พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21854/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจที่ทำในต่างประเทศ: หลักเกณฑ์ความถูกต้องและอำนาจฟ้องร้อง
โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองมีผู้รับมอบอำนาจโจทก์ร่วมทั้งสองเบิกความเป็นพยาน เมื่อหนังสือรับรองมีผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสองลงลายมือชื่อและมีการรับรองต่อ ๆ กันมาตามลำดับ โดยมีตัวแทนของผู้มีอำนาจจะกระทำแทนโจทก์ร่วมทั้งสองยืนยันต่อหน้าโนตารีปับลิกว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสองได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจจริง แม้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสองจะไม่ได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าโนตารีปับลิก แต่ก็มีตัวแทนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสองลงลายมือชื่อยืนยันต่อหน้าโนตารีปับลิกว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสองได้ลงลายมือหนังสือมอบอำนาจจริง จึงรับฟังได้ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม ไม่ได้บังคับว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าโนตารีปับลิก เพียงแต่บัญญัติให้โนตารีปับลิกลงลายมือชื่อพยานก็เพียงพอ ดังนั้น การดำเนินการเกี่ยวกับการมอบอำนาจของโจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งกระทำในต่างประเทศดังกล่าวถือว่าได้ว่าถูกต้องครบถ้วนแล้ว นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานโนตารีและของสถานทูตไทยรับรองหนังสือมอบอำนาจของโจทก์อีกชั้นหนึ่งว่า ลายมือชื่อและตราที่ประทับเป็นลายมือชื่อและตราที่ประทับของเจ้าหน้าที่โนตารีปับลิกและเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยจริงอีกชั้นหนึ่งด้วย จึงมีความน่าเชื่อถือ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่นำสืบหักล้างให้เห็นว่าผู้ที่ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมทั้งสอง และไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว จึงรับฟังได้ว่าโจทก์ร่วมทั้งสองได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์คดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจริง ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ร่วมทั้งสองจึงมีอำนาจร้องทุกข์และโจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15690/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์ในคดีอาญา: รูปแบบไม่สำคัญ สาระสำคัญอยู่ที่การมอบอำนาจจริงและไม่มีเหตุสงสัย
การร้องทุกข์ในคดีอาญา กฎหมายมิได้กำหนดแบบการร้องทุกข์ไว้ จึงอาจร้องทุกข์ด้วยวาจาหรือหนังสือก็ได้ สาระสำคัญจึงอยู่ที่ว่าโจทก์ร่วมมอบอำนาจให้นายวิโรจน์ร้องทุกข์จริงหรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลมิได้สงสัยและจำเลยไม่ได้ให้การหรือนำสืบต่อสู้แสดงเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง ถือว่าโจทก์ร่วมมอบอำนาจตามใบมอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3329/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ, อำนาจฟ้อง, เช็ค, การชำระหนี้, และการบังคับตามคำพิพากษา
ป.พ.พ. มาตรา 193/34 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความสองปี (1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม... เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ...เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง..." และมาตรา 193/33 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความห้าปี (1)...(5) สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (1) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี" ดังนั้น การที่โจทก์ขายเครื่องจักรอุตสาหกรรมเครื่องมือช่างทองให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ชำระราคา และโจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระราคา จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งต่างเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมสินค้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องมือช่างทองด้วยกัน ทำสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างกันเอง โดยจำเลยซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์เพื่อขายต่อไปให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ขายสินค้าเพื่อกิจการของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกหนี้เองตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย ฉะนั้น อายุความฟ้องร้องคดีของโจทก์ที่เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายจึงมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/12
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสามบัญญัติเพียงว่า ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยามต้องให้โนตารีปับลิก ฯลฯ เป็นพยาน ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ฉะนั้น แม้ ว. และ ช. ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ไม่ทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นเสียไป โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้
จำเลยสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับ ส่งมอบแก่โจทก์ แล้วโจทก์ไม่นำไปเรียกเก็บเงิน ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์หรือเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้โดยการโอนเงินเข้าบัญชีของโจทก์ในต่างประเทศ จำเลยย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คในอันที่จะใช้เงินแก่โจทก์ผู้ทรงเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง, 914, 989 วรรคหนึ่ง แต่การชำระหนี้ด้วยการออกเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงิน หนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม เมื่อโจทก์ไม่ได้นำเช็ค 3 ฉบับ ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค หนี้ค่าสินค้าที่มีอยู่เดิมก็ไม่ระงับ แม้โจทก์เจ้าหนี้จะเป็นฝ่ายละเลยไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเองก็ตาม อย่างไรก็ดี สำหรับจำนวนเงินค่าสินค้าครั้งหลังสุดจำนวน 1,219 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อจำเลยได้ชำระแล้วโดยหักจากเงินที่จำเลยสำรองจ่ายให้ ฟ. ตัวแทนของโจทก์บางส่วนและที่ ฟ. ให้จำเลยจ่ายค่าโรงแรมไปเป็นเงินรวม 99,177.05 บาท จึงรับฟังได้ว่าจำเลยชำระหนี้จำนวนนี้ด้วยการชำระหนี้อย่างอื่นแทนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง ไปแล้ว
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสามบัญญัติเพียงว่า ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยามต้องให้โนตารีปับลิก ฯลฯ เป็นพยาน ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ฉะนั้น แม้ ว. และ ช. ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ไม่ทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นเสียไป โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้
จำเลยสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับ ส่งมอบแก่โจทก์ แล้วโจทก์ไม่นำไปเรียกเก็บเงิน ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์หรือเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้โดยการโอนเงินเข้าบัญชีของโจทก์ในต่างประเทศ จำเลยย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คในอันที่จะใช้เงินแก่โจทก์ผู้ทรงเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง, 914, 989 วรรคหนึ่ง แต่การชำระหนี้ด้วยการออกเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงิน หนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม เมื่อโจทก์ไม่ได้นำเช็ค 3 ฉบับ ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค หนี้ค่าสินค้าที่มีอยู่เดิมก็ไม่ระงับ แม้โจทก์เจ้าหนี้จะเป็นฝ่ายละเลยไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเองก็ตาม อย่างไรก็ดี สำหรับจำนวนเงินค่าสินค้าครั้งหลังสุดจำนวน 1,219 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อจำเลยได้ชำระแล้วโดยหักจากเงินที่จำเลยสำรองจ่ายให้ ฟ. ตัวแทนของโจทก์บางส่วนและที่ ฟ. ให้จำเลยจ่ายค่าโรงแรมไปเป็นเงินรวม 99,177.05 บาท จึงรับฟังได้ว่าจำเลยชำระหนี้จำนวนนี้ด้วยการชำระหนี้อย่างอื่นแทนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง ไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3329/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายเครื่องจักรต่างประเทศ, เช็คไม่สามารถเรียกเก็บได้, การชำระหนี้ด้วยการหักเงิน, อายุความ
การที่โจทก์ขายเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องมือช่างทองให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ชำระราคา และโจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระราคาเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบตามมาตรา 193/34 (1)
โจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม สินค้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องมือช่างทองด้วยกัน ทำสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างกันเองโดยจำเลยซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์เพื่อขายต่อไปให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยกรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ขายสินค้าเพื่อกิจการของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกหนี้เองตามมาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย ฉะนั้น อายุความฟ้องร้องคดีของโจทก์ที่เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายจึงมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/12 หนี้ค่าสินค้าครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ซึ่งสั่งซื้อเมื่อเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ 2540 ครบกำหนดระยะเวลาชำระที่โจทก์ขยายให้ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2540 เมื่อจำเลยไม่ชำระโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2540 หนี้ค่าสินค้าครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ครบกำหนดชำระในวันที่ 5 และวันที่ 22 กรกฎาคม 2540 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 6 และวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2545 หนี้ค่าสินค้าดังกล่าวทั้งหมดจึงยังไม่ขาดอายุความ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม บัญญัติเพียงว่า ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยามต้องให้โนตารีปับลิก ฯลฯ เป็นพยาน ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ฉะนั้น แม้ ว. และ ช. ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ก็ไม่ทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นเสียไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม สินค้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องมือช่างทองด้วยกัน ทำสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างกันเองโดยจำเลยซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์เพื่อขายต่อไปให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยกรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ขายสินค้าเพื่อกิจการของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกหนี้เองตามมาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย ฉะนั้น อายุความฟ้องร้องคดีของโจทก์ที่เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายจึงมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/12 หนี้ค่าสินค้าครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ซึ่งสั่งซื้อเมื่อเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ 2540 ครบกำหนดระยะเวลาชำระที่โจทก์ขยายให้ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2540 เมื่อจำเลยไม่ชำระโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2540 หนี้ค่าสินค้าครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ครบกำหนดชำระในวันที่ 5 และวันที่ 22 กรกฎาคม 2540 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 6 และวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2545 หนี้ค่าสินค้าดังกล่าวทั้งหมดจึงยังไม่ขาดอายุความ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม บัญญัติเพียงว่า ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยามต้องให้โนตารีปับลิก ฯลฯ เป็นพยาน ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ฉะนั้น แม้ ว. และ ช. ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ก็ไม่ทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นเสียไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9524/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง, อัตราแลกเปลี่ยนเงิน, และขอบเขตคำพิพากษาในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศไม่อยู่ในบังคับให้ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
หนังสือมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศมีเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกลงชื่อเป็นพยานและมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศที่เกี่ยวข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ แม้จะไม่มีกงสุลไทยเป็นพยาน ก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม การมอบอำนาจนั้นย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับอำนาจศาลตามสัญญาฉบับพิพาทที่กำหนดให้คู่สัญญาดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลแห่งประเทศอังกฤษเพียงแห่งเดียว จะทำขึ้นก่อนที่จะมีการจัดตั้งและเปิดทำการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า- ระหว่างประเทศกลางก็ตาม แต่คดีนี้เกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล จำเลยทั้งหมดต่างมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลในประเทศไทย คือ ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) เดิม(มาตรา 4(1) ที่แก้ไขใหม่) ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับศาลทรัพย์สิน-ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีเขตศาลตลอดกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตาม พ.ร.บ.มาตรา 5 และมาตรา 7(3) โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หาจำต้องนำไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศอังกฤษแต่เพียงแห่งเดียวไม่
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 68 วรรคสอง, 80 และ 94 ซึ่งบัญญัติให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการหรือเครื่องหมายร่วมเฉพาะที่ได้จดทะเบียนแล้วต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนด้วย มีผลใช้บังคับในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ขณะทำสัญญาบทกฎหมายดังกล่าวยังไม่ใช้บังคับ และกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับเครื่องหมายบริการขณะนั้นยังไม่มี เมื่อสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้ และบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่ทำให้สัญญาซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไปหรือตกเป็นโมฆะ
สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างบริษัทผู้อนุญาตกับจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตมีข้อตกลงว่า "ให้ผู้อนุญาตโอนสิทธิและภาระผูกพันของตนได้อย่างอิสระ" และได้มีการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบโดยทางโทรสารและไปรษณีย์ลงทะเบียนแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าสภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้ บริษัทผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิจึงโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้รับโอนได้โดยชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคแรก และเมื่อการโอนดังกล่าวมีการแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบแล้วตามมาตรา 306 วรรคแรก การโอนนั้นจึงใช้ยันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
การโอนสิทธิและอนุญาตให้ใช้สิทธิในชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายการค้า และสิทธิในระบบปฏิบัติการที่มีอยู่แล้วก่อนนำมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายบริการในประเทศไทยมิใช่การโอนสิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามแบบแห่งนิติกรรมดังที่กำหนดไว้มาตรา 51 วรรคสอง และ 68 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า-ระหว่างประเทศวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐตามคำขอบังคับของโจทก์ท้ายคำฟ้องเท่านั้น
แม้ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้เงินดอลลาร์สหรัฐตามคำพิพากษาเป็นเงินบาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคแรก แต่การเปลี่ยนเงินก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน การชำระหนี้ด้วยเงินไทยและการเปลี่ยนเงินเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี จึงไม่ต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา แต่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทโดยให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษาซึ่งอาจมีอัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินในเวลาที่มีการใช้เงิน หากลูกหนี้ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันอ่านคำพิพากษาซึ่งถ้าเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ แลกเป็นเงินบาทได้มากกว่าในวันชำระเงินจริง ก็จะทำให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ด้วยเงินบาทเป็นจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินบาทที่คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ใช้เงินและมีผลทำให้จำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทนั้นคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าจำนวนเงินตามคำขอบังคับท้ายคำฟ้องของโจทก์อันถือเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและ วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมาศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเฉพาะกรณีที่จะมีผลให้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศมีเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกลงชื่อเป็นพยานและมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศที่เกี่ยวข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ แม้จะไม่มีกงสุลไทยเป็นพยาน ก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม การมอบอำนาจนั้นย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับอำนาจศาลตามสัญญาฉบับพิพาทที่กำหนดให้คู่สัญญาดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลแห่งประเทศอังกฤษเพียงแห่งเดียว จะทำขึ้นก่อนที่จะมีการจัดตั้งและเปิดทำการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า- ระหว่างประเทศกลางก็ตาม แต่คดีนี้เกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล จำเลยทั้งหมดต่างมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลในประเทศไทย คือ ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) เดิม(มาตรา 4(1) ที่แก้ไขใหม่) ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับศาลทรัพย์สิน-ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีเขตศาลตลอดกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตาม พ.ร.บ.มาตรา 5 และมาตรา 7(3) โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หาจำต้องนำไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศอังกฤษแต่เพียงแห่งเดียวไม่
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 68 วรรคสอง, 80 และ 94 ซึ่งบัญญัติให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการหรือเครื่องหมายร่วมเฉพาะที่ได้จดทะเบียนแล้วต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนด้วย มีผลใช้บังคับในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ขณะทำสัญญาบทกฎหมายดังกล่าวยังไม่ใช้บังคับ และกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับเครื่องหมายบริการขณะนั้นยังไม่มี เมื่อสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้ และบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่ทำให้สัญญาซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไปหรือตกเป็นโมฆะ
สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างบริษัทผู้อนุญาตกับจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตมีข้อตกลงว่า "ให้ผู้อนุญาตโอนสิทธิและภาระผูกพันของตนได้อย่างอิสระ" และได้มีการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบโดยทางโทรสารและไปรษณีย์ลงทะเบียนแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าสภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้ บริษัทผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิจึงโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้รับโอนได้โดยชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคแรก และเมื่อการโอนดังกล่าวมีการแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบแล้วตามมาตรา 306 วรรคแรก การโอนนั้นจึงใช้ยันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
การโอนสิทธิและอนุญาตให้ใช้สิทธิในชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายการค้า และสิทธิในระบบปฏิบัติการที่มีอยู่แล้วก่อนนำมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายบริการในประเทศไทยมิใช่การโอนสิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามแบบแห่งนิติกรรมดังที่กำหนดไว้มาตรา 51 วรรคสอง และ 68 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า-ระหว่างประเทศวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐตามคำขอบังคับของโจทก์ท้ายคำฟ้องเท่านั้น
แม้ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้เงินดอลลาร์สหรัฐตามคำพิพากษาเป็นเงินบาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคแรก แต่การเปลี่ยนเงินก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน การชำระหนี้ด้วยเงินไทยและการเปลี่ยนเงินเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี จึงไม่ต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา แต่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทโดยให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษาซึ่งอาจมีอัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินในเวลาที่มีการใช้เงิน หากลูกหนี้ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันอ่านคำพิพากษาซึ่งถ้าเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ แลกเป็นเงินบาทได้มากกว่าในวันชำระเงินจริง ก็จะทำให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ด้วยเงินบาทเป็นจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินบาทที่คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ใช้เงินและมีผลทำให้จำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทนั้นคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าจำนวนเงินตามคำขอบังคับท้ายคำฟ้องของโจทก์อันถือเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและ วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมาศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเฉพาะกรณีที่จะมีผลให้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต่างประเทศ, อำนาจฟ้อง, การชำระหนี้ตามสัญญา
หนังสือที่โจทก์มอบอำนาจให้พ. ฟ้องคดีแทนทำขึ้นที่ประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านโดยมีกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านและสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศดังกล่าวรับรองหนังสือมอบอำนาจไว้แล้วฉะนั้นแม้จะไม่ได้ให้กงสุลสยามเป็นพยานก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงการยื่นหนังสือมอบอำนาจในกรณีนี้จึงไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา47วรรคสาม การที่สัญญากระทำกันในต่างประเทศจะต้องใช้กฎหมายประเทศใดบังคับหรือไม่อย่างไรหาใช่ข้อที่โจทก์จำเป็นจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยหรือไม่เพราะหากจำต้องใช้กฎหมายต่างประเทศปรับแก่คดีก็เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยบรรยายถึงมูลกรณีที่มีการทำสัญญาแล้วจำเลยผิดนัดทั้งมีการแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความมาท้ายคำฟ้องด้วยนั้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วหาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศไทยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครแม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นในต่างประเทศและจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในต่างประเทศย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ, สัญญาประนีประนอม, การบังคับชำระหนี้, ศาลมีอำนาจพิจารณา
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านเป็นบริษัทของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน อ.ผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ตั้งแต่ พ.ศ.2528 กระทรวง-การต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านได้รับรองหนังสือมอบอำนาจไว้และได้มีการรับรองโดยสถานเอกอัครราชฑูตไทย ประจำประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านด้วย จำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นประการอื่น แม้หนังสือมอบอำนาจจะได้ทำในเมืองต่างประเทศและไม่ได้ให้กงสุลสยามเป็นพยานก็ตาม แต่กรณีไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง การยื่นหนังสือมอบอำนาจนั้นจึงไม่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 47 วรรคสาม แห่งป.วิ.พ. แม้ว่าตามหนังสือราชกิจจานุเบกษาของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประกาศว่า อ.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์นั้น ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2535ภายหลังที่บุคคลดังกล่าวได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ตาม แต่หนังสือราชกิจจา-นุเบกษาดังกล่าวอ้างถึงการประชุมของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2534ซึ่งแต่งตั้งกรรมการบริษัทโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปเป็นเวลา 3 ปี อ.ก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับแต่งตั้ง มิได้หมายความว่าก่อนหน้านั้น อ.มิได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ เพราะกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านก็ได้ตรวจลงตรารับรองลายมือชื่อกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ที่ลงไว้ท้ายหนังสือมอบอำนาจว่าเป็นลายมือชื่อของ อ.ด้วย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความ โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงมูลกรณีที่ได้มีการทำสัญญาดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยมาด้วยว่า จำเลยเป็นหนี้ค่าเสียหายที่เรือของโจทก์ต้องเสียเวลาจอดรอ จึงได้ทำสัญญาประนีประยอมยอมความขึ้น โดยโจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เพียง 2 งวด แล้วผิดนัดไม่ชำระอีก จึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าว ทั้งได้มีการแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องอีกด้วย การที่สัญญาดังกล่าวกระทำกันในต่างประเทศ จะต้องใช้กฎหมายประเทศใดบังคับหรือไม่อย่างไร หาใช่ข้อที่โจทก์จำเป็นจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยไม่ เพราะหากจำต้องใช้กฎหมายต่างประเทศปรับแก่คดี ก็เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศไทย มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นในต่างประเทศ และจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาประนี-ประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในต่างประเทศย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1)
จำเลยได้ขายข้าวสารให้แก่บรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐ-อิสลามอิหร่านในราคา เอฟ.โอ.บี โดยผู้ซื้อเป็นผู้หาเรือมาบรรทุกข้าวสารจากกรุงเทพมหานคร บรรษัทผู้ซื้อข้าวสารจากจำเลยได้ให้โจทก์นำเรือมาบรรทุกข้าวสารแต่จำเลยส่งข้าวสารลงเรือล่าช้าจึงมีหน้าที่จะต้องชำระค่าที่เรือต้องเสียเวลาจอดรอแก่โจทก์ โจทก์กับจำเลยจึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมีคู่สัญญาเพียง 2 ฝ่าย คือโจทก์และจำเลยและมิได้มีเงื่อนไขว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญาให้ก็ต่อเมื่อบรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านสั่งซื้อข้าวสารต่อไปจากจำเลยแล้วหักราคาซื้อขายชำระแก่โจทก์แต่อย่างใด สำหรับข้อความในสัญญาที่ว่าสัญญานี้ให้สมบูรณ์จนถึงวันที่30 กันยายน 2533 นั้น เมื่อพิเคราะห์ประกอบถึงข้อความในสัญญาและพฤติการณ์ที่คู่กรณีปฎิบัติต่อกัน โดยฝ่ายจำเลยได้มีการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญานั้นแล้ว2 ครั้ง มีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าเพราะทางฝ่ายโจทก์ให้โอกาสจำเลยขยายเวลาเพื่อชำระหนี้รายนี้แก่โจทก์ได้จนถึงวันดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินที่ยังค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความ โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงมูลกรณีที่ได้มีการทำสัญญาดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยมาด้วยว่า จำเลยเป็นหนี้ค่าเสียหายที่เรือของโจทก์ต้องเสียเวลาจอดรอ จึงได้ทำสัญญาประนีประยอมยอมความขึ้น โดยโจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เพียง 2 งวด แล้วผิดนัดไม่ชำระอีก จึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าว ทั้งได้มีการแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องอีกด้วย การที่สัญญาดังกล่าวกระทำกันในต่างประเทศ จะต้องใช้กฎหมายประเทศใดบังคับหรือไม่อย่างไร หาใช่ข้อที่โจทก์จำเป็นจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยไม่ เพราะหากจำต้องใช้กฎหมายต่างประเทศปรับแก่คดี ก็เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศไทย มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นในต่างประเทศ และจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาประนี-ประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในต่างประเทศย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1)
จำเลยได้ขายข้าวสารให้แก่บรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐ-อิสลามอิหร่านในราคา เอฟ.โอ.บี โดยผู้ซื้อเป็นผู้หาเรือมาบรรทุกข้าวสารจากกรุงเทพมหานคร บรรษัทผู้ซื้อข้าวสารจากจำเลยได้ให้โจทก์นำเรือมาบรรทุกข้าวสารแต่จำเลยส่งข้าวสารลงเรือล่าช้าจึงมีหน้าที่จะต้องชำระค่าที่เรือต้องเสียเวลาจอดรอแก่โจทก์ โจทก์กับจำเลยจึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมีคู่สัญญาเพียง 2 ฝ่าย คือโจทก์และจำเลยและมิได้มีเงื่อนไขว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญาให้ก็ต่อเมื่อบรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านสั่งซื้อข้าวสารต่อไปจากจำเลยแล้วหักราคาซื้อขายชำระแก่โจทก์แต่อย่างใด สำหรับข้อความในสัญญาที่ว่าสัญญานี้ให้สมบูรณ์จนถึงวันที่30 กันยายน 2533 นั้น เมื่อพิเคราะห์ประกอบถึงข้อความในสัญญาและพฤติการณ์ที่คู่กรณีปฎิบัติต่อกัน โดยฝ่ายจำเลยได้มีการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญานั้นแล้ว2 ครั้ง มีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าเพราะทางฝ่ายโจทก์ให้โอกาสจำเลยขยายเวลาเพื่อชำระหนี้รายนี้แก่โจทก์ได้จนถึงวันดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินที่ยังค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีข้ามชาติ, สัญญาประนีประนอมยอมความ, เงื่อนไขการชำระหนี้, กฎหมายต่างประเทศ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านเป็นบริษัทของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน อ.ผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ตั้งแต่พ.ศ.2528กระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านได้รับรองหนังสือมอบอำนาจไว้และได้มีการรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านด้วยจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นประการอื่นแม้หนังสือมอบอำนาจจะได้ทำในเมืองต่างประเทศและไม่ได้ให้กงสุลสยามเป็นพยานก็ตามแต่กรณีไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงการยื่นหนังสือมอบอำนาจนั้นจึงไม่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา47วรรคสามแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแม้ว่าตามหนังสือราชกิจจานุเบกษาของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประกาศว่าอ.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์นั้นลงวันที่6มิถุนายน2535ภายหลังที่บุคคลดังกล่าวได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ตามแต่หนังสือราชกิจจานุเบกษาดังกล่าวอ้างถึงการประชุมของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่15ธันวาคม2534ซึ่งแต่งตั้งกรรมการบริษัทโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปเป็นเวลา3ปีอ.ก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับแต่งตั้งมิได้หมายความว่าก่อนหน้านี้อ.มิได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์เพราะกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านก็ได้ตรวจลงตรารับรองลายมือชื่อกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ที่ลงไว้ท้ายหนังสือมอบอำนาจว่าเป็นลายมือชื่อของอ. ก็ตาม คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงมูลกรณีที่ได้มีการทำสัญญาดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยมาด้วยว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าเสียหายที่เรือของโจทก์ต้องเสียเวลาจอดรอจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นโดยโจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวดๆภายในระยะเวลาที่กำหนดจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เพียง2งวดแล้วผิดนัดไม่ชำระอีกจึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวทั้งได้มีการแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องด้วยการที่สัญญาดังกล่าวกระทำกันในต่างประเทศจึงต้องใช้กฎหมายประเทศใดบังคับหรือไม่อย่างไรหาใช่ข้อที่โจทก์จำเป็นจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยไม่เพราะหากจำต้องใช้กฎหมายต่างประเทศปรับแก่คดีก็เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วหาเคลือบคลุมไม่ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศไทยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครแม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นในต่างประเทศและจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในต่างประเทศย่อมมีอำนาจฟ้องที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1) จำเลยได้ขายข้าวสารให้แก่บรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในราคาเอฟ.โอ.บี. โดยผู้ซื้อเป็นผู้หาเรือมาบรรทุกข้าวสารจากกรุงเทพมหานครบรรษัทผู้ซื้อข้าวสารจากจำเลยได้ให้โจทก์นำเรือมาบรรทุกข้าวสารแต่จำเลยส่งข้าวสารลงเรือล่าช้าจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าที่เรือต้องเสียเวลาจอดรอแก่โจทก์โจทก์กับจำเลยจึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมีคู่สัญญาเพียง2ฝ่ายคือโจทก์และจำเลยมิได้มีเงื่อนไขว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญาให้ก็ต่อเมื่อบรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านสั่งซื้อข้าวสารต่อไปจากจำเลยแล้วหักราคาซื้อขายชำระแก่โจทก์แต่อย่างใดสำหรับข้อความในสัญญาที่ว่าสัญญานี้ให้สมบูรณ์จนถึงวันที่30กันยายน2533นั้นเมื่อพิเคราะห์ประกอบถึงข้อความในสัญญาและพฤติการณ์ที่คู่กรณีปฏิบัติต่อกันโดยฝ่ายจำเลยได้มีการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญานั้นแล้ว2ครั้งมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าเพราะทางฝ่ายโจทก์ให้โอกาสจำเลยขยายเวลาเพื่อชำระหนี้รายนี้แก่โจทก์ได้จนถึงวันดังกล่าวจำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินที่ยังค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนสับสน และการกำหนดค่าเสียหายจากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมี ค.โนตารีปับลิกแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกาลงลายมือชื่อรับรองและยืนยันว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกาลายมือชื่อในเอกสารฉบับนี้เป็นลายมือชื่อของร.ผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งมีอำนาจโดยถูกต้องในการลงลายมือชื่อในนามของโจทก์ และ ร.ได้สาบานตนและลงลายมือชื่อต่อหน้าตนจริง จำเลยทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบหักล้างให้เห็นว่า ร.มิใช่ผู้ช่วยเลขานุการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในการมอบอำนาจให้นายบุญมาฟ้องคดีนี้ และโจทก์มิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี กรณีจึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง ดังนี้ แม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่มีใบสำคัญของรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาแสดงว่า ค.เป็นโนตารีปับลิกแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซีผู้มีอำนาจเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจนั้น แต่เมื่อไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง หนังสือมอบอำนาจนั้นจึงไม่ต้องทำตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 47 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM" ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ที่จำเลยที่ 2 ใช้อยู่ต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำที่เป็นตัวอักษรโรมันและประดิษฐ์ขึ้นเองโดยไม่มีคำแปลเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษร 8 ตัว อ่านออกเสียงเป็น 3 พยางค์ ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" มีตัวอักษร 5 ตัว อ่านออกเสียงเป็น 2 พยางค์ ตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้ง 5 ตัวเหมือนกับตัวอักษร 5 ตัวแรกของเครื่องหมายการค้าโจทก์และวางอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน คงมีข้อแตกต่างกันที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษรมากกว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลย 3 ตัว คือตัวอักษร IUM เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่าโมทิเลียม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองอ่านว่า โมทิล สำเนียงการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองคล้ายคลึงกับการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์ 2 พยางค์แรกมาก และบางครั้งมีผู้เรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยย่อว่าโมทิล ซึ่งสำเนียงการเรียกขานเหมือนกับการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสอง การที่จะวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้ประชาชนหลงผิดได้หรือไม่นั้น จะพิจารณาแต่เฉพาะความแตกต่างกันของตัวอักษรและจำนวนพยางค์ที่ใช้ประกอบขึ้นยังไม่ได้จะต้องพิจารณาจากพฤติการณ์อื่น ๆ ประกอบด้วยว่าสามารถทำให้สาธารณชนหลงผิดได้หรือไม่ ปรากฎว่าผลิตภัณฑ์ยาของโจทก์และผลิตภัณฑ์ยาของจำเลยทั้งสองต่างใช้ตัวยาดอมเพอริโอนเหมือนกัน เมื่อชื่อยาของโจทก์และของจำเลยที่ 2 คล้ายคลึงกันและเป็นชื่อทางภาษาต่างประเทศ ประชาชนจึงอาจซื้อยาของจำเลยที่ 2 ไปโดยสำคัญผิดว่าเป็นยาของโจทก์ได้ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ของจำเลยทั้งสองจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM"ของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดแล้ว โจทก์ผลิตยาภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า"MOTILIUM" ออกจำหน่ายแพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว โดยในประเทศไทยโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับยาของโจทก์ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 การที่จำเลยที่ 2 ผลิตยาชนิดเดียวกับยาของโจทก์ออกจำหน่ายในท้องตลาดเมื่อเดือนกันยายน 2532 แข่งกับโจทก์โดยใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ ย่อมมีให้ประชาชนซื้อยาของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีสรรพคุณเช่นเดียวกับยาของโจทก์ไปโดยหลงผิดว่าเป็นยาของโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวย่อมมีผลทำให้โจทก์จำหน่ายยาได้น้อยกว่าปกติ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว แม้โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ายอดการจำหน่ายยาของโจทก์ลดน้อยลงเพียงใดก็ตาม ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้โดยวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดแต่ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน เป็นเงินเดือนละ 50,000 บาท ตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนเป็นเงิน100,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายนอกไปจากที่ปรากฎในคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ10,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" อย่างไรก็ดี โจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องจำนวนค่าเสียหายดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายรายเดือนแก่โจทก์ไม่เกิน 100,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้สาธารณชนสับสน และการกำหนดค่าเสียหาย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมี ค. โนตารีปับลิกแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกาลงลายมือชื่อรับรองและยืนยันว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ลายมือชื่อในเอกสารฉบับนี้เป็นลายมือชื่อของ ร. ผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งมีอำนาจโดยถูกต้องในการลงลายมือชื่อในนามของโจทก์ และ ร. ได้สาบานตนและลงลายมือชื่อต่อหน้าตนจริง จำเลยทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบหักล้างให้เห็นว่า ร. มิใช่ผู้ช่วยเลขานุการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในการมอบอำนาจให้นายบุญมาฟ้องคดีนี้ และโจทก์มิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี กรณีจึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง ดังนี้ แม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่มีใบสำคัญของรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาแสดงว่า ค. เป็นโนตารีปับลิกแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซีผู้มีอำนาจเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจนั้น แต่เมื่อไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงหนังสือมอบอำนาจนั้น จึงไม่ต้องทำตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 47 วรรคสาม แห่งป.วิ.พ.
เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM" ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ที่จำเลยที่ 2 ใช้อยู่ต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำที่เป็นตัวอักษรโรมัน และประดิษฐ์ขึ้นเองโดยไม่มีคำแปลเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษร 8 ตัว อ่านออกเสียงเป็น 3 พยางค์ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" มีตัวอักษร 5 ตัว อ่านออกเสียงเป็น2 พยางค์ ตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้ง 5 ตัว เหมือนกับตัวอักษร5 ตัวแรกของเครื่องหมายการค้าโจทก์และวางอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน คงมีข้อแตกต่างกันที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษรมากกว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลย 3 ตัว คือตัวอักษร IUM เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่าโมทิเลียม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองอ่านว่า โมทิล สำเนียงการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองคล้ายคลึงกับการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์ 2 พยางค์แรกมาก และบางครั้งมีผู้เรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยย่อว่า โมทิล ซึ่งสำเนียงการเรียกขานเหมือนกับการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสอง การที่จะวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้ประชาชนหลงผิดได้หรือไม่นั้น จะพิจารณาแต่เฉพาะความแตกต่างกันของตัวอักษรและจำนวนพยางค์ที่ใช้ประกอบขึ้นยังไม่ได้ จะต้องพิจารณาจากพฤติการณ์อื่น ๆ ประกอบด้วยว่าสามารถทำให้สาธารณชนหลงผิดได้หรือไม่ ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ยาของโจทก์และผลิตภัณฑ์ยาของจำเลยทั้งสองต่างใช้ตัวยาดอมเพอริโดนเหมือนกัน เมื่อชื่อยาของโจทก์และของจำเลยที่ 2 คล้ายคลึงกันและเป็นชื่อทางภาษาต่างประเทศประชาชนจึงอาจซื้อยาของจำเลยที่ 2 ไปโดยสำคัญผิดว่าเป็นยาของโจทก์ได้ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ของจำเลยทั้งสองจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM" ของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดแล้ว
โจทก์ผลิตยาภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM"ออกจำหน่ายแพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว โดยในประเทศไทยโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับยาของโจทก์ตั้งแต่ พ.ศ.2524 การที่จำเลยที่ 2 ผลิตยาชนิดเดียวกับยาของโจทก์ออกจำหน่ายในท้องตลาดเมื่อเดือนกันยายน 2532 แข่งกับโจทก์โดยใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ ย่อมทำให้ประชาชนซื้อยาของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีสรรพคุณเช่นเดียวกับยาของโจทก์ไปโดยหลงผิดว่าเป็นยาของโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวย่อมมีผลทำให้โจทก์จำหน่ายยาได้น้อยกว่าปกติ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว แม้โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ายอดการจำหน่ายยาของโจทก์ลดน้อยลงเพียงใดก็ตาม ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้โดยวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด แต่ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน เป็นเงินเดือนละ 50,000 บาท ตั้งแต่ถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนเป็นเงิน 100,000บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายนอกไปจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 10,000บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" อย่างไรก็ดี โจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องจำนวนค่าเสียหายดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายรายเดือนแก่โจทก์ไม่เกิน 100,000 บาท
เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM" ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ที่จำเลยที่ 2 ใช้อยู่ต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำที่เป็นตัวอักษรโรมัน และประดิษฐ์ขึ้นเองโดยไม่มีคำแปลเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษร 8 ตัว อ่านออกเสียงเป็น 3 พยางค์ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" มีตัวอักษร 5 ตัว อ่านออกเสียงเป็น2 พยางค์ ตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้ง 5 ตัว เหมือนกับตัวอักษร5 ตัวแรกของเครื่องหมายการค้าโจทก์และวางอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน คงมีข้อแตกต่างกันที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษรมากกว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลย 3 ตัว คือตัวอักษร IUM เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่าโมทิเลียม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองอ่านว่า โมทิล สำเนียงการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองคล้ายคลึงกับการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์ 2 พยางค์แรกมาก และบางครั้งมีผู้เรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยย่อว่า โมทิล ซึ่งสำเนียงการเรียกขานเหมือนกับการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสอง การที่จะวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้ประชาชนหลงผิดได้หรือไม่นั้น จะพิจารณาแต่เฉพาะความแตกต่างกันของตัวอักษรและจำนวนพยางค์ที่ใช้ประกอบขึ้นยังไม่ได้ จะต้องพิจารณาจากพฤติการณ์อื่น ๆ ประกอบด้วยว่าสามารถทำให้สาธารณชนหลงผิดได้หรือไม่ ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ยาของโจทก์และผลิตภัณฑ์ยาของจำเลยทั้งสองต่างใช้ตัวยาดอมเพอริโดนเหมือนกัน เมื่อชื่อยาของโจทก์และของจำเลยที่ 2 คล้ายคลึงกันและเป็นชื่อทางภาษาต่างประเทศประชาชนจึงอาจซื้อยาของจำเลยที่ 2 ไปโดยสำคัญผิดว่าเป็นยาของโจทก์ได้ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ของจำเลยทั้งสองจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM" ของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดแล้ว
โจทก์ผลิตยาภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM"ออกจำหน่ายแพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว โดยในประเทศไทยโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับยาของโจทก์ตั้งแต่ พ.ศ.2524 การที่จำเลยที่ 2 ผลิตยาชนิดเดียวกับยาของโจทก์ออกจำหน่ายในท้องตลาดเมื่อเดือนกันยายน 2532 แข่งกับโจทก์โดยใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ ย่อมทำให้ประชาชนซื้อยาของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีสรรพคุณเช่นเดียวกับยาของโจทก์ไปโดยหลงผิดว่าเป็นยาของโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวย่อมมีผลทำให้โจทก์จำหน่ายยาได้น้อยกว่าปกติ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว แม้โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ายอดการจำหน่ายยาของโจทก์ลดน้อยลงเพียงใดก็ตาม ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้โดยวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด แต่ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน เป็นเงินเดือนละ 50,000 บาท ตั้งแต่ถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนเป็นเงิน 100,000บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายนอกไปจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 10,000บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" อย่างไรก็ดี โจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องจำนวนค่าเสียหายดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายรายเดือนแก่โจทก์ไม่เกิน 100,000 บาท