พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: จำเลยเป็นผู้ขนส่งจริงหรือไม่
จำเลยตกลงรับขนสินค้าและเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่บริษัท บ. ใบจองระวางเรือก็ปรากฏว่าเป็นแบบฟอร์มที่จำเลยจัดเตรียมให้แก่ผู้ส่ง โดยข้อตกลงในเรื่องการชำระค่าระวางที่กำหนดไว้ในใบตราส่งระบุว่า Freight prepaid แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้รับบำเหน็จค่าระวางเรืออันเนื่องมาจากการขนส่งสินค้านี้แล้ว นอกจากนี้จำเลยยังเป็นนิติบุคคลอันมีวัตถุประสงค์คือประกอบกิจการรับขนส่งสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในการที่จำเลยทำสัญญากับบริษัท บ. จำเลยก็ไม่ได้มีการแจ้งหรือสำแดงไว้แต่ประการใดว่าจำเลยเป็นตัวแทนของผู้ขนส่งรายใด ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่ง ตามคำนิยามคำว่า "ผู้ขนส่ง" ในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างผู้ประกอบการค้า/อุตสาหกรรม: 5 ปี หากมิใช่กิจการของลูกหนี้
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้จัดหาอุปกรณ์สำหรับปรับปรุงคุณภาพน้ำในระบบหล่อเย็นของบริษัท บ. เพื่อที่จำเลยจะจัดส่งให้แก่บริษัท บ. ที่ตกลงซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับปรับปรุงคุณภาพน้ำในระบบหล่อเย็นจากจำเลยเพื่อใช้ในโรงงานของบริษัทดังกล่าว โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ โจทก์ส่งมอบอุปกรณ์ตามสัญญาครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยยังคงค้างชำระหนี้แก่โจทก์อยู่อีกบางส่วน โจทก์จึงนำมาฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ส่วนที่ค้างชำระตามสัญญา ย่อมถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าของที่ส่งมอบและ/หรือค่าการงานที่ได้ทำ อีกทั้งการที่จำเลยนำอุปกรณ์ที่โจทก์ส่งมอบไปขายต่อให้แก่บริษัท บ. ถือได้ว่าจำเลยซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ จากโจทก์เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจของจำเลยอีกต่อหนึ่ง มิได้เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงเป็นกรณีตกอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี มิใช่อายุความ 2 ปีตามมาตรา 193/34 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้แทน: การฟ้องผู้แทนต้องระบุฐานความรับผิดให้ชัดเจน หากมิได้ระบุฐานตัวการ ผู้แทนไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นผู้ขนส่งซึ่งมีบริษัท ท. เป็นตัวแทน โจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นตัวแทนทำสัญญารับขนของทะเลกับโจทก์แทนบริษัท ท. ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศอันจะทำให้จำเลยต้องรับผิดแต่ลำพังตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 กรณีจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยต้องรับผิดตามบทบัญญัติมาตรา 824 ได้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: กรณีพฤติการณ์พิเศษและการแก้ไขข้อบกพร่องการแต่งตั้งทนาย
ส. ทนายจำเลยเคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น 2 ครั้ง ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตทั้งสองครั้งมาแล้ว ต่อมาเมื่อ ส. ต้องไปปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จึงมอบหมายให้ ท. เป็นทนายว่าความแทนจำนวนหลายคดี จำเลยเคยไปพบ ท. เพื่อปรึกษาคดี 2 ครั้ง โดย ท. เข้าใจผิดว่าได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความของจำเลยแล้ว แสดงว่าจำเลยมีเจตนาแต่งตั้ง ท. เป็นทนายความของจำเลยมาตั้งแต่ก่อนหน้า ท. ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ต่อมาจำเลยยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่ให้ ท. เป็นทนายความของจำเลย และศาลชั้นต้นได้รับใบแต่งทนายความฉบับใหม่ไว้แล้ว ถือว่าจำเลยได้แก้ไขข้อบกพร่องที่ไม่ถูกต้องนั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีผิดสัญญาหมั้นและการวินิจฉัยอำนาจระหว่างศาลแพ่งกับศาลเยาวชนและครอบครัว
ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผิดสัญญาหมั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฟ้องโจทก์จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ขอให้ศาลวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมาย ดังนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 12 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และเมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป เมื่อประธานศาลฎีกาได้วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวแล้ว หากคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น (ศาลแพ่งกรุงเทพใต้) ก็ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 แต่ถ้าคดีอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นก็ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีผิดสัญญาหมั้น - ศาลชั้นต้นต้องส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยก่อนพิพากษา
ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นจำเลยยื่นคำร้องว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผิดสัญญาหมั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฟ้องโจทก์จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 12 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาให้ส่งสำนวนไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีหมั้นและการส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาชี้ขาด
ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น (ศาลแพ่งกรุงเทพใต้) จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผิดสัญญาหมั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ฟ้องโจทก์จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ขอให้ศาลวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมาย ดังนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 12 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้และเมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป เมื่อประธานศาลฎีกาได้วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวแล้ว หากคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น (ศาลแพ่งกรุงเทพใต้) ก็ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 15 แต่ถ้าคดีอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นก็ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3245/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ต้องมีมูลความผิดฐานจำหน่ายหรือครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น
โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและเสพเมทแอมเฟตามีน แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำเลยข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและเสพเมทแอมเฟตามีน ยกฟ้องข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายคดีถึงที่สุด โดยที่ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 3 ให้บทนิยามคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด และให้หมายความรวมถึงการสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย" มาตรา 27 วรรคหนึ่ง "...เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ก็ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้น..." และมาตรา 29 วรรคหนึ่ง "บรรดาทรัพย์สินซึ่งพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง นั้น ให้ศาลไต่ส่วนหากคดีมีมูลว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้ศาลริบทรัพย์สินนั้น..." การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและเสพเมทแอมเฟตามีน จึงมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ ในอันที่จะขอให้ริบเงิน 130,000 บาท ของกลาง ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ริบเงิน 130,000 บาท ของกลางให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 29, 31 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่ไม่ให้เลื่อนคดีและการไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องโต้แย้งทันทีจึงจะอุทธรณ์ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ และจำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องแย้งโดยขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เมื่อถึงวันนัดไต่สวน ทนายจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการไต่สวน กับมีคำสั่งยกคำร้องขอฟ้องแย้งอย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ดังนี้คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองเลื่อนคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาหากจำเลยทั้งสองไม่เห็นด้วย และประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในภายหลัง จำเลยทั้งสองจะต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามความใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) คดีนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2546 ว่าไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองเลื่อนการไต่สวน และนัดฟังคำสั่งสำหรับคำร้องของโจทก์ในวันที่ 26 สิงหาคม 2546 โดยผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว ดังนั้น ในช่วงเวลาก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะอ่านคำสั่ง จำเลยทั้งสองย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านไว้ แต่ก็หาได้มีการโต้แย้งคัดค้านไม่ จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โดยถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมาไต่สวน เท่ากับได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคำร้องของจำเลยที่ 1 แล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่คนอนาถา ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า คดีนี้แม้จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดแล้ว แต่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดีแต่เพียงประเด็นเดียว โดยมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนอนาถา คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงเป็นอันยุติ
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โดยถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมาไต่สวน เท่ากับได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคำร้องของจำเลยที่ 1 แล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่คนอนาถา ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า คดีนี้แม้จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดแล้ว แต่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดีแต่เพียงประเด็นเดียว โดยมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนอนาถา คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงเป็นอันยุติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและการยกคำร้องคนอนาถาเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา อุทธรณ์ต้องโต้แย้งทันที
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนัดไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของโจทก์และคำร้องขอฟ้องแย้งอย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 22 สิงหาคม 2546 เมื่อถึงวันนัดจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดี ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีกับมีคำสั่งยกคำร้องขอฟ้องแย้งอนาถาของจำเลยที่ 1 และนัดฟังคำสั่งสำหรับคำร้องของโจทก์ในวันที่ 26 สิงหาคม 2546 โดยผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อรับทราบนัดแล้ว เมื่อถึงวันนัดศาลมีคำสั่งอนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของโจทก์ คำสั่งของศาลที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองเลื่อนคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นระหว่างพิจารณา หากจำเลยทั้งสองไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลังจำเลยทั้งสองจะต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ซึ่งในช่วงก่อนถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2546 ที่ศาลจะอ่านคำสั่ง จำเลยทั้งสองย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีได้
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนัดไต่สวนคำร้องขอฟ้องแย้งอนาถาของจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดี ศาลไม่ให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมาไต่สวน จึงไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เท่ากับวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคำร้องของจำเลยที่ 1 แล้วว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คนอนาถา จะใช้สิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย แม้จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดแล้ว แต่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดีเพียงประเด็นเดียว โดยมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนอนาถา คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงเป็นอันยุติแล้ว
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนัดไต่สวนคำร้องขอฟ้องแย้งอนาถาของจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดี ศาลไม่ให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมาไต่สวน จึงไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เท่ากับวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคำร้องของจำเลยที่ 1 แล้วว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คนอนาถา จะใช้สิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย แม้จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดแล้ว แต่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดีเพียงประเด็นเดียว โดยมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนอนาถา คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงเป็นอันยุติแล้ว