวันแล้วก็ได้นั้น แม้เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจการยื่นคำร้อง ซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในปัญหาดังกล่าวในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)มิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึง สถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้
แม้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นสินสมรส ระหว่างจำเลยและผู้ร้องให้แก่โจทก์ โดยผู้ร้องไม่ทราบและ มิได้ให้ความยินยอมก็ตาม แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินพิพาท บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย และไม่อาจร้องให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการแสดงอำนาจเหนือทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี: ระยะเวลาการยื่นคำร้องและการสันนิษฐานสถานภาพ
ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296จัตวา (3) ไม่ใช่เอกสารที่ศาลกำหนดให้ส่งแก่คู่ความหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในคดีตามมาตรา 67 และ 70 แต่เป็นประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ปิดประกาศให้ผู้ที่มีอำนาจพิเศษเหนือทรัพย์ที่ถูกบังคับคดียื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษของตน อันเป็นมาตรการส่วนหนึ่งในการบังคับคดีให้ดำเนินไปโดยรวดเร็วและถูกต้อง และเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่ความเลยใช้สิทธิของตนเหนือทรัพย์สินที่กำลังถูกบังคับคดีอยู่ ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายจึงต้องบังคับโดยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อมิให้การบังคับคดีต้องล่าช้าอันอาจเป็นผลเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ เพราะฉะนั้นตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3)ที่กำหนดให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นจึงเริ่มนับแต่วันที่มีการปิดประกาศโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลาสิบห้าวันไปเสียก่อนตามมาตรา 79 วรรคสอง
ปัญหาว่าระยะเวลาการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษไม่บังคับตายตัวอาจยื่นภายหลังพ้นแปดวันแล้วก็ได้นั้น แม้เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจการยื่นคำร้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในปัญหาดังกล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) มิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้
แม้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและผู้ร้องให้แก่โจทก์ โดยผู้ร้องไม่ทราบและมิได้ให้ความยินยอมก็ตามแต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินพิพาท บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย และไม่อาจร้องให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้
ปัญหาว่าระยะเวลาการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษไม่บังคับตายตัวอาจยื่นภายหลังพ้นแปดวันแล้วก็ได้นั้น แม้เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจการยื่นคำร้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในปัญหาดังกล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) มิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้
แม้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและผู้ร้องให้แก่โจทก์ โดยผู้ร้องไม่ทราบและมิได้ให้ความยินยอมก็ตามแต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินพิพาท บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย และไม่อาจร้องให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8125/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาฎีกาในคดีอาญา: หน้าที่ศาลและผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ในคดีอาญา ศาลชั้นต้นต้องมีหน้าที่ส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยโดยตรงจะให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหาชอบไม่ ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 200 ประกอบมาตรา216 และจะนำ ป.วิ.พ.มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15มาใช้บังคับให้โจทก์เป็นผู้นำส่งสำเนาฎีกาหาได้ไม่ เพราะได้มีบทบัญญัติเรื่องการส่งสำเนาฎีกาไว้ตาม ป.วิ.อ.โดยชัดแจ้งแล้ว
เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกาในคดีอาญาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แม้โจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฎีกา
เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกาในคดีอาญาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แม้โจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8125/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ส่งสำเนาฎีกา: ศาลต้องส่งให้จำเลยโดยตรง โจทก์ไม่ต้องส่ง
ในคดีอาญา ศาลชั้นต้นต้องมีหน้าที่ส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยโดยตรงจะให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหาชอบไม่ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200 ประกอบมาตรา216 และจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสองประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 มาใช้บังคับให้โจทก์เป็นผู้นำส่งสำเนาฎีกาหาได้ไม่เพราะได้มีบทบัญญัติเรื่องการส่งสำเนาฎีกาไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยชัดแจ้งแล้ว เมื่อมีคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกาในคดีอาญาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แม้โจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: เจ้าพนักงานศาลละเลยหน้าที่ส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ ทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ทราบ
ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ต่อศาลชั้นต้นในวันที่7 พฤศจิกายน 2539 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแล้ว โดยกำหนดขายในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2539ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 7 วัน ต่อมาในวันที่ 12พฤศจิกายน 2539 ผู้ร้องได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนา คำร้องขัดทรัพย์ให้เจ้าพนักงานศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้ายแล้วเมื่อสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์อยู่ในอาคารเดียวกันกับศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานศาลผู้มีหน้าที่นำส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ทราบดีอยู่แล้วว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีมีสำนักงานอยู่ ณ ที่ใด ไม่มีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องไปร้องขอต่อเจ้าพนักงานศาลเพื่อให้ส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(1) อีก การที่ผู้ร้องได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้ายในคดีนี้มีผลเท่ากับผู้ร้องได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานศาลผู้มีหน้าที่นำส่งไม่ดำเนินการส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจนเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ทราบว่าศาลได้รับคำร้องดังกล่าวไว้แล้วและได้ดำเนิน การขายทอดตลาดไปตามกำหนดการขายทอดตลาดจึงไม่ชอบผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4640/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลในการดำเนินคดีล้มละลาย ถือเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2537ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของผู้ร้องในวันรุ่งขึ้นว่า ให้รับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 5 วัน ไม่มีผู้รับให้ปิด โดยเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตรายางกำหนดให้ผู้ร้องมาทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 21 กรกฎาคม 2537 ซึ่งผู้ร้องได้ลงชื่อรับทราบไว้แล้ว กรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 21 กรกฎาคม 2537 แต่ผู้ร้องมิได้มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ จนกระทั่งวันที่ 17 สิงหาคม 2537 อันล่วงเลยกำหนดเวลา5 วัน ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีได้รายงานต่อศาลชั้นต้นว่า พ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้ว ผู้ร้องไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่ง ศาลชั้นต้นจึงให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2), 246 ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าธรรมเนียมในการนำส่งก็ไม่ทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งของศาลชั้นต้น
ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) บัญญัติว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง อันเป็นผลที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เมื่อผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่ผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา246 จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องสั่งไว้อย่างชัดแจ้งด้วยว่า "หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าทิ้งฟ้อง"
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าธรรมเนียมในการนำส่งก็ไม่ทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งของศาลชั้นต้น
ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) บัญญัติว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง อันเป็นผลที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เมื่อผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่ผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา246 จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องสั่งไว้อย่างชัดแจ้งด้วยว่า "หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าทิ้งฟ้อง"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4640/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลภายในกำหนด แม้ศาลไม่ต้องระบุผลการทิ้งฟ้องโดยชัดแจ้ง
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่18กรกฎาคม2537ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของผู้ร้องในวันรุ่งขึ้นว่าให้รับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน5วันไม่มีผู้รับให้ปิดโดยเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตามยางกำหนดให้ผู้ร้องมาทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่21กรกฎาคม2537ซึ่งผู้ร้องได้ลงชื่อรับทราบไว้แล้วกรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่21กรกฎาคม2537แต่ผู้ร้องมิได้มานำส่งสำเนาอุทธรณ์จนกระทั่งวันที่17สิงหาคม2537อันล่วงเลยกำหนดเวลา5วันตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วเจ้าพนักงานกรมบังคับคดีได้รายงานต่อศาลชั้นต้นว่าพ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้วผู้ร้องไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งศาลชั้นต้นจึงให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2),246ประกอบด้วยมาตรา153แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าธรรมเนียมในการนำส่งก็ไม่ทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการนำส่งตามตำสั่งของศาลชั้นต้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)บัญญัติว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้วให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอันเป็นผลที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเมื่อผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วแต่ผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือได้ว่าผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ประกอบด้วยมาตรา246จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องสั่งไว้อย่างชัดแจ้งด้วยว่า"หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าทิ้งฟ้อง"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำส่งหมายนัดชี้สองสถาน, การทิ้งฟ้อง, และผลกระทบต่อค่าธรรมเนียมศาล
แม้ ป.วิ.พ.มาตรา 182 จะบัญญัติให้ศาลกำหนดวันชี้สองสถานโดยแจ้งให้คู่ความทราบก็ตาม แต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่นำส่งหมายและได้สั่งในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้สั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งท้ายคำร้องโจทก์มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลดังกล่าวในวันยื่นคำร้องแล้ว ศาลไม่จำต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์ทราบอีก ทั้งตามมาตรา 70 ก็บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่จัดการนำส่งหมายนัดได้ ดังนั้นคำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดนัดทำการชี้สองสถานไว้แล้วแต่จำเลยทั้งหกยังไม่ทราบวันนัดชี้สองสถาน เพราะโจทก์ไม่ได้นำส่งหมายนัดชี้สองสถานให้แก่จำเลยทั้งหกตามคำสั่งศาล ศาลจึงไม่อาจทำการชี้สองสถานในวันนัดดังกล่าวได้ ย่อมทำให้กระบวนพิจารณาเสียไป และการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว และกรณีทิ้งฟ้องนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์เหมือนอย่างกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้อง หรือถอนฟ้อง หรือยอมความกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 151 ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์จึงเป็นการชอบแล้วเช่นกัน
การที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดนัดทำการชี้สองสถานไว้แล้วแต่จำเลยทั้งหกยังไม่ทราบวันนัดชี้สองสถาน เพราะโจทก์ไม่ได้นำส่งหมายนัดชี้สองสถานให้แก่จำเลยทั้งหกตามคำสั่งศาล ศาลจึงไม่อาจทำการชี้สองสถานในวันนัดดังกล่าวได้ ย่อมทำให้กระบวนพิจารณาเสียไป และการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว และกรณีทิ้งฟ้องนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์เหมือนอย่างกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้อง หรือถอนฟ้อง หรือยอมความกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 151 ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์จึงเป็นการชอบแล้วเช่นกัน