พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีก่อนหน้าเมื่อศาลพิพากษาต่อเนื่องกัน ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาคดีนี้และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1757/2555 ของศาลชั้นต้นในวันเดียวกันและต่อเนื่องกัน โดยพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1757/2555 ของศาลชั้นต้นก่อน ต่อจากนั้นจึงพิพากษาคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจแถลงต่อศาลชั้นต้นได้ว่า คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1757/2555 ของศาลชั้นต้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาอย่างไร ถือได้ว่าความปรากฏต่อศาลชัดแจ้งแล้วว่า คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1757/2555 ของศาลชั้นต้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย ไม่จำต้องให้โจทก์แถลงต่อศาลซ้ำอีก จึงนับโทษต่อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุก: ผลของคำพิพากษาที่สั่งให้นับโทษต่อจากโทษอื่น และผลของการแก้โทษ
ป.อ. มาตรา 22 วรรคแรก เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับโทษจำคุกจำเลยว่าให้เริ่มนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โดยมีข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น ซึ่งวันมีคำพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงวันที่ศาลอ่านคำพิพากษาโดยเปิดเผยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 182 และ 188 โดยคำพิพากษาไม่จำเป็นต้องถึงที่สุด เพราะเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วจำเลยย่อมต้องถูกบังคับโทษตามคำพิพากษานั้น แม้ต่อมาภายหลังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะแก้โทษจำคุกก็ไม่มีผลต่อวันเริ่มโทษจำคุกแต่อย่างใด คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังแล้ว โดยให้ลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต และนับโทษจำเลยต่อจากโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาอื่น ย่อมมีความหมายว่าคำพิพากษาได้กล่าวถึงเวลาเริ่มบังคับโทษจำคุกไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น การเริ่มนับโทษจำคุกจำเลยจึงต้องเริ่มนับเมื่อจำเลยได้รับโทษจำคุกในคดีอาญาอื่นครบถ้วนแล้ว แม้ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาแก้โทษของจำเลยเหลือเพียง 36 ปี 8 เดือน แต่ก็ยังคงให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาดังกล่าว จึงไม่มีผลต่อวันเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันคุมขังต้องเป็นการคุมขังในคดีเดียวกัน ผู้ประกันไม่ร้องขอส่งตัวจำเลยเพื่อออกหมายขังในคดีใหม่ ไม่อาจหักวันคุมขังได้
ป.อ. มาตรา 22 วรรคแรก บัญญัติว่า "โทษจำคุกให้เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษา เว้นแต่คำพิพากษานั้นจะกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น" คำว่า ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษานั้น หมายความว่า ต้องถูกคุมขังอยู่ในคดีที่ศาลมีคำพิพากษา การที่จำเลยถูกคุมขังในคดีอื่นและผู้ประกันมิได้ร้องขอส่งตัวจำเลย เพื่อให้ศาลออกหมายขังจำเลยในคดีนี้จึงไม่อาจหักวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวตนจำเลยเพื่อการนับโทษต่อ จำเลยให้การรับสารภาพความผิดตามฟ้อง ไม่ถือเป็นการรับสารภาพว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอื่น
ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดและเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ คดีนี้จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพเพียงว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องเท่านั้น มิได้ให้การรับด้วยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในที่คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏเช่นนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ จะนับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษจำเลยในคดีดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4410-4411/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คหลายฉบับเพื่อชำระหนี้รายเดียวกันถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลมีดุลพินิจหักวันคุมขังได้
การที่จำเลยออกเช็คแต่ละฉบับชำระหนี้รายเดียวกันถือได้ว่ามีเจตนาให้จ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับแยกจากกันเป็นคนละส่วนคนละจำนวนแม้ได้ลงวันที่สั่งจ่ายวันเดียวกันและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินวันเดียวกันก็เป็นความผิดที่เกิดขึ้นต่างหากแยกจากกันได้โดยชัดเจนเป็นการเฉพาะของเช็คแต่ละฉบับจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่ศาลจะสั่งให้หักจำนวนวันที่จำเลยถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาออกจากโทษจำคุกตามคำพิพากษาหรือไม่นั้น เป็นดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคแรก ทั้งมิใช่กรณีที่หากโจทก์ไม่มีคำขอขึ้นมาศาลก็วินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4410-4411/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเช็คหลายกรรมต่างกัน-หักวันคุมขัง-ข้อจำกัดการยกเหตุในชั้นฎีกา
แม้ เช็คพิพาท 2 ฉบับที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้รายเดียวกัน โดยลงวันที่เดียวกัน และธนาคารปฏิเสธการ จ่ายเงินทั้งสองฉบับในวันเดียวกัน แต่การออกเช็คเป็นการสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามจำนวนในเช็ค ณ วันที่ที่ลงในเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีเจตนาให้จ่ายเงิน ตามเช็ค แต่ละ ฉบับแยกจากกันเป็นคนละส่วนคนละ จำนวน ไม่ได้ ร่วมเป็นเช็คฉบับเดียวกัน ความผิดเกิดขึ้นต่างหากแยกจากกันได้ โดยชัดเจนเป็นการ เฉพาะตัว ของ เช็ค แต่ละ ฉบับจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน เป็นคนละกระทงความผิดแยกจากกัน การที่ศาลจะสั่งให้หักจำนวนวันที่จำเลยถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาออกจากโทษ จำคุกตามคำพิพากษา หรือไม่นั้น เป็นดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคแรก ทั้งมิใช่กรณีที่หาก โจทก์ไม่มีคำขอ ขึ้น มา ศาล ก็ วินิจฉัย ให้ไม่ได้ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้น ระบุ ในคำพิพากษา โดยชัดแจ้งว่า หัก วันที่ จำเลย ถูก คุมขัง ให้ เฉพาะ วัน ถูกคุมขังที่ไม่ซ้ำซ้อนนั้นจึงชอบแล้ว ที่ จำเลยฎีกาว่า คำฟ้องของโจทก์ที่บรรยายว่าจำเลย ออกเช็คให้ผู้เสียหายเพื่อ ชำระหนี้เป็นการ บรรยายฟ้อง ไม่ครบ องค์ประกอบ ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่ง เป็น กฎหมายที่ออกใช้บังคับภายหลังอันเป็นคุณแก่จำเลย จึงลงโทษ จำเลยไม่ได้นั้น เป็นข้อที่ จำเลย มิได้ ยกขึ้น ว่ากันมาแล้ว ใน ศาลอุทธรณ์ จำเลยเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบกับมาตรา 225 และ แม้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยก็ตาม แต่ศาลฎีกา เห็นสมควร ไม่รับ วินิจฉัย ให้