พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8141/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างลักทรัพย์และทำให้เสียหายซึ่งเอกสารการเงินของนายจ้าง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโรงเรียน
โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของโรงเรียนสอนภาษา อ. โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทุกประเภทรวมทั้งสองเอกสารใบเสร็จรับเงินและเงินค่าสมัครเรียนซึ่งเป็นของกิจการโรงเรียนดังกล่าว ส่วนการได้รับอนุญาตให้โอนโรงเรียนเพื่อดำเนินกิจการในนามของโจทก์ร่วมเมื่อใดนั้น หาได้กระทบถึงความเป็นเจ้าของกิจการโรงเรียนของโจทก์ร่วมไม่ เมื่อมีการรับเงินค่าสมัครเรียนดังกล่าวโดยมีการออกใบเสร็จรับเงินในนามของโรงเรียนโจทก์ร่วมให้แก่ผู้สมัครเรียน ซึ่งจำเลยลูกจ้างโจทก์ร่วมทำหน้าที่รับเงินค่าสมัครเรียนไว้ต้องส่งมอบเงินนั้นให้แก่โจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้าง การที่จำเลยเอาเอกสารใบเสร็จรับเงินและเงินดังกล่าวไปเสียโดยทุจริตย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อและประกันภัย กรณีรถยนต์สูญหาย ศาลอนุญาตให้เรียกคู่สัญญาประกันภัยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้
รถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อและรถยนต์ที่เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยเป็นรถยนต์คันเดียวกันและสิทธิเรียกร้องตามสัญญาทั้งสองเกิดจากการสูญหายของรถยนต์คันเดียวกัน เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยที่ 1 เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยร่วมสูญหาย จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดี เพื่อให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประกันภัยร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3)(ก) โดยโจทก์ไม่จำต้องฟ้องจำเลยร่วมเป็นจำเลยในคดีนี้ และไม่จำต้องเป็นคู่สัญญาหรือมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยร่วมแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกบริษัทประกันภัยเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อรับผิดตามสัญญาประกันภัยร่วมกับผู้เช่าซื้อ
รถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อและรถยนต์ที่เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยเป็นรถยนต์คันเดียวกัน และสิทธิเรียกร้องตามสัญญาทั้งสองเกิดจากการสูญหายของรถยนต์คันเดียวกัน เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยที่ 1 เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยร่วมสูญหาย จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดี เพื่อให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประกันภัยร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) โดยโจทก์ไม่จำต้องฟ้องจำเลยร่วมเป็นจำเลยในคดีนี้และไม่จำต้องเป็นคู่สัญญาหรือมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยร่วมแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6651/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี หากข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการไม่ครอบคลุมคู่สัญญาโดยตรง ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
การขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 หากศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นเป็นคุณแก่ฝ่ายที่ขอแล้ว แม้จะมีการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปก็ตาม แต่ข้อกฎหมายตามคำร้องขอนั้น ศาลก็ไม่ต้องพิจารณาประเด็นสำคัญแห่งคดีในข้อนี้อีก การวินิจฉัยและสั่งเช่นนี้มิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะประเด็นบางข้อ ตามคำร้องของโจทก์ทั้งสอง (ที่ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น) เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวได้
สัญญาข้อตกลง ข้อ 18 เรื่องการระงับข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการระบุให้นำข้อพิพาทหรือความขัดแย้งระหว่างผู้รับเหมากับวิศวกร หรือผู้แทนของเจ้าของ โดยเกี่ยวข้องกับหรือเกิดขึ้นจากสัญญาหรือการปฏิบัติงาน ให้เสนอต่อวิศวกรและอนุญาโตตุลาการก่อน แต่ข้อพิพาทคดีนี้โจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับเหมาเป็นคู่สัญญากับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของ จึงไม่ตกอยู่ในเงื่อนไขของข้อสัญญา ข้อ 18 ที่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อน
สัญญาข้อตกลง ข้อ 18 เรื่องการระงับข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการระบุให้นำข้อพิพาทหรือความขัดแย้งระหว่างผู้รับเหมากับวิศวกร หรือผู้แทนของเจ้าของ โดยเกี่ยวข้องกับหรือเกิดขึ้นจากสัญญาหรือการปฏิบัติงาน ให้เสนอต่อวิศวกรและอนุญาโตตุลาการก่อน แต่ข้อพิพาทคดีนี้โจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับเหมาเป็นคู่สัญญากับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของ จึงไม่ตกอยู่ในเงื่อนไขของข้อสัญญา ข้อ 18 ที่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการสนับสนุนการฆ่า: การกระทำเกินกว่าผู้สนับสนุน กลายเป็นตัวการ
ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมดื่มสุราด้วยกันตั้งแต่ก่อนหนึ่งทุ่มครึ่งจนกระทั่งเวลาเลยเที่ยงคืนแล้ว จำเลยที่ 1 เล่าเรื่องที่ผู้ตายด่าว่าเกี่ยวกับการไม่เคร่งครัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ฟัง ในภาวะเช่นนั้นจำเลยที่ 2 ย่อมทราบอยู่แก่ใจดีว่าจำเลยที่ 1 มีความเคียดแค้นต่อผู้ตาย แทนที่จำเลยที่ 2 จะห้ามปรามหรือปลอบประโลมใจจำเลยที่ 1 เพื่อคลายความโกรธแต่กลับไปหยิบขวานขนาดใหญ่ที่พอจะทำร้ายผู้ตายให้ถึงแก่ความตายได้มาส่งให้ และเมื่อจำเลยที่ 1 รับขวานมาแล้วได้ลุกเดินตรงไปยังที่ที่ผู้ตายนอนอยู่ จำเลยที่ 2 ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่าจำเลยที่ 1 จะต้องไปทำร้ายผู้ตายแน่ แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังได้เดินตามจำเลยที่ 1 ไป หลังจากจำเลยที่ 1 ได้ใช้ขวานฟันทำร้ายผู้ตายจนถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ก็ยังยืนให้คำปรึกษาแก่จำเลยที่ 1 ถึงการที่จะดำเนินการเกี่ยวกับศพผู้ตายต่อไป เมื่อตกลงกันได้ว่าจะต้องทำการซ่อนเร้นศพโดยการนำไปทิ้งบ่อน้ำที่ใกล้เคียง ขณะที่จำเลยที่ 1 แบกศพผู้ตายไปยังบ่อ ศพได้หล่นจากบ่า จำเลยที่ 2 ยังได้นำเสื้อกันฝนมาคลุมศพช่วยจำเลยที่ 1 ในการนำศพไปซ่อนในบ่อน้ำ พร้อมกับนำขวานที่ใช้เป็นอาวุธไปทิ้งลงบ่อด้วย ดังนี้ แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 2 จะมิใช่ผู้ลงมือฟันทำร้ายผู้ตายโดยตรง แต่พฤติการณ์ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ก็มีความประสงค์ต่อความตายของผู้ตายด้วย ประกอบกับทุกขั้นตอนของการกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จะอยู่ร่วมด้วยในลักษณะที่จะช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ได้ทุกเมื่อหากมีเหตุขัดข้องเกิดขึ้น การกระทำเช่นนี้จึงเป็นการเกินเลยของการเป็นผู้สนับสนุนและถึงขั้นเป็นตัวการในการกระทำความผิดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6506/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ ผู้ร้องไม่มีอำนาจเนื่องจากไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ การยื่นคำร้องซ้ำจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดต่อกฎหมาย
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบ ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีอำนาจ ยื่นคำร้องขอคืนของกลาง ให้ยกคำร้องและคดีถึงที่สุด แล้วผู้ร้องยื่นคำร้องเข้ามาใหม่ขอให้ศาลยกคำร้องขึ้นไต่สวนและมีคำสั่งใหม่โดยอ้างเหตุเดียวกันว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในของกลางซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีซ้ำสอง: คดีก่อนเป็นการฟ้องร้องที่ไม่สุจริต สิทธิฟ้องคดีหลังยังคงมี
หลักการของ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง อันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริงหากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างเสมอยอมกัน แม้ว่าจะเป็นการกระทำกรรมเดียวกันก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยยกเหตุต่อสู้ชัดเจนว่ารถไม่อยู่ในอาคาร และไม่มีหน้าที่รับผิดชอบ ทำให้ศาลฎีกายกฟ้อง
การที่จะพิจารณาว่าคำให้การของจำเลยทั้งสองเป็นคำให้การที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาทั้งหมด คำให้การของจำเลยที่ 1 ในข้อ 3 และคำให้การจำเลยที่ 2 ในข้อ 4 ต่อสู้ว่า รถยนต์คันพิพาทมิได้เข้าไปจอดในอาคารในช่วงที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเกิดเหตุคดีนี้ และจำเลยทั้งสองให้การต่อไปว่า จำเลยทั้งสองไม่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบรถยนต์ที่เข้าไปจอดภายในอาคารดังกล่าว ซึ่งหมายถึงความรับผิดตามกฎหมายกรณีรถยนต์ที่จอดอยู่ภายในอาคารดังกล่าวสูญหายไป คำให้การของจำเลยทั้งสองชี้ชัดว่า จำเลยทั้งสองยกเหตุขึ้นต่อสู้ 2 ประการ คือ จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดต่อ ร. หาก ร. นำรถพิพาทเข้าไปจอดในอาคารแล้วสูญหาย และ ร. ก็มิได้นำรถพิพาทเข้าไปจอดภายในอาคาร จึงเป็นคำให้การที่ชัดแจ้ง รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง หาใช่เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินโดยไม่ทราบหนี้สิน: ไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในคดีที่โจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้และในที่สุดศาลฎีกามีคำพิพากษาวินิจฉัยว่ามีเหตุให้พิจารณาใหม่ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้ที่ศาลแพ่ง แต่เพิ่งมาทราบเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2540 ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นอันยุติและผูกพันโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นคู่ความด้วยเหตุนี้เอง การที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยทั้งสามร่วมกันโอนที่ดินพิพาททั้งสามแปลงในกรรมสิทธิ์ส่วนของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 แสดงให้เห็นว่าในวันตามฟ้องดังกล่าวจำเลยที่ 1 ยังไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้ ดังนั้น ในขณะเกิดเหตุตามฟ้อง จึงไม่อาจฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันโอนทรัพย์โดยรู้ว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ทั้งนี้เพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4995/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นแชร์ผิดกฎหมายทำให้สิทธิเรียกร้องของนายวงแชร์เป็นโมฆะ สัญญาเป็นโมฆะ
การที่โจทก์เป็นนายวงแชร์มีจำเลยและบุคคลอื่นเป็นสมาชิกร่วมเล่นแชร์รวม 20 คน โดยมีทุนกองกลางต่อ 1 งวด รวมกันเป็นมูลค่ามากกว่า 300,000 บาท จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ฯ มาตรา 6(3) ประกอบด้วยกฎกระทรวง (พ.ศ.2534) ออกตามความใน พ.ร.บ.การเล่นแชร์ฯ และตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวมีเพียงมาตรา 7 เท่านั้น ที่บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์แต่เพียงฝ่ายเดียวที่จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์กระทำการที่ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยมิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่จะฟ้องคดีหรือเรียกร้องเอากับสมาชิกวงแชร์แต่อย่างใด การเป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีการฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แม้เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่สมาชิกวงแชร์ที่ยังประมูลไม่ได้ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและโจทก์ชำระหนี้แทนจำเลยไป โจทก์จะนำมูลหนี้ที่ตกเป็นโมฆะมาฟ้องเรียกร้องเอาเงินคืนจากจำเลยไม่ได้