พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8876/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา แม้ไม่ได้อ้างมาตรากฎหมายโดยตรง และผลของการไม่ลงชื่อในบันทึกคำฟ้อง
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ และเป็นหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจาเพื่อสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหาใดและขอให้ลงโทษตามบทกฎหมายใดบ้าง จึงต้องพิจารณาจากฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้และบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกัน
แม้บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์จะไม่ได้อ้างกฎหมายและบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ระบุว่าขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 43,157 อันเป็นการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสแล้วฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานนี้จึงชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรคสอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในกรณีที่ฟ้องหรือให้การด้วยวาจา ให้ศาล บันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้" มีความหมายว่าให้คู่ความลงชื่อไว้ก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าศาลบันทึกฟ้องด้วยวาจาถูกต้อง เท่านั้น การที่คู่ความไม่ได้ลงชื่อไว้ในคดีนี้เกิดจากเจ้าพนักงานศาลไม่ได้ นำไปให้คู่ความลงชื่อเป็นเพียงความบกพร่องเท่านั้น คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและระหว่างสืบเสาะและพินิจจำเลยในกำหนด 15 วัน และ นัดฟังคำพิพากษา ผู้เสียหายขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และขอถ่ายเอกสารบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่ศาลบันทึกไว้และเอกสารอื่น ๆ อีก จนกระทั่งถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลได้แจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจให้จำเลยทราบ และศาลอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้วโดยโจทก์ โจทก์ร่วม และจำเลยได้ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว ซึ่งไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งถึงความบกพร่องดังกล่าวอีกทั้งโจทก์และโจทก์ร่วมก็มิได้ ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงถือว่าคู่ความทุกฝ่ายยอมรับ โดยปริยายแล้วกระบวนการพิจารณาดังกล่าวหาได้เสียไปไม่
แม้บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์จะไม่ได้อ้างกฎหมายและบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ระบุว่าขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 43,157 อันเป็นการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสแล้วฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานนี้จึงชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรคสอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในกรณีที่ฟ้องหรือให้การด้วยวาจา ให้ศาล บันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้" มีความหมายว่าให้คู่ความลงชื่อไว้ก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าศาลบันทึกฟ้องด้วยวาจาถูกต้อง เท่านั้น การที่คู่ความไม่ได้ลงชื่อไว้ในคดีนี้เกิดจากเจ้าพนักงานศาลไม่ได้ นำไปให้คู่ความลงชื่อเป็นเพียงความบกพร่องเท่านั้น คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและระหว่างสืบเสาะและพินิจจำเลยในกำหนด 15 วัน และ นัดฟังคำพิพากษา ผู้เสียหายขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และขอถ่ายเอกสารบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่ศาลบันทึกไว้และเอกสารอื่น ๆ อีก จนกระทั่งถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลได้แจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจให้จำเลยทราบ และศาลอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้วโดยโจทก์ โจทก์ร่วม และจำเลยได้ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว ซึ่งไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งถึงความบกพร่องดังกล่าวอีกทั้งโจทก์และโจทก์ร่วมก็มิได้ ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงถือว่าคู่ความทุกฝ่ายยอมรับ โดยปริยายแล้วกระบวนการพิจารณาดังกล่าวหาได้เสียไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4449/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องฐานเป็นเจ้าสำนักจัดให้มีการเล่นการพนัน ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีข้อความย่อ ศาลฎีกายกประเด็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้ในบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จะบรรยายถึงฐานความผิดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 รับเป็นเจ้าบ้านฯ อันเป็นการใช้คำอย่างย่อโดยละข้อความที่จะตามมาเสีย แต่ในเอกสารฉบับเดียวกันนั่นเองเมื่อกล่าวถึงฐานความผิดของจำเลยที่ 1 ก็บรรยายโดยใช้คำเต็มว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าบ้านจัดให้มีการเล่นและเมื่อศาลชั้นต้นได้บันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาตรา 19 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าสำนักผู้จัดการให้มีการเล่นเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน จึงย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 นั่นเอง คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพการที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันจึงมิใช่เป็นเรื่องพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวมาในฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2ยังมิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ไม่ร้ายแรงนัก จึงมีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 และคุมความประพฤติไว้ กรณีเช่นว่าเป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 โดยรอการลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนันการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนันอีกฐานหนึ่ง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้พิพากษาแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2ยังมิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ไม่ร้ายแรงนัก จึงมีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 และคุมความประพฤติไว้ กรณีเช่นว่าเป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 โดยรอการลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนันการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนันอีกฐานหนึ่ง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้พิพากษาแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพผิดในคดีหลีกเลี่ยงการตรวจเลือกทหาร และการยืนยันคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติ รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จำเลย ให้การรับสารภาพว่า กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยมิได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดฐานอื่น มิใช่ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้องข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง และกรณีไม่มีปัญหามาสู่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนจำเลยในข้อหาที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญา ในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ก็ตามแต่การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริง ที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะแนบสำเนาเอกสารบันทึกคำให้การของผู้กล่าวหา คำให้การของผู้ต้องหา รวมทั้งสำเนาหนังสือของสำนักงานเขต ที่แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลย ในความผิด ฐานไม่ไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็น ภูมิลำเนาทหารของจำเลย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 25 และ 44 มากับ คำฟ้องฎีกา แต่ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวไม่เพียงพอ ให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนจำเลย ในความผิดที่โจทก์ฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าพนักงานอัยการโจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติ รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จึงรับฟังมิได้ โจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง จำเลยให้การรับสารภาพผิดต่อศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลว่าจำเลยมิได้กระทำผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้อง หรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 วรรคหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยจึงชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุ ที่ศาลฎีกาจะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์หรือพิพากษา แก้เป็นลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นนอกเหนือ ไปจากคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกายืนโทษจำเลยคดีหลีกเลี่ยงการตรวจเลือกทหาร โดยศาลฎีกาเห็นว่าการรับสารภาพของจำเลยมีน้ำหนัก และไม่มีเหตุให้แก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จำเลยให้การรับสารภาพว่า กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดฐานอื่น มิใช่ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง และกรณีไม่มีปัญหามาสู่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนจำเลยในข้อหาที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ก็ตามแต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะแนบสำเนาเอกสารบันทึกคำให้การของผู้กล่าวหา คำให้การของผู้ต้องหา รวมทั้งสำเนาหนังสือของสำนักงานเขตที่แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานไม่ไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของจำเลย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 25 และ 44มากับคำฟ้องฎีกา แต่ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวไม่เพียงพอให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดที่โจทก์ฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จึงฟังไม่ขึ้น โจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง จำเลยให้การรับสารภาพผิดต่อศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลว่าจำเลยมิได้กระทำผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้องหรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยจึงชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์หรือพิพากษาแก้เป็นลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นนอกเหนือไปจากคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องคดีอาญาต้องระบุข้อเท็จจริงตามกฎหมายอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินบำเหน็จ
ตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติการประมงฯ มาตรา 71 บัญญัติ ให้ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ต้องจ่ายเงินบำเหน็จ แก่ผู้นำจับตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด การที่ศาลจะสั่งให้ จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จจำต้องพิจารณาจากระเบียบที่ รัฐมนตรีกำหนดขึ้นและระเบียบดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องบรรยายมาให้ศาลทราบหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาด้วย เพื่อที่ศาลจะได้พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้แนบระเบียบดังกล่าวมา ศาลจึงไม่อาจพิพากษา ให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จได้ ทั้งนี้เนื่องจากการที่ศาลจะ พิพากษาให้จำเลยจ่ายบำเหน็จเป็นเรื่องสำคัญมีผลเท่ากับลงโทษ ทางอาญาแก่จำเลยและระเบียบดังกล่าวคือข้อเท็จจริงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีตามมาตรา 19แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 การที่ศาลอุทธรณ์ยกเรื่องการจ่ายเงินบำเหน็จตาม พระราชบัญญัติการประมงฯ มาตรา 71 ขึ้นมาพิพากษามิใช่ เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง หากแต่ เป็นการยกเรื่องข้อบกพร่องของคำฟ้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยมาพิพากษาให้เป็นประโยชน์แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้จ่ายเงินบำเหน็จผู้นำจับต้องอาศัยระเบียบของรัฐมนตรี โจทก์ต้องแนบระเบียบดังกล่าวต่อศาล
ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490มาตรา 71 การที่ศาลจะสั่งให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จจำต้อง พิจารณาจากระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดขึ้นระเบียบดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริง รัฐมนตรีได้ออกระเบียบไว้หรือไม่มีเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จไว้อย่างไร จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องบรรยายฟ้องมาให้ศาลทราบหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาด้วย เพื่อที่ศาลจะได้พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้แนบระเบียบดังกล่าวมาให้ศาลทราบศาลจึงไม่อาจที่จะพิพากษาให้จำเลยจ่ายบำเหน็จได้ ทั้งนี้เนื่องจากการที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายบำเหน็จเป็นเรื่องสำคัญมีผลเท่ากับลงโทษทางอาญาแก่จำเลย เพราะหากจำเลยไม่จ่ายเงินบำเหน็จแล้ว บทบัญญัติมาตรานี้ให้บังคับชำระเช่นเดียวกับการบังคับชำระค่าปรับในคดีอาญาโจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาให้ศาลทราบ ระเบียบดังกล่าวคือข้อเท็จจริงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ตามมาตรา 19 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499ปัญหาเรื่องข้อบกพร่องของคำฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลย่อมยกขึ้นมาพิพากษาให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยได้ ดังนี้ การที่ศาลยกเรื่องการจ่ายเงินบำเหน็จขึ้นมาพิพากษา จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต้องระบุองค์ประกอบความผิดครบถ้วน หากฟ้องไม่ชัดเจน แม้จำเลยรับสารภาพก็ลงโทษไม่ได้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 20 โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติ ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 19 ด้วย และหากโจทก์ฟ้องด้วยวาจามีข้อเท็จจริง ดังกล่าวแล้ว ศาลก็จะบันทึกคำฟ้องของโจทก์ให้ได้ใจความแห่งข้อหาไว้เป็นหลักฐานเพื่อพิพากษาคดีนั้นต่อไป การที่จะถือว่าทหารกองเกินหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ เข้ารับราชการทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2499 มาตรา 45 ต้องเป็นการหลีกเลี่ยงขัดขืนหมานัดของนายอำเภอตามมาตรา 34 ด้วย ดังนั้น องค์ประกอบ ความผิดตามมาตรา 45 จึงประกอบด้วยนายอำเภอออกหมายนัดจำเลยรับหมายนัดแล้ว และมีการขัดขืนหมายนั้น แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้โจทก์บรรยายฟ้อง เพียงว่า จำเลยซึ่งเป็นทหารกองเกินและถูกคัดเลือกให้ เข้ากองประจำการในผลัดที่ 1/2540 ในวันที่ 5 เมษายน 2540แต่หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ไปรายงานตัวตามกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า กำหนดให้ไปรายงานตัวได้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะไม่ปรากฏว่านายอำเภอได้ออกหมายนัด และจำเลยได้รับหมายนัดแล้ว เมื่อฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิดตามบทมาตราดังกล่าว จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาด้วยวาจาต้องระบุองค์ประกอบความผิดครบถ้วน การพิสูจน์ตัวบุคคลในคดีซ้ำซ้อนต้องมีการสืบพยาน
การฟ้องด้วยวาจาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงครบถ้วนพอที่ศาลจะพิจารณาลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษ ประกอบด้วยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาสถานที่และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499มาตรา 19 เมื่อโจทก์ฟ้องด้วยวาจาโดยมีข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลจะบันทึกคำฟ้องของโจทก์ให้ได้ใจความแห่งข้อหาไว้เป็นหลักฐานเพื่อพิพากษาคดีนั้นต่อไป
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้โจทก์เพียงแต่บรรยายฟ้องว่าจำเลยขายกาวโทลูอินอันเป็นสารระเหย 2 กระป๋องให้แก่สายลับผู้มีอายุ 15 ปี อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยมิได้ระบุว่าจำเลยรู้หรือควรรู้ว่า ผู้ซื้อเป็นผู้ติดสารระเหยอันเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 แห่งพระราชกฤษฎีกาป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 คำฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ จึงขาดองค์ประกอบแห่งความผิดตามบทมาตราดังกล่าว เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
แม้ตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้จะระบุว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก3 เดือน ปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 จำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้อีก ขอให้บวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษจำเลยคดีนี้ก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 ของศาลชั้นต้นและศาลดังกล่าวได้พิพากษาลงโทษและรอการลงโทษจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปีนั้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายในบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ ทั้งเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏแต่ตามบันทึกคำรับสารภาพของจำเลย จำเลยเพียงแต่ให้การรับสารภาพตลอดข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การรับว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้องและโจทก์ก็มิได้นำสืบให้ปรากฏเช่นนั้นข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 ของศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำขอในส่วนนี้
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้โจทก์เพียงแต่บรรยายฟ้องว่าจำเลยขายกาวโทลูอินอันเป็นสารระเหย 2 กระป๋องให้แก่สายลับผู้มีอายุ 15 ปี อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยมิได้ระบุว่าจำเลยรู้หรือควรรู้ว่า ผู้ซื้อเป็นผู้ติดสารระเหยอันเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 แห่งพระราชกฤษฎีกาป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 คำฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ จึงขาดองค์ประกอบแห่งความผิดตามบทมาตราดังกล่าว เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
แม้ตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้จะระบุว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก3 เดือน ปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 จำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้อีก ขอให้บวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษจำเลยคดีนี้ก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 ของศาลชั้นต้นและศาลดังกล่าวได้พิพากษาลงโทษและรอการลงโทษจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปีนั้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายในบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ ทั้งเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏแต่ตามบันทึกคำรับสารภาพของจำเลย จำเลยเพียงแต่ให้การรับสารภาพตลอดข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การรับว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้องและโจทก์ก็มิได้นำสืบให้ปรากฏเช่นนั้นข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 ของศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำขอในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5253/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องด้วยวาจาในคดีทางหลวง และการรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา19ให้ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่และก่อนศาลบันทึกฟ้องดังกล่าวศาลอาจจะสอบถามโจทก์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่างๆที่จำเลยกระทำความผิดได้แต่ก็จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้น ข้อความที่ศาลบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลได้ความว่าจำเลยขับรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดบนทางหลวงอันเป็นความผิดทั้งได้ระบุสถานที่ที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้และจำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้องแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีหาจำต้องระบุข้อเท็จจริงว่าเป็นทางหลวงสายใดไม่คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5) จำเลยมีความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษซึ่งศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหานี้ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องในคดีขับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน และการใช้ดุลพินิจรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา19ให้ศาลบันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่และก่อนศาลบันทึกฟ้องดังกล่าวศาลอาจจะสอบถามโจทก์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่างๆที่จำเลยกระทำความผิดได้แต่ก็จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้นเมื่อพิจารณาใจความที่ศาลบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติทางหลวงพ.ศ.2535แล้วได้ความว่าเมื่อวันที่22ธันวาคม2537เวลากลางวันจำเลยขับรถยนต์บรรทุกลากจูงและรถพ่วงบรรทุกหินคลุกมีน้ำหนักยานพาหนะหรือน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฎิบัติตามประกาศผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษเรื่องห้ามใช้ยานพาหนะโดยที่พยานพาหนะนั้นมีน้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนดเดินบนทางหลวงลงวันที่1กันยายน2535ซึ่งเป็นการระบุข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดแล้วกล่าวคือจำเลยขับรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดบนทางหลวงอันเป็นความผิดทั้งได้ระบุสถานที่ที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้และจำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้องแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีหาจำต้องระบุข้อเท็จจริงว่าเป็นทางหลวงสายใดไม่คำฟ้องในข้อหานี้ของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)แล้ว โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้ไม่รอการลงโทษแก่จำเลยแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย