คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระศักดิ์ รุ่งรัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับพิจารณาใหม่ ต้องวางค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษาเดิม หากไม่วาง ศาลมีสิทธิไม่รับอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาใหม่ต่อศาลอุทธรณ์โดยเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท แต่โดยที่คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้หากเป็นไปในทางอนุญาตตามคำร้องของจำเลยย่อมมีผลกระทบต่อคดีทั้งคดีเนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 เบญจ วรรคสาม ให้ถือว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว ดังนั้น จึงเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาซึ่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 229 ซึ่งผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยชำระเพียงค่าขึ้นศาลโดยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาด้วย ย่อมเป็นการไม่ชอบ ศาลชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที กรณีมิใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 18 ที่ศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งไม่รับคำคู่ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมรดก สัญญาจะซื้อขายที่มีเงื่อนไข และการยินยอมของทายาทคนอื่น
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้เห็นและยินยอมให้จำเลยที่ 2 มารดาเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขาย ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ฝ่ายผู้จะซื้อ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาในฐานะคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขายก็ตาม แต่การแสดงออกของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังกล่าวเป็นการเชิดให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นมารดาและผู้ครอบครองที่ดินพิพาทออกเป็นตัวแทนหรือยินยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1และที่ 3 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทอันจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 และการนำจำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้าเป็นคู่สัญญากับโจทก์ ก็หาจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 ไม่ ทั้งการที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หาใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อขายอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ไม่ เพราะเป็นแต่เพียงการนำสืบความจริงว่า จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนเข้าเป็นคู่สัญญากับโจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ทำสัญญาจะซื้อขายแทนเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม และผลผูกพันตามสัญญา
จำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้เห็นและยินยอมให้จำเลยที่ 2 มารดาเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้ขายทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์ฝ่ายผู้จะซื้อแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ลงลายมือชื่อไว้ในสัญญา แต่การแสดงออกดังกล่าวเป็นการเชิดให้จำเลยที่ 2 ออกเป็นตัวแทนหรือยินยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 และการนำสืบว่าจำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็หาจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 ไม่ ทั้งหาใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อขายอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ไม่ เพราะเป็นแต่เพียงการนำสืบความจริงว่าจำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนเข้าเป็นคู่สัญญากับโจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับชำระหนี้สมบูรณ์ แม้โจทก์ฝ่าฝืนประกาศตลาดหลักทรัพย์ จำเลยไม่ยกข้อเสียเปรียบ
จำเลยฎีกาว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนต่อประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องที่โจทก์มิได้นำหลักทรัพย์ของจำเลยออกขายในวันที่ 30 ตุลาคม 2539 แม้โจทก์จะกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศดังกล่าวจริงก็เป็นเรื่องระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกจะดำเนินการไปตามกฎหมายข้อบังคับและประกาศดังกล่าวต่อไประหว่างกันเองหามีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยที่ทำหนังสือรับชำระหนี้ซึ่งโจทก์ใช้เป็นมูลฟ้องคดีนี้ให้จำเลยชำระหนี้ตามหนังสือดังกล่าวไม่ อีกทั้งขณะตกลงทำหนังสือรับชำระหนี้ จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามจำนวนที่ปรากฏในหนังสือรับชำระหนี้จริง แสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์มิได้กระทำการใดอันเป็นการเอาเปรียบจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าเพราะหากจำเลยเห็นว่าโจทก์เอาเปรียบจำเลยแล้ว จำเลยคงไม่ทำหนังสือรับชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ จำเลยจึงไม่อาจยกเอาเหตุแห่งความเสียเปรียบดังกล่าวขึ้นโต้แย้งเพื่อให้พ้นความรับผิดตามหนังสือรับชำระหนี้ดังกล่าวหนังสือรับชำระหนี้จึงใช้บังคับแก่จำเลยได้ หาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายฝากที่ดินโดยสุจริตของผู้รับซื้อฝาก และความประมาทเลินเล่อของผู้ขาย ทำให้เพิกถอนนิติกรรมไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องในทำนองว่า จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้โดยไม่สุจริตซึ่งหมายความว่า จำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินพิพาทมาโดยมิชอบและไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้เช่นนั้นเพราะจำเลยที่ 2 ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอรับฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้าง จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินไว้โดยสุจริต
โจทก์ที่ 2 นำโฉนดที่ดินพิพาท หนังสือมอบอำนาจตามแบบของกรมที่ดินที่โจทก์ที่ 2 ลงลายมือชื่อ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งโจทก์ที่ 2ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องใส่ในถุงกระดาษหูหิ้วติดตัวไปมาเป็นเวลานานนับปีในลักษณะที่อาจทำให้เอกสารสำคัญสูญหายได้ และเมื่อโจทก์ที่ 2 ทราบว่าโฉนดที่ดินพิพาทพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการทำนิติกรรมได้หายไป หากโจทก์ทั้งสองรีบแจ้งความและขออายัดที่ดินพิพาทเสียในโอกาสแรก การที่จำเลยที่ 1 จะไปทำนิติกรรมโอนโฉนดที่ดินพิพาทให้ตนเองย่อมกระทำไม่ได้ การที่โจทก์ทั้งสองดำเนินการดังกล่าวล่าช้า ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองประมาทเลินเล่ออย่างมาก เมื่อปรากฏว่ามีการนำโฉนดที่ดินพิพาทและเอกสารต่าง ๆ ไปดำเนินการทำนิติกรรมเป็นว่าโจทก์ที่ 2 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต โจทก์ทั้งสองย่อมไม่อาจยกเอาความประมาทเลินเล่อของตนขึ้นอ้างอันจะทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ได้ ตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่าต่างฝ่ายต่างสุจริตด้วยกัน ฝ่ายที่ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นฝ่ายเสียเปรียบ โจทก์จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองและนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คพิพาทโดยทุจริตและการพิสูจน์มูลหนี้ที่ชอบ โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิด
คำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ว่าโจทก์ได้เช็คพิพาทไว้ในครอบครองโดยทุจริตนั้นทุจริตอย่างไรก็ไม่ได้กล่าวไว้ชัด ที่ว่าคบคิดกับบุคคลอื่น บุคคลอื่นนั้น เป็นผู้ทรงเช็คคนก่อนหรือไม่ หรือเป็นผู้ใดไม่ปรากฏ ที่ว่าโจทก์ควรรู้ว่าเช็คพิพาทมีการชำระหนี้แล้ว ก็ไม่ใช่คำยืนยันว่าโจทก์รู้ แปลความว่าอาจไม่รู้ก็ได้เช่นกันแล้วให้การว่าโจทก์ได้เช็คพิพาทมาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้ง ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทจาก ร. โดยคบคิดกันฉ้อฉล จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นพิพาท
จำเลยที่ 2 ให้ ร. นำเช็คแลกเงินสดจากโจทก์และมีการเปลี่ยนเช็คเรื่อยมาต่อมาได้รวมจำนวนเงินที่เป็นหนี้และกู้เงินเพิ่มอีกแล้วจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นการกู้เงินและการแลกเปลี่ยนเช็ค โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้ติดต่อกันโดยตรงแต่ติดต่อผ่าน ร. เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้โดยชอบ โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท จำเลยทั้งสองเป็นผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900,987และ 989

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมียาเสพติดไว้ในครอบครอง โจทก์ต้องพิสูจน์ความผิดจำเลยจนปราศจากข้อสงสัย แม้การตรวจค้นไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่กระทบการสอบสวน
การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 130 เม็ด ไว้ในครอบครองแล้วจะสันนิษฐานว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหาชอบไม่ โจทก์จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยจนได้ความแน่ชัดปราศจากข้อสงสัย ศาลจึงจะรับฟังลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 174
แม้การตรวจค้นจับกุมอาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หามีผลทำให้การสอบสวนที่ชอบเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจผู้จัดการกิจการ: ศาลสั่งจัดการเฉพาะทรัพย์สินที่ระบุ หาใช่การเป็นตัวแทนทั่วไป
ผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการกิจการของโรงเรียน ท. เป็นกรณีที่ศาลสั่งให้ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดไปพลางก่อนตามที่จำเป็น เพื่อจัดการทรัพย์สินของจำเลยผู้ไม่อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง หาใช่กรณีที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยผู้ไม่อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 48 วรรคสอง อันจะทำให้ผู้ร้องมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไม่ แม้ในเหตุฉุกเฉินผู้ร้องก็ไม่อาจจะก้าวล่วงไปจัดการในกิจการอื่นของจำเลยได้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีที่จำเลยถูกฟ้องใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจผู้จัดการกิจการโรงเรียนเมื่อจำเลยไม่อยู่ การดำเนินการเกินอำนาจที่ศาลแต่งตั้ง
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจัดการกิจการโรงเรียนเทคโนโลยีฉะเชิงเทราแทนจำเลยผู้ไม่อยู่ชั่วคราวจนกว่าจำเลยจะกลับมา และผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการกิจการของโรงเรียนดังกล่าว ผู้ร้องย่อมมีอำนาจจัดการแต่เฉพาะในกิจการของโรงเรียนเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 48 วรรคหนึ่งหาใช่กรณีที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยผู้ไม่อยู่ตามมาตรา 48 วรรคสองอันจะทำให้ผู้ร้องมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไม่ แม้ในเหตุฉุกเฉินผู้ร้องก็ไม่อาจจะก้าวล่วงไปจัดการในกิจการอื่นของจำเลยได้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีระยองเฉลิมพระเกียรติแทนจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจผู้จัดการกิจการทรัพย์สิน: ศาลจำกัดอำนาจเฉพาะกิจการโรงเรียนเทคโนโลยี
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ในคดีนี้ซึ่งเป็นหนี้ค่าจ้างก่อสร้างอาคารโรงเรียนเทคโนโลยี ร. การที่ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจัดการกิจการโรงเรียนเทคโนโลยี ฉ. แทนจำเลยผู้ไม่อยู่ชั่วคราว จนกว่าจำเลยจะกลับมา และผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการกิจการของโรงเรียนเทคโนโลยี ฉ. ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่า ผู้ร้องมีอำนาจ จัดการแต่เฉพาะในกิจการของโรงเรียนเทคโนโลยี ฉ. อันเป็นกรณีที่ศาลสั่งให้ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดไปพลางก่อนตามที่จำเป็นเพื่อจัดการทรัพย์สินของจำเลยผู้ไม่อยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคหนึ่ง หาใช่กรณีที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็น ผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยผู้ไม่อยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคสอง อันจะทำให้ผู้ร้องมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับ ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไม่แม้ในเหตุฉุกเฉินผู้ร้องก็ไม่อาจจะก้าวล่วงไปจัดการในกิจการอื่นของจำเลยได้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีนี้ใหม่
of 49