คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระศักดิ์ รุ่งรัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด vs. สัญญาจะซื้อจะขาย: การพิจารณาจากเจตนาและข้อความในสัญญา
การวินิจฉัยว่าสัญญาที่โจทก์และจำเลยกระทำต่อกันเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ต้องพิจารณาถึงข้อความในสัญญาประกอบกับเจตนาของโจทก์และจำเลยในขณะทำสัญญายิ่งกว่าชื่อของสัญญาที่ทำต่อกัน แต่สัญญาจะซื้อจะขายในคดีนี้เป็นแบบพิมพ์ที่ให้คู่ความกรอกข้อความตามที่ต้องการเอาเองซึ่งไม่ปรากฏข้อความไว้ว่าทั้งสองฝ่ายตกลงจะไปจดทะเบียนโอนกันเมื่อใด แม้จะมีการกำหนดราคาที่ดินว่าไร่ละ 19,687.50 บาท ซึ่งคำนวณตามเนื้อที่ดินแล้วเป็นเงิน68,906.25 บาทเศษ ก็ตาม แต่เมื่อเงินมัดจำที่โจทก์วางแก่จำเลยระบุจำนวน 63,000บาทแล้ว และในช่องจำนวนเงินส่วนที่ต้องชำระอีกกลับมีการขีดไว้ แสดงว่าไม่มีราคาที่ดินที่จะต้องชำระกันอีก ทั้งการที่จำเลยมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์ตั้งแต่วันทำสัญญาก็ไม่มีพฤติการณ์ใดที่แสดงว่าโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินในภายหน้าอีก ส่วนราคาที่ดินที่ค้างชำระอีก 5,906.25 บาท ก็แสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะรับจากโจทก์แล้ว ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ามีการตกลงกันด้วยวาจาว่าจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินในภายหน้านั้น จึงเป็นการสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่งว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ไม่อาจรับฟังพยานบุคคลเช่นนี้ได้ หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เมื่อมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่ยังคงสมบูรณ์ในฐานะที่เป็นสัญญาซื้อขายโดยโอนการครอบครองในที่ดินให้แก่กัน ซึ่งทำให้โจทก์ได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดิน และเมื่อสัญญาดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6469/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธุรกิจเงินทุนที่ไม่ได้รับอนุญาต: การกู้ยืมจากบุคคลในเครือไม่ใช่การจัดหาทุนจากประชาชนทั่วไป
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯ มาตรา 4 กำหนดให้ "ธุรกิจเงินทุน หมายความว่า ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจำแนกประเภทได้ดังต่อไปนี้..."ซึ่งกิจการเงินทุนแต่ละประเภทมีการกำหนดวิธีหาเงินทุนไว้ตรงกันคือ "ธุรกิจหาทุนจากประชาชน" ซึ่งหมายความรวมถึงกู้ยืมเงินหรือรับฝากเงินจากประชาชนด้วย ทั้งคำว่า"ประชาชน" ตามพจนานุกรม หมายถึง พลเมืองหรือสามัญชนทั่ว ๆ ไป ดังนั้น ธุรกิจเงินทุนภายใต้ข้อบังคับของพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นธุรกิจที่มีการจัดหาทุนดำเนินกิจการจากประชาชนพลเมืองทั่วไปไม่มีจำกัดว่าจะเป็นใคร เมื่อปรากฏว่าบริษัทโจทก์จัดหาเงินทุนมาจากบริษัทในเครือหรือจากญาติพี่น้องเฉพาะคนเท่านั้นไม่เป็นการทั่วไป ประกอบกับโจทก์มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินหรือให้เครดิตด้วยวิธีการอื่นได้ ดังนั้นแม้โจทก์จะมิได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โจทก์ก็มีอำนาจให้จำเลยกู้เงินได้โดยชอบ สัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6121/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัดชำระ: สิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดราคา
สัญญาเช่าซื้อระบุให้ผู้เช่าซื้อนำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไปชำระ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของเจ้าของ จึงเป็นภาระหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อที่ต้องนำเงินค่างวดไปชำระ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ การที่จำเลยที่ 1 นำสืบถึงข้อตกลงว่าพนักงานของโจทก์จะเป็นผู้ไปเก็บค่างวดแก่จำเลยที่ 1 เอง จึงเป็นการแตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในสัญญา เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมเอกสารสัญญาเช่าซื้อ ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ จึงเป็นการผิดสัญญา สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันทันทีโดยเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องบอกกล่าวก่อน
ฟ้องโจทก์ที่ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เพราะมิใช่กรณีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้น อันจะต้องใช้สิทธิฟ้องภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6040/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ร่วม: สิทธิลูกหนี้ในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามสัญญาจ้างมีสาระสำคัญว่าสัญญาจ้างฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยซึ่งต่อไปในสัญญาเรียกว่า "ผู้ว่าจ้าง" ฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยร่วมและโจทก์ซึ่งสองบริษัทต่อไปนี้เรียกว่า "ผู้รับจ้าง" อีกฝ่ายหนึ่ง ข้อความในสัญญาดังกล่าวกำหนดให้โจทก์และจำเลยร่วมมีฐานะเป็นอย่างเดียวกันคือ "ผู้รับจ้าง" เพราะงานที่จะกระทำต่อไปคืองานก่อสร้างอาคารที่มิได้แบ่งแยกว่าจะทำการก่อสร้างอาคารส่วนใดอย่างไร มากน้อยแค่ไหน และค่าจ้างที่จำเลยจะชำระก็กำหนดชำระเป็นงวด มิได้กำหนดว่าจะชำระแก่โจทก์และจำเลยร่วมคนละเท่าใดอีกด้วย คงชำระรวมกันไป แม้ในตอนแรกจะแบ่งชำระให้คนละครึ่งของแต่ละงวด ก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกของโจทก์และจำเลยร่วมเท่านั้นหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงฐานะไปไม่ โจทก์และจำเลยร่วมยังคงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ร่วมในหนี้ค่าจ้าง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าหนี้คนใดก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6040/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าหนี้ร่วมในสัญญาจ้างก่อสร้าง สิทธิในการชำระหนี้แก่ผู้รับจ้างรายใดรายหนึ่ง
ตามสัญญาจ้างมีสาระสำคัญของข้อความในสัญญากำหนดให้โจทก์และจำเลยร่วมมีฐานะเป็นผู้รับจ้างอย่างเดียวกัน เพราะงานที่จะกระทำต่อไปคืองานก่อสร้างอาคารที่มิได้แบ่งแยกว่าจะทำการก่อสร้างอาคารส่วนใดอย่างไร มากน้อยแค่ไหน และค่าจ้างที่จำเลยจะชำระก็กำหนดชำระเป็นงวด มิได้กำหนดว่าจะชำระแก่โจทก์และจำเลยร่วมคนละเท่าใด คงชำระรวมกันไป แม้ในตอนแรกจะแบ่งชำระให้คนละครึ่งของแต่ละงวดก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกของโจทก์และจำเลยหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงฐานะไปไม่ โจทก์และจำเลยร่วมยังคงมีฐานะเป็นผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างและยังคงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ร่วมในหนี้ค่าจ้าง จำเลยในฐานะลูกหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าหนี้คนใดก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 เมื่อจำเลยได้ชำระค่าจ้างงวดที่ 4 และที่ 5 แก่จำเลยร่วมแล้ว การชำระหนี้จึงชอบหาเป็นการผิดสัญญาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6040/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วม เจ้าหนี้ร่วม ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายใดก็ได้ตามกฎหมาย
เมื่อสัญญาจ้างมีสาระสำคัญว่า จำเลย "ผู้ว่าจ้าง" ตกลงจ้างโจทก์และจำเลยร่วม"ผู้รับจ้าง" ทำการก่อสร้างอาคารในราคา 10,700,000 บาท ตกลงชำระเงินล่วงหน้าร้อยละ 20 แก่ "ผู้รับจ้าง" เมื่อลงนามในสัญญา ค่าจ้างส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น 6 งวดถือได้ว่าสัญญาจ้างดังกล่าวกำหนดให้โจทก์และจำเลยร่วมมีฐานะเป็น "ผู้รับจ้าง" ทำการก่อสร้างอาคารโดยมิได้แบ่งแยกว่าจะทำการก่อสร้างอาคารส่วนใดอย่างไร มากน้อยแค่ไหน และค่าจ้างก็กำหนดชำระเป็นงวด มิได้ระบุว่าจะชำระให้แก่โจทก์และจำเลยร่วมคนละเท่าใด คงชำระรวมกันไป แม้จำเลยจะชำระค่าจ้างงวดที่ 1 ถึงที่ 3 ให้โจทก์และจำเลยร่วมคนละครึ่งของค่าจ้างแต่ละงวดก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกแก่โจทก์และจำเลยร่วมเท่านั้น โจทก์และจำเลยร่วมยังคงมีฐานะเป็น "ผู้รับจ้าง" และเจ้าหนี้ร่วมในหนี้ค่าจ้างอยู่เช่นเดิมจำเลยในฐานะลูกหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าหนี้คนใดก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 298 ดังนั้นเมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงวดที่ 4 และที่ 5 ให้แก่จำเลยร่วมแล้ว จึงเป็นการชำระหนี้โดยชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างงวดที่ 4 และที่ 5 จากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6040/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วม: ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ร่วมคนใดก็ได้ตามกฎหมาย แม้จะแบ่งชำระให้คนละครึ่งในตอนแรก
เมื่อสัญญาจ้างมีสาระสำคัญว่า จำเลย "ผู้ว่าจ้าง" ตกลงจ้างโจทก์และจำเลยร่วม "ผู้รับจ้าง" ทำการก่อสร้างอาคารในราคา 10,700,000 บาท ตกลงชำระเงินล่วงหน้าร้อยละ 20 แก่ "ผู้รับจ้าง" เมื่อลงนามในสัญญา ค่าจ้างส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น 6 งวด ถือได้ว่าสัญญาจ้างดังกล่าวกำหนดให้โจทก์และจำเลยร่วมมีฐานะเป็น "ผู้รับจ้าง" ทำการก่อสร้างอาคารโดยมิได้แบ่งแยกว่าจะทำการก่อสร้างอาคารส่วนใดอย่างไร มากน้อยแค่ไหน และค่าจ้างก็กำหนดชำระเป็นงวด มิได้ระบุว่าจะชำระให้แก่โจทก์และจำเลยร่วมคนละเท่าใด คงชำระรวมกันไป แม้จำเลยจะชำระค่าจ้างงวดที่ 1 ถึงที่ 3 ให้โจทก์และจำเลยร่วมคนละครึ่งของค่าจ้างแต่ละงวดก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกแก่โจทก์และจำเลยร่วมเท่านั้น โจทก์และจำเลยร่วมยังคงมีฐานะเป็น "ผู้รับจ้าง" และเจ้าหนี้ร่วมในหนี้ค่าจ้างอยู่เช่นเดิม จำเลยในฐานะลูกหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าหนี้คนใดก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 ดังนั้น เมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงวดที่ 4 และที่ 5 ให้แก่จำเลยร่วมแล้ว จึงเป็นการชำระหนี้โดยชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างงวดที่ 4 และที่ 5 จากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5992/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลการรังวัดสอบเขตที่ดินเป็นเด็ดขาดตามข้อตกลง หากผลรังวัดตรงตามข้อตกลงจำเลยต้องแพ้คดี
โจทก์และจำเลยตกลงท้ากันให้ถือเอาผลการรังวัดสอบเขตที่ดินพิพาทตามหลักวิชาการเป็นข้อชี้ขาดปัญหา เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการรังวัดทำแผนที่พิพาทโดยถูกต้องด้วยการส่องกล้องและให้ความเห็นว่า "อาคารพิพาทของจำเลยทั้งสองน่าจะอยู่ในที่ดินของโจทก์" ถือได้ว่าผลของการรังวัดสอบเขตสมความประสงค์ของคู่ความและตรงตามคำท้าของโจทก์และจำเลยที่ตกลงกันแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 การที่เจ้าพนักงานที่ดินให้ความเห็นว่า "น่าจะ" นั้นเป็นเพราะความเห็นที่ให้นั้นเกิดจากข้อเท็จจริงที่พบเห็นจากพยานหลักฐานในขณะกำลังทำการรังวัด หาใช่เป็นการไม่ยืนยันมั่นคงแต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5987/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสิทธิจากสัญญาเช่าซื้อและการมีอำนาจฟ้องคดีของเจ้าหนี้ที่ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้
จำเลยในฐานะผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์มีหน้าที่ต้องจัดการให้รถยนต์ที่เช่าซื้อตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้เช่าซื้อเมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วจำเลยไม่จัดการจดทะเบียนโอนสิทธิให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ทั้งตามประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเรื่องการขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ได้ความว่า เฉพาะเจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้จะต้องตกลงให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะไม่ฟ้องสถาบันการเงินเป็นจำเลยในคดีแพ่งอันแสดงว่าข้อกำหนดดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะเจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้เท่านั้นหาตัดสิทธิเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินเช่นโจทก์ที่มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศดังกล่าวที่จะฟ้องคดีแพ่งด้วยไม่ อีกทั้งประกาศดังกล่าวก็หาได้กำหนดให้เจ้าหนี้ทุกคนต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้และมิได้ตกลงให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะไม่ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง จึงย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยลูกหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการโดยคณะกรรมการองค์การเพื่อปฏิรูประบบสถาบันการเงินเป็นคดีแพ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ประสบภัยจากรถคันอื่นไม่ต้องชำระค่าเสียหายเบื้องต้นคืนกองทุนทดแทนฯ
เจ้าของรถที่จะต้องชำระเงินค่าเสียหายเบื้องต้นคืนให้แก่สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยพร้อมเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯมาตรา 26 นั้น หมายถึงเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามมาตรา 23(1) ไว้เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ประสบภัยจากรถยนต์ของผู้อื่นที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย จำเลยจึงมิใช่เจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายตามมาตรา 23(1)
เจตนารมณ์ของการประกาศใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯก็เพื่อให้ผู้ประสบภัยจากรถได้รับการเยียวยารักษาทันท่วงทีจากบริษัทประกันภัยหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ แล้วให้บริษัทหรือสำนักงานดังกล่าวมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 31 โจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายเบื้องต้นคืนให้แก่โจทก์
of 49