พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5666/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์: ผลกระทบต่อความผิดและการใช้บทบัญญัติที่ให้คุณแก่จำเลย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามี พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 มาตรา 3 บัญญัติว่า "ให้ยกเลิก (1) พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 (2) พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545" โดยยกเลิกบทบัญญัติตามมาตรา 26 วรรคสอง, 60 ดังนั้นการฝ่าฝืนมาตรา 26 วรรคสอง, 60 แห่ง พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 จึงไม่ถือเป็นความผิดอีกต่อไปตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
พ.ร.บ. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 มาตรา 15, 80 ยังบัญญัติให้ความผิดฐานร่วมกันประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 มาตรา 14, 59 เป็นความผิดอยู่ แต่โทษปรับตามกฎหมายใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใด ตาม ป.อ. มาตรา 3
พ.ร.บ. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 มาตรา 15, 80 ยังบัญญัติให้ความผิดฐานร่วมกันประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 มาตรา 14, 59 เป็นความผิดอยู่ แต่โทษปรับตามกฎหมายใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใด ตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5666/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อความผิดเดิม: กฎหมายธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามี พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 มาตรา 3 บัญญัติว่า "ให้ยกเลิก (1) พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535 (2) พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545" โดยยกเลิกบทบัญญัติตามมาตรา 26 วรรคสอง, 60 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เป็นความผิดตามฟ้องที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ดังนั้น การฝ่าฝืนมาตรา 26 วรรคสอง, 60 แห่ง พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535 จึงไม่ถือเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
ส่วนความผิดฐานร่วมกันประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535 มาตรา 14, 59 นั้น พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 มาตรา 15, 80 ยังบัญญัติให้เป็นความผิดอยู่ แต่โทษปรับตามกฎหมายใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ส่วนความผิดฐานร่วมกันประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535 มาตรา 14, 59 นั้น พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 มาตรา 15, 80 ยังบัญญัติให้เป็นความผิดอยู่ แต่โทษปรับตามกฎหมายใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาที่แท้จริงคือสัญญาเงินกู้ แม้มีการอ้างว่าเป็นสัญญาตัวแทน
จำเลยเป็นพนักงานธนาคารย่อมรู้ดีถึงความแตกต่างระหว่างสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาตัวแทน หากโจทก์มอบเงิน 300,000 บาท ให้จำเลยเพื่อให้จำเลยไปปล่อยเงินกู้แทนโจทก์โดยจำเลยเพียงมีหน้าที่เก็บดอกเบี้ยจากผู้กู้มาส่งให้โจทก์ตามข้อกล่าวอ้างของจำเลย จำเลยก็สามารถทำสัญญาตัวแทนมอบเป็นหลักฐานให้แก่โจทก์ตรงตามข้อเท็จจริงได้ แต่จำเลยกลับทำเป็นสัญญากู้เงินจำนวนดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์เท่านั้น ย่อมชี้ให้เห็นว่าเป็นการกู้ยืมเงินกันจริง แม้จำเลยนำเงินที่ได้จากโจทก์ไปให้บุคคลอื่นกู้ยืมต่อในอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า ก็เป็นเรื่องที่จำเลยได้รับประโยชน์จากส่วนต่างของดอกเบี้ย การที่จำเลยไม่ได้รับชำระหนี้จากบุคคลที่กู้ยืมเงินจากจำเลยก็เป็นเรื่องที่จำเลยต้องเสี่ยงภัยเอาเอง แต่จำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินที่ทำให้ไว้แก่โจทก์ กรณีไม่ใช่เรื่องที่จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์แต่อย่างใดข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าสัญญาที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์เป็นสัญญากู้ยืมเงินที่แท้จริงไม่ใช่นิติกรรมอำพรางสัญญาตัวแทนระหว่างโจทก์กับจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนชั่วคราวและการส่งมอบอาวุธปืนให้ผู้อื่น ไม่ถือว่ามีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง
พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ฯ มาตรา 4 (6) ได้ให้ความหมายคำว่า "มี" ว่า หมายถึงมีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครอง จำเลยร้องบอกพวกให้ส่งอาวุธปืนให้ พวกของจำเลยจึงส่งอาวุธปืนให้แก่จำเลย แล้วจำเลยยิง แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้ครอบครองอาวุธปืนมาแต่แรกขณะที่จำเลยยิงนั้นพวกของจำเลยซึ่งส่งอาวุธปืนให้ก็ยังอยู่ด้วยกัน การใช้อาวุธปืนของจำเลยเป็นเพียงชั่วคราวในขณะที่ยิงเท่านั้น อาวุธปืนจึงยังคงอยู่ในครอบครองของพวกจำเลย แม้จำเลยรู้ว่าพวกของจำเลยมีอาวุธปืน ก็จะฟังเป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาร่วมในการครอบครองอาวุธปืนดังกล่าวมาแต่ต้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนการพาอาวุธปืนติดตัวไปนั้น ก่อนเกิดเหตุพวกของจำเลยเป็นคนพาอาวุธปืนติดตัวไป จำเลยจึงอาจส่งมอบคืนให้แก่พวกแล้วต่างคนต่างหลบหนีไปก็ได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพยายามฆ่าโดยเจตนา และการครอบครองอาวุธปืนของผู้อื่น ศาลยกฟ้องข้อหาครอบครองและพาอาวุธปืน
จำเลยยิงผู้เสียหายที่ 2 แล้วหันไปยิงผู้เสียหายที่ 1 โดยผู้เสียหายทั้งสองมิได้ยืนอยู่จุดเดียวกัน จำเลยจึงประสงค์ให้เกิดผลแก่ผู้เสียหายทั้งสองคนละคราวกัน ผู้เสียหายทั้งสองไม่ถึงแก่ความตายจึงเป็นการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นต่างกรรมกัน
พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องประสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 4 (6) ได้ให้ความหมายคำว่า "มี " ว่าหมายถึงมีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครองโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับพวกในการมีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธปืนดังกล่าว ขณะที่จำเลยยิงปืนพวกของจำเลยซึ่งส่งอาวุธปืนให้ก็ยังอยู่ด้วยกัน การใช้อาวุธปืนของจำเลยเป็นเพียงชั่วคราวในขณะที่ยิงเท่านั้น อาวุธปืนจึงยังคงอยู่ในครอบครองของพวกจำเลย แม้จำเลยรู้ว่าพวกของจำเลยมีอาวุธปืน ก็จะพึงเป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาร่วมในการครอบครองอาวุธปืนมาแต่ต้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องประสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 4 (6) ได้ให้ความหมายคำว่า "มี " ว่าหมายถึงมีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครองโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับพวกในการมีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธปืนดังกล่าว ขณะที่จำเลยยิงปืนพวกของจำเลยซึ่งส่งอาวุธปืนให้ก็ยังอยู่ด้วยกัน การใช้อาวุธปืนของจำเลยเป็นเพียงชั่วคราวในขณะที่ยิงเท่านั้น อาวุธปืนจึงยังคงอยู่ในครอบครองของพวกจำเลย แม้จำเลยรู้ว่าพวกของจำเลยมีอาวุธปืน ก็จะพึงเป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาร่วมในการครอบครองอาวุธปืนมาแต่ต้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3921/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญาเช่า, การคิดค่าเสียหาย, และการหักเงินชำระหลังฟ้อง: ศาลฎีกาแก้ไขค่าเสียหายตามสัญญาเช่ารถ
สัญญาเช่ารถยนต์บรรทุก 10 ล้อ ข้อ 11.3 และรายละเอียดการเช่าทรัพย์สินกำหนดค่าปรับในกรณีผิดนัดชำระค่าเช่า 123 บาทต่อวัน การที่โจทก์บรรยายฟ้องขอค่าปรับส่วนนี้ตั้งแต่วันผิดนัดชำระค่าเช่าแต่ละงวดถึงวันฟ้องนั้น คำขอของโจทก์ไม่ถูกต้อง เพราะโจทก์สามารถเรียกค่าปรับได้ถึงวันเลิกสัญญาเท่านั้น เนื่องจากเมื่อสัญญาเลิกกันแล้วไม่มีค่าเช่าที่จะชำระให้แก่โจทก์อีก มีแต่ค่าเสียหายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการใช้ที่ดิน: หลักเกณฑ์เทียบเคียง พ.ร.บ.เวนคืนฯ เมื่อ พ.ร.บ.ไฟฟ้าฯ ไม่ชัดเจน
การจ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 บัญญัติไว้เพียงว่า ให้จำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนตามความเป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน แต่มิได้บัญญัติถึงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่จะให้นำมาใช้ในการกำหนด และจ่ายเงินค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมไว้เหมือนอย่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้ว่า ให้กำหนดโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) แต่โดยที่ พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับดังกล่าวต่างมีเจตนารมณ์ที่จะจ่ายเงินค่าทดแทนที่เป็นธรรมให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินเช่นเดียวกัน ดังนั้น การที่จะกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตามความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ก็ควรคำนึงถึงหลักเกณฑ์ทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) เพื่อใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายบ้านที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่างานก่อสร้างแล้วเสร็จ
โจทก์และจำเลยต่างไม่ถือเอาระยะเวลาในการก่อสร้างบ้านเป็นสำคัญ แต่ถือเอาการก่อสร้างบ้านเสร็จเรียบร้อยเป็นสำคัญ เมื่อโจทก์ยังคงยืนยันว่าบ้านยังไม่เสร็จเรียบร้อย ก่อนที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จำเลยต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว การบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 387 เมื่อปรากฎว่าจำเลยขายบ้านไปแล้ว และโจทก์ก็ไม่ประสงค์จะซื้อบ้านอีกต่อไป สัญญาจึงเป็นอันเลิกกันและต่างฝ่ายต่างกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับไว้ให้แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับไว้ ตามมาตรา 391 วรรคสอง ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางจำเป็น แม้มีทางออกอื่น สิทธิยังคงอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350
ป.พ.พ. มาตรา 1350 ไม่ได้กำหนดถึงการสิ้นสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไว้ แม้โจทก์ใช้ที่ดินของบุคคลอื่นเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ก็ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยตามมาตรา 1350 หมดไปโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกแบ่งแยกและไม่มีทางออกสู่สาธารณะ แม้มีทางออกอื่นก็ไม่กระทบสิทธิ
ป.พ.พ. มาตรา 1350 เป็นบทบัญญัติที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าของที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเท่านั้น จะเรียกร้องเอาทางเดินผ่านจากที่ดินแปลงอื่นหาได้ไม่ทั้งกฎหมายก็หาได้กำหนดถึงการสิ้นสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไว้แต่อย่างใด ดังนั้น แม้โจทก์และบริวารจะได้ใช้ที่ดินของ บ. เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ก็หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินที่ได้แบ่งแยกมาจากที่ดินของโจทก์ ตามมาตรา 1350 ดังกล่าวหมดไปไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางพิพาทเป็นทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยได้