พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14408/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ราคาเหมาะสม, การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี, และความเสียหาย
จำเลยที่ 5 ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเนื่องจากเห็นว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควรซึ่งเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในเรื่องราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดแล้วว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายที่ดินไปมีราคาเหมาะสมแล้วและไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาด ให้ยกคำร้องของจำเลยที่ 5 ซึ่งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวให้เป็นที่สุดตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ฎีกาของจำเลยที่ 5 ที่อ้างว่ายังมีเหตุจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบอีกจึงไม่เป็นสาระที่จะต้องวินิจฉัย
ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดี พ.ศ.2522 ข้อที่ 68 วรรคแรก กำหนดว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นที่ดิน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการปิดประกาศกำหนดวันขายทอดตลาดไว้ ณ ที่ตั้งของที่ดินที่จะทำการขายทอดตลาดนั้น และ ป.วิ.พ. มาตรา 306 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งแก่บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดทราบซึ่งคำสั่งของศาลให้ขายทอดตลาดและวันขายทอดตลาดนั้น ระเบียบของกระทรวงยุติธรรมดังกล่าวข้างต้นหาได้เป็นข้อกฎหมายไม่ แต่เป็นระเบียบที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจะให้บุคคลภายนอกที่สนใจมาประมูลซื้อทรัพย์ในการขายทอดตลาดเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ ณ ที่ดินที่ขายทอดตลาดจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบังคับคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่โจทก์แม้จะเป็นการไม่ชอบตามมาตรา 306 อันเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ 5 ที่อ้างเหตุดังกล่าวก็คงกล่าวอ้างแต่เพียงลอย ๆ ไม่ได้ระบุว่าจำเลยที่ 5 ต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าวอย่างไร จำเลยที่ 5 จึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดซึ่งเป็นวิธีการบังคับคดีตามมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบกับได้ความจากผู้รับมอบอำนาจโจทก์และผู้ดูแลการขายทอดตลาดของโจทก์คดีนี้ซึ่งมาเบิกความเป็นพยานจำเลยที่ 5 ว่า แม้ฝ่ายโจทก์จะเข้าดูแลการขายทอดตลาดในครั้งนี้ก็จะไม่คัดค้านราคาเนื่องจากขายได้ราคาสูงกว่าราคาที่ฝ่ายโจทก์ได้คัดค้านราคาไว้ในการขายทอดตลาดครั้งแรกจึงเป็นที่พอใจแก่ฝ่ายโจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่โจทก์แต่อย่างใด กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาด
ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดี พ.ศ.2522 ข้อที่ 68 วรรคแรก กำหนดว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นที่ดิน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการปิดประกาศกำหนดวันขายทอดตลาดไว้ ณ ที่ตั้งของที่ดินที่จะทำการขายทอดตลาดนั้น และ ป.วิ.พ. มาตรา 306 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งแก่บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดทราบซึ่งคำสั่งของศาลให้ขายทอดตลาดและวันขายทอดตลาดนั้น ระเบียบของกระทรวงยุติธรรมดังกล่าวข้างต้นหาได้เป็นข้อกฎหมายไม่ แต่เป็นระเบียบที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจะให้บุคคลภายนอกที่สนใจมาประมูลซื้อทรัพย์ในการขายทอดตลาดเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ ณ ที่ดินที่ขายทอดตลาดจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบังคับคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่โจทก์แม้จะเป็นการไม่ชอบตามมาตรา 306 อันเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ 5 ที่อ้างเหตุดังกล่าวก็คงกล่าวอ้างแต่เพียงลอย ๆ ไม่ได้ระบุว่าจำเลยที่ 5 ต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าวอย่างไร จำเลยที่ 5 จึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดซึ่งเป็นวิธีการบังคับคดีตามมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบกับได้ความจากผู้รับมอบอำนาจโจทก์และผู้ดูแลการขายทอดตลาดของโจทก์คดีนี้ซึ่งมาเบิกความเป็นพยานจำเลยที่ 5 ว่า แม้ฝ่ายโจทก์จะเข้าดูแลการขายทอดตลาดในครั้งนี้ก็จะไม่คัดค้านราคาเนื่องจากขายได้ราคาสูงกว่าราคาที่ฝ่ายโจทก์ได้คัดค้านราคาไว้ในการขายทอดตลาดครั้งแรกจึงเป็นที่พอใจแก่ฝ่ายโจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่โจทก์แต่อย่างใด กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14123/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการขายทอดตลาด: ศาลอุทธรณ์อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องกรรมสิทธิ์และเจ้าพนักงานบังคับคดีละเมิดกฎหมาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเพราะเหตุเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้แจ้งวันขายทอดตลาดทรัพย์ให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียทราบ ซึ่งผู้ร้องได้ยื่นคำฟ้องขอให้โจทก์และจำเลยคดีนี้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทในอีกคดีหนึ่งแล้ว ครั้นระหว่างการพิจารณาศาลอุทธรณ์ คดีดังกล่าวศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท ศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ย่อมมีอำนาจยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวซึ่งถึงที่สุด และเป็นข้อเท็จจริงที่ผูกพันคู่ความในคดีนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ ไม่ถือว่าเป็นพยานหลักฐานนอกสำนวน และปัญหาว่าการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ ซึ่งมิใช่ทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องจึงยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง กับทั้งเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ศาลอุทธรณ์มีอำนาจรับฟังข้อเท็จจริงตามสำเนาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทในอีกคดีหนึ่ง แล้วพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) กระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงชอบแล้ว นอกจากนี้ คดีนี้ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดมิใช่เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท ผู้ร้องจึงไม่ต้องเรียกผู้ซื้อทรัพย์เข้ามาเป็นคู่ความเพราะมิได้บังคับต่อบุคคลภายนอก คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7746/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายในการขายทอดตลาด แม้จะไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์เฉพาะเจาะจง
จำเลยที่ 1 ไม่นำสืบให้เห็นว่าตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ.2522 ซึ่งมิใช่กฎหมาย ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปิดประกาศขายทอดตลาดไว้อย่างไร ทั้ง ป.วิ.พ. มาตรา 306 กำหนดเพียงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ทราบซึ่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดแก่บรรดาบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาด เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศขายทอดตลาด ณ ที่ตั้งทรัพย์แล้ว ทั้งยังปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ที่สำนักงานของจำเลยที่ 1 ตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองแล้ว ดังนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงดำเนินการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12758/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินจำนองหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเจ้าหนี้มีประกัน & อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น แม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 110 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 112 ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วน แต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 110 วรรคท้าย
คดีนี้หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 แล้ว ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับทรัพย์จำนอง หรือมอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้แทน หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือสอบถามไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่ยึดไว้อันถือได้ว่าเป็นการกระทำแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย แต่กลับปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ต่อไปในวันที่ 8 มิถุนายน 2548 และเพิ่งมามีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2551 ว่าให้สอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลยในคดีนี้ ซึ่งเป็นการสอบถามภายหลังจากที่ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปแล้ว จึงมีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือถือได้ว่าได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ประกอบกับทรัพย์จำนองเป็นหลักประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เดิม แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์เดิมในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในการที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังที่ศาลล่างวินิจฉัย โจทก์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้ได้ โดยหาจำต้องไปยื่นคำร้องในคดีล้มละลายดังที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาไม่
คดีนี้หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 แล้ว ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับทรัพย์จำนอง หรือมอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้แทน หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือสอบถามไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่ยึดไว้อันถือได้ว่าเป็นการกระทำแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย แต่กลับปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ต่อไปในวันที่ 8 มิถุนายน 2548 และเพิ่งมามีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2551 ว่าให้สอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลยในคดีนี้ ซึ่งเป็นการสอบถามภายหลังจากที่ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปแล้ว จึงมีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือถือได้ว่าได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ประกอบกับทรัพย์จำนองเป็นหลักประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เดิม แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์เดิมในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในการที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังที่ศาลล่างวินิจฉัย โจทก์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้ได้ โดยหาจำต้องไปยื่นคำร้องในคดีล้มละลายดังที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8058/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประกาศขายทอดตลาดที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการเพิกถอนการขายทอดตลาด
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองนั้นศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้แจ้งให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียทราบถึงประกาศขายทอดตลาดในคดีนี้ จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้ปฏิบัติให้ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 306 มิได้พิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่เป็นที่สุดตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2850/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสีย, การส่งหมาย, ราคาขายทอดตลาด, และคำสั่งศาลถึงที่สุด
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 3 ซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนสิ้นเชิง แต่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดนั้นเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ไม่ได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้มีชื่อตามทะเบียนบ้านในทรัพย์สินที่ยึดดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่ยึดดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 306 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่จำต้องแจ้งการขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบก็ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าการขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าที่สมควร โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่กระทำการตรวจสอบให้รอบคอบก่อนเคาะไม้ขายทอดตลาดว่าราคาที่มีผู้เสนอสูงสุดนั้นเพียงพอแล้วหรือไม่ เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคท้าย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าการขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าที่สมควร โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่กระทำการตรวจสอบให้รอบคอบก่อนเคาะไม้ขายทอดตลาดว่าราคาที่มีผู้เสนอสูงสุดนั้นเพียงพอแล้วหรือไม่ เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7386/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประกาศขายทอดตลาดที่ดิน สินสมรส และผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี
เมื่อที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ปรากฏจากหลักฐานทางทะเบียนว่ามีชื่อจำเลยที่ 2 เท่านั้นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ไม่มีชื่อจำเลยที่ 1 ปรากฏอยู่ด้วย ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ด้วยกึ่งหนึ่งเนื่องจากเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่จะต้องแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งประกาศขายทอดตลาดแต่เฉพาะจำเลยที่ 2 ซึ่งมีชื่อตามทะเบียนในโฉนดที่ดินเพียงผู้เดียว จึงถือว่าได้แจ้งประกาศขายทอดตลาดชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 306 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7386/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประกาศขายทอดตลาดและการมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินบังคับคดี กรณีสินสมรส
ที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ปรากฏจากหลักฐานทางทะเบียนว่ามีชื่อจำเลยที่ 2 เท่านั้นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ไม่มีชื่อจำเลยที่ 1 ปรากฏอยู่ด้วย ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ด้วยกึ่งหนึ่ง เนื่องจากเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่จะต้องแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งประกาศขายทอดตลาดแต่เฉพาะจำเลยที่ 2 ซึ่งมีชื่อตามทะเบียนในโฉนดที่ดินเพียงผู้เดียว จึงถือว่าได้แจ้งประกาศขายทอดตลาดชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 306 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7386/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประกาศขายทอดตลาด: เจ้าของกรรมสิทธิ์ตามโฉนด และผู้มีส่วนได้เสียที่แจ้งให้ทราบ
ที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ปรากฏจากหลักฐานทางทะเบียนว่ามีชื่อจำเลยที่ 2 เท่านั้นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ไม่มีชื่อจำเลยที่ 1 ปรากฏอยู่ด้วย ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ด้วยกึ่งหนึ่งเนื่องจากเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่จะต้องแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งประกาศขายทอดตลาดแต่เฉพาะจำเลยที่ 2 ซึ่งมีชื่อตามทะเบียนในโฉนดที่ดินเพียงผู้เดียว จึงถือว่าได้แจ้งประกาศขายทอดตลาดชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 306 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7342/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งกำหนดนัดขายทอดตลาดให้ผู้มีส่วนได้เสียที่สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามกฎหมาย แม้ยังไม่มีคำสั่งศาล
พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 บัญญัติว่า "ในการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องร้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีในศาล ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ดังกล่าวเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน...และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องแล้ว ก็ให้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น" ดังนั้น เมื่อผู้ร้องที่ 1 ได้รับโอนสินทรัพย์มาจากโจทก์แล้ว ผู้ร้องที่ 1 ย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยผลของกฎหมาย แม้ผู้ร้องที่ 1 จะไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิต่อศาลชั้นต้น แต่ก็ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติกำหนดหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อได้รับคำสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ทราบซึ่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดแก่บรรดาบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์ที่จะขายทอดตลาดซึ่งทราบได้ตามทะเบียนหรือโดยประการอื่น เมื่อผู้ร้องที่ 1 รับซื้อสินทรัพย์มาแล้ว การขายทอดตลาดได้ราคาต่ำหรือสูงย่อมมีผลต่อการได้รับชำระหนี้ของผู้ร้องที่ 1 จึงเป็นสิทธิโดยชอบที่ผู้ร้องที่ 1 จะเข้ามาดูแลรักษาผลประโยชน์ของตนเองในวันขายทอดตลาด ถือว่าผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทราบถึงสิทธิของผู้ร้องที่ 1 แล้วก่อนวันขายทอดตลาดจึงเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งผู้มีส่วนได้เสียทุกคนรวมทั้งผู้ร้องที่ 1 ทราบ หาจำต้องรอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้สวมสิทธิหรือมีคำสั่งศาลแจ้งมาเสียก่อนไม่ เพราะกฎหมายบัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้แจ้งแก่ผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะทราบสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียจากทางทะเบียนหรือโดยประการอื่น กรณีไม่มีข้อยกเว้นตามกฎหมายไม่ต้องแจ้งกำหนดวันนัดขายทอดตลาดแก่ผู้ร้องที่ 1 ทราบ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่แจ้งวันนัดขายทอดตลาดแก่ผู้ร้องทั้งสองผู้ร้องทั้งสองย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินทั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามคำร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง จึงชอบที่ศาลจะต้องมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าว และให้ขายทอดตลาดใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติกำหนดหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อได้รับคำสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ทราบซึ่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดแก่บรรดาบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์ที่จะขายทอดตลาดซึ่งทราบได้ตามทะเบียนหรือโดยประการอื่น เมื่อผู้ร้องที่ 1 รับซื้อสินทรัพย์มาแล้ว การขายทอดตลาดได้ราคาต่ำหรือสูงย่อมมีผลต่อการได้รับชำระหนี้ของผู้ร้องที่ 1 จึงเป็นสิทธิโดยชอบที่ผู้ร้องที่ 1 จะเข้ามาดูแลรักษาผลประโยชน์ของตนเองในวันขายทอดตลาด ถือว่าผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทราบถึงสิทธิของผู้ร้องที่ 1 แล้วก่อนวันขายทอดตลาดจึงเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งผู้มีส่วนได้เสียทุกคนรวมทั้งผู้ร้องที่ 1 ทราบ หาจำต้องรอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้สวมสิทธิหรือมีคำสั่งศาลแจ้งมาเสียก่อนไม่ เพราะกฎหมายบัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้แจ้งแก่ผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะทราบสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียจากทางทะเบียนหรือโดยประการอื่น กรณีไม่มีข้อยกเว้นตามกฎหมายไม่ต้องแจ้งกำหนดวันนัดขายทอดตลาดแก่ผู้ร้องที่ 1 ทราบ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่แจ้งวันนัดขายทอดตลาดแก่ผู้ร้องทั้งสองผู้ร้องทั้งสองย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินทั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามคำร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง จึงชอบที่ศาลจะต้องมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าว และให้ขายทอดตลาดใหม่