คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธนฤกษ์ นิติเศรณี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15238/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นเมื่อมีใบสั่งซื้อตอบรับใบเสนอราคา แม้จะยังไม่ได้ส่งมอบสินค้า ผู้ซื้อต้องรับสินค้าและชำระราคา
การซื้อขายสินค้าประเภทอุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นสัญญาซื้อขายระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางจะเกิดขึ้นเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มีใบเสนอราคา แสดงว่าได้ทำคำเสนอไปยังจำเลยแล้วการที่จำเลยมีใบสั่งซื้อกลับไปยังโจทก์ โดยมีสาระสำคัญตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นชนิด รุ่น หรือราคาสินค้าที่โจทก์เสนอมา คงมีแต่รายละเอียดที่จำเลยกำหนดไว้ในใบสั่งซื้อว่าวางบิลได้ในเวลาใด ติดต่อพนักงานของจำเลยผู้ใดและที่อาคารชั้นไหนเท่านั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญอันจะถือว่าเป็นคำเสนอขึ้นมาใหม่ ถือว่าเป็นคำสนองถูกต้องตรงกับคำเสนอของโจทก์ ก่อให้เกิดสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยและมีผลบังคับโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ใบสั่งซื้อของจำเลยส่งไปถึงโจทก์แล้ว ส่วนที่ต่อมามีพนักงานของโจทก์ติดต่อไปยังจำเลยขอให้ยืนยันการสั่งซื้อ ก็เป็นเพียงกลวิธีในการทำธุรกิจที่จะลดความเสี่ยงและเป็นการให้บริการแก่ลูกค้า โดยให้โอกาสแก่จำเลยว่าจะยังคงยืนยันการซื้อขายหรือไม่ หาใช่สัญญาซื้อขายยังไม่เกิดขึ้นไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับสินค้าจากโจทก์และไม่ยอมชำระราคา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย ฉะนั้น โจทก์จะรับชำระค่าสินค้าเพียงอย่างเดียวโดยไม่ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยไม่ได้ เพราะเป็นสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามคำขอท้ายฟ้องให้แก่โจทก์เท่านั้น โดยไม่ได้พิพากษาให้จำเลยรับมอบสินค้าจากโจทก์ด้วยจึงไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือจะต้องพิพากษาให้จำเลยรับมอบสินค้าจากโจทก์และชำระราคา ส่วนการจะบังคับคดีอย่างไรนั้นเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14226/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องยาเสพติด - หน่วยการใช้ - ข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน จำนวน 24 เม็ด (หน่วยการใช้) แม้จะเป็นการบรรยายคำว่าหน่วยการใช้ไว้ในวงเล็บหลังคำว่าเม็ด ก็ถือว่าเป็นการบรรยายคำฟ้องว่าจำนวนเม็ดของเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวเป็นหน่วยการใช้ด้วยแล้ว กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองมีปริมาณสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป ถือว่าเป็นการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14144/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดหนี้ภาระค้ำประกันเมื่อผู้รับจำนองยินยอมให้ผู้ซื้อรับภาระจำนอง และการระงับหนี้ของผู้ค้ำประกันร่วม
จำเลยที่ 4 และที่ 5 ต่างทำสัญญาค้ำประกันหนี้กู้ยืมเงินและหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวนเดียวกันไว้ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม พร้อมกับจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ไว้เป็นประกันหนี้ดังกล่าวด้วย ต่อมาจำเลยที่ 5 ขายที่ดินที่จำนองให้แก่จำเลยที่ 2 และโจทก์มีหนังสือที่แสดงเจตนาว่ายอมปลดหนี้ภาระการค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 5 จนหมดสิ้นแล้ว เมื่อบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 293 และมาตรา 296 การที่โจทก์สละสิทธิต่อจำเลยที่ 5 ย่อมมีผลทำให้หนี้ตามภาระการค้ำประกันสำหรับจำเลยที่ 5 ระงับไปตามมาตรา 340 และย่อมมีผลทำให้หนี้ตามภาระการค้ำประกันสำหรับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมระงับไปด้วยตามมาตรา 293 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และแม้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เนื่องจากต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและหนี้ตามภาระการค้ำประกันดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ในระหว่างจำเลยที่ 4 และที่ 5 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 4 ได้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13124/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองชั่วคราวต้องเข้าเงื่อนไขตามกฎหมาย หากจำเลยไม่ได้กระทำการโอนขายทรัพย์สิน การขอคุ้มครองจึงไม่ชอบ
การขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) จะต้องเป็นการห้ามมิให้กระทำซ้ำซึ่งการละเมิดหรือการผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง หากกรณีไม่ใช่เรื่องดังกล่าว จะต้องเป็นการห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย หรือมีคำสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว
คำร้องของโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 พยายามจะให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โดยขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการขอจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อกระทรวงมหาดไทย หากดำเนินการจนกรรมสิทธิ์ตกเป็นของจำเลยที่ 1 โจทก์จะได้รับความเสียหายยากที่จะดำเนินการให้ที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ แม้ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองแต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนจำเลยที่ 1 คำร้องของโจทก์ไม่เข้าเหตุดังกล่าวข้างต้น เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้พยายามโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นแต่อย่างใด จึงไม่เข้าเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะขอคุ้มครองชั่วคราวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12518/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาร่วมหุ้นซื้อที่ดินไม่ใช่ห้างหุ้นส่วน มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้ชื่อสัญญาระบุว่าเป็นสัญญาร่วมหุ้นซื้อที่ดิน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเสมอไป เพราะการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้นจะต้องมีการกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการนั้น แต่ตามสัญญาพิพาทมีเนื้อหาสาระเพียงว่า โจทก์ทั้งสองและจำเลยร่วมลงทุนซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 637 ในราคา 2,656,000 บาท วางมัดจำไว้ 1,000,000 บาท เป็นเงินของจำเลย 500,000 บาท และเงินของโจทก์ทั้งสองคนละ 250,000 บาท โดยตกลงกันให้ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามอัตราส่วนของจำนวนเงินที่ลงหุ้นวางมัดจำไว้เท่านั้น อันเป็นสัญญารูปแบบหนึ่ง ไม่ใช่เป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนแต่อย่างใด
สัญญาร่วมหุ้นซื้อที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง ไม่ใช่สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนแต่เป็นสัญญารูปแบบหนึ่งซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12124/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำซ้อนและการไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากเป็นข้อพิพาทที่ควรยกขึ้นต่อสู้ในคดีเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่า โจทก์กับจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกันทั้งในคดีของศาลแพ่งและศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และอยู่ในชั้นบังคับคดี คำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ทั้งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามข้ออ้างของโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การของโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยทั้งสองคดีได้ ประกอบกับตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์อย่างไร การฟ้องคดีของจำเลยเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้หาใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่ กรณีจึงไม่ได้เกิดข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน โดยเห็นว่าการที่จำเลยนำคดีมาฟ้องโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน โดยเห็นว่าการที่จำเลยนำคดีมาฟ้องโจทก์เพราะเห็นว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ เป็นการใช้สิทธิทางศาลที่กฎหมายกำหนดให้กระทำได้โดยชอบ จึงหาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่ และหากโจทก์เห็นว่ามูลหนี้ที่จำเลยนำมาฟ้องมีข้อบกพร่องประการใดหรือไม่มีมูลหนี้อยู่จริง หรือโจทก์มีข้ออ้างข้อเถียงประการใดที่จะทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อจำเลยแล้ว โจทก์ก็สามารถยกขึ้นต่อสู้แก้ข้อกล่าวหาในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ได้อยู่แล้ว ไม่จำต้องมาฟ้องเป็นคดีใหม่ การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จึงไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ หรือโจทก์มีความจำเป็นประการใดที่จำต้องใช้สิทธิทางศาล โจทก์ฎีกาโดยคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งสิ้นซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาเดียวกันไว้แล้ว ฎีกาของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ที่ถูกแล้วศาลอุทธรณ์ภาค 7 ควรวินิจฉัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11570/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตและการขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 มาตรา 4 บัญญัติว่า "วิชาชีพเวชกรรม" หมายความว่า "วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค..." การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัติดังกล่าว สั่งจ่ายยารักษาให้แก่สายลับหลังจากจำเลยที่ 1 ตรวจและวินิจฉัยโรคให้แก่สายลับแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่จัดยาให้ตามใบสั่งแพทย์ของจำเลยที่ 1 และเก็บเงิน ล้วนเป็นการกระทำที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 อีกกระทงหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11558/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การครอบครองและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและ 3,4-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน ศาลฎีกายืนตามอุทธรณ์
โจทก์ฎีกาขอให้ริบถุงพลาสติกเปล่าขนาดเล็กและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง แต่ฎีกาของโจทก์หาได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในส่วนนี้ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11076/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายฟ้องคดีหลังผู้มอบอำนาจเสียชีวิต: ศาลไม่รับฎีกาหากทนายไม่มีอำนาจตามกฎหมาย
ตามคำร้องของทนายโจทก์ที่ 2 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2545 ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2545 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ทนายโจทก์ที่ 2 ดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ในฐานะตัวแทนเพื่อไม่ให้กระบวนพิจารณาเสียหายเท่านั้น หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือภริยาของโจทก์ที่ 2 ประสงค์เข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 การที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาโดยทนายโจทก์ที่ 2 เป็นผู้กระทำการแทนและลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกาเช่นนี้ เมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นนับจนถึงเวลาที่ทนายโจทก์ที่ 2 ยื่นฎีกาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ทนายโจทก์ที่ 2 ย่อมหมดสภาพจากการเป็นทนายของโจทก์ที่ 2 และล่วงเลยเวลาที่ทนายโจทก์ที่ 2 จะจัดการอันสมควรเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ที่โจทก์ที่ 2 มอบหมายแก่ตน จนกว่าจะมีผู้เข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 แล้ว จึงไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 2 อีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ที่ 2 มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10870/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบ กรณีภูมิลำเนาไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ศาลต้องไต่สวนก่อนวินิจฉัย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่าบ้านซึ่งโจทก์อ้างมาในคำฟ้องว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลยนั้น ไม่มีสภาพเป็นบ้านที่สามารถอยู่อาศัยได้ คงมีเพียงเสาบ้านเท่านั้นและจำเลยไม่ได้พักอาศัยอยู่ที่บ้านหลังดังกล่าว จึงไม่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่เจ้าพนักงานศาลนำไปส่ง ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอ้างก็ต้องถือว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย กระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยและภายหลังแต่นั้นมาย่อมไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ แม้จำเลยจะยื่นคำขอโดยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลและยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา ก็ไม่ทำให้เป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ได้ไต่สวนให้ได้ความจริงก่อนว่าเป็นไปตามที่จำเลยอ้างหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
of 11