คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระศักดิ์ รุ่งรัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าเดิมที่สืบทอดทางครอบครัว ไม่ถือเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
เครื่องหมายการค้า ที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรของโจทก์ร่วมกับเครื่องหมายการค้ารูปวัวแดง 2 ตัวชนกัน คือ เครื่องหมายการค้า ที่ถุงพลาสติกบรรจุยาฉุนที่จำเลยขายให้แก่ ร. และ จ. มีสาระลำคัญและลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าอยู่ที่คำว่า "ยี่ห้อกีเส็ง" และคำว่า "ตราวัวชนกัน" กันรูปวัว 2 ตัว ชนกันเหมือนกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองได้ใช้กับสินค้ายาฉุนซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกันแล้วย่อมเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองนั้นคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าและแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เมื่อฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร โจทก์และโจทก์ร่วมจึงต้องมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำความผิด แต่โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีพยานหลักฐานใดมาพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานนี้
การที่จำเลยจำหน่ายยาเส้นภายใต้เครื่องหมายการค้ารูปวัว 2 ตัวชนกัน คือเครื่องหมายการค้า เป็นการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า ซึ่งปู่จำเลยเป็นผู้คิดขึ้นและใช้กับตัวสินค้ายาเส้นมาตั้งแต่ปี 2490 ก่อนที่โจทก์ร่วมจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2536 ถึงประมาณ 46 ปี และเป็นการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้า ที่บิดาจำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของปู่จำเลยได้รับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้น และไม่ปรากฏว่าบิดาจำเลยและ ส. ป้าจำเลยทายาทอีกคนหนึ่งได้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแต่อย่างใด การที่จำเลยจำหน่ายยาเส้นภายใต้เครื่องหมายการค้า จึงมิใช่การจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้า ของโจกท์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 109

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ไม่ถือเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว
การที่จำเลยจำหน่ายยาเส้นภายใต้เครื่องหมายการค้ารูปวัวแดง 2 ตัวชนกันเป็นการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าซึ่งปู่จำเลยเป็นผู้คิดขึ้นและใช้มาก่อนที่โจทก์ร่วมจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนถึงประมาณ 46 ปี และเป็นการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่บิดาจำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของปู่จำเลยได้รับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ปรากฏว่าบิดาจำเลยและป้าจำเลยซึ่งเป็นทายาทอีกคนหนึ่งได้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแต่อย่างใด การที่จำเลยจำหน่ายยาเส้นภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 109 ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเบี้ยประกันภัย: พิจารณาแยกตามประเภทรถยนต์ที่ทำสัญญา
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยนำสืบว่ามีการทำสัญญาประกันภัยและระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นวันที่ 31 กรกฎาคม 2539 จำเลยไม่ได้นำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่น ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากจำเลยผู้เอาประกันภัย ภายในกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับแต่มีการทำสัญญาประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนการครอบครองที่ดินและบ้านแม้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ และสิทธิการเช่าที่เกิดขึ้นภายหลัง ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่บ้านดังกล่าวปลูกสร้างอยู่บนที่ดินราชพัสดุซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลัง ฉะนั้น จำเลยจึงเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินและบ้านที่ปลูกสร้างอยู่เท่านั้น เมื่อจำเลยทำสัญญาขายที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่โจทก์ และส่งมอบการครอบครองที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์โดยรับค่าตอบแทนจากโจทก์ไป จึงฟังได้ว่าจำเลยสละการครอบครองที่ดินและบ้านดังกล่าวโดยโอนการครอบครองให้แก่โจทก์ไปแล้วตามมาตรา 1377 และมาตรา 1378 ทั้งจำเลยยังยอมรับสิทธิของโจทก์โดยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ไว้ เป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยยึดถือครอบครองที่ดินและบ้านแทนโจทก์ เมื่อจำเลยผิดสัญญาเช่าและโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในที่ดินและบ้านอีกต่อไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนการครอบครองที่ดินราชพัสดุ แม้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ สิทธิการครอบครองยังคงมีผลบังคับ
สัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่บ้านพิพาทปลูกสร้างอยู่บนที่ดินราชพัสดุซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลัง จำเลยทั้งสองจึงเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองทำสัญญาขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่โจทก์ โดยได้รับค่าตอบแทนจากโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้สละการครอบครองที่ดินและบ้านดังกล่าวโดยโอนการครอบครองให้แก่โจทก์แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และมาตรา 1378 จำเลยทั้งสองยังยอมรับสิทธิของโจทก์โดยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ไว้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินและบ้านแทนโจทก์โดยอาศัยสิทธิสัญญาเช่าที่ทำไว้กับโจทก์ เท่ากับยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิในที่ดินและบ้านดีกว่าจำเลยทั้งสอง เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าและโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยทั้งสองอยู่ในที่ดินและบ้านอีกต่อไป จำเลยทั้งสองจึงต้องออกไป โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีแสตมป์ยาสูบปลอมเพื่อขาย: ศาลฎีกาตัดสินประเด็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาสูบฯ และการตีความเจตนา
พ.ร.บ. ยาสูบฯ มาตรา 43 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งแสตมป์ยาสูบปลอมหรือใช้แล้วเพื่อขายหรือเพื่อนำออกใช้โดยรู้ว่าเป็นแสตมป์ยาสูบปลอมหรือใช้แล้ว เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายอย่างอื่นที่ใช้แทนแสตมป์ยาสูบตามคำฟ้อง อันถือว่าเป็นแสตมป์ยาสูบตามบทนิยามในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ยาสูบฯ นั้น มีผู้อื่นทำปลอมขึ้นและได้ถูกนำมาใช้ปิดอยู่บนซองบรรจุของกลางแต่ละซองแล้ว โดยจำเลยมียาสูบของกลางแต่ละซองไว้เพื่อขาย ซึ่งในการขายยาสูบของกลางแต่ละซองแม้จะมีแสตมป์ยาสูบปลอมปิดอยู่บนซองบรรจุยาสูบด้วยก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะมีแสตมป์ยาสูบปลอมดวงนั้นๆ ไว้เพื่อขายหรือเพื่อนำออกใช้ตามความหมายในมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ. ยาสูบฯ เพราะบทมาตราดังกล่าว มุ่งประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดที่มีแสตมป์ยาสูบปลอมไว้ในครอบครองเพื่อขายหรือเพื่อนำออกใช้เท่านั้น หาได้ประสงค์ที่จะลงโทษผู้ที่มียาสูบซึ่งมีผู้อื่นทำปลอมแสตมป์ยาสูบนั้นแล้วนำมาปิดแสดงอยู่บนซองยาสูบดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12595/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: เริ่มนับเมื่อรู้เหตุละเมิดและตัวผู้ต้องชดใช้ค่าเสียหาย แม้การละเมิดสิ้นสุดลงแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดจากการที่จำเลยขออายัดที่ดินของโจทก์ไว้ มูลละเมิดจึงเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ขออายัดที่ดินโจทก์ไว้เท่านั้น หาใช่การกระทำโดยละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันตลอดมาจนถึงวันที่จำเลยถอนอายัดไม่ ฟ้องโจทก์จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ไม่สามารถขายที่ดินได้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2537 ย่อมแสดงว่าโจทก์รู้เหตุละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่นั้น โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกำหนด 1 ปี คดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อและการแบ่งความรับผิดในอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อฝ่ายโจทก์ประมาทมากกว่าจำเลย สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายย่อมตกไป
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีส่วนประมาท การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมากน้อยเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นฝ่ายประมาทมากกว่าจำเลยที่ 1 โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผิดมากกว่าก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายผิดน้อยกว่าให้รับผิดในความเสียหายของโจทก์ได้ จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับจึงไม่ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิด: การประเมินความประมาทและสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเมื่อทั้งสองฝ่ายประมาท
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีส่วนประมาท การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมากน้อยเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นฝ่ายประมาทมากกว่าจำเลยที่ 1 โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผิดมากกว่าก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายผิดน้อยกว่าให้รับผิดในความเสียหายของโจทก์ได้ จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับจึงไม่ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8609/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะจำเลยและบทลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด: สมาชิกสภาท้องถิ่น vs พนักงานองค์การ
จำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกษม หาใช่พนักงานองค์การตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 100 ไม่ หากแต่จำเลยที่ 1 มีสถานะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น อันต้องด้วยบทบัญญัติในมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นสามเท่าตามมาตรา 100 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ แต่ยังคงปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นสามเท่าตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ จึงชอบแล้ว
of 49