พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สิทธิครอบครองที่ดินหลังสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ และสิทธิในการห้ามรบกวนการครอบครอง
เมื่อ จ. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับโจทก์ทั้งสองในวันที่ 12 ตุลาคม 2539 และได้มอบที่ดินให้โจทก์ทั้งสองครอบครองแล้วในวันเดียวกัน ซึ่งนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว เมื่อการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ทั้งสองกับ จ. มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่เนื่องจากที่ดินเป็นที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ จ. จึงมีแต่สิทธิครอบครอง การซื้อขายเมื่อได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์ทั้งสองไปแล้วก็ฟังได้ว่า จ. สละการครอบครองไม่ยึดถือที่ดินอีกต่อไป โจทก์ทั้งสองย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377, 1378 แล้ว การได้สิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการได้มาด้วยการครอบครองตามกฎหมาย มิใช่เป็นการได้มาตามสัญญาซื้อขายซึ่งตกเป็นโมฆะดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองจะใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลย ซึ่งเป็นผู้จัดการมรกดของ จ. ส่งมอบหนังสือรับรองทำประโยชน์ (น.ส. 3) และจดทะเบียนคัดชื่อจำเลยออกแล้วใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินเนื้อที่ 5 ไร่ แทนชื่อจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก อันเป็นการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญาซื้อขายหาได้ไม่ และเมื่อฟังว่าโจทก์ทั้งสองไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวแก่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. เจ้ามรดกแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม หรือไม่อีกต่อไป แต่เนื่องจากโจทก์ทั้งสองได้สิทธิครอบครองที่ดินแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะขอให้ห้ามจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การได้มาจากการส่งมอบและการสละเจตนาครอบครอง แม้สัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะ
จ. ได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ทั้งสองและมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองครอบครองแล้วในวันเดียวกัน เมื่อการซื้อขายมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่เป็นที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ จ. จึงมีแต่สิทธิครอบครอง เมื่อ จ.ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองเป็นการสละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทอีกต่อไป โจทก์ทั้งสองย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองตามมาตรา 1377, 1378 แล้ว จึงเป็นการได้มาด้วยการครอบครองฟ้องบังคับให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) และจดทะเบียนคัดชื่อจำเลยออกแล้วใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองแทนชื่อจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกอันเป็นการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญาซื้อขายหาได้ไม่ และเมื่อโจทก์ทั้งสองไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวแก่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. เจ้ามรดกแล้ว ก็ไม่มีปัญหาว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสาม หรือไม่ แต่โจทก์ทั้งสองได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแล้วจึงชอบที่จะขอให้ห้ามจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144-1146/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิสูจน์การทำสัญญาซื้อขาย และการชำระราคาสินค้า
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยรวม 9 แปลง ชำระราคาครบถ้วนแล้วแต่จำเลยไม่โอนที่ดินให้โจทก์ จำเลยให้การในตอนแรกว่า โจทก์จำเลยไม่เคยตกลงซื้อขายที่ดินกัน สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอม แต่กลับให้การในอีกตอนหนึ่งว่า โจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญาตกลงกันเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2527 ว่า หนังสือสัญญาที่ทำไว้ก่อนหรือหลังสัญญาฉบับนี้ให้ถือว่าเป็นโมฆะ ฉะนั้นหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินท้ายฟ้องทั้งสามฉบับซึ่งทำขึ้นภายหลังหนังสือสัญญาดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวมาฟ้องบังคับจำเลยได้จึงเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม แต่คำให้การจำเลยเข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง และเป็นเพียงข้อเถียงข้อกล่าวหาของโจทก์ว่าจำเลยมิได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ตามคำฟ้องเท่านั้น จะแปลว่าเป็นคำให้การที่ต่อสู้ว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินท้ายฟ้องทั้งสามฉบับภายหลังทำหนังสือสัญญาฉบับลงวันที่ 12 มกราคม 2527 ไม่ได้ เพราะจำเลยให้การว่าโจทก์จำเลยไม่เคยตกลงซื้อขายที่ดินกัน
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาว่าปลอมสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสามฉบับในคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายทั้งสามฉบับดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีมูลคดีเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาดังกล่าว และโจทก์จำเลยในคดีแพ่งกับคดีอาญาเป็นคู่ความเดียวกัน จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อข้อเท็จจริงซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาทั้งสองเรื่องดังกล่าวถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237-5238/2539 การพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญาดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสี่ฉบับ (ซึ่งรวมถึงสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.11, จ.22 และ จ.25 ด้วย) เป็นเอกสารปลอม เมื่อรับฟังประกอบพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาว่าปลอมสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสามฉบับในคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายทั้งสามฉบับดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีมูลคดีเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาดังกล่าว และโจทก์จำเลยในคดีแพ่งกับคดีอาญาเป็นคู่ความเดียวกัน จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อข้อเท็จจริงซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาทั้งสองเรื่องดังกล่าวถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237-5238/2539 การพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญาดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสี่ฉบับ (ซึ่งรวมถึงสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.11, จ.22 และ จ.25 ด้วย) เป็นเอกสารปลอม เมื่อรับฟังประกอบพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาซื้อขายโดยปริยาย: จำเลยเสนอติดตั้งเครื่องจักรเพิ่มราคา โจทก์ไม่ตกลง ศาลสั่งคืนเงินมัดจำ
หลังจากจำเลยได้รับเงินค่ามัดจำไปจากโจทก์แล้ว จำเลยมีหน้าที่ส่งเครื่องจักรไปให้โจทก์ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับเงินมัดจำ แต่จำเลยมิได้ส่งมอบเครื่องจักรให้โจทก์ โจทก์ก็มิได้ทวงถามแต่อย่างใด จนกระทั่งวันที่ 28 พฤษภาคม 2541 หลังครบกำหนดประมาณ 1 ปี 4 เดือน โจทก์จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยคืนเงินมัดจำภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใด แต่จำเลยก็เคยมีมีหนังสือลงวันที่ 7 มกราคม 2541 แจ้งโจทก์ว่าไม่สามารถคืนเงินมัดจำให้ได้ แต่จะยังขายเครื่องจักรให้โจทก์โดยเพิ่มราคาขึ้นจากเดิม แสดงว่าก่อนหน้าที่โจทก์จะมีหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าว โจทก์เคยบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยคืนเงินมัดจำมาแล้ว แต่จำเลยไม่คืนยืนยันว่าจะติดตั้งเครื่องจักรให้โจทก์และขอเพิ่มราคา ซึ่งไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงยินยอมด้วย แต่ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยคืนเงินมัดจำอีก จากนั้นโจทก์และจำเลยไม่ได้ติดต่อกันอีก จนกระทั่งโจทก์มีหนังสือลงวันที่ 24 เมษายน 2544 บอกเลิกสัญญาและให้จำเลยคืนเงินมัดจำพร้อมค่าเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าโจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายต่อกันโดยปริยายตั้งแต่จำเลยเสนอติดตั้งเครื่องจักรให้แก่โจทก์โดยขอเพิ่มราคาจากเดิม เมื่อสัญญาเลิกต่อกันคู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายนับแต่วันที่รับเงินไป เมื่อฟังว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9368/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐทุจริตประมูลงานก่อสร้าง, บิดเบนข้อเท็จจริง, เบียดบังผลประโยชน์, มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยที่ 1 รับราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนโยธา องค์การบริหารส่วนตำบลหัวลำ ช่วยราชการองค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมงาน จำเลยที่ 2 เป็นกำนันตำบลซับจำปา และเป็นกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการตรวจการจ้าง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ตรวจผลการปฏิบัติและตรวจรับงานตามสัญญาจ้าง โดยจำเลยทั้งสองทราบแต่แรกแล้วว่างานจ้างเหมาก่อสร้างถนนตามสัญญามีความยาว 1,350 เมตร การที่จำเลยที่ 1 ไม่ออกไปตรวจสอบการก่อสร้าง ทำให้เกิดความเสียหายเพราะหากจำเลยที่ 1 ไปตรวจย่อมทราบได้ว่าถนนที่ก่อสร้างเสร็จมีความยาวเพียงประมาณ 1,024 เมตร การที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทำหลักฐานเท็จด้วยเจตนาพิเศษที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปาและเป็นการกระทำโดยสุจริต ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปาต้องจ่ายเงินค่าจ้างเกินไป และมีผู้ได้ประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเป็นค่าก่อสร้างที่เกินไปจากความจริง แม้ภายหลังจำเลยที่ 2 จะนำเงินค่ารับจ้างส่วนที่รับเกินไปมาคืน ก็เนื่องมาจากองค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปาแจ้งเรียกเงินคืน จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
จำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ไม่อาจเป็นตัวการในการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 2 จัดทำบันทึกประจำวันและผลการปฏิบัติงานฉบับใหม่มาให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อย่อมลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำผิดได้
จำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ไม่อาจเป็นตัวการในการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 2 จัดทำบันทึกประจำวันและผลการปฏิบัติงานฉบับใหม่มาให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อย่อมลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7820/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีผ่านทนายความ และผลของการไม่ยื่นฎีกาภายในกำหนด
เมื่อทนายโจทก์ได้รับหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 โดยชอบแล้วและในใบแต่งทนายความโจทก์มอบอำนาจให้ทนายโจทก์ดำเนินการแทนโจทก์ถึงชั้นอุทธรณ์และฎีกา กรณีนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้ว โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะอ้างว่าไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาวันที่ 10 มกราคม 2551 ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์แล้ว โดยโจทก์ต้องยื่นฎีกาภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ 3 เมษายน 2550 อีกทั้งที่โจทก์อ้างว่าไม่ได้รับหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และนับแต่ยื่นอุทธรณ์แล้วโจทก์ไม่เคยได้รับการติดต่อจากทนายโจทก์ให้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาภายหลังจากสิ้นระยะเวลาฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์นั้นชอบแล้ว
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาวันที่ 10 มกราคม 2551 ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์แล้ว โดยโจทก์ต้องยื่นฎีกาภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ 3 เมษายน 2550 อีกทั้งที่โจทก์อ้างว่าไม่ได้รับหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และนับแต่ยื่นอุทธรณ์แล้วโจทก์ไม่เคยได้รับการติดต่อจากทนายโจทก์ให้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาภายหลังจากสิ้นระยะเวลาฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7820/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีและการขยายระยะเวลายื่นฎีกา: ทนายความได้รับแจ้งนัดแทนโจทก์ ถือว่าโจทก์ทราบแล้ว
เมื่อทนายโจทก์ได้รับหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 โดยชอบแล้วและในใบแต่งทนายความโจทก์มอบอำนาจให้ทนายโจทก์ดำเนินการแทนโจทก์ถึงชั้นอุทธรณ์และฎีกา กรณีนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้ว โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะอ้างว่าไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นเรื่องที่โจทก์และทนายโจทก์ต้องไปว่ากล่าวกันเอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาล่วงเลยกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา ซึ่งต้องยื่นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 อีกทั้งกรณีไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาภายหลังสิ้นระยะเวลาฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7606/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ในชั้นฎีกา และแก้ไขโทษฐานพาอาวุธปืน
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่ยกขึ้นวินิจฉัยนั้นไม่ชอบแต่อย่างไร การที่จำเลยยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นฎีกาซ้ำอีก ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา และไม่ได้เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7259-7260/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุด: ศาลไม่อาจรื้อฟื้นข้อพิพาทเดิมเพื่อหาแนวเขตใหม่ได้
เมื่อศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด โดยศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังแล้ว ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้แบ่งที่ดินพิพาทโดยถือทางสาธารณประโยชน์ตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่เป็นเส้นแบ่งออกเป็นที่ดินฝั่งเหนือและที่ดินฝั่งใต้ เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และแผนที่มีรายละเอียดในคำวินิจฉัยและวิธีการแบ่งที่พิพาทโดยชัดแจ้งซึ่งคู่ความสามารถนำเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดแล้วแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้ได้ตามสัดส่วนตามแผนที่ และตามรายละเอียดในคำพิพากษาของศาลฎีกาอยู่แล้ว ดังนั้น ตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำแผนที่วิวาทให้เป็นไปตามคำร้องของโจทก์ที่ 1 และแนวเขตทางเดินคอนกรีตตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ตามแผนที่วิวาทขึ้นใหม่นั้นเพื่อหาแนวเส้นประสีเหลืองตามแผนที่อีกครั้ง ถือได้ว่าเป็นการรื้อร้องเรื่องที่ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดแล้วกลับมาเป็นข้อพิพาทขึ้นใหม่ ซึ่งไม่ชอบด้วยวิธีการในชั้นบังคับคดี ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้คู่ความร่วมกันนำรังวัดเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำแผนที่วิวาทนั้นจึงไม่ชอบ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ที่ 1 ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลฎีกาต่อไปนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6938/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องหนี้ค่าสินค้าทางการค้า: ผู้ประกอบการค้า vs. ลูกหนี้ใช้ในธุรกิจ
จำเลยซื้อสินค้าประเภทอาหารกุ้งและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งไปจากโจทก์ โดยจำนวนสินค้าที่จำเลยซื้อจากโจทก์แต่ละครั้งมีจำนวนหลายรายการและมีปริมาณค่อนข้างมาก อีกทั้งสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าประเภทอาหารกุ้งและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งซึ่งโดยสภาพของสินค้านั้นนำไปใช้กับกิจการเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งเท่านั้น ประกอบกับกิจการการเลี้ยงกุ้งเป็นการเลี้ยงไว้เพื่อจำหน่ายมิใช่เลี้ยงไว้เพื่อบริโภคเอง การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อใช้ในกิจการของลูกหนี้นั้นเอง สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย