พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนและการพิสูจน์ข้อเท็จจริง ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้หากโจทก์ไม่สืบพยาน
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าทำให้ที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ช.เสียหาย ขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ จำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพและยื่นคำร้องใจความว่าที่ดินดังกล่าวมิใช่ที่ดินโจทก์ แต่เป็นที่ดินในเขตนิคมท้ายเหมืองที่บริษัท ง. ได้รับประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ เมื่อหมดอายุประทานบัตรแล้วบริษัท ง. และโจทก์มิได้ทำประโยชน์ในที่ดิน ที่ดินดังกล่าวมิใช่ทรัพย์มรดกของ ช. จำเลยทั้งห้าเข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเนื่องจากไม่มีที่ทำกิน และมุ่งหวังจะได้สิทธิการเช่าที่ดินจากนิคมท้ายเหมือง ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ทนายโจทก์แถลงขอเลื่อนคดีเนื่องจากคดีอยู่ระหว่างตกลงเรื่องค่าชดเชยในการขนย้ายให้จำเลยทั้งห้าและทำแผนที่ ต่อมาคู่ความแถลงว่าคดีไม่สามารถตกลงกันได้ขอให้ศาลมีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งห้าตามฟ้อง จำเลยทั้งห้าฎีกาขอให้รอการลงโทษ ดังนี้ เมื่ออ่านคำให้การของจำเลยทั้งห้ารวมกับคำร้องที่ยื่นมาพร้อมกับคำให้การแล้ว จะเห็นได้ว่าจำเลยทั้งห้ายังคงโต้แย้งว่าที่ดินตามฟ้องมิใช่ที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ ช. เหตุที่จำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพอาจเป็นเพราะคดีอยู่ระหว่างเจรจาว่าจะมีการชดใช้ค่าขนย้ายให้แก่จำเลยทั้งห้าตามที่ทนายโจทก์แถลง และจำเลยทั้งห้าอาจเข้าใจว่าการกระทำของจำเลยทั้งห้าเป็นความผิด คำให้การของจำเลยทั้งห้ายังฟังไม่ได้ว่าเป็นคำให้การที่รับสารภาพว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำความผิดจริงตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานคดีจึงลงโทษจำเลยทั้งห้าไม่ได้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความทำให้สิทธิฟ้องอาญาคดีทำให้เสียทรัพย์ระงับ และการยกฟ้องข้อหาลักทรัพย์จากการเข้าใจผิด
โจทก์ร่วมกับจำเลยทำบันทึกกันไว้ตามรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานซึ่งมีข้อความว่า คู่กรณีตกลงกันแล้วต่างฝ่ายต่างไม่ติดใจเรียกร้องฟ้องกันทั้งทางแพ่งและอาญาต่อกัน โดยจำเลยได้ช่วยเหลือค่าเสียหายของกระบือที่ถูกยิงตายให้โจทก์ร่วมเป็นเงิน 7,000 บาท จะนำเงินมาจ่ายให้หมดในวันที่ 1 ตุลาคม 2544 แล้วลงชื่อโจทก์ร่วมและจำเลย เช่นนี้ จึงเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358, 359 เป็นความผิดอันยอมความได้ จึงมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แม้ต่อมาจำเลยจะไม่ชำระค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ หลังจากมีการยอมความกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วอีกได้ คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: การแผ้วถางโดยสุจริต และการพิสูจน์การปลูกพืชเพื่อเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยนำสืบมา เห็นได้ว่าโจทก์ร่วมและจำเลยยังเถียงการครอบครองอยู่ การที่จำเลยเข้าไปแผ้วถางในที่พิพาทก็เข้าใจโดยสุจริตว่าที่พิพาทเป็นที่ของจำเลยการกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก พยานโจทก์และโจทก์ร่วมฟังไม่ได้ว่า ต้นไม้และกอไผ่ในที่พิพาทบิดาโจทก์ร่วมหรือโจทก์ร่วมได้ปลูกไว้ หากแต่เป็นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ การที่จำเลยเข้าไปแผ้วถางเพื่อยึดถือครอบครองทำประโยชน์จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและการพิจารณาความผิดฐานบุกรุกและลักทรัพย์เมื่อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยทั้งสามไม่คัดค้าน ข้อหาทำให้เสียทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358,359 เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์เฉพาะข้อหาทำให้เสียทรัพย์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แต่สำหรับข้อหาลักทรัพย์และบุกรุกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335,365 มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว และศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาคดีนี้แล้วจึงถอนฟ้องไม่ได้ โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างนำสืบโต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ความชัดว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์จริงหรือไม่ มูลกรณีจึงเป็นเรื่องคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญา การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตามที่โจทก์นำสืบหาว่า ร่วมกันเข้าไปในที่ดินพิพาทแล้วตักเอาดินและต้นไม้ไปจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกและลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยทำลายต้นกล้วยของโจทก์ในที่ดินพิพาท แม้ที่ดินอยู่ในเขตหวงห้าม แต่โจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์สิน
ที่ดินพิพาทที่โจทก์ครอบครองเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินภายในแนวเขตหวงห้ามตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน โจทก์ปลูกต้นกล้วยไว้ในที่ดินพิพาท ต้นกล้วยเป็นไม้ล้มลุกไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน โจทก์จึงเป็นเจ้าของต้นกล้วยเหล่านั้นจำเลยที่ 5 เข้าไปไถที่พิพาททั้ง ๆ ที่รู้แล้วว่าต้นกล้วยที่ปลูกอยู่ในที่พิพาทเป็นของโจทก์ ทำให้ต้นกล้วยเสียหาย จึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสร้างทำนบกักน้ำเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่เป็นเหตุให้เกิดอุทกภัยแก่ผู้อื่น แม้จะมีการเสียหายเกิดขึ้นจากสภาพอากาศ
สาเหตุน้ำท่วมนาของโจทก์เนื่องมาจากฝนตกเร็วกว่าปกติและมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปีก่อนๆ การที่จำเลยก่อสร้างซ่อมแซมทำนบที่กั้นลำห้วยสาธารณะ เพื่อกักน้ำไว้เลี้ยงสัตว์น้ำให้ราษฎรจับเป็นอาหารในฤดูแล้ง ไม่มีเจตนาทำให้เกิดอุทกภัยหรือทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหาย ดังนี้ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 228 และ 359.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างทำนบและการฟ้องร้องความเสียหายจากน้ำท่วม: จำเลยไม่มีเจตนาและเหตุปัจจัยทางธรรมชาติเป็นสาเหตุ
สาเหตุน้ำท่วมนาของโจทก์เนื่องมาจากฝนตกเร็วกว่าปกติและมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปีก่อน ๆ ซึ่งจำเลยไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ การที่จำเลยก่อสร้างซ่อมแซมทำนบที่กั้นลำห้วยสาธารณะเพื่อกักน้ำไว้เลี้ยงสัตว์น้ำให้ราษฎรจับเป็นอาหารในฤดูแล้ง จำเลยไม่มีเจตนาทำให้เกิดอุทกภัยหรือทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหาย จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 228 และ 359
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดอ้อยของผู้อื่นในที่พิพาท แม้แจ้งความแล้ว ก็ถือเป็นทำให้เสียทรัพย์
จำเลยทราบดีว่าอ้อยที่จำเลยสั่งให้คนงานตัดเป็นของผู้อื่น ที่มาไถพืชผลของจำเลยที่ปลูกไว้ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งโจทก์ร่วม และจำเลยพิพาทแย่งสิทธิครอบครองกันอยู่แล้วปลูกอ้อยขึ้นแทน แม้จำเลยจะไม่ทราบว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของอ้อยและก่อนตัดอ้อย จำเลยจะได้แจ้งความให้เจ้าพนักงานตำรวจรับทราบไว้ล่วงหน้า ก็ตาม จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะตัดอ้อยดังกล่าว การที่จำเลยสั่งให้ ตัดอ้อยของโจทก์ร่วมจึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 359(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยบุกรุกที่ดินของผู้อื่นโดยเจตนา แม้จะรู้ว่าที่ดินนั้นเป็นของโจทก์ และมีการจำนองแล้ว
จำเลยทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งครอบครองอยู่ก่อนโดยมี น.ส.3 เป็นหลักฐาน เมื่อโจทก์ร่วมนำที่พิพาทไปจำนอง จำเลยก็รู้เห็นในการจำนองด้วย การที่จำเลยเข้าไปบุกรุกแผ้วถางที่พิพาทจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยเข้าใจผิดหรือขาดเจตนาแต่อย่างใด จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์
ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ เมื่อจำเลยผิดตามมาตรา 359แล้วก็ไม่จำต้องยกมาตรา 358 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก (อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2516)
ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ เมื่อจำเลยผิดตามมาตรา 359แล้วก็ไม่จำต้องยกมาตรา 358 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก (อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดินของผู้อื่นโดยเจตนา และความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ศาลฎีกาพิจารณาเจตนาและไม่ปรับบทลงโทษซ้ำซ้อน
จำเลยทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งครอบครองอยู่ก่อนโดยมี น.ส.3 เป็นหลักฐานเมื่อโจทก์ร่วมนำที่พิพาทไปจำนอง จำเลยก็รู้เห็นในการจำนองด้วย การที่จำเลยเข้าไปบุกรุกแผ้วถางที่พิพาท จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยเข้าใจผิดหรือขาดเจตนาแต่อย่างใด จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์
ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ เมื่อจำเลยผิดตามมาตรา 359 แล้วก็ไม่จำต้องยก มาตรา 358 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก
(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2516)
ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ เมื่อจำเลยผิดตามมาตรา 359 แล้วก็ไม่จำต้องยก มาตรา 358 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก
(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2516)