พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6460/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องแย้ง, ประเด็นนอกฟ้อง, และการไม่ยกประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ ส่งผลให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การและฟ้องแย้งขอเรียกค่าชดเชยการใช้ทางจำเป็นจากโจทก์ในอัตราปีละ 20,000 บาท และขอเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุถูกฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การ ส่วนฟ้องแย้งเรื่องค่าเสียหายไม่รับค่าขึ้นศาลให้คำนวณจากค่าชดเชย 20,000 บาท คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย ดังนี้ พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับค่าชดเชยเท่านั้น ต่อมามีการส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์ สำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้แก่โจทก์โดยมิได้กำหนดให้ฝ่ายโจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ทั้งจำเลยก็มิได้นำส่งหมายนัด คำให้การ และฟ้องแย้งให้แก่ฝ่ายโจทก์ จนเวลาล่วงเลยไปจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่โจทก์และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันยื่นคำฟ้องแย้ง อันเป็นการที่จำเลยทิ้งฟ้องแย้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบมาตรา 174 (1)
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทเองจนได้ภาระจำยอม หาได้บรรยายว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทต่อจากเจ้าของที่ดินเดิมที่ขายให้โจทก์ไม่ ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ซื้อที่ดินมาจากบุคคลอื่นย่อมได้รับสิทธิที่เจ้าของเดิมมีอยู่แล้วในการใช้ทางพิพาทนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้อง เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและเป็นทางจำเป็นด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม หากโจทก์ยังติดใจในประเด็นเรื่องทางจำเป็นอยู่ แม้โจทก์จะไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ แต่ก็ต้องยกขึ้นเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย เมื่อโจทก์มิได้ตั้งประเด็นในเรื่องทางจำเป็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ฉะนั้น ประเด็นในเรื่องทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทเองจนได้ภาระจำยอม หาได้บรรยายว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทต่อจากเจ้าของที่ดินเดิมที่ขายให้โจทก์ไม่ ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ซื้อที่ดินมาจากบุคคลอื่นย่อมได้รับสิทธิที่เจ้าของเดิมมีอยู่แล้วในการใช้ทางพิพาทนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้อง เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและเป็นทางจำเป็นด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม หากโจทก์ยังติดใจในประเด็นเรื่องทางจำเป็นอยู่ แม้โจทก์จะไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ แต่ก็ต้องยกขึ้นเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย เมื่อโจทก์มิได้ตั้งประเด็นในเรื่องทางจำเป็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ฉะนั้น ประเด็นในเรื่องทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6460/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยต่อฟ้องแย้ง, การรับสิทธิทางภารจำยอมจากการซื้อขาย, และประเด็นทางจำเป็นที่ไม่ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอเรียกค่าชดเชยจากโจทก์ทั้งห้าในอัตราปีละ 20,000บาท และขอเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่ถูกฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การ ส่วนฟ้องแย้งเรื่องค่าเสียหายไม่รับ ค่าขึ้นศาลให้คำนวณจากค่าชดเชย20,000 บาท กับค่าขึ้นศาลอนาคต คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลยทั้งสอง พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับค่าชดเชยเท่านั้น แต่จำเลยทั้งสองมิได้นำส่งหมายนัดและสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้แก่ฝ่ายโจทก์กระทั่งเวลาล่วงเลยไปจนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่โจทก์ทั้งห้าและไม่แจ้งให้ศาลทราบสาเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้นภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้องแย้งอันเป็นการทิ้งฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(1)
ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ว่า โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินมาจากบุคคลอื่นย่อมได้รับสิทธิที่เจ้าของเดิมมีอยู่แล้วในการใช้ทางพิพาทนั้น โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทเองจนได้ภารจำยอม หาได้บรรยายว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทต่อจากเจ้าของที่ดินเดิมที่ขายให้โจทก์ที่ 1 ไม่ ฎีกาของโจทก์ที่ 1 จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้องเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชนะคดีโดยวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม หากโจทก์ที่ 1 ยังติดใจในประเด็นเรื่องทางจำเป็นอยู่ แม้โจทก์ที่ 1 จะไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ แต่ก็ต้องยกขึ้นเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อโจทก์ที่ 1 มิได้ตั้งประเด็นในเรื่องทางจำเป็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ย่อมไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ชั้นอุทธรณ์ และเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ว่า โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินมาจากบุคคลอื่นย่อมได้รับสิทธิที่เจ้าของเดิมมีอยู่แล้วในการใช้ทางพิพาทนั้น โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทเองจนได้ภารจำยอม หาได้บรรยายว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ทางพิพาทต่อจากเจ้าของที่ดินเดิมที่ขายให้โจทก์ที่ 1 ไม่ ฎีกาของโจทก์ที่ 1 จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้องเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชนะคดีโดยวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม หากโจทก์ที่ 1 ยังติดใจในประเด็นเรื่องทางจำเป็นอยู่ แม้โจทก์ที่ 1 จะไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ แต่ก็ต้องยกขึ้นเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อโจทก์ที่ 1 มิได้ตั้งประเด็นในเรื่องทางจำเป็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ย่อมไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ชั้นอุทธรณ์ และเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5874/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำผิดฐานพยายามฆ่า: จำเลยไม่ได้มีส่วนร่วมวางแผนหรือช่วยเหลือขณะเกิดเหตุ
จำเลยและ ฉ. พวกจำเลยซึ่งใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมไม่เคยรู้จักและไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับโจทก์ร่วมมาก่อน การที่โจทก์ร่วมเดินเข้าไปหากลุ่มของจำเลยกับ ฉ. แล้วถูก ฉ. ใช้อาวุธปืนยิงถูกบริเวณช่องท้อง 1 นัด เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดโดยจำเลยไม่อาจคาดคิด การที่ ฉ. ใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมจึงเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า จำเลยมิได้ร่วมวางแผนหรือสมคบคิดกับ ฉ. ด้วย แม้ ฉ. กับจำเลยจะวิ่งออกไปจากที่เกิดเหตุด้วยกันแล้ว ฉ. นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับหลบหนีไปก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะ ฉ. ใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิดฐานสนับสนุนผู้อื่นกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5874/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนความผิดพยายามฆ่า: จำเลยต้องมีส่วนร่วมก่อนหรือขณะกระทำความผิด จึงจะมีความผิดฐานสนับสนุน
โจทก์ร่วมกับจำเลยและ ฉ. พวกจำเลยไม่เคยรู้จักและไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน โจทก์ร่วมพบกับจำเลยและ ฉ. ในที่เกิดเหตุโดยบังเอิญ การที่โจทก์ร่วมเดินเข้าไปหากลุ่มของจำเลยกับ ฉ. แล้วถูก ฉ. ใช้อาวุธปืนยิงถูกบริเวณช่องท้อง 1 นัด เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทันทีทันใด การที่ ฉ. ใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมจึงเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า จำเลยหาได้ร่วมวางแผนหรือสมคบคิดกับ ฉ. ด้วยไม่ แม้ภายหลังที่ ฉ. ใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมแล้ว ฉ. กับจำเลยจะวิ่งออกไปจากที่เกิดเหตุด้วยกัน แล้ว ฉ. นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับหลบหนีไปก็เป็นเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นภายหลังที่ ฉ. ใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าโจทก์ร่วมแล้ว การกระทำของจำเลยมิได้เกิดขึ้นก่อนหรือขณะ ฉ. ใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วม จึงไม่อาจถือว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะที่ ฉ. ใช้อาวุธปืนยิง โจทก์ร่วมแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานสนับสนุนผู้อื่นกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตีความขอบเขตการคืนค่าธรรมเนียมศาล และสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่คืนค่าธรรมเนียม
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลโดยตกลงว่าให้ค่าธรรมเนียมในส่วนที่ศาลไม่สั่งคืนเป็นพับ ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมโดยพิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ เช่นนี้ ตามความหมายในสัญญาประนีประนอมยอมความหมายความว่าให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับเฉพาะส่วนที่ศาลสั่งไม่คืนให้ มิใช่หมายความว่าค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับทั้งหมดโดยไม่มีค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องคืนให้แก่โจทก์เลย อันเป็นการทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความไร้ผล และขัดแย้งต่อเจตนาของคู่ความที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาขอค่าฤชาธรรมเนียมคืน แต่ศาลไม่สั่งคืนให้ เช่นนี้ เป็นการที่โจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น หากแต่เป็นอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลให้ โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับหลังศาลเพิกถอนหมายบังคับคดี: สิทธิในการขอคืนค่าธรรมเนียม
โจทก์และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลชั้นต้นมีข้อความว่า ค่าธรรมเนียมในส่วนที่ศาลไม่สั่งคืนและค่าทนายความให้เป็นพับ ส่วนจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยอมความด้วย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โดยพิพากษาว่า... ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ ในส่วนค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับนั้นมีความหมายว่าให้เป็นพับเฉพาะในส่วนที่ศาลไม่สั่งคืน มิใช่ว่าค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับทั้งหมดโดยไม่มีค่าธรรมเนียมที่ต้องคืนให้โจทก์เลย
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งเพิกถอนหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อ้างว่าออกไปโดยผิดหลงและแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์และคืนทรัพย์แก่จำเลยที่ 2 ต่อมาโจทก์จึงทราบว่าศาลชั้นต้นถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าตนไม่ได้ค่าธรรมเนียมศาลจากการบังคับคดีโดยยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว จึงยื่นคำแถลงขอคืนค่าธรรมเนียมศาลเป็นกรณีพิเศษ แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่สั่งคืนให้อ้างว่าศาลพิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2เป็นพับเช่นเดิม โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวอันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งเป็นที่แน่ชัดว่าไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ตามคำแถลงของโจทก์ มิใช่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งเพิกถอนหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อ้างว่าออกไปโดยผิดหลงและแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์และคืนทรัพย์แก่จำเลยที่ 2 ต่อมาโจทก์จึงทราบว่าศาลชั้นต้นถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าตนไม่ได้ค่าธรรมเนียมศาลจากการบังคับคดีโดยยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว จึงยื่นคำแถลงขอคืนค่าธรรมเนียมศาลเป็นกรณีพิเศษ แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่สั่งคืนให้อ้างว่าศาลพิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2เป็นพับเช่นเดิม โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวอันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งเป็นที่แน่ชัดว่าไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ตามคำแถลงของโจทก์ มิใช่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีค่าจ้างและการรับมอบงานที่มีข้อบกพร่อง สิทธิเรียกร้องเริ่มเมื่อรับมอบงานจริง
วันที่โจทก์ส่งมอบงานถมดินและปรับพื้นที่ย่อมไม่เป็นการแน่นอนว่าจำเลยที่ 1จะรับมอบงานหรือไม่ มิใช่ว่าเมื่อโจทก์ส่งมอบงานแล้วจำเลยที่ 1 จะต้องชำระสินจ้างให้แก่โจทก์ทันทีเพราะงานที่ส่งมอบอาจมีข้อบกพร่องอันจะต้องแก้ไขเสียก่อน โจทก์จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 รับมอบงานเป็นต้นไป จำเลยที่ 1ลงชื่อในบันทึกท้ายหนังสือของคณะกรรมการตรวจรับงานเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม2539 แต่ก็ยังมีข้อเรียกร้องให้โจทก์ปรับถนนให้เรียบร้อยเสียก่อน แสดงว่าการรับมอบงานของจำเลยที่ 1 ไม่เร็วไปกว่าวันที่ 3 พฤษภาคม 2539 โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24เมษายน 2541 จึงยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมอบงานที่มีข้อบกพร่องและสิทธิเรียกร้องค่าจ้าง
วันที่โจทก์ส่งมอบงานอาจไม่ใช่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เพราะงานที่ส่งมอบอาจมีข้อบกพร่องอันจะต้องแก้ไขเสียก่อน โจทก์จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่จำเลยรับมอบงานเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัย: ผู้ประสบภัย vs. ผู้จ่ายค่ารักษา
การที่ผู้โดยสารในรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองประสบภัยได้รับบาดเจ็บต่อร่างกายก็เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อด้วยความประมาทเลินเล่ออันเป็นการทำละเมิดต่อผู้โดยสารในรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองโดยตรง ไม่ใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ทั้งจำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของรถที่กระทำโดยจงใจหรือประพฤติเลินเล่ออย่างร้ายแรง และไม่ใช่ผู้ขับขี่รถอันจะต้องถูกไล่เบี้ยตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้โดยสารในรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองไปแล้ว โจทก์ทั้งสองก็ชอบที่จะไปเรียกร้องเอาแก่บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองไว้ซึ่งมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสองไม่ใช่ผู้ประสบภัยและไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้ประสบภัยหรือใช้สิทธิไล่เบี้ยเรียกร้องเอาค่าเสียหายเบื้องต้นที่โจทก์ทั้งสองจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบภัยจากจำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดทางสัญญา: ศาลพิพากษาเกินขอบเขตคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่รับฟัง
คำฟ้องของโจทก์แสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 เพียง 2 ข้อว่า ข้อหนึ่งจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ อันเป็นความรับผิดตามสัญญาซื้อขาย และข้อสองจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ค่าสินค้ากับจำเลยที่ 1 เพราะเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (3) เท่านั้น ไม่มีข้อหาว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาเพราะเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว อุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพตามมาตรา 1490 (1) เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมด้วยในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์หรือร่วมด้วยในการประกอบกิจการของร้านธีระพร การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการค้าขายของร้านธีระพรซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวของจำเลยทั้งสองเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตร ตลอดถึงการรักษาพยาบาลด้วย อันเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันตามมาตรา 1490 (1) แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในเรื่องที่นอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 249 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์และในการประกอบกิจการของร้านธีระพร จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง