พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องด้วยวาจาต่อศาลแขวง ผู้ต้องสารภาพ การเข้าใจข้อหาเพียงพอ และวัตถุประสงค์ของประกาศ
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรค 2,4และมาตรา 20 แสดงว่าวิธีพิจารณาของศาลแขวงนั้น ต้องการให้ดำเนินการให้เสร็จไปโดยเร็ว ทั้งการฟ้องด้วยวาจาต่อศาลแขวงนั้นกฎหมายก็มิได้เคร่งครัดเหมือนการฟ้องด้วยลายลักษณ์อักษรตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1121/2502
คดีที่เสนอคำฟ้องด้วยวาจาต่อศาลแขวง กล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควร ที่สั่งห้ามมิให้นำน้ำแข็งเข้ามาในเขตท้องที่โดยอ้างประกาศของคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรเรื่องห้ามนำน้ำแข็งนอกเขตจังหวัดเข้ามาจำหน่ายในเขตจังหวัดซึ่งเป็นประกาศที่เกี่ยวกับเรื่องโดยตรงมาแต่เพียงฉบับเดียวเมื่อศาลสอบถาม จำเลยก็คงรับสารภาพผิดเช่นเดียวกับที่รับสารภาพต่อพนักงานสอบสวน เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยพอเข้าใจข้อหาอันเป็นความผิดได้ดีแล้ว จำเลยจะกลับโต้เถียงมาในฎีกาว่าประกาศฉบับนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีผลบังคับหาได้ไม่
คดีที่เสนอคำฟ้องด้วยวาจาต่อศาลแขวง กล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควร ที่สั่งห้ามมิให้นำน้ำแข็งเข้ามาในเขตท้องที่โดยอ้างประกาศของคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรเรื่องห้ามนำน้ำแข็งนอกเขตจังหวัดเข้ามาจำหน่ายในเขตจังหวัดซึ่งเป็นประกาศที่เกี่ยวกับเรื่องโดยตรงมาแต่เพียงฉบับเดียวเมื่อศาลสอบถาม จำเลยก็คงรับสารภาพผิดเช่นเดียวกับที่รับสารภาพต่อพนักงานสอบสวน เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยพอเข้าใจข้อหาอันเป็นความผิดได้ดีแล้ว จำเลยจะกลับโต้เถียงมาในฎีกาว่าประกาศฉบับนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีผลบังคับหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการส่วนจังหวัดในการออกประกาศห้ามนำสินค้าควบคุมเข้ามาในท้องที่เพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร
คณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควร ได้ออกประกาศระบุชื่อหรือประเภทสิ่งของและกำหนดราคาสูงสุดของสิ่งของนั้นตามข้อ 1 มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 กับห้ามขายสิ่งของที่ระบุชื่อนั้นเกินราคาที่กำหนดย่อมเท่ากับสั่งห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควรในสิ่งของนั้นในเขตท้องที่ที่อยู่ในอำนาจไว้ก่อนแล้ว แล้วได้ออกประกาศห้ามนำสิ่งของที่ระบุชื่อไว้แล้วนั้น นอกเขตท้องที่เข้ามาในท้องที่ อันเป็นการสั่งการเกี่ยวกับสิ่งของที่ห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควรตามข้อ 6 ในมาตรา 8 แม้ต่อมาจะได้ออกประกาศอีกฉบับหนึ่งยกเลิกประกาศฉบับแรกแต่ก็เป็นเรื่องและมีข้อความอย่างเดียวกัน เว้นแต่ราคาสูงสุดของสิ่งของที่ห้ามค้ากำไรเกินควรเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ถือได้ว่าคณะกรรมการฯ ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามลำดับดังที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ประกาศห้ามนำสิ่งของนอกเขตจังหวัดเข้ามาในเขตจังหวัดจึงมีผลบังคับใช้ได้
ประกาศระบุข้อความไว้แล้วว่าเพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควรเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงในสำนวนจะให้ฟังได้เป็นอย่างอื่นก็ต้องฟังว่าประกาศฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33/2514)
ประกาศระบุข้อความไว้แล้วว่าเพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควรเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงในสำนวนจะให้ฟังได้เป็นอย่างอื่นก็ต้องฟังว่าประกาศฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการส่วนจังหวัดในการควบคุมราคาสินค้าและห้ามนำเข้าสินค้าเพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร
คณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควร ได้ออกประกาศระบุชื่อหรือประเภทสิ่งของและกำหนดราคาสูงสุดของสิ่งของนั้นตามข้อ 1 มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรพ.ศ. 2490 กับห้ามขายสิ่งของที่ระบุชื่อนั้นเกินราคาที่กำหนดย่อมเท่ากับสั่งห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควรในสิ่งของนั้นในเขตท้องที่ที่อยู่ในอำนาจไว้ก่อนแล้ว แล้วได้ออกประกาศห้ามนำสิ่งของที่ระบุชื่อไว้แล้วนั้น นอกเขตท้องที่เข้ามาในท้องที่ อันเป็นการสั่งการเกี่ยวกับสิ่งของที่ห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควรตามข้อ 6 ในมาตรา 8แม้ต่อมาจะได้ออกประกาศอีกฉบับหนึ่งยกเลิกประกาศฉบับแรกแต่ก็เป็นเรื่องและมีข้อความอย่างเดียวกัน เว้นแต่ราคาสูงสุดของสิ่งของที่ห้ามค้ากำไรเกินควรเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ถือได้ว่าคณะกรรมการฯ ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามลำดับดังที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ประกาศห้ามนำสิ่งของนอกเขตจังหวัดเข้ามาในเขตจังหวัดจึงมีผลบังคับใช้ได้
ประกาศระบุข้อความไว้แล้วว่าเพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควรเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงในสำนวนจะให้ฟังได้เป็นอย่างอื่นก็ต้องฟังว่าประกาศฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33/2514)
ประกาศระบุข้อความไว้แล้วว่าเพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควรเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงในสำนวนจะให้ฟังได้เป็นอย่างอื่นก็ต้องฟังว่าประกาศฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาด้วยวาจา ต้องได้ความชัดเจนพอพิพากษา หากไม่ชัดต้องคืนคดีให้ผู้ว่าคดีดำเนินการต่อ
ศาลแขวงบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาไว้ว่า จำเลยเข้าไปในเขตอาคารเก็บรักษาทรัพย์สินค้า ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 ข้อหาเช่นนี้ย่อมหมายรวมทั้งตัวอาคารและเขตของอาคารด้วย ซึ่งไม่ชัดพอที่จะเป็นผิดฐานบุกรุกตามมาตราที่โจทก์ฟ้องได้และจำเลยก็ให้การว่าเข้าไปเดินอยู่ที่ถนนภายในเขตอาคารเก็บสินค้าเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าไม่ได้รับเต็มตามข้อหา จึงเป็นเรื่องที่ศาลต้องสั่งคืนผู้ต้องหาไห้ผู้ว่าคดีรับไปดำเนินการต่อไปตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ. 2499
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา ต้องมีข้อเท็จจริงชัดเจนเพียงพอต่อการพิพากษา หากไม่ชัดเจนต้องคืนคดีให้พนักงานสอบสวน
ศาลแขวงบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาไว้ว่า จำเลยเข้าไปในเขตอาคารเก็บรักษาทรัพย์สินค้า ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 ข้อหาเช่นนี้ย่อมหมายรวมทั้งตัวอาคารและเขตของอาคารด้วย ซึ่งไม่ชัดพอที่จะเป็นผิดฐานบุกรุกตามมาตราที่โจทก์ฟ้องได้และจำเลยก็ให้การว่าเข้าไปเดินอยู่ที่ถนนภายในเขตอาคารเก็บสินค้าเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าไม่ได้รับเต็มตามข้อหา จึงเป็นเรื่องที่ศาลต้องสั่งคืนผู้ต้องหาให้ผู้ว่าคดีรับไปดำเนินการต่อไปตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ. 2499
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องด้วยวาจาต้องระบุข้อเท็จจริงชัดเจนพอให้ศาลพิจารณาลงโทษได้ หากฟ้องไม่ชัดเจนแต่มีหลักฐานอื่นประกอบก็ใช้ได้
ฟ้องด้วยวาจานั้น ผู้ว่าคดีต้องบรรยายข้อเท็จจริงให้ปรากฏครบถ้วนพอที่ศาลจะลงโทษตามบทกฎหมายที่ขอประกอบด้วยข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควร เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและมาตราซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 19 ด้วย และเป็นหน้าที่ของศาลต้องถามผู้ต้องหาถ้าให้การ รับสารภาพ ศาลจะบันทึกคำฟ้องให้ได้ใจความแห่งข้อหาเพื่อพิพากษาคดีต่อไป ถ้าคำฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ไม่ปรากฏว่าที่บาดเจ็บรักษา 30 วันหายนั้นถึงสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 ข้อใดศาลย่อมพิจารณาบันทึกคำฟ้องประกอบหลักฐานการฟ้องด้วยวาจาและรายงานชันสูตรบาดแผลท้ายฟ้องได้ เมื่อเห็นว่าปรากฏข้อเท็จจริงพอที่จะพิจารณาพิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ได้ก็พิพากษาลงโทษไปได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องด้วยวาจาต้องระบุข้อเท็จจริงครบถ้วนพอให้ศาลพิจารณาลงโทษได้ หากฟ้องด้วยวาจาอ้างหลักฐานบาดเจ็บสาหัส ศาลพิจารณาประกอบได้
ฟ้องด้วยวาจานั้น ผู้ว่าคดีต้องบรรยายข้อเท็จจริงให้ปรากฏครบถ้วนพอที่ศาลจะลงโทษตามบทกฎหมายที่ขอประกอบด้วยข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควร เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงมาตรา 19 ด้วย และเป็นหน้าที่ของศาลต้องถามผู้ต้องหา ถ้าให้การรับสารภาพ ศาลจะบันทึกคำฟ้องให้ได้ใจความแห่งข้อหาเพื่อพิพากษาคดีต่อไป ถ้าคำฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ไม่ปรากฏว่าที่บาดเจ็บรักษา 30 วันหายนั้นถึงสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 ข้อใด ศาลย่อมพิจารณาบันทึกคำฟ้องประกอบหลักฐานการฟ้องด้วยวาจาและรายงานชันสูตรบาดแผลท้ายฟ้องได้ เมื่อเห็นว่าปรากฏข้อเท็จจริงพอที่จะพิจารณาพิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ได้ ก็พิพากษาลงโทษไปได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2510)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักลอบนำทรัพย์สินเข้าเรือนจำ: คำฟ้องไม่จำเป็นต้องระบุการฝ่าฝืนระเบียบเฉพาะเจาะจง หากกิริยา 'ลักลอบ' ครอบคลุมความผิดทั้งทางกฎหมายและระเบียบ
ผู้ว่าคดีฟ้องด้วยวาจาว่า " เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2506 เวลากลางวัน จำเลยได้ลักลอบนำธนบัตรเข้าไปในเรือนจำและมีไว้ในครอบครอง 580 บาท ฯลฯ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 มาตรา 37, 39, 45 วรรค 3 และริบของกลาง ฯลฯ" โดยไม่ได้แจ้งข้อความต่อศาลว่า "เป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำ" ด้วยนั้น ก็เป็นฟ้องที่ครบบริบูรร์แล้ว เพราะกิริยา "ลักลอบ" หมายถึงการนำธนบัตรเข้าไปในเรือนจำเป็นการกระทำผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำ อันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดได้ทั้ง 2 กรณี
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2507)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องกรณีลักลอบนำสิ่งของเข้าเรือนจำ ศาลตีความ 'ลักลอบ' ครอบคลุมทั้งความผิดตามกฎหมายและระเบียบ
ผู้ว่าคดีฟ้องด้วยวาจาว่า 'เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2506 เวลากลางวันจำเลยได้ลักลอบนำธนบัตรเข้าไปในเรือนจำและมีไว้ในครอบครอง580 บาท ฯลฯ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 มาตรา 37,39,45 วรรคสาม และริบของกลางฯลฯ' โดยไม่ได้แจ้งข้อความต่อศาลว่า 'เป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำ' ด้วยนั้น ก็เป็นฟ้องที่ครบบริบูรณ์แล้ว เพราะกิริยา'ลักลอบ' หมายถึงการนำธนบัตรเข้าไปในเรือนจำเป็นการกระทำผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดได้ทั้ง 2 กรณี (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 29/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จและการช่วยเหลือผู้ต้องหาต้องมีองค์ประกอบความผิดครบถ้วนตามกฎหมาย หากฟ้องขาดองค์ประกอบ ศาลย่อมลงโทษไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 แต่ไม่ได้ระบุมาว่า การที่จำเลยแจ้งความเท็จนั้น อาจทำให้ผู้ใดหรือประชาชนเสียหาย แม้จะอ่านคำบรรยายฟ้องโดยทั่วไปก็ไม่อาจทราบความข้อนี้ได้ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวนั้นจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
การช่วยผู้อื่นเพื่อไม่ให้ต้องโทษอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 189 นั้นจะต้องกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ 1.โดยให้ที่พัก หรือ 2.โดยซ่อนเร้นหรือ 3.โดยช่วยอย่างอื่นเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม การบรรยายฟ้องมีใจความแต่เพียงว่าจำเลยกล่าวเท็จต่อเจ้าพนักงานในเรื่องทำพินัยกรรมเพื่อช่วยเหลือพวกที่ต้องหาว่าสมคบกันทำพินัยกรรมปลอมเพื่อไม่ให้ต้องโทษ และเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์หาว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาถูกจับกุม ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ความผิดตามมาตรา 189 จะลงโทษจำเลยย่อมไม่ได้
การช่วยผู้อื่นเพื่อไม่ให้ต้องโทษอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 189 นั้นจะต้องกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ 1.โดยให้ที่พัก หรือ 2.โดยซ่อนเร้นหรือ 3.โดยช่วยอย่างอื่นเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม การบรรยายฟ้องมีใจความแต่เพียงว่าจำเลยกล่าวเท็จต่อเจ้าพนักงานในเรื่องทำพินัยกรรมเพื่อช่วยเหลือพวกที่ต้องหาว่าสมคบกันทำพินัยกรรมปลอมเพื่อไม่ให้ต้องโทษ และเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์หาว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาถูกจับกุม ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ความผิดตามมาตรา 189 จะลงโทษจำเลยย่อมไม่ได้