พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5839/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าก่อสร้างด้วยเช็ค การพิสูจน์ภาระหน้าที่ และความน่าเชื่อถือของหลักฐาน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองใช้เงินตามเช็คที่สั่งจ่ายให้แก่โจทก์ โดยระบุรายละเอียดของเช็คพิพาท และแนบสำเนาภาพถ่ายเช็คพิพาทมาท้ายฟ้อง พร้อมทั้งคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ย คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ครบถ้วนแล้ว ส่วนมูลหนี้ตามเช็คพิพาทจะเป็นการชำระหนี้อะไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าก่อสร้าง จำเลยทั้งสองให้การรับว่าเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่โจทก์จริง แต่อ้างว่าเป็นการออกเช็คเพื่อให้โจทก์นำไปเป็นหลักประกันค่ายืมวัสดุก่อสร้าง ทั้งจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ค่าก่อสร้างแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองปฏิเสธว่าเช็คพิพาททั้งหกฉบับไม่มีมูลหนี้ จำเลยทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้ตามข้อกล่าวอ้างของตน
เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าก่อสร้าง จำเลยทั้งสองให้การรับว่าเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่โจทก์จริง แต่อ้างว่าเป็นการออกเช็คเพื่อให้โจทก์นำไปเป็นหลักประกันค่ายืมวัสดุก่อสร้าง ทั้งจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ค่าก่อสร้างแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองปฏิเสธว่าเช็คพิพาททั้งหกฉบับไม่มีมูลหนี้ จำเลยทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้ตามข้อกล่าวอ้างของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21183/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สำเนาบัตรประชาชนโดยมิชอบเพื่อเช่าบริการโทรศัพท์ ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและเอาเอกสารไปเสีย
การที่จำเลยแอบอ้างขอสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจากผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 15 โดยอ้างว่าจะนำไปเข้าร่วมโครงการต่อต้านยาเสพติดให้โทษ แต่กลับนำไปใช้เป็นเอกสารยื่นคำขอและทำสัญญาเช่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กับผู้เสียหายที่ 16 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน และฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 188 และ 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13564/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดระยะเวลาปรับรายวันสำหรับก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอน
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21, 65 วรรคสอง กำหนดให้ปรับเป็นรายวันตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง หมายความว่าจนกว่าจำเลยจะได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารจากพนักงานท้องถิ่น หรือจนกว่าจำเลยจะดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ เมื่อปรากฏว่า อาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ครบกำหนดที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งภายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 คดีนี้จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนและอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต่อมาคณะกรรมการมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลย โดยจำเลยได้รับผลการพิจารณาเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2550 จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นในวันที่ 27 พฤษภาคม 2550 ดังนั้น ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตย่อมสิ้นสุดลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2550 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยได้รับผลการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หลังจากนั้นเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง การกระทำส่วนนี้ของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42, 66 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง และไม่เป็นความผิดตามมาตรา 21, 65 วรรคสอง อีกต่อไป ดังนั้น ค่าปรับรายวันในส่วนที่จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงนับแต่วันที่ 18 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 26 พฤษภาคม 2550 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22121/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนของกลาง (สร้อยคอทองคำ) แม้ศาลมิได้สั่งริบ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนได้ตามกฎหมาย
คดีนี้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า ยึดสร้อยคอทองคำหนัก 2 บาท เป็นของกลาง แม้จะปรากฏตามบัญชีของกลางคดีอาญาว่า เจ้าพนักงานตำรวจยึดสร้อยคอทองคำหนัก 2 บาท มาด้วยก็ตาม เมื่อศาลมิได้สั่งริบ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และมาตรา 186 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12193/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโดยมิได้สืบพยานในชั้นพิจารณา เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การพิจารณาและสืบพยานในศาลให้ทำ โดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ประกอบกับขณะมีการพิจารณาคดีนี้ ป.วิ.อ. ยังมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 226/5 ซึ่งมีข้อความว่า ในชั้นพิจารณาหากมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควร ศาลอาจรับฟังบันทึกคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้ แม้โจทก์มีพยานมาสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และในชั้นพิจารณาจำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ออกเช็คตามฟ้องและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองได้แถลงร่วมกันว่า ประสงค์จะต่อสู้ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 โจทก์จึงมีภาระต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อให้ได้ความจริงว่า จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามฟ้องจริง เมื่อโจทก์ไม่นำพยานเข้าสืบในชั้นพิจารณา คงยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีต่อศาลชั้นต้น จึงรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่นำสืบพยานเพื่อสนับสนุนว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิด จึงไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7968/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม (แผ่นป้ายทะเบียน/เสียภาษี) ร่วมกับรับของโจร ศาลฎีกาพิจารณาความผิดฐานปลอมและใช้เป็นกรรมเดียว
บันทึกคำให้การของ ส. ข. และ ด. เป็นคำให้การที่มีรายละเอียดได้เล่าถึงเหตุการณ์ก่อนถูกเจ้าพนักงานตำรวจทำการจับกุม โดยบุคคลทั้งสามต่างให้การว่า จำเลยเป็นผู้มีส่วนร่วมและรู้เห็นกับการกระทำความผิดมาตั้งแต่ต้น แม้บันทึกคำให้การของบุคคลทั้งสามจะเป็นพยานบอกเล่าก็ตาม แต่โจทก์มีร้อยตำรวจเอก บ. ซึ่งเป็นผู้สอบสวนพยานมาเบิกความรับรอง ประกอบกับทั้งสามคนต่างได้ถูกฟ้องในความผิดเกี่ยวกับรับของโจรและร่วมกันปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษคดีถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น คำให้การของบุคคลทั้งสามดังกล่าวจึงรับฟังสนับสนุนพยานโจทก์ได้ นอกจากนี้ ตามพฤติการณ์ของจำเลยก่อนและขณะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำการตรวจรถยังได้ความว่าจำเลยกับ ส. กับพวกเดินทางมาจากกรุงเทพมหานครพร้อมกัน ทั้งยังได้เข้าร่วมเจรจากับกลุ่มชาวกัมพูชาที่ตลาดบ้านแหลมจนกระทั่งขับรถยนต์ทั้งสองคันออกจากตลาดบ้านแหลมพร้อมกันและถูกเรียกตรวจพร้อมกัน จำเลยยังได้แอบอ้างแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งขอความอนุเคราะห์ให้ปล่อยรถยนต์คันที่ ส. เป็นผู้ขับ พฤติการณ์ของจำเลยตามที่พยานโจทก์นำสืบย่อมแสดงออกได้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยรู้เห็นเป็นใจและร่วมกับ ส. กับพวกปลอมทะเบียนรถยนต์และปลอมแผ่นป้ายวงกลมเสียภาษีรถยนต์ซึ่งติดอยู่กับรถยนต์คันที่ ส. เป็นผู้ขับจริง
แต่การปลอมและใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอมนั้น ตามพฤติการณ์เห็นได้ว่า จำเลยกับพวกมีเจตนาอย่างเดียวกันคือ ให้บุคคลทั่วไปและเจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยในประเด็นนี้จึงเป็นกรรมเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
แต่การปลอมและใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอมนั้น ตามพฤติการณ์เห็นได้ว่า จำเลยกับพวกมีเจตนาอย่างเดียวกันคือ ให้บุคคลทั่วไปและเจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยในประเด็นนี้จึงเป็นกรรมเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8686/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางผ่านที่ดินของผู้อื่นในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยมีค่าตอบแทน และผลผูกพันต่อทายาท
ทางพิพาทอยู่บนที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประชาชนที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์มีเพียงสิทธิครอบครอง ดังนั้น ผู้ครอบครองจึงไม่อาจนำที่ดินออกขาย แต่เมื่อพิเคราะห์สัญญาซื้อขายที่ดินเพื่อทำทางพิพาท ก็พอจะแปลเจตนาของคู่สัญญาได้ว่า เป็นการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนในการอนุญาตให้ใช้ทางพิพาท โดยได้รับค่าตอบแทน 2,000 บาท สัญญาดังกล่าวจึงเป็นบุคคลสิทธิผูกพันให้คู่สัญญาต้องปฏิบัติตาม โจทก์เป็นบุตรของ อ. ผู้ซื้อ ส่วนจำเลยเป็นบุตรของ ผ. ซึ่งเป็นผู้ทำประโยชน์ที่ดินดังกล่าว ขณะ ห. รับเงินค่าตอบแทนการใช้ทางพิพาท ผ. ยังเป็นผู้ครอบครองอยู่ ปัจจุบันโจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาทผู้สืบสิทธิของ อ. และ ผ. ในที่ดินในเขตปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรม จึงต้องผูกพันตามข้อตกลงที่อนุญาตให้ใช้ทางพิพาทตามที่สัญญาไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นไม่ให้โจทก์ใช้ทางพิพาท ส่วนโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิจะขอให้ศาลพิพากษาว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8542/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การร่วมกันกระทำผิด และการใช้คำรับสารภาพที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นั่งรถคันเดียวกันมาที่ร้านอาหาร แล้วจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เจรจาตกลงขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ดาบตำรวจ ก. ต่อมาสิบตำรวจโท ป. พาจำเลยที่ 3 ไปตรวจนับเงินค่าเมทแอมเฟตามีน วันรุ่งขึ้นจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มาที่จุดนัดหมาย จำเลยที่ 1 ตรวจนับเงิน จำเลยที่ 2 พาสิบตำรวจโท ป. ไปรับเมทแอมเฟตามีนที่สถานีบริการน้ำมันคิวเอท ส่วนจำเลยที่ 4 นำเมทแอมเฟตามีนมามอบให้จำเลยที่ 2 ที่สถานีบริการน้ำมันคิวเอทและจำเลยที่ 2 ส่งมอบต่อให้สายลับในทันที พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสี่ฟังได้ว่า จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันรู้เห็นเป็นใจและแบ่งหน้าที่กันทำมาตั้งแต่ต้น
ที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่า คำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและคำให้การในชั้นสอบสวนซึ่งเจ้าพนักงานไม่ได้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้ทราบก่อนและไม่ได้แจ้งว่าจะไม่ให้การก็ได้เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84, 134/1 และ 134/4 นั้น เห็นว่า มาตรา 84, 134/1 และ 134/4 ได้มีการแก้ไขโดยพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป โดยไม่มีผลบังคับย้อนหลัง จึงไม่กระทบต่อกระบวนพิจารณาความอาญาที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว แต่คำรับสารภาพในชั้นจับกุมและคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 4 ได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับ คำรับสารภาพในชั้นจับกุมและคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องห้ามใช้เป็นพยานหลักฐาน
ที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่า คำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและคำให้การในชั้นสอบสวนซึ่งเจ้าพนักงานไม่ได้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้ทราบก่อนและไม่ได้แจ้งว่าจะไม่ให้การก็ได้เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84, 134/1 และ 134/4 นั้น เห็นว่า มาตรา 84, 134/1 และ 134/4 ได้มีการแก้ไขโดยพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป โดยไม่มีผลบังคับย้อนหลัง จึงไม่กระทบต่อกระบวนพิจารณาความอาญาที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว แต่คำรับสารภาพในชั้นจับกุมและคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 4 ได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับ คำรับสารภาพในชั้นจับกุมและคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องห้ามใช้เป็นพยานหลักฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3663/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ – บุตรชอบด้วยกฎหมาย – สิทธิใช้ชื่อสกุล – ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148/145
แม้โจทก์คดีนี้จะเป็นจำเลยในคดีก่อนและถูกฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดก แต่ผู้จัดการมรดกถือว่าเป็นผู้แทนของทายาท เมื่อโจทก์เป็นทายาทด้วยคนหนึ่งต้องถือว่าโจทก์ในฐานะส่วนตัวเป็นคู่ความในคดีก่อนด้วย คู่ความคดีนี้และคู่ความในคดีก่อนจึงเป็นคู่ความเดียวกัน
คดีก่อนมีประเด็นวินิจฉัยว่า โจทก์คดีก่อนซึ่งเป็นจำเลยคดีนี้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ประเด็นคดีนี้มีว่าจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพื่อที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยคดีนี้มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือไม่ จึงถือว่าประเด็นในคดีนี้และประเด็นในคดีก่อนเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ในปัญหาว่า จำเลยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือไม่ คำพิพากษาคดีก่อนที่พิพากษาว่า จำเลยคดีนี้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1561
คดีก่อนมีประเด็นวินิจฉัยว่า โจทก์คดีก่อนซึ่งเป็นจำเลยคดีนี้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ประเด็นคดีนี้มีว่าจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพื่อที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยคดีนี้มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือไม่ จึงถือว่าประเด็นในคดีนี้และประเด็นในคดีก่อนเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ในปัญหาว่า จำเลยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือไม่ คำพิพากษาคดีก่อนที่พิพากษาว่า จำเลยคดีนี้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1561
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องสอด: ศาลวินิจฉัยสถานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อพิจารณาการมีส่วนได้เสียในคดีมรดก
การพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดหรือไม่ มีประเด็นต้องวินิจฉัย 2 ประเด็น คือ ประเด็นว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องมีอำนาจร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้หรือไม่ และประเด็นว่ากรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้เข้ามาในคดีได้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ร้องมีส่วนได้เสียในคดีนี้ จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจร้องสอดของผู้ร้อง คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกคำร้องสอดหรือนอกประเด็น แม้คำวินิจฉัยที่ว่า ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบ ของเจ้ามรดกมีผลกระทบต่อสิทธิ ของโจทก์ในฐานะทายาทของเจ้ามรดก ซึ่งทำให้โจทก์มีสิทธิฎีกา ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่ใช่ภริยาโดยชอบก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาสำคัญที่สมควรนำไปวินิจฉัย ในคดีที่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาโดยตรงของคดีเมื่อคดีนี้ผู้ร้องไม่ได้ ฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ที่ยกคำร้องสอด เพราะไม่เห็นสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ปัญหาในเรื่องการร้องสอดของผู้ร้องจึงยุติไปแล้ว การที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ของโจทก์ ไม่ว่าวินิจฉัยในทางใดย่อมไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลล่าง ฎีกาข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ในคดีนี้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 219 วรรคสอง และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง