คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระศักดิ์ รุ่งรัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7601/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทดอกเบี้ยและการคิดคำนวณหนี้ จำเลยต้องให้การชัดแจ้งถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการคิดดอกเบี้ยผิดพลาด
จำเลยให้การว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยก่อนวันสุดท้ายของเดือนหลายครั้งผิดไปจากข้อตกลงในสัญญา แล้วนำดอกเบี้ยไปทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินสำหรับดอกเบี้ยในเดือนต่อไป ทำให้ยอดเงินผิดไปจากความจริง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้งสองฉบับตามฟ้อง คำให้การดังกล่าวของจำเลยมิได้ให้การต่อสู้อย่างชัดแจ้งว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยในเดือนใดผิดจากข้อตกลงในสัญญา คิดเป็นเงินดอกเบี้ยจำนวนเท่าใด ที่ผิดไปจากความเป็นจริง อันจะทำให้เห็นว่าจำเลยต้องเสียหายเพราะโจทก์คิดคำนวณต้นเงินและดอกเบี้ยผิดจากข้อตกลงในสัญญาอย่างไรและเพียงใด ทั้ง ๆ ที่โจทก์แนบสำเนาใบแจ้งรายการบัญชีซึ่งมีรายการคิดดอกเบี้ยในแต่ละเดือนให้จำเลยทราบแล้ว ดังนั้นคำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว เมื่อจำเลยยังคงหยิบยกปัญหาดังกล่าวฎีกาขึ้นมาอีก ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7356/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธปืนฯ ต้องเป็นการพาไปยังเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ ฟ้องไม่ชัดเจนถือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบ
การกระทำอันจะเป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง 72 ทวิ วรรคสอง จะต้องเป็นการพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว และไม่ใช่กรณีที่ต้องมีอาวุธปืนติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปที่ขนำนากุ้งไม่มีเลขที่ หมู่ที่ 3 ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ทั้งไม่มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์อันจะต้องพาอาวุธปืนติดตัวไป ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ ทั้งไม่ได้ความว่าขนำนากุ้งดังกล่าวเป็นเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะแต่อย่างใด เพียงการพาอาวุธติดตัวไปที่ขนำนากุ้งหาเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่ ฟ้องเช่นนี้ย่อมเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) และลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ ไม่ได้ ปัญหาว่าฟ้องคดีอาญาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกา มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7354/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องจากสัญญาบัตรเครดิต: การชำระหนี้หลังขาดอายุความไม่ทำให้สะดุดอายุความ
จำเลยทำสัญญาเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ โดยจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปใช้แทนเงินสดในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการต่าง ๆ ตลอดจนเบิกเงินสดจากตู้เบิกเงินอัตโนมัติซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย โดยโจทก์จะออกเงินทดรองไปก่อนแล้วมาเรียกเก็บจากจำเลยในภายหลัง สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี เมื่อจำเลยได้นำบัตรเครดิตไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการหลายครั้ง โจทก์แจ้งยอดรายการใช้จ่ายบัตรเครดิตให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีชำระหนี้จำนวนน้อยซึ่งไม่เพียงพอชำระหนี้ เป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์บอกเลิกสัญญาใช้บัตรเครดิตเมื่อเดือนตุลาคม 2540 อายุความจึงเริ่มนับแต่นั้น โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
การที่จำเลยได้ชำระหนี้จำนวน 500 บาท แก่โจทก์ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2542 ภายหลังจากหนี้ขาดอายุความแล้วก็เป็นเพียงกรณีจำเลยไม่สามารถเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/28 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ไม่ถือเป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความที่ขาดไปแล้วสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) ทั้งมิใช่กรณีที่จำเลยสละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2546)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7354/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: การชำระหนี้หลังขาดอายุความไม่ทำให้หนี้คืนชีพ
การให้บริการบัตรเครดิตของธนาคารโจทก์ โจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการและค่าธรรมเนียมด้วย โจทก์จึงเป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่จำเลย และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของจำเลยแทนจำเลยไปก่อน แล้วเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ2 ปี โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาใช้บัตรเครดิตเมื่อเดือนตุลาคม 2540 แต่โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ แม้จำเลยจะชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์เป็นเงิน 500 บาท ภายหลังจากหนี้ขาดอายุความแล้ว ก็เพียงแต่ทำให้จำเลยเรียกเงินดังกล่าวคืนไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/28 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ไม่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) ทั้งมิใช่กรณีที่จำเลยสละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามมาตรา 193/24

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิในทรัพย์สิน การคืนทรัพย์สินหรือใช้ราคา และค่าเสียหายจากการไม่คืนทรัพย์สิน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 4 ก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ได้นำงานบางส่วนไปให้โจทก์ดำเนินการ ตามสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 กำหนดว่า เมื่อจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 4 แล้ว ให้บรรดางานที่จำเลยที่ 4 ทำขึ้นและสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้นำไปไว้ ณ สถานที่ทำงานจ้างตกเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 4 แต่การที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์นำเข้าไปดำเนินการ โจทก์ย่อมมีสิทธิต่าง ๆ ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1336 บัญญัติไว้ และกรรมสิทธิ์ของโจทก์จะสิ้นสุดลงได้โดยบทบัญญัติของกฎหมายหรือโดยโจทก์ทำนิติกรรมให้มีผลเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินนั้นไป ซึ่งโจทก์มิได้ทำนิติกรรมให้มีผลเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 หรือจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ทำสัญญากันดังกล่าวข้างต้น ก็มีผลเฉพาะทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 เท่านั้น จำเลยที่ 4 จะยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้มอบหมายหาได้ไม่ สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิเฉพาะคู่สัญญา มิได้ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนทรัพย์สินของโจทก์ดังกล่าวให้แก่โจทก์
เมื่อโจทก์จะเข้าไปรื้อถอนทรัพย์สินของโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ห้ามและขัดขวางมิให้โจทก์เข้ารื้อถอนโดยอ้างสิทธิตามสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ข้างต้น การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการกระทำไปโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้กระทำเช่นนั้นได้ ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จึงต้องคืนทรัพย์ตามฟ้องให้แก่โจทก์หรือใช้ราคาและค่าเสียหายอื่น ๆ ด้วย เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ในการใช้ราคาและค่าเสียหายอื่น ๆ ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ประกอบด้วยมาตรา 427
ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จะต้องคืนให้โจทก์คืนแผ่นเหล็กและเสาเข็ม เมื่อระยะเวลานับแต่เกิดข้อพิพาทจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาประมาณ 8 ปี ทรัพย์สินของโจทก์น่าจะเสื่อมสภาพไปจนพ้นวิสัยที่จะคืนในสภาพที่ใช้งานได้ดังเดิมเพื่อมิให้เกิดปัญหาให้ชั้นบังคับคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ราคาให้แก่โจทก์โดยไม่กำหนดให้คืนทรัพย์สิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน, สัญญาจ้างเหมา, การคืนทรัพย์สิน, ละเมิด, ความรับผิดร่วม
โจทก์เป็นเจ้าของย่อมมีสิทธิต่าง ๆ ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 บัญญัติไว้ และกรรมสิทธิ์ของโจทก์จะสิ้นสุดลงได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือโดยโจทก์ทำนิติกรรมใด ๆ ให้มีผลเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินนั้นไป โจทก์มิได้ทำนิติกรรมให้มีผลเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินให้แก่จำเลยที่ 4 หรือจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 4 ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างอาคารกับจำเลยที่ 1 โดยยอมให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำเลยที่ 4 ได้ทำขึ้นและสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้นำไปไว้ ณ สถานที่ทำงานจ้างตกเป็นของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 4 แล้ว ก็คงมีผลเฉพาะทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 จะยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงงานจากจำเลยที่ 4 ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้มอบหมายหาได้ไม่ทั้งสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ย่อมมีผลผูกพันก่อให้เกิดบุคคลสิทธิหรือสิทธิเหนือบุคคลเฉพาะจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นคู่สัญญา ดังนั้น หากจำเลยที่ 4ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมใช้สิทธิบังคับตามสัญญาได้เฉพาะแก่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น แต่จะให้มีผลกระทบกระทั่งแก่สิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่โจทก์
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ห้ามและขัดขวางมิให้โจทก์เข้ารื้อถอนเอาทรัพย์สินของโจทก์กลับคืนเป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1ซึ่งกระทำไปโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้กระทำเช่นนั้นได้ เป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จึงต้องคืนทรัพย์สินให้แก่โจทก์หรือใช้ราคาและค่าเสียหายอื่น ๆ ด้วย และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ด้วยทั้งนี้ ตามมาตรา 1167 ประกอบด้วยมาตรา 427

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7102/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีต่อบริวารจำเลยหลังสัญญาประนีประนอม และการดำเนินการบังคับคดีที่ถูกต้อง
ตามสัญญายอมระหว่างโจทก์กับจำเลยมีใจความสำคัญว่า จำเลยจะขนย้ายบริวารออกไปจากที่ดินที่เช่าและส่งมอบที่ดินคืนแก่โจทก์ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2539 ดังนี้ เมื่อล่วงพ้นเวลาดังกล่าวและยังมีผู้อาศัยในสิ่งปลูกสร้างใน ที่ดินของโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่ขอให้บังคับคดีแก่ผู้อยู่อาศัยในสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวในฐานะบริวารของจำเลยได้ ส่วนการที่โจทก์สามารถใช้สิทธิตามสัญญายอมอีกข้อหนึ่งที่ว่า โจทก์อาจเข้าร่วมหรือรับสิทธิของจำเลยในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่บุคคลอื่นออกจากอาคารในที่ดินของโจทก์ก็ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์อีกทางหนึ่ง ซึ่งไม่มีเหตุผลใดที่จะจำกัดสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้บังคับคดีในคดีนี้ เมื่อศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนี้กับศาลชั้นต้นในคดีอีก 3 สำนวน ที่จำเลยได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องที่ 1 กับพวก และบุคคลอื่นให้ออกจากอาคารในที่ดินของโจทก์ก็คือศาลชั้นต้นศาลเดียวกัน จึงชอบที่โจทก์จะขอออกหมายบังคับคดีในคดีนี้ได้ เมื่อมีผู้ร้องที่ 1 กับพวก ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าตนมิใช่บริวารของจำเลย ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะไต่สวนและมีคำสั่งไปตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7102/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีกับบริวารจำเลยจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และการไต่สวนเพื่อยืนยันสถานะบริวาร
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้มีใจความว่าจำเลยยอมให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่เช่าซึ่งเป็นของโจทก์ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และจำเลยจะขนย้ายบริวารออกไปและส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนแก่โจทก์ภายในกำหนดดังนี้ เมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วยังมีผู้อยู่อาศัยในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้บังคับคดีแก่ผู้อยู่อาศัยในฐานะบริวารของจำเลยได้ตามสิทธิของโจทก์ในคดีนี้ ส่วนการที่โจทก์สามารถใช้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความอีกข้อหนึ่งที่อาจเข้าร่วมหรือรับสิทธิของจำเลยในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่บุคคลอื่นออกจากอาคารในที่ดินของโจทก์นั้น ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ในอีกทางหนึ่งที่โจทก์อาจเลือกใช้ได้ แต่ไม่จำกัดสิทธิของโจทก์ที่จะขอบังคับคดีในคดีนี้เมื่อมีผู้ร้องหลายรายยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าตนมิใช่บริวารของจำเลย ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะดำเนินการไต่สวนและมีคำสั่งไปตามรูปคดี เพราะศาลชั้นต้นในคดีนี้กับศาลชั้นต้นในคดีอีก 3 สำนวน ก็คือ ศาลชั้นต้นศาลเดียวกัน ทั้งมิใช่การขอบังคับคดีในคดีอีก 3 สำนวนดังกล่าว การที่จะให้ผู้ร้องทุกรายไปยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษในคดีอีก 3 สำนวน โดยที่ยังมิได้มีการออกหมายบังคับคดีในคดีเหล่านั้น ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6500/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแสดงสิทธิครอบครองที่ดินไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากขอบเขตสิทธิที่ฟ้องต่างจากคดีก่อน แม้ที่ดินบางส่วนจะทับซ้อนกัน
ในคดีก่อนจำเลยฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินเนื้อที่ 25 ตารางวา ซึ่งมีบ้านเลขที่ 98/1 ปลูกอยู่ อันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทในคดีนี้ โจทก์ให้การต่อสู้อ้างสิทธิครอบครอง และศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเนื้อที่ 25 ตารางวา ดังกล่าว คดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์จึงฟ้องจำเลยเพื่อขอแสดงสิทธิครอบครองในที่ดินเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทในคดีก่อนด้วย ดังนี้ ในคดีก่อนย่อมไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพิพาทส่วนที่นอกเหนือจากเนื้อที่ 25 ตารางวา ที่ศาลจะพึงวินิจฉัย ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนอกเหนือจากเนื้อที่ 25 ตารางวา ที่พิพาทกันในคดีก่อนจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตามที่จำเลยฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6500/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและทุนทรัพย์: ศาลฎีกาวินิจฉัยการฟ้องครอบครองที่ดินซ้ำหรือไม่ พิจารณาจากขอบเขตที่ดินพิพาทและมูลค่า
คดีก่อนจำเลยฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินเนื้อที่ 25 ตารางวา ซึ่งมีบ้านปลูกอยู่โจทก์ให้การต่อสู้อ้างสิทธิครอบครองและศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินเนื้อที่ 25 ตารางวา คดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อขอแสดงสิทธิครอบครองในที่ดินเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทในคดีก่อนด้วย ดังนี้ ในคดีก่อนย่อมไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพิพาทส่วนที่นอกเหนือจากเนื้อที่ 25 ตารางวา ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนอกเหนือจากเนื้อที่ 25 ตารางวา ที่พิพาทกันในคดีก่อนจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
of 49