พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการยกเลิกการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายและการแจ้งเจ้าหนี้
คดีล้มละลายเมื่อลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนได้มานั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจนำออกขายทอดตลาดได้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 123 โดยไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน จึงไม่เหมือนกับการบังคับคดีแพ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนั้นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6หมายถึงกระบวนพิจารณาที่กระทำต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยซึ่งถ้าส่วนใดที่พระราชบัญญัติล้มละลายมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ดังนี้เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการขายทอดตลาดทรัพย์ไม่ชอบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจสั่งให้ยกเลิกการขายเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ประกอบมาตรา 27 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคยส่งหมายนัดแจ้งวันขายทอดตลาดไปยังธนาคารเจ้าหนี้ผู้รับจำนำแล้ว แต่ธนาคารเจ้าหนี้ย้ายที่อยู่โดยไม่ทราบที่อยู่ใหม่ จึงประกาศแจ้งวันเวลาขายทอดตลาดทรัพย์ทางหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นการแจ้งวันขายทอดตลาดทรัพย์ให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนำทราบโดยชอบแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกเลิกการขายทอดตลาดจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3543/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี การแจ้งวันขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งผู้มีส่วนได้เสียเพื่อให้ทราบและใช้สิทธิ
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดไปโดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งของศาลที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดและวันขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 306 จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3543/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดให้จำเลยทราบ
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดไปโดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งของศาลที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดและวันขายทอดตลาดตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 306 จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2862/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว แม้ผู้ถูกบังคับคดีไม่ทราบประกาศขายทอดตลาด ก็ไม่มีสิทธิคัดค้านได้
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามคำสั่งศาลโดยผู้ซื้อได้วางเงินค่าซื้อต่อศาลในวันขายทอดตลาดและศาลได้มีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินให้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อ และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาได้รับเงินที่ผู้ซื้อวางไว้ต่อศาลไปหมดแล้ว การบังคับคดีเกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลยที่ 2 จึงเสร็จลงแล้ว จำเลยทั้งสองเพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านภายหลังจากนั้น แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ทราบประกาศขายทอดตลาดที่ดินอันเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 306 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำร้องคัดค้านก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการบังคับคดีดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการบังคับคดีที่เกินกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง แม้ไม่ทราบวันขายทอดตลาด ก็ต้องยื่นคัดค้านก่อนบังคับคดีเสร็จ
จำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง จำเลยต้องยื่นคำร้องคัดค้านก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันทราบการฝ่าฝืนนั้น แม้จะฟังได้ว่าจำเลยไม่ทราบวันขายทอดตลาดอันเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 306 ก็ตามแต่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านภายหลังจากการบังคับคดีได้เสร็จลงคำร้องของจำเลยจึงต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การคัดค้านการบังคับคดีต้องกระทำก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น มิฉะนั้นเป็นเหตุต้องห้าม
ตามคำร้อง ของ จำเลยอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งจำเลยต้องยื่นคัดค้านเสียก่อนที่การบังคับคดีได้เสร็จลงหรือภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการฝ่าฝืนนั้นแม้จำเลยจะไม่ทราบวันขายทอดตลาดอันเป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 306 ก็ตาม แต่จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านภายหลังจากที่การบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2146/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน การบังคับคดี และข้อตกลงเพิ่มเติม
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความเพียงว่า จำเลยยอมชำระหนี้จากกองมรดกของผู้ตายให้โจทก์ ถ้าผิดนัดให้โจทก์ยึดทรัพย์จำนองตามฟ้องและทรัพย์สินอื่นของผู้ตายขายทอดตลาดเอาเงินใช้หนี้โจทก์จนครบเท่านั้น จำเลยจะฎีกาว่า หลังจากเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์แล้ว โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบจำนวนหาได้ไม่ เพราะเป็นข้อตกลงที่มิได้มีในสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2027/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งขายทอดตลาดที่มิชอบ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งตามภูมิลำเนาเฉพาะการที่จำเลยแจ้งไว้
บริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนว่ามีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 8/3เจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งการขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดประกาศ ณ ภูมิลำเนาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีใจความสำคัญว่าเนื่องจาก จำเลยที่ 1 ได้หยุดกิจการชั่วคราวไม่มีคนอยู่ หากมีเรื่องต้องแจ้งแก่จำเลยที่ 1 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งไปยังเลขที่ 18 ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1ยื่นคำร้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าว เพราะจำเลยที่ 1มีความประสงค์ถือเอาสถานที่ตามคำร้องเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินคดีนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 49 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องแจ้งการขายทอดตลาดไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของจำเลยที่ 1 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดประกาศ ณ ภูมิลำเนาตามที่ปรากฏในทะเบียนหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ทั้งที่ได้รับคำร้องแจ้งภูมิลำเนาเฉพาะการก่อนหน้านั้นแล้ว จึงเป็นการแจ้งที่ไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่ามีการแจ้งการขายทอดตลาดแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 306 การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2027/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งขายทอดตลาดที่ถูกต้องตามกฎหมาย เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการที่จำเลยแจ้งไว้
จำเลยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า จำเลยได้หยุดกิจการชั่วคราวไม่มีคนอยู่ หากมีเรื่องต้องแจ้งแก่จำเลยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งไปยังที่อยู่แห่งใหม่ เป็นกรณีที่จำเลยประสงค์ถือเอาสถานที่ตามคำร้องเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการของจำเลยในการดำเนินคดีนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 49เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องแจ้งการขายทอดตลาดไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของจำเลย การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการขายทอดตลาดให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดประกาศ ณ ภูมิลำเนาตามที่ปรากฏในทะเบียนหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัททั้งที่ได้รับคำร้องแจ้งภูมิลำเนาเฉพาะการก่อนหน้านั้นแล้ว เป็นการแจ้งที่ไม่ชอบถือไม่ได้ว่ามีการแจ้งการขายทอดตลาดแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 306 การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5768/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: จำเลยไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นแล้วยื่นคำร้องใหม่ไม่ได้
ในชั้นบังคับคดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าการประมูลซื้อทรัพย์เป็นไปโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยประเด็นตามคำร้องของจำเลยแล้ว จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของจำเลยดังกล่าวใหม่ กรณีเช่นนี้หาได้มีบทกฎหมายรับรองให้จำเลยมีสิทธิจะกระทำได้ไม่ เพราะมิใช่การขาดนัดพิจารณาซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง,207 และ 208