พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: ราคาขายทอดตลาดต่ำกว่าวงเงินจำนองและราคาประเมิน ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและชอบที่จะยกเลิกได้
ในการขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีควรตั้งราคาขายขั้นต่ำเท่ากับวงเงินจำนองพร้อมค่าอุปกรณ์ ถ้าจะขายราคาต่ำกว่านั้นควรให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองยินยอมหรือมีเหตุผลพิเศษเพื่อประโยชน์ของคู่ความ เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองให้ผู้ซื้อทรัพย์ ไปในราคาเพียง 205,000 บาท ต่ำกว่าวงเงินจำนองเมื่อ 5 ปีก่อน ถึง45,000 บาท ทั้งที่เพิ่งเป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก และไม่ ปรากฏเหตุผลพิเศษที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรีบด่วนขายไปใน ราคานี้ และได้ความต่อมาว่า หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนี้แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาด ใหม่มีผู้ซื้อได้โดยให้ราคาสูงสุดถึง 360,000 บาท ซึ่งสูงกว่า การ ขายทอดตลาดครั้งพิพาทถึง 155,000 บาท ยิ่งแสดงให้เห็นว่า ราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดให้ผู้ซื้อทรัพย์ไปนั้น ต่ำ เกิน ไปมาก ไม่ใช่ราคาที่พอสมควร ส่อให้เห็นวี่แวว อันไม่สุจริต ถือได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดฝ่าฝืนบทบัญญัติ ว่าด้วย การ บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง โจทก์จึงชอบ ที่จะขอให้ยกเลิกเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5242/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดบังคับคดี: ศาลอนุญาตขายตามขั้นตอนถูกต้อง แม้ไม่มีการนับหนึ่งถึงสามก่อนเคาะไม้
การขายทอดตลาดทรัพย์สินพิพาททุกครั้ง เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้เข้าประมูลสู้ราคาทราบก่อนขายทอดตลาดว่าเมื่อมีผู้ให้ราคาสูงสุดแล้วจะนับหนึ่งถึงสามก่อนเคาะไม้ตกลงขายแต่เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้วิธีเสนอให้ศาลชั้นต้นเป็นผู้อนุญาตให้ขาย เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขายจึงตกลงขายให้ หากศาลชั้นต้นไม่อนุญาตก็จะประกาศขายทอดตลาดใหม่ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขายทรัพย์สินพิพาทให้แก่โจทก์ผู้ให้ราคาสูงสุดแล้ว การขายทอดตลาดย่อมบริบูรณ์ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินพิพาท เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษา เมื่อมีผู้ให้ราคาสูงสุดก็ได้รายงานศาลเพื่อให้พิจารณาว่า สมควรขายให้แก่ผู้ให้ราคาสูงสุดหรือไม่ เมื่อไม่มีพฤติการณ์ส่อให้ศาลเห็นว่าการประมูลซื้อทรัพย์ที่ขายทอดตลาดรายนี้ เป็นการสมรู้กันกดราคาซื้อจึงมีคำสั่งอนุญาตขายให้แก่ผู้ให้ราคาสูงสุด ถือว่าการขายทอดตลาดเป็นอันสมบูรณ์แล้ว จำเลยที่ 2 จะมาขอให้ยกเลิกการขายและขายทอดตลาดใหม่ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ของผู้ซื้อรายใหม่ในคดีบังคับคดี: ผู้เสนอราคาใหม่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ยอมรับข้อเสนอ
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้มีการขายทอดตลาดใหม่ อ้างว่าคำสั่งให้ขายทรัพย์สินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างพิจารณาของศาลจำเลยนำ ป. ผู้ซื้อรายใหม่มาแถลงว่าจะขอสู้ราคาสูงกว่าที่ขายทอดตลาดได้ เพื่อเป็นประกันว่าจะเข้าสู้ราคา ป. จะจัดหาธนาคารมาค้ำประกัน ต่อมา ป.ไม่สามารถจัดหาธนาคารมาค้ำประกันได้ ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ จึงไม่มีการขายทอดตลาดใหม่ ป. ไม่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและไม่ใช่เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ขายทอดตลาดใหม่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ป.จึงไม่ถูกต้อง ไม่ก่อให้ ป. มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของ ป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4703/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแทรกแซงและปิดโอกาสให้สู้ราคา
ในการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ผู้คัดค้านประมูลให้ราคาสูงสุดเป็นเงินจำนวน 550,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทำการขายทอดตลาดได้นับสองและยุติการขายชั่วคราวเนื่องจากผู้แทนผู้ร้องคัดค้านว่าราคาต่ำไปและได้ทำบันทึกเสนอผู้อำนวยการกองผู้อำนวยการกองได้เรียกผู้แทนผู้ร้องและผู้คัดค้านเข้าไปพบในห้องทำงานให้ผู้คัดค้านเพิ่มราคา ผู้คัดค้านเพิ่มราคาอีก100,000 บาท เป็น 650,000 บาท เกินกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ ผู้อำนวยการกองจึงอนุมัติให้ขายทรัพย์แก่ผู้คัดค้านหลังจากนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทำการขายทอดตลาดออกจากห้องมาที่บริเวณขายทอดตลาดแสดงการตกลงด้วยการนับสามและเคาะไม้ขายทรัพย์พิพาทแก่ผู้คัดค้าน โดยมิได้เปิดโอกาสให้ผู้สู้ราคาอื่นประมูลราคาด้วยความยุติธรรมทุกฝ่าย ราคาสูงสุดที่ผู้คัดค้านประมูลได้โดยวิธีปกปิดบุคคลอื่นนั้นเป็นราคาที่ต่ำมาก เป็นการกระทำโดยรวบรัด และไม่มีบทกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติเช่นนั้นได้ การขายทอดตลาดไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 509 ถือไม่ได้ว่าเป็นการขายทอดตลาดโดยชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4703/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการโดยมิชอบและราคาต่ำเกินควร
ในการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ผู้คัดค้านประมูลให้ราคาสูงสุดเป็นเงินจำนวน550,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทำการขายทอดตลาดได้นับสองและยุติการขายชั่วคราวเนื่องจากผู้แทนผู้ร้องคัดค้านว่าราคาต่ำไปและได้ทำบันทึกเสนอผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการกองได้เรียกผู้แทนผู้ร้องและผู้คัดค้านเข้าไปพบในห้องทำงานให้ผู้คัดค้านเพิ่มราคา ผู้คัดค้านเพิ่มราคาอีก 100,000 บาทเป็น 650,000 บาท เกินกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ ผู้อำนวยการกองจึงอนุมัติให้ขายทรัพย์แก่ผู้คัดค้าน หลังจากนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทำการขายทอดตลาดออกจากห้องมาที่บริเวณขายทอดตลาดแสดงการตกลงด้วยการนับสามและเคาะไม้ขายทรัพย์พิพาทแก่ผู้คัดค้าน โดยมิได้เปิดโอกาสให้ผู้สู้ราคาอื่นประมูลราคาด้วยความยุติธรรมทุกฝ่าย ราคาสูงสุดที่ผู้คัดค้านประมูลได้โดยวิธีปกปิดบุคคลอื่นนั้นเป็นราคาที่ต่ำมาก เป็นการกระทำโดยรวบรัด และไม่มีบทกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติเช่นนั้นได้ การขายทอดตลาดไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรามาตรา 509 ถือไม่ได้ว่าเป็นการขายทอดตลาดโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376-2378/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจบอกเลิกสัญญาได้ หากสิทธิในสัญญามีภาระเกินกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ
การที่ผู้ร้องกับพวกทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างอาคารกับจำเลยที่ 1 ผู้ร้องกับพวกคงค้างชำระเงินตามสัญญาดังกล่าวเป็นเงิน 506,370 บาท จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้โอนที่ดินให้ผู้ร้องกับพวก แต่ กลับนำที่ดินตาม สัญญาดังกล่าวและที่ดินอื่นรวม 31 โฉนด ไปจำนองบริษัท ส. จำกัด ในวงเงิน8,000,000 บาท ต่อมาศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด บริษัท ส. จำกัด ยื่นขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน โดย ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดที่ดินที่จำนองและขอรับชำระหนี้สำหรับหนี้จำนวนที่ขาดจากยอดหนี้10,589,687.88 บาท ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 96(3) ดังนี้ เมื่อสิทธิตาม สัญญาที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเงินจากผู้ร้องกับพวกเป็นเงินจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับความยุ่งยากหรือภาระที่จะต้อง ปฏิบัติให้เป็นไปตาม สัญญา จึงเป็นกรณีที่สิทธิตาม สัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตาม สัญญานั้นโดย บอกเลิกสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องกับพวกได้ ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 122
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376-2378/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจบอกเลิกสัญญาซื้อขายได้ หากสิทธิที่จำเลยจะได้รับตามสัญญา มีภาระเกินกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ
การที่ผู้ร้องกับพวกทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างอาคารกับจำเลยที่ 1 ผู้ร้องกับพวกคงค้างชำระเงินตามสัญญาดังกล่าวเป็นเงิน 506,370 บาท จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้โอนที่ดินให้ผู้ร้องกับพวก แต่ กลับนำที่ดินตาม สัญญาดังกล่าวและที่ดินอื่นรวม 31 โฉนด ไปจำนองบริษัท ส. จำกัด ในวงเงิน8,000,000 บาท ต่อมาศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด บริษัท ส. จำกัด ยื่นขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน โดย ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดที่ดินที่จำนองและขอรับชำระหนี้สำหรับหนี้จำนวนที่ขาดจากยอดหนี้10,589,687.88 บาท ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 96(3) ดังนี้ เมื่อสิทธิตาม สัญญาที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเงินจากผู้ร้องกับพวกเป็นเงินจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับความยุ่งยากหรือภาระที่จะต้อง ปฏิบัติให้เป็นไปตาม สัญญา จึงเป็นกรณีที่สิทธิตาม สัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตาม สัญญานั้นโดย บอกเลิกสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องกับพวกได้ ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 122
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับคดีแพ่งแยกจากคดีอาญา: คำพิพากษาอาญาไม่อาจลบล้างผลบังคับคดีแพ่งได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ และดำเนินการเพื่อจะขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองในคดีแพ่งที่ถึงที่สุดแล้วนั้นเป็นกรณีปฏิบัติไปตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องการบังคับคดีตาม คำพิพากษาโดยชอบ ซึ่ง เป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง ส่วนคดีอาญาที่จำเลยทั้งสองฟ้องโจทก์นั้นเป็นเรื่องที่จะบังคับเกี่ยวกับตัว โจทก์ เป็นกรณีคนละเรื่องกันผลของคำพิพากษาในคดีอาญา ไม่อาจลบล้างคำพิพากษาในคดีแพ่งได้จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแพ่งถึงที่สุด ผลของคำพิพากษาคดีอาญาไม่อาจลบล้างได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ และดำเนินการเพื่อจะขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองในคดีแพ่งที่ถึงที่สุดแล้วนั้นเป็นกรณีปฏิบัติไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาโดยชอบ ซึ่งเป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง ส่วนคดีอาญาที่จำเลยทั้งสองฟ้องโจทก์นั้นเป็นเรื่องที่จะบังคับเกี่ยวกับตัวโจทก์ เป็นกรณีคนละเรื่องกันผลของคำพิพากษาในคดีอาญาไม่อาจลบล้างคำพิพากษาในคดีแพ่งได้จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี: การคัดค้านราคาต้องมีหลักฐานสนับสนุน
การที่จะอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยไม่ชอบนั้นจะต้อง ปรากฏว่าการขายทอดตลาดนั้นขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎกระทรวงที่ว่าด้วยเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สิน เมื่อผู้แทนโจทก์ค้านเฉพาะ ราคาทรัพย์สินพิพาทว่าผู้เข้าประมูลสู้ราคาประมูลราคาต่ำ ไป และโจทก์นำสืบแต่ เพียงว่าราคาประมูลต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กลางประเมินไว้โดย ไม่มีหลักฐานอื่นประกอบให้เห็นว่าราคาทรัพย์สินพิพาทที่แท้จริงควรจะเป็นจำนวนเท่าใด และในการขายทอดตลาดดังกล่าวไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าการประมูลซึ่งทรัพย์สินพิพาทที่ขายทอดตลาดเป็นการสมรู้กันกดราคาซื้อ หรือไม่สุจริต การขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทจึงชอบด้วย กฎหมาย.