พบผลลัพธ์ทั้งหมด 557 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10731/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี เริ่มนับจากวันมีคำพิพากษา ไม่ใช่เมื่อคดีถึงที่สุด
ในคดีแพ่งนั้น เมื่อศาลมีคำพิพากษาและคำพิพากษาก่อให้เกิดหนี้ตามคำพิพากษา ศาลจะต้องออกคำบังคับซึ่งก็คือคำสั่งแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา กำหนดวิธีที่จะปฏิบัติ ระยะเวลาและเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่จำเป็น กับกำหนดวิธีบังคับ ตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 272 โดยหากคู่ความฝ่ายที่ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ในศาลในเวลาที่ศาลได้มีคำพิพากษา ศาลมีอำนาจออกคำบังคับและให้คู่ความฝ่ายลูกหนี้ตามคำพิพากษาลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยขาดนัดให้จำเลยทั้งสองแพ้คดี ศาลชั้นต้นไม่อาจออกคำบังคับในวันมีคำพิพากษาได้ จึงเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ออกคำบังคับอันเป็นขั้นตอนตามกฎหมายก่อนที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี โดยส่งคำบังคับไปให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษายังภูมิลำเนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และเมื่อมีการดำเนินกระบวนพิจารณาจนครบกำหนดเวลาตามคำบังคับแล้ว หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี หากหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดี จากนั้นต้องดำเนินการให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี และแถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตลอดทั้งอายัดทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิได้รับจากบุคคลภายนอก ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาโดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษานั้นตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติในการร้องขอให้บังคับคดีไว้ จะเห็นได้ว่า หาได้บัญญัติให้ต้องเริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ ซึ่งสอดคล้องรองรับกับบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และมาตรา 231 วรรคหนึ่ง ที่ระบุให้คำพิพากษาผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษานับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษาถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี และแม้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิขอให้บังคับคดี เว้นแต่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นคำขอให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับและได้รับอนุญาตจากศาล ในกรณีนี้ระยะเวลาบังคับคดีภายในสิบปีต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยจำเลยขาดนัดเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ วันสุดท้ายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนในการขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาคือวันที่ 3 เมษายน 2553 ปรากฏว่า ผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 ล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้แล้ว จึงหามีเหตุให้ศาลชั้นต้นต้องออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองตามคำแถลงของผู้เข้าสวมสิทธิไม่ อุทธรณ์ของผู้เข้าสวมสิทธิที่อ้างว่า คดีนี้ศาลพิพากษาโดยจำเลยทั้งสองขาดนัด จำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ และผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับ คดีจึงยังไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบมาตรา 147 วรรคสอง นั้น ไม่เป็นเหตุให้ระยะเวลาในการร้องขอให้บังคับคดีตามที่มาตรา 271 บัญญัติไว้เปลี่ยนแปลงไป เพราะระยะเวลาสิบปีในการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา มิใช่จะต้องเริ่มนับแต่คดีถึงที่สุด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2558)
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยจำเลยขาดนัดเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ วันสุดท้ายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนในการขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาคือวันที่ 3 เมษายน 2553 ปรากฏว่า ผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 ล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้แล้ว จึงหามีเหตุให้ศาลชั้นต้นต้องออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองตามคำแถลงของผู้เข้าสวมสิทธิไม่ อุทธรณ์ของผู้เข้าสวมสิทธิที่อ้างว่า คดีนี้ศาลพิพากษาโดยจำเลยทั้งสองขาดนัด จำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ และผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับ คดีจึงยังไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบมาตรา 147 วรรคสอง นั้น ไม่เป็นเหตุให้ระยะเวลาในการร้องขอให้บังคับคดีตามที่มาตรา 271 บัญญัติไว้เปลี่ยนแปลงไป เพราะระยะเวลาสิบปีในการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา มิใช่จะต้องเริ่มนับแต่คดีถึงที่สุด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2558)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8746/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีแบ่งสินสมรส: ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษา ทำให้คำบังคับเดิมสิ้นผล จำเลยมีสิทธิขอออกคำบังคับใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งกรรมสิทธิ์รวมบ้าน 2 หลัง และรถยนต์ 1 คัน ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง หากแบ่งไม่ได้ให้นำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งปันกันคนละครึ่ง เป็นเรื่องการแบ่งสินสมรสเกี่ยวเนื่องกับสิทธิในครอบครัว โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์ไม่ดำเนินการขอออกคำบังคับ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความย่อมมีสิทธิร้องขอให้ออกคำบังคับได้
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การแบ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 คำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำบังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมเป็นอันสิ้นผลไปโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับใหม่ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไปได้ รวมถึงกรณีที่หากศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีเดิมและผลแห่งคำพิพากษาจำต้องมีการบังคับคดีให้แบ่งสินสมรสระหว่างกันอีก จำเลยที่ 1 หรือโจทก์ย่อมสิทธิขอออกคำบังคับใหม่เพื่อให้มีการบังคับคดีต่อไปได้
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การแบ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 คำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำบังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมเป็นอันสิ้นผลไปโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับใหม่ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไปได้ รวมถึงกรณีที่หากศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีเดิมและผลแห่งคำพิพากษาจำต้องมีการบังคับคดีให้แบ่งสินสมรสระหว่างกันอีก จำเลยที่ 1 หรือโจทก์ย่อมสิทธิขอออกคำบังคับใหม่เพื่อให้มีการบังคับคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8746/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่แก้คำพิพากษาเดิมต่อคำบังคับคดี และสิทธิในการขอออกคำบังคับใหม่หลังมีคำพิพากษาใหม่
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำบังคับตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นย่อมเป็นอันสิ้นผลไปโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับใหม่ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3229/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำบังคับและการบังคับคดี: คำบังคับที่ระบุในสำนวนและลงลายมือชื่อคู่ความแล้ว ถือเป็นการส่งคำบังคับโดยชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมได้อ่านคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับให้คู่ความฟังแล้ว จึงให้คู่ความลงลายมือชื่อไว้ที่หน้าสำนวน และที่หน้าสำนวนระบุข้อความของคำบังคับไว้ว่า ให้โจทก์และจำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มิฉะนั้นจะถูกบังคับคดีตามกฎหมาย โดยมีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นลงนามในฐานะเป็นผู้ออกคำบังคับ ข้อความที่ระบุไว้ที่หน้าสำนวนดังกล่าวถือได้ว่าเป็นคำบังคับแล้ว เมื่อโจทก์กับจำเลยได้ลงลายมือชื่อรับทราบคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับ ย่อมถือได้ว่ามีการส่งคำบังคับไปยังจำเลยแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องออกคำบังคับซ้ำอีก
โจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดี แม้ท้ายคำขอระบุยอดหนี้คำนวณถึงก่อนยื่นคำขอ 1 วัน ก็ไม่ถือว่าโจทก์ขอให้ออกหมายบังคับคดีผิดแผกแตกต่างไปจากคำพิพากษาตามยอม คำขอดังกล่าวชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 275
โจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดี แม้ท้ายคำขอระบุยอดหนี้คำนวณถึงก่อนยื่นคำขอ 1 วัน ก็ไม่ถือว่าโจทก์ขอให้ออกหมายบังคับคดีผิดแผกแตกต่างไปจากคำพิพากษาตามยอม คำขอดังกล่าวชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 275
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899-4901/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการบังคับให้ผู้ทำแผนคืนเงินค่าตอบแทนที่เบิกเกินจริงในคดีฟื้นฟูกิจการ
เมื่อ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในการกำกับตรวจสอบดูแลกระบวนพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการรวมทั้งให้ศาลมีอำนาจในการตั้งผู้ทำแผนและควบคุมดูแลการทำงานของผู้ทำแผนให้เป็นไปตามกฎหมาย และในการดำเนินการฟื้นฟูกิจการนั้น พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/25 ให้ผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ทำแผนดังกล่าวให้นำบทบัญญัติมาตรา 90/12 (9) มาใช้บังคับแก่ผู้ทำแผนโดยอนุโลมด้วย เช่นนี้หากผู้ทำแผนจะกระทำการจำหน่าย จ่าย โอน ชำระหนี้ ก่อหนี้ หรือกระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินนอกจากเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้แล้วจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการก่อน เมื่อการขอเบิกจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนในคดีนี้ปรากฏว่าผู้ทำแผนได้เบิกเงินเกินจำนวนที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวไปก่อนแล้ว ผู้ทำแผนจึงมีหน้าที่ต้องส่งคืนเงินส่วนที่เบิกเกินไปให้แก่ลูกหนี้ทั้งสาม และถือได้ว่าคำสั่งศาลดังกล่าวเป็นคำสั่งซึ่งจะต้องมีการบังคับคดีและศาลมีอำนาจออกคำบังคับให้ผู้ทำแผนปฏิบัติตามได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 272 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 และหากผู้ทำแผนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับดังกล่าว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียก็ย่อมขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899-4901/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้ทำแผนและหน้าที่คืนเงินค่าตอบแทนส่วนเกินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/25 โดยอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 90/12 (9) กล่าวคือหากผู้ทำแผนจะกระทำการจำหน่าย จ่าย โอนหรือชำระหนี้ ก่อหนี้หรือกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินนอกจากเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้แล้วจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการก่อน เมื่อการขอเบิกจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ลดจำนวนเงินที่ผู้ทำแผนมีสิทธิเบิกจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ลง แต่ผู้ทำแผนได้เบิกเงินเกินจำนวนที่ศาลมีคำสั่งไปก่อนแล้ว ผู้ทำแผนจึงมีหน้าที่ต้องส่งคืนเงินส่วนที่เบิกเกินไปให้แก่ลูกหนี้ และถือได้ว่าคำสั่งศาลดังกล่าวเป็นคำสั่งซึ่งจะต้องมีการบังคับคดีศาลจึงมีอำนาจออกคำบังคับให้ผู้ทำแผนปฏิบัติตามได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 272 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย มาตรา 14 หากผู้ทำแผนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับดังกล่าวผู้มีส่วนได้เสียก็ย่อมขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจขอเข้าบังคับคดีของผู้เสียหาย: คดีความผิดอื่นที่ไม่ใช่ความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43
ป.วิ.อ.มาตรา 50 บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหายตามมาตรา 43 และ 44 ให้ถือว่าผู้เสียหายนั้นเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น ผู้เสียหายที่จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตราดังกล่าวจะต้องเป็นผู้เสียหายเฉพาะในความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43 เท่านั้น อันได้แก่ คดีลักทรัพย์ ฯลฯ ผู้ร้องเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานรุกล้ำคลองชลประทานตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 ไม่ใช่ความผิดตามที่ระบุไว้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43 ไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 50 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจขอเข้าดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7289/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้นไม่มีส่วนได้เสียในคดีแรงงาน และไม่มีสิทธิขอทุเลาการบังคับคดี
โจทก์เป็นลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับจำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุด เป็นกรณีลูกจ้างฟ้องให้นายจ้างชำระเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 124 วรรคสาม และ ป.พ.พ. มาตรา 582 ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ผู้ร้องเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของจำเลย ไม่ใช่ผู้ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ไม่ใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลและไม่ได้เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยให้ทำการแทนจึงไม่ใช่นายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 ตามความหมายคำว่านายจ้าง (2) และไม่ใช่ผู้ตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานให้ จึงไม่ใช่นายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ผู้ร้องไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับโจทก์ ผลแห่งคดีมีเพียงว่านายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างหรือไม่เพียงใด เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชอบชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับ กำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชอบชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับ กำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7289/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้นไม่เป็นนายจ้างในคดีแรงงาน ไม่มีหน้าที่ชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จึงไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
โจทก์เป็นลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับจำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุด ผู้ร้องเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของจำเลย จึงไม่ใช่นายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 5 ตามความหมายคำว่า นายจ้าง (2) และ ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับ กำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้ และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับ กำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้ และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3002/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ: ศาลต้องออกคำบังคับเพื่อให้มีการส่งมอบทรัพย์สินให้แผ่นดิน
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เงินและ/หรือทรัพย์สินอื่นจำนวน 12,000,000 บาทของผู้คัดค้านซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน ผู้คัดค้านจึงหมดสิทธิที่จะยึดถือครอบครองเงินและ/หรือทรัพย์สินดังกล่าวไว้เป็นของตนอีกต่อไป ต้องส่งมอบให้แก่แผ่นดิน เมื่อผู้คัดค้านยังไม่ส่งมอบให้แก่แผ่นดินก็จำเป็นต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาโดยเป็นหน้าที่ของผู้ร้องจะต้องเป็นผู้ดำเนินการ เมื่อตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการฯ มิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าจะบังคับอย่างไรจึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 และ มาตรา 272 วรรคหนึ่ง
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านฟังแล้ว แต่ยังมิได้ออกคำบังคับกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขให้ผู้คัดค้านนำเงินดังกล่าวมาส่งมอบให้แก่แผ่นดิน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกคำบังคับและกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเพื่อให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 272 วรรคหนึ่ง
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านฟังแล้ว แต่ยังมิได้ออกคำบังคับกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขให้ผู้คัดค้านนำเงินดังกล่าวมาส่งมอบให้แก่แผ่นดิน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกคำบังคับและกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเพื่อให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 272 วรรคหนึ่ง