พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4617/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: นายประกันอาชีพหลอกลวงศาลด้วยเอกสารเท็จเพื่อผลประโยชน์
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ซึ่งเป็นนายประกันอาชีพเห็นอยู่แล้วว่าหนังสือมอบอำนาจที่จะใช้เป็นหลักฐานในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหายังไม่มีการกรอกข้อความใด ๆ ลงไว้ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ย่อมจะทราบได้ว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะการที่จะมอบอำนาจให้ใครกระทำการใดแทนนั้น ย่อมต้องมีการระบุข้อความที่มอบอำนาจไว้อย่างแน่นอนและชัดเจน แต่ได้มีการนำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมาให้ ส. กรอกรายการในขณะนั้น โดยผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ยืนอยู่ใกล้ ๆ ซึ่งเข้าใจได้ว่าน่าจะรู้ว่าเกิดมีเรื่องไม่ชอบมาพากลขึ้น ควรที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 จะว่ากล่าวตักเตือนไม่ให้กระทำ แต่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 กลับส่งเสริมให้คำแนะนำแก่ผู้ถูกกล่าวหาคนอื่น ๆ ให้นำเอาเอกสารที่ไม่ชอบเหล่านั้นไปยื่นต่อศาล โดยแนะนำด้วยว่าให้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่คนใดจึงจะสะดวกและรวดเร็ว พร้อมกับยอมรับเป็นผู้รับส่งตัวผู้ต้องหาต่อศาลอีก พฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ถือได้ว่าเป็นการร่วมกระทำการหลอกลวงศาลให้มีคำสั่งโดยผิดหลงว่าหลักฐานที่นำยื่นเข้ามาเป็นเอกสารที่ถูกต้อง จนมีคำสั่งอนุญาตตามความประสงค์ของผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 กับพวก อันเป็นทางได้มาซึ่งผลประโยชน์ 10 เปอร์เซ็นต์ของหลักประกันที่ศาลตีราคา จึงถือได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ซึ่งเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1) และมาตรา 33
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาล เมื่อปรากฏต่อศาลว่าผู้ใดกระทำละเมิดอำนาจศาล จะปรากฏโดยผู้นั้นกระทำต่อหน้าศาลหรือปรากฏจากหลักฐานอื่นใด ศาลก็ย่อมสั่งลงโทษได้ทันทีโดยไม่จำต้องแจ้งข้อหาหรือส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการแต่อย่างใด เพียงแต่ศาลเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบถามให้ได้ความว่าเรื่องเป็นดังที่ปรากฏในเอกสารที่นำเสนอจริงหรือไม่ ก็สามารถสั่งลงโทษได้ เพราะบทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงได้โดยไม่จำต้องกระทำต่อหน้าจำเลยดังเช่นการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาล เมื่อปรากฏต่อศาลว่าผู้ใดกระทำละเมิดอำนาจศาล จะปรากฏโดยผู้นั้นกระทำต่อหน้าศาลหรือปรากฏจากหลักฐานอื่นใด ศาลก็ย่อมสั่งลงโทษได้ทันทีโดยไม่จำต้องแจ้งข้อหาหรือส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการแต่อย่างใด เพียงแต่ศาลเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบถามให้ได้ความว่าเรื่องเป็นดังที่ปรากฏในเอกสารที่นำเสนอจริงหรือไม่ ก็สามารถสั่งลงโทษได้ เพราะบทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงได้โดยไม่จำต้องกระทำต่อหน้าจำเลยดังเช่นการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4551/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนมติผู้ถือหุ้น ต้องฟ้องบริษัทโดยตรง แม้การจดทะเบียนกระทำผ่านกรรมการ
ป.พ.พ. มาตรา 1157 บัญญัติว่า "การตั้งกรรมการขึ้นใหม่นั้น ตั้งใครเมื่อใด ท่านให้นำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ตั้งจงทุกครั้ง" การที่บริษัท ว. โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจเป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจของกรรมการตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้รับจดทะเบียนไว้ จึงเป็นกรณีที่บริษัท ว. เป็นผู้นำความเกี่ยวกับการตั้งกรรมการขึ้นใหม่ไปจดทะเบียนตามบทกฎหมายดังกล่าว หากโจทก์เห็นว่า การกระทำของบริษัท ว. เป็นการกระทำที่มิชอบทำให้โจทก์ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทได้รับความเสียหายเพราะต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ก็ชอบที่จะ ต้องฟ้องบริษัท ว. ในฐานะที่กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ให้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีโดยตรง เพราะแม้การจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นจะได้กระทำโดยจำเลยที่ 1 แต่ก็เป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัท ว. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหาก การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และบริษัทอื่นเป็นจำเลยกรณีจึงไม่มีบุคคลที่อาจต้องรับผิดตามคำขอของโจทก์มาในฟ้อง อันเป็นเหตุให้ศาลไม่อาจจะพิพากษาบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ได้ ตลอดทั้งไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะต้องรับฟ้องคดีไว้เพื่อรอให้บริษัท ว. ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เพราะไม่อาจบังคับได้ตามคำฟ้องมาแต่ต้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310-4311/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิดมีน้ำหนักรับฟังได้ แม้ผู้ให้การจะเป็นผู้กระทำผิดด้วยกัน พยานหลักฐานเชื่อมโยงกันสนับสนุน
แม้คดีนี้ จ. และ ผ. พยานโจทก์จะเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยทั้งสอง คำเบิกความของ จ. และคำให้การในชั้นสอบสวนของ ผ. จึงถือได้ว่าเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันและถูกพิพากษาลงโทษไปแล้วในความผิดฐานเดียวกันกับจำเลยทั้งสอง ที่ระบุว่าจำเลยทั้งสองเป็นคนร้ายที่ร่วมกันลักทรัพย์ด้วย คำซัดทอดดังกล่าวก็มิได้เป็นเรื่องบอกปัดความผิดของผู้ซัดทอดให้เป็นความผิดแต่เฉพาะจำเลยทั้งสองเท่านั้น หากแต่เป็นการเบกความและให้การถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิดของตนยิ่งกว่าเป็นการปรักปรำจำเลยทั้งสอง ทั้งไม่มีเหตุจูงใจที่จะเบิกความและให้การเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการกระทำของตนไม่ ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อเบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้าน จ. พยายามเบิกความบ่ายเบี่ยงว่าจำเลยทั้งสองไม่ใช่คนร้ายรายนี้เพื่อช่วยเหลือจำเลยทั้งสอง ดังนั้นคำเบิกความและคำให้การของ จ. และ ผ. จึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานที่จะรับฟังไม่ได้เสียเลยเพียงแต่มีน้ำหนักน้อย และจะต้องรับฟังด้วยความระมัดระวังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ ซึ่งคำให้การชั้นสอบสวนของ จ. และ ผ. สอดคล้องกับคำเบิกความชั้นพิจารณาและสอดคล้องเชื่อมโยงกับคำให้การและคำเบิกความของ ว. พยานโจทก์อีกปาก ซึ่งนับว่าเป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีใกล้ชิดในขณะเกิดเหตุ ฟังประกอบพยานโจทก์ทั้งสองดังกล่าวมีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจกำหนดประเด็นใหม่ได้ การครอบครองปรปักษ์ต้องวินิจฉัยก่อน
คู่ความแถลงรับกันว่า ที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านอยู่บางส่วนอยู่ในที่ดินพิพาท ซึ่งจำเลยได้ครอบครองมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปี ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ศาลชั้นต้นจึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงข้อเดียวว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตหรือไม่ เท่ากับศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครอง ปรปักษ์แล้ว ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะแม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่คู่ความแถลงรับกันดังกล่าวก็มิใช่ว่าจำเลยจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์เสมอไป ศาลชั้นต้นต้องวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวเสียก่อนที่จะไปสู่ประเด็นว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตหรือไม่
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้าน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกาก็ไม่จำต้องถือตาม ทั้งมีอำนาจกำหนดประเด็นใหม่ให้ถูกต้องและวินิจฉัยไปตามนั้นได้ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยมิได้ฎีกาโต้เถียงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่า จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตหรือไม่อีก
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้าน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกาก็ไม่จำต้องถือตาม ทั้งมีอำนาจกำหนดประเด็นใหม่ให้ถูกต้องและวินิจฉัยไปตามนั้นได้ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยมิได้ฎีกาโต้เถียงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่า จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตหรือไม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ก. สำนักงานปฏิรูปที่ดินฯ มีสิทธิอนุญาตให้บุคคลทำประโยชน์ได้ แม้โจทก์อ้างสิทธิครอบครองก่อน
โจทก์ฟ้องว่า สำนักอำนวยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01 ก.) ให้จำเลยทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองเป็นการไม่ชอบ ขอให้บังคับจำเลยให้ไปดำเนินการยกเลิกสิทธิที่มีอยู่ตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01 ก.) โจทก์ไม่ได้เรียกเอาที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ โจทก์เสียค่าขึ้นศาล มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงให้คืนส่วนที่เกินมาแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3985/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีตั๋วแลกเงินของเจ้าหนี้ที่ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อ ปรส. และขอบเขตการคิดดอกเบี้ย
ตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มีบทบัญญัติห้ามฟ้องไว้แต่เฉพาะในมาตรา 26 โดยห้ามมิให้บุคคลใดฟ้องบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นคดีล้มละลายในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสถาบันการเงินถูกคำสั่งให้ปิดการดำเนินกิจการเป็นการถาวรมิได้อยู่ในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟู ทั้งโจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย หากแต่ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินพิพาทให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรง โจทก์จึงไม่ต้องห้ามฟ้องคดีตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3985/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้บังคับมาตรา 5 พ.ร.ก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงินกับเจ้าหนี้ที่ฟ้องร้องทางศาล
บทบัญญัติมาตรา 5 ตาม พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับแก่บรรดาเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงินเท่านั้น โจทก์เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินที่ใช้สิทธิทางศาลเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ตั๋วแลกเงินพึงใช้เงินในวันถึงกำหนด ซึ่งเป็นวันผิดนัดชำระหนี้ไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะร่วมกันชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้น เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน โจทก์จึงหาใช่เจ้าหนี้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.ก. ดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 2 ซึ่งถูกระงับการดำเนินกิจการตาม พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน จึงไม่อาจอ้างบทบัญญัติมาตรา 5 แห่ง พ.ร.ก. ดังกล่าว เพื่อชำระดอกเบี้ยเพียงวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 อันเป็นวันที่ พ.ร.ก. ดังกล่าวมีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้โดยเสน่หา vs. การยืมเอกสารเพื่อจำนอง ศาลฎีกาเน้นการพิจารณาตามข้อเท็จจริงและประเด็นที่ฟ้อง
โจทก์ตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องให้โดยเสน่หา และขอให้ถอนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณ แต่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณากลับได้ความว่าโจทก์ให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรยืมเอกสาร น.ส.3 ก. พิพาทไปใช้ในการจำนอง เมื่อชำระหนี้จำนองแล้วให้โอน น.ส.3 ก. นั้นคืนแก่โจทก์ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องให้โดยเสน่หาตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 521 โจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินแปลงพิพาท โจทก์จะอ้างว่าจำเลยประพฤติเนรคุณแล้วมาขอถอนการให้ไม่ได้ ได้แต่จะฟ้องเรียกคืนทรัพย์ด้วยเหตุอื่นที่ตรงกับข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องถอนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณ ศาลฎีกาย่อมไม่อาจพิพากษาให้จำเลยโอน น.ส.3 ก. ของที่ดินแปลงพิพาทคืนแก่โจทก์เพราะเหตุอื่นได้เนื่องจากเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้อง
ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องถึงมูลเหตุที่โจทก์ยกที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยว่าเป็นการยกให้ที่มีเงื่อนไขเพื่อให้จำเลยนำไปใช้จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยกับสามีที่กู้ยืมจากธนาคารและนำสืบถึงเงื่อนไขดังกล่าว ก็เพื่อให้เห็นถึงมูลเหตุแห่งการที่โจทก์ยกที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลย มิใช่เป็นการเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญายกให้ที่ดินแต่อย่างใด
การจะพิจารณาพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำฟ้องโจทก์ได้หรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ให้จำเลยยืมเอกสาร น.ส.3 ก. ของที่ดินแปลงพิพาทไปใช้จำนอง โดยไม่มีเจตนายกที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลย กรณีไม่ใช่การให้โดยเสน่หาที่จะขอถอนเพราะเหตุประพฤติเนรคุณ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องถึงมูลเหตุที่โจทก์ยกที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยว่าเป็นการยกให้ที่มีเงื่อนไขเพื่อให้จำเลยนำไปใช้จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยกับสามีที่กู้ยืมจากธนาคารและนำสืบถึงเงื่อนไขดังกล่าว ก็เพื่อให้เห็นถึงมูลเหตุแห่งการที่โจทก์ยกที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลย มิใช่เป็นการเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญายกให้ที่ดินแต่อย่างใด
การจะพิจารณาพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำฟ้องโจทก์ได้หรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ให้จำเลยยืมเอกสาร น.ส.3 ก. ของที่ดินแปลงพิพาทไปใช้จำนอง โดยไม่มีเจตนายกที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลย กรณีไม่ใช่การให้โดยเสน่หาที่จะขอถอนเพราะเหตุประพฤติเนรคุณ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่จำกัดตามคำฟ้อง ศาลพิพากษาตามข้อตกลงได้โดยชอบ
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งกระทำต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วจึงพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาทไป ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องก็ได้ ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งต้องห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมว่า ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 10 ต่อปี เกินกว่าอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ จึงหาเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 และ 138 (2) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ศาลพิพากษาตามสัญญาได้ แม้เกินคำขอในฟ้อง ไม่ขัดกฎหมาย
กรณีที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วจึงพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาทไป ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องได้ ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งต้องห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดร้อยละ 10 ต่อปี เกินกว่าร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์จึงหาเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 และขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 138 (2) ไม่