พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำส่งหมายนัดชี้สองสถาน, การทิ้งฟ้อง, และผลกระทบต่อค่าธรรมเนียมศาล
แม้ ป.วิ.พ.มาตรา 182 จะบัญญัติให้ศาลกำหนดวันชี้สองสถานโดยแจ้งให้คู่ความทราบก็ตาม แต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่นำส่งหมายและได้สั่งในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้สั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งท้ายคำร้องโจทก์มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลดังกล่าวในวันยื่นคำร้องแล้ว ศาลไม่จำต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์ทราบอีก ทั้งตามมาตรา 70 ก็บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่จัดการนำส่งหมายนัดได้ ดังนั้นคำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดนัดทำการชี้สองสถานไว้แล้วแต่จำเลยทั้งหกยังไม่ทราบวันนัดชี้สองสถาน เพราะโจทก์ไม่ได้นำส่งหมายนัดชี้สองสถานให้แก่จำเลยทั้งหกตามคำสั่งศาล ศาลจึงไม่อาจทำการชี้สองสถานในวันนัดดังกล่าวได้ ย่อมทำให้กระบวนพิจารณาเสียไป และการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว และกรณีทิ้งฟ้องนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์เหมือนอย่างกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้อง หรือถอนฟ้อง หรือยอมความกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 151 ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์จึงเป็นการชอบแล้วเช่นกัน
การที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดนัดทำการชี้สองสถานไว้แล้วแต่จำเลยทั้งหกยังไม่ทราบวันนัดชี้สองสถาน เพราะโจทก์ไม่ได้นำส่งหมายนัดชี้สองสถานให้แก่จำเลยทั้งหกตามคำสั่งศาล ศาลจึงไม่อาจทำการชี้สองสถานในวันนัดดังกล่าวได้ ย่อมทำให้กระบวนพิจารณาเสียไป และการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว และกรณีทิ้งฟ้องนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์เหมือนอย่างกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้อง หรือถอนฟ้อง หรือยอมความกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 151 ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์จึงเป็นการชอบแล้วเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4566/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากความไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ และการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดี
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์จะต้องนำพนักงานเดินหมายไปส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเอง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายสำเนาอุทธรณ์ไว้แล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมายรายงานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 15 เดือนเดียวกันว่า รอจำเลยทั้งสี่แถลง ถ้าจำเลยทั้งสี่นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเองแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็จะทราบผลทันทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ต้องแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรภายในเวลาอันสมควร เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่นำส่งเองกลับปล่อยให้พนักงานเดินหมายไปส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยทั้งสี่เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า "รอจำเลยทั้งสี่แถลง" โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสี่แถลง และไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทราบอีก จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยชอบแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2534 ว่า จำเลยทั้งสี่ไม่แถลงเข้ามาเป็นระยะเวลาถึง 6 เดือนเศษ ศาลชั้นต้นจึงได้มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 132 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่จำเลยในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ และผลของการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งศาล
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์จะต้องนำพนักงานเดินหมายไปส่ง สำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเอง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายสำเนาอุทธรณ์ ไว้แล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่หมดหน้าที่ที่จะต้อง จัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมาย รายงานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่ง ในวันที่ 15 เดือนเดียวกันว่า รอจำเลยทั้งสี่แถลงถ้าจำเลยทั้งสี่นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเองแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็จะทราบผลทันทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ต้องแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรภายในเวลาอันสมควรเมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่นำส่งเองกลับปล่อยให้พนักงานเดินหมายไปส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยทั้งสี่เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลจะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า "จำเลยทั้งสี่แถลง" โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสี่แถลง และไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทราบอีก จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินการกระบวนพิจารณาไปโดยชอบแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2534 ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่แถลงเข้ามาเป็นระยะเวลาถึง6 เดือนเศษศาลชั้นต้นจึงได้มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ให้กู้ควบคุมวงเงินและเรียกคืนหนี้เมื่อผู้กู้ผิดสัญญา การกระทำไม่เป็นละเมิด
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์จะต้องนำพนักงานเดินหมายไปส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเอง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายสำเนาอุทธรณ์ไว้แล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมายรายงานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 15 เดือนเดียวกันว่า รอจำเลยทั้งสี่แถลง ถ้าจำเลยทั้งสี่นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเองแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็จะทราบผลทันทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ต้องแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรภายในเวลาอันสมควร เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่นำส่งเองกลับปล่อยให้พนักงานเดินหมายไปส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยทั้งสี่เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า"รอจำเลยทั้งสี่แถลง" โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสี่แถลง และไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทราบอีก จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยชอบแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 15สิงหาคม 2534 ว่า จำเลยทั้งสี่ไม่แถลงเข้ามาเป็นระยะเวลาถึง 6 เดือนเศษศาลชั้นต้นจึงได้มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 132 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4169/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งเอกสาร
ฎีกาของจำเลยหน้าแรกมีข้อความซึ่งประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 15 เมษายน 2535 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยให้มายื่นฎีกาและรับทราบคำสั่งศาลลงชื่อไว้เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยยอมรับผูกพันตนเองว่าจะมาฟังคำสั่งในวันดังกล่าว ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยผู้ยื่นฎีกาจัดการนำส่งสำเนาฎีกาให้อีกฝ่ายหนึ่งภายใน 5 วัน โดยมีคำสั่งตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2535 ฉะนั้น แม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่งก็ถือว่าคำสั่งศาลนั้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบและจำเลยทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2535 เมื่อจำเลยเพิกเฉยมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความย้ายภูมิลำเนาแล้วไม่ติดตามผลการส่งหมายนัด ถือเป็นเหตุทิ้งฟ้องอุทธรณ์ได้ ศาลพิจารณาค่าฤชาธรรมเนียม
ผู้คัดค้านยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2534ศาลชั้นต้นสั่งในวันเดียวกันว่า "รับอุทธรณ์ผู้คัดค้าน สำเนาให้ผู้ร้อง ให้ผู้คัดค้านนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ผู้ร้องภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน เพื่อดำเนินการต่อไป มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้องอุทธรณ์" ผู้คัดค้านได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดแล้ว ต่อมาวันที่ 26 มกราคม 2534พนักงานส่งหมายรายงานว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ น. ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องไม่ได้ จากผลดังกล่าวผู้คัดค้านต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 15 วัน ว่าจะจัดการอย่างไรต่อไปกล่าวคือต้องแถลงภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2534 ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2534 รองจ่าศาลได้รายงานให้ศาลทราบว่า ผู้คัดค้านไม่ได้แถลงภายในกำหนด ถือว่าผู้คัดค้านจงใจทิ้งฟ้องอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3914/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการยืนยันภูมิลำเนาจำเลย
พนักงานเดินหมายได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยทั้งสามตามภูมิลำเนาในคำฟ้องแล้ว ไม่พบจำเลยทั้งสาม บ้านปิดประตูใส่กุญแจ ไม่มีผู้ใดทราบว่าคนในบ้านออกไปที่ใด จึงส่งไม่ได้ ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสาม ณ ภูมิลำเนาตามฟ้องอีกครั้ง หากส่งไม่ได้ขอให้ปิดหมายและสำเนาคำฟ้อง โดยโจทก์แนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนประกอบข้ออ้าง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันว่า "หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำเลยที่ 1 นายทะเบียนระบุว่าบริษัทจำเลยที่ 1 นายทะเบียนได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างตามความในมาตรา 1246 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว น่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสามไม่มีภูมิลำเนาตามฟ้อง ให้โจทก์ยืนยันหลักฐานภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสามใหม่ภายใน 15 วัน การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้รอไว้ก่อน" คำสั่งดังกล่าวเป็นการกำหนดกระบวณพิจารณาอย่างหนึ่งของศาล เมื่อทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในคำแถลงซึ่งมีหมายเหตุไว้ด้วยว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว ย่อมถือได้ว่าทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนั้นแล้ว ศาลชั้นต้นไม่จำต้องส่งคำสั่งดังกล่าวให้ทนายโจทก์ทราบซ้ำอีก ดังนั้นการที่ทนายโจทก์มิได้ดำเนินการตามกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป .วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3500/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งกรรมการมูลนิธิ: การดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาทและสิทธิในการคัดค้านคำสั่งศาล
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิขึ้นใหม่โดยอ้างว่ามูลนิธิไม่มีคณะกรรมการดำเนินงาน และไม่อาจดำเนินการใด ๆ ได้หากปล่อยให้คณะกรรมการว่างเนิ่นนานไปจะเกิดความเสียหายแก่มูลนิธินั้นเป็นการใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 และเป็นการดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้ใด การที่ศาลเพียงแต่ประกาศคำร้องขอในหน้าหนังสือพิมพ์และไต่สวนคำร้องหลังจากครบกำหนด 15 วัน จึงเป็นการชอบแล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งกรรมการมูลนิธิขึ้นใหม่ผู้คัดค้านสามารถที่จะร้องคัดค้านได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188(4)แต่เมื่อผู้คัดค้านมิได้คัดค้านจนศาลไต่สวนกับมีคำสั่งตามที่ผู้ร้องขอและคดีถึงที่สุด ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิร้องขอเพิกถอนคำสั่งศาลได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิผู้ร้องเช่นนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งคดี: โจทก์ไม่จัดการส่งสำเนาฎีกาและเสียค่าธรรมเนียมเป็นเวลานาน ทำให้ศาลจำหน่ายคดี
ฎีกาเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) ซึ่งโจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฎีกา ให้จำเลย ตามมาตรา 70 วรรคสอง ปรากฏว่านับแต่ วันโจทก์ไปยื่นฎีกาไว้แล้ว โจทก์มิได้ไปจัดการนำส่งสำเนาฎีกา และเสียค่าธรรมเนียมในการส่งตามกฎหมาย คงปล่อยทิ้งไว้ จนถึงวันที่เจ้าพนักงานศาลได้รายงานให้ศาลชั้นต้น ทราบเป็นเวลา 1 ปี 8 เดือนเศษ อันเป็นเวลานานเกินสมควร ถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฎีกาตามมาตรา 174(2)ประกอบด้วยมาตรา 246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฎีกาและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยเพิกเฉยต่อการดำเนินการตามขั้นตอนวิธีพิจารณาความ
จำเลยทั้งสองยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยทั้งสองมาฟังคำสั่งในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ถ้าไม่มาฟังคำสั่งให้ถือว่าได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วต่อมาวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534ศาลชั้นต้นสั่งว่ารับฎีกาของจำเลยทั้งสอง สำเนาฎีกาให้โจทก์ถ้าหากไม่มีผู้รับสำเนาฎีกาให้ปิดหมายนัดได้ และศาลชั้นต้นออกหมายนัดให้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่นำส่งหรือเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฎีกาแก่โจทก์ภายในเวลาอันสมควร การที่จำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีต่อมาเป็นเวลา 1 เดือนเศษ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองทิ้งฎีกา.