พบผลลัพธ์ทั้งหมด 557 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีต้องมีคำบังคับชัดเจน การบังคับคดีต่อบริวารต้องมีสิทธิบังคับคดีโดยชอบ
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษาให้จำเลยและบริวารรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากที่พิพาทให้จำเลยทราบแล้ว แต่มิได้ออกคำบังคับให้จำเลยและบริวารปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยและบริวารไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์จะขอบังคับคดีต่อผู้ร้องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นบริวารของจำเลยยังไม่ได้ ปัญหาเรื่องสิทธิในการบังคับคดีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ผู้ร้องมิได้กล่าวไว้ในคำคัดค้านก็ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225,249.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดีและผลกระทบต่อการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ขอให้ออกคำบังคับ ยังไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดี เพราะหากลูกหนี้ตามคำพิพากษายอมปฏิบัติตามคำบังคับโดยครบถ้วน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงโดยไม่ต้องขอให้บังคับคดี และศาลก็ไม่ต้องออกหมายบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275,276 ดังนั้น แม้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะได้ขอให้ศาลออกคำบังคับภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา ก็ถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้เริ่มต้นดำเนินการบังคับคดีตามมาตรา 271 แล้ว การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีถือได้ว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้เริ่มต้นดำเนินการบังคับคดีแล้ว แต่ถ้า ได้ดำเนินการบังคับคดีเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวได้กลายเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเสียแล้ว เมื่อเจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หนี้ดังกล่าวย่อมอยู่ในฐานะเป็นหนี้ที่จะร้องขอให้บังคับคดีไม่ได้ จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 94(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดีและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หนี้ขาดอายุความย่อมไม่สามารถขอรับชำระได้
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้ศาลออกคำบังคับ ถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเริ่มต้นบังคับคดีแล้ว เพราะหากลูกหนี้ตามคำพิพากษายอมปฏิบัติตามคำบังคับโดยครบถ้วน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงโดยไม่ต้องขอให้บังคับคดีและศาลไม่ต้องออกหมายบังคับคดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอหมายบังคับคดีเมื่อพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดี หนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จะร้องขอให้บังคับคดีไม่ได้ซึ่งต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: สิทธิทายาท, อายุความ, และการแบ่งทรัพย์สินโดยชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องกองมรดกของผู้ตายโดย นายส. นายอ. นายช.ผู้จัดการมรดกและบรรยายฟ้องว่า ศาลแต่งตั้งให้บุคคลทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโจทก์ทวงถามให้แบ่งมรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์แต่จำเลยไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องบุคคลทั้งสามดังกล่าวในฐานะผู้จัดการมรดก ศาลย่อมบังคับให้ได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งจะต้องฟ้องเรียกเสียภายในห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1733 วรรคสอง การที่จำเลยระบุว่าโจทก์ฟ้องคดีเกินหนึ่งปีคดีจึงขาดอายุความนั้น ถือได้ว่าอายุความที่จำเลยอ้างถึงคืออายุความตา:มมาตรา 1755 มิใช่มาตรา 1733 วรรคสอง จึงมีประเด็นวินิจฉัยเฉพาะอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 เพียงอย่างเดียวที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 1733วรรคสอง และพิพากษายกฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่:ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4291/2529)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหลายเท่านั้น จำเลยไม่อาจจะยกอายุความมรดกตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
ผู้ตายและ ล. เป็นสามีภริยากันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิมใช้บังคับ โดยไม่มีสินเดิมทั้งสองฝ่าย ผู้ตายจึงมีส่วนในสินสมรสสองในสามส่วนซึ่งตกเป็นมรดกแก่ทายาท
โจทก์เป็นทายาทและมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้ทายาทอื่นโดยไม่แบ่งปันให้โจทก์ตามส่วน เป็นการแบ่งปันที่มิชอบด้วยกฎหมายโจทก์ชอบที่จะขอให้แบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายใหม่ได้ จำเลยจะอ้างว่าได้แบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้ทายาทอื่น..................... ....................................................จนหมดสิ้นแล้ว ไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดที่จะแบ่งปันให้โจทก์อีกหาได้ไม่
วิธีการดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกตามฟ้องกันอย่างไรเป็นเรื่องของการบังคับคดี ไม่จำเป็นต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา.
จำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งจะต้องฟ้องเรียกเสียภายในห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1733 วรรคสอง การที่จำเลยระบุว่าโจทก์ฟ้องคดีเกินหนึ่งปีคดีจึงขาดอายุความนั้น ถือได้ว่าอายุความที่จำเลยอ้างถึงคืออายุความตา:มมาตรา 1755 มิใช่มาตรา 1733 วรรคสอง จึงมีประเด็นวินิจฉัยเฉพาะอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 เพียงอย่างเดียวที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 1733วรรคสอง และพิพากษายกฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่:ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4291/2529)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหลายเท่านั้น จำเลยไม่อาจจะยกอายุความมรดกตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
ผู้ตายและ ล. เป็นสามีภริยากันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิมใช้บังคับ โดยไม่มีสินเดิมทั้งสองฝ่าย ผู้ตายจึงมีส่วนในสินสมรสสองในสามส่วนซึ่งตกเป็นมรดกแก่ทายาท
โจทก์เป็นทายาทและมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้ทายาทอื่นโดยไม่แบ่งปันให้โจทก์ตามส่วน เป็นการแบ่งปันที่มิชอบด้วยกฎหมายโจทก์ชอบที่จะขอให้แบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายใหม่ได้ จำเลยจะอ้างว่าได้แบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้ทายาทอื่น..................... ....................................................จนหมดสิ้นแล้ว ไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดที่จะแบ่งปันให้โจทก์อีกหาได้ไม่
วิธีการดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกตามฟ้องกันอย่างไรเป็นเรื่องของการบังคับคดี ไม่จำเป็นต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่แบ่งทรัพย์ให้ทายาทตามส่วน การวินิจฉัยอายุความของผู้จัดการมรดก
โจทก์ฟ้องกองมรดกของผู้ตายโดย นายส.นายอ.นายช.ผู้จัดการมรดกและบรรยายฟ้องว่า ศาลแต่งตั้งให้บุคคลทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโจทก์ทวงถามให้แบ่งมรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์แต่จำเลยไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องบุคคลทั้งสามดังกล่าวในฐานะผู้จัดการมรดก ศาลย่อมบังคับให้ได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งจะต้องฟ้องเรียกเสียภายในห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1733 วรรคสอง การที่จำเลยระบุว่าโจทก์ฟ้องคดีเกินหนึ่งปีคดีจึงขาดอายุความนั้น ถือได้ว่าอายุความที่จำเลยอ้างถึงคืออายุความตา:มมาตรา 1755 มิใช่มาตรา 1733 วรรคสอง จึงมีประเด็นวินิจฉัยเฉพาะอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 เพียงอย่างเดียวที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 1733วรรคสอง และพิพากษายกฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่:ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4291/2529) โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหลายเท่านั้น จำเลยไม่อาจจะยกอายุความมรดกตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ผู้ตายและ ล. เป็นสามีภริยากันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิมใช้บังคับ โดยไม่มีสินเดิมทั้งสองฝ่าย ผู้ตายจึงมีส่วนในสินสมรสสองในสามส่วนซึ่งตกเป็นมรดกแก่ทายาท โจทก์เป็นทายาทและมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้ทายาทอื่นโดยไม่แบ่งปันให้โจทก์ตามส่วน เป็นการแบ่งปันที่มิชอบด้วยกฎหมายโจทก์ชอบที่จะขอให้แบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายใหม่ได้ จำเลยจะอ้างว่าได้แบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้ทายาทอื่น..................... ....................................................จนหมดสิ้นแล้ว ไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดที่จะแบ่งปันให้โจทก์อีกหาได้ไม่ วิธีการดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกตามฟ้องกันอย่างไรเป็นเรื่องของการบังคับคดี ไม่จำเป็นต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ผลของการบังคับตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระเงินค่าสินค้า 429,377 บาทแก่โจทก์ และให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยตามฟ้องแย้งเป็นเงินประมาณ 430,000บาท แต่เมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้วโจทก์จำเลยต่างไม่มีหนี้ต่อกันพิพากษายกฟ้องและยกฟ้องแย้ง คดีมีปัญหาในชั้นอุทธรณ์เฉพาะค่าสินค้าตามฟ้อง ส่วนค่าเสียหายตามฟ้องแย้งไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยจะต้องรับผิดในค่าสินค้าต่อโจทก์เป็นเงิน353,877.44 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องศาลฎีกาพิพากษายืน ดังนี้ หนี้จำนวน 430,000 บาท ที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเกิดขึ้นตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยจึงมีสิทธิขอหักกลบลบหนี้อันเป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นหนี้ของตนในส่วนที่ต้องชำระให้โจทก์เท่าที่หักกลบลบหนีกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 ได้ตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา หาใช่ตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ซึ่งเมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ ศาลชั้นต้นจึงต้องออกคำบังคับให้จำเลยชำระหนี้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ตามคำพิพากษาศาล: จุดเริ่มต้นของหนี้และการบังคับคดี
ศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระเงินค่าสินค้า 429,377 บาทแก่โจทก์ และให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยตามฟ้องแย้งเป็นเงินประมาณ 430,000 บาท แต่เมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้วโจทก์จำเลยต่างไม่มีหนี้ต่อกันพิพากษายกฟ้องและยกฟ้องแย้ง คดีมีปัญหาในชั้นอุทธรณ์เฉพาะค่าสินค้าตามฟ้อง ส่วนค่าเสียหายตามฟ้องแย้งไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยจะต้องรับผิดในค่าสินค้าต่อโจทก์เป็นเงิน 353,877.44 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องศาลฎีกาพิพากษายืน ดังนี้ หนี้จำนวน 430,000 บาท ที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเกิดขึ้นตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยจึงมีสิทธิขอหักกลบลบหนี้อันเป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นหนี้ของตนในส่วนที่ต้องชำระให้โจทก์เท่าที่หักกลบลบหนีกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 ได้ตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา หาใช่ตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ซึ่งเมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ ศาลชั้นต้นจึงต้องออกคำบังคับให้จำเลยชำระหนี้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดกบังคับคดีหลังผู้ชนะคดีเสียชีวิต และขอบเขตการบังคับคดีที่ดินแปลงย่อย
ศาลฎีกาพิพาากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ต่อมาโจทก์ถึงแก่ความตามยแม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ไม่ได้ขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ผู้ร้องก็ย่อมมีสิทธิขอดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ เพราะกรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42
ศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนเนื่อที่ 200 ตารางวาในที่ดินโฉนดเลขที่ 1884 แก่โจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ ออกจำหน่ายก่อนแล้ว ในที่ดินจำนวนนี้ศาลชั้นต้นได้สั่งอายัดไว้ 4 แปลงสำหรับคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ายังมีที่ดินส่วนอื่นนอกจากที่ดิน 4 แปลงดังกล่าว ทั้งจำเลยก็ไม่ได้เสนอที่ดินส่วนอื่นให้โจทก์ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยโอนที่ดิน 4แปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องได้ ไม่เป็นการร้องขอให้โอนที่ดินแปลงอื่นนอกจากที่กล่าวในคำพิพากษาและคำบังคับทั้งไม่เป็นการพิพากษาและบังคับคดีนอกไปจากคำฟ้อง.
ศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนเนื่อที่ 200 ตารางวาในที่ดินโฉนดเลขที่ 1884 แก่โจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ ออกจำหน่ายก่อนแล้ว ในที่ดินจำนวนนี้ศาลชั้นต้นได้สั่งอายัดไว้ 4 แปลงสำหรับคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ายังมีที่ดินส่วนอื่นนอกจากที่ดิน 4 แปลงดังกล่าว ทั้งจำเลยก็ไม่ได้เสนอที่ดินส่วนอื่นให้โจทก์ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยโอนที่ดิน 4แปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องได้ ไม่เป็นการร้องขอให้โอนที่ดินแปลงอื่นนอกจากที่กล่าวในคำพิพากษาและคำบังคับทั้งไม่เป็นการพิพากษาและบังคับคดีนอกไปจากคำฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดกบังคับคดีหลังผู้ชนะคดีถึงแก่ความตาย และการบังคับคดีเฉพาะที่ดินที่ถูกอายัด
ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ต่อมาโจทก์ถึงแก่ความตายแม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ไม่ได้ขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ผู้ร้องก็ย่อมมีสิทธิขอดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้เพราะกรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนเนื้อที่ 200 ตารางวาในที่ดินโฉนดเลขที่ 1884 แก่โจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆออกจำหน่ายก่อนแล้ว ในที่ดินจำนวนนี้ศาลชั้นต้นได้สั่งอายัดไว้ 4 แปลงสำหรับคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ายังมีที่ดินส่วนอื่นนอกจากที่ดิน 4 แปลงดังกล่าว ทั้งจำเลยก็ไม่ได้เสนอที่ดินส่วนอื่นให้โจทก์ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยโอนที่ดิน 4 แปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องได้ ไม่เป็นการร้องขอให้โอนที่ดินแปลงอื่นนอกจากที่กล่าวในคำพิพากษาและคำบังคับ ทั้งไม่เป็นการพิพากษาและบังคับคดีนอกไปจากคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหลังผู้ชนะคดีเสียชีวิต ผู้จัดการมรดกมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเดิมได้ แม้จะมีการแบ่งแยกที่ดิน
ศาลฎีกาพิพาากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ต่อมาโจทก์ถึงแก่ความตามยแม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ไม่ได้ขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ผู้ร้องก็ย่อมมีสิทธิขอดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ เพราะกรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42
ศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนเนื้อที่ 200 ตารางวาในที่ดินโฉนดเลขที่ 1884 แก่โจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ ออกจำหน่ายก่อนแล้ว ในที่ดินจำนวนนี้ศาลชั้นต้นได้สั่งอายัดไว้ 4 แปลงสำหรับคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ายังมีที่ดินส่วนอื่นนอกจากที่ดิน 4 แปลงดังกล่าว ทั้งจำเลยก็ไม่ได้เสนอที่ดินส่วนอื่นให้โจทก์ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยโอนที่ดิน 4 แปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องได้ ไม่เป็นการร้องขอให้โอนที่ดินแปลงอื่นนอกจากที่กล่าวในคำพิพากษาและคำบังคับทั้งไม่เป็นการพิพากษาและบังคับคดีนอกไปจากคำฟ้อง.
ศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนเนื้อที่ 200 ตารางวาในที่ดินโฉนดเลขที่ 1884 แก่โจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ ออกจำหน่ายก่อนแล้ว ในที่ดินจำนวนนี้ศาลชั้นต้นได้สั่งอายัดไว้ 4 แปลงสำหรับคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ายังมีที่ดินส่วนอื่นนอกจากที่ดิน 4 แปลงดังกล่าว ทั้งจำเลยก็ไม่ได้เสนอที่ดินส่วนอื่นให้โจทก์ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยโอนที่ดิน 4 แปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องได้ ไม่เป็นการร้องขอให้โอนที่ดินแปลงอื่นนอกจากที่กล่าวในคำพิพากษาและคำบังคับทั้งไม่เป็นการพิพากษาและบังคับคดีนอกไปจากคำฟ้อง.