พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, อายุความค่าทดแทนเวนคืน, การชำระหนี้โดยไม่มีมูล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 180,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 กันยายน 2538ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เมื่อรวมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องคือวันที่ 14มิถุนายน 2539 ซึ่งเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์เวนคืนที่ดินของจำเลยเป็นเนื้อที่แน่นอน 5 ตารางวา แต่ความจริงถูกเวนคืนเพียง 2 ตารางวา อันเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะนั้น การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 5 ตารางวา ตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายให้แก่จำเลยตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10กำหนดแต่เมื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ถูกเขตทางพิเศษแล้วปรากฏว่าถูกเวนคืนเพียง 2 ตารางวา จำเลยก็ต้องคืนเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 3 ตารางวาซึ่งเป็นส่วนที่รับไว้โดยที่ดินไม่ได้ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้มาซึ่งเงิน เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้อันเป็นลาภมิควรได้ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
การฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่ชำระเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนอันเนื่องมาจากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าการจ่ายเงินค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นหรือการคืนเงินค่าที่ดินที่ลดลงให้กระทำภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ทำการรังวัดแบ่งแยกแล้วเสร็จ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครได้มีหนังสือลงวันที่ 14 มิถุนายน2538 แจ้งผลการรังวัดที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทราบ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2539 จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 5 ตารางวา ตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายให้แก่จำเลยตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10กำหนดแต่เมื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ถูกเขตทางพิเศษแล้วปรากฏว่าถูกเวนคืนเพียง 2 ตารางวา จำเลยก็ต้องคืนเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 3 ตารางวาซึ่งเป็นส่วนที่รับไว้โดยที่ดินไม่ได้ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้มาซึ่งเงิน เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้อันเป็นลาภมิควรได้ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
การฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่ชำระเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนอันเนื่องมาจากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าการจ่ายเงินค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นหรือการคืนเงินค่าที่ดินที่ลดลงให้กระทำภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ทำการรังวัดแบ่งแยกแล้วเสร็จ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครได้มีหนังสือลงวันที่ 14 มิถุนายน2538 แจ้งผลการรังวัดที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทราบ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2539 จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเติมหลังการรังวัดและข้อผิดพลาดเนื้อที่
การดำเนินการของฝ่ายจำเลย (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย) ให้ได้มาซึ่งที่ดินของโจทก์เพื่อสร้างทางพิเศษ สายรามอินทรา-อาจณรงค์ อาศัย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 เพียงฉบับเดียว แนวเขตที่ดิน ที่จะสร้างทางพิเศษสายนี้ในบริเวณที่ดินของโจทก์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงหรือขยายเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดเป็นที่ดินอยู่ในแนวเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวและถูกดำเนินการเพื่อเวนคืนเพียงครั้งเดียว โดยฝ่ายจำเลยใช้อำนาจที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ตกลงซื้อขายที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนตามสัญญาซื้อขายอสังหา ริมทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบทางด่วนสาย รามอินทรา-อาจณรงค์ กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ซึ่งไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. แต่เป็นขั้นตอนหนึ่งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่ดินที่จะต้องให้ได้มาเพื่อสร้างทางพิเศษฯ ตามสัญญาซื้อขาย จึงเป็นที่ดินในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ. ส่วนเนื้อที่ดิน ที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายฯเป็นการประมาณการของฝ่ายจำเลย แต่เมื่อมีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้ว ปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนรวมกันแล้วเพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยประมาณการไว้ เนื้อที่ดินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้มีที่มาจากที่ดิน ผืนเดียวกันกับที่ระบุเนื้อที่ไว้ในสัญญาซื้อขายดังกล่าว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายเงินทดแทนแทน ที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมด รวมทั้งเนื้อที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญา ซื้อขายด้วย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง และที่โจทก์ได้อุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นนี้รวมอยู่ด้วยแล้ว เมื่อศาลวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดเพิ่มขึ้นแก่โจทก์ โจทก์ย่อม มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นของเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นนี้ด้วย นับแต่วันที่ครบ 120 วันจากวันทำสัญญาซื้อขาย อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่าย ตามมาตรา 26 วรรคสาม
ศาลล่างทั้งสองกำหนดวันเริ่มต้นคำนวณดอกเบี้ยนั้นผิดพลาดไป 1 วัน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลล่างทั้งสองกำหนดวันเริ่มต้นคำนวณดอกเบี้ยนั้นผิดพลาดไป 1 วัน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนเมื่อเนื้อที่ดินจริงเพิ่มจากที่ประมาณการ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยได้ที่ดินของโจทก์มาเพื่อสร้างทางพิเศษ อาศัยพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพียงฉบับเดียว โดยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 ตกลงซื้อขายที่ดินส่วนที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ซึ่งไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ดินที่จะต้องให้ได้มาเพื่อสร้างทางพิเศษตามสัญญาซื้อขายจึงเป็นที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาส่วนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายเป็นการประมาณการของจำเลย แต่เมื่อมีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนรวมกันแล้วเพิ่มขึ้นอีก 198 ตารางวา จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินทดแทนเพิ่มขึ้นอีก 198 ตารางวา ให้แก่โจทก์ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง และที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 198 ตารางวา นี้รวมอยู่แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ครบ 120 วัน จากวันที่ทำสัญญาซื้อขายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1421/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: เริ่มนับจากวันวางเงิน ไม่ใช่วันศาลตัดสิน
โจทก์กับฝ่ายจำเลยไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และโจทก์ไม่ได้ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันที่ 11 สิงหาคม 2538 ตามที่ฝ่ายจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับ ฝ่ายจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวไปวางไว้ตามมาตรา 31 โดยพลัน ตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งก็คือวันถัดจากวันครบกำหนดนัด คือ วันที่ 12 สิงหาคม 2538 อันถือได้ว่าเป็นวันวางเงิน ค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคท้าย การคิดดอกเบี้ยจึงต้องเริ่มตั้งแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: กำหนดเวลาอุทธรณ์ค่าทดแทนและการมีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนการขนย้าย
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือถึงโจทก์เรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนโดยการทำสัญญา แต่ส่งให้แก่โจทก์ไม่ได้ จำเลยจึงออกประกาศ เพื่อแจ้งความเรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนโดยการทำสัญญา โดยวิธีปิดประกาศแจ้งความไว้ ณ ที่ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนตั้งอยู่ให้โจทก์ทราบ ตามมาตรา 13 วรรคสี่ และวรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ประกาศดังกล่าวจึงไม่ใช่หนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แต่เป็นประกาศแจ้งความเกี่ยวกับหนังสือเรื่องขอเชิญไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนอันเป็นหนังสือที่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แจ้งให้โจทก์มาทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 10 ส่วนกรณีของโจทก์คดีนี้ หนังสือที่ถือได้ว่าเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่แจ้งให้โจทก์มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง คือ หนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนที่ฝ่ายจำเลยได้ปิดประกาศหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทน ณ ที่ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนตั้งอยู่ให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2536 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยฉบับแรกวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536 และฉบับที่สองวันที่ 6 ธันวาคม 2536 จึงเป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
แม้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 (5) โจทก์มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทดแทนการขนย้ายออกจากอสังหาริมทรัพย์ด้วยก็ตาม แต่โจทก์จะมีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนส่วนนี้ได้ โจทก์จะต้องดำเนินการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ตามหนังสืออุทธรณ์ของโจทก์ที่อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอเงินค่าทดแทนเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ในคดีนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนการขนย้ายทรัพย์สินออกจากอสังหาริมทรัพย์ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอเงินส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนส่วนนี้
แม้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 (5) โจทก์มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทดแทนการขนย้ายออกจากอสังหาริมทรัพย์ด้วยก็ตาม แต่โจทก์จะมีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนส่วนนี้ได้ โจทก์จะต้องดำเนินการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ตามหนังสืออุทธรณ์ของโจทก์ที่อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอเงินค่าทดแทนเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ในคดีนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนการขนย้ายทรัพย์สินออกจากอสังหาริมทรัพย์ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอเงินส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาเวนคืนที่ดิน: พิจารณาจากราคาตลาดในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ. และดอกเบี้ยกรณีจ่ายช้า
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 (1) ที่ให้คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกานั้น มีความหมายว่า ให้นำเอาราคาซื้อขายของอสังหาริมทรัพย์ในประเภทและชนิดเดียวกันที่ประชาชนทั่วไปซื้อขายกันอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกาเริ่มมีผลใช้บังคับมาเป็นเกณฑ์พิจารณา ถ้าหาราคาซื้อขายในวันดังกล่าวไม่ได้ ก็อาจหาราคาซื้อขายในวันอื่นที่ใกล้เคียงมาใช้พิจารณาแทน แม้จะเป็นราคาซื้อขายในภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกาเริ่มมีผลใช้บังคับก็นำมาใช้เทียบเคียงได้ ผู้กำหนดราคาสามารถใช้ดุลพินิจกำหนดราคาที่ควรจะเป็นโดยคำนึงถึงปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของราคาอสังหาริมทรัพย์ในทำเลนั้นประกอบไป และกำหนดราคาที่สมควรในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาได้
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนทั้งหมดให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนซึ่งเป็นเจ้าของภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ คือต้องจ่ายในวันที่ 29 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นต้นไป
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนทั้งหมดให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนซึ่งเป็นเจ้าของภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ คือต้องจ่ายในวันที่ 29 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6852-6854/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สัญญาซื้อขายก่อนมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินเป็นโมฆะ, ฟ้องเกินกำหนดระยะเวลา
หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นั้น จะต้องเป็นการแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนซึ่งได้จัดเตรียมการจ่ายไว้แล้วโดยไม่ต้องดำเนินกิจการอย่างอื่นอีก หากหนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เป็นกรณีที่กำหนดว่าจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอีกโดยยังไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนก็ไม่ใช่หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง หนังสือที่เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เชิญให้โจทก์ที่ 1 มาทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 10 มิใช่หนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เอกสารที่เป็นหนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง คือ เอกสารหมาย จ. 11 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2535 เรื่องแจ้งให้โจทก์ที่ 1 มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืน ซึ่งมีข้อความให้โจทก์ที่ 1 ไปรับเงินค่าทดแทนได้โดยไม่มีข้อที่จะดำเนินการอย่างอื่นอีก เมื่อโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้วในวันที่ 7 ธันวาคม 2535 จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว โจทก์ที่ 1 มีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้
โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯในขณะที่ไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนที่ออกตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ ขณะนั้นผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ทำการแทนจำเลย ไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนแล้ว จึงไม่มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯจึงไม่มีผลใช้บังคับ และที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่จะต้องเวนคืนก็โดยอาศัยสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เป็นการแจ้งและจ่ายเงินอันสืบเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯที่ไม่มีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทนในกรณีที่ไม่มีการทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 10 เพราะขณะที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ที่ 2 ไปรับเงินค่าที่ดินตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯนั้น อำนาจของผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืน และราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2530 กำหนดโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2530 ได้สิ้นสุดลงไปพร้อมกับการหมดอายุของ พ.ร.ฎ.ดังกล่าว การดำเนินการของฝ่ายจำเลยในการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดิน การจัดซื้อ การจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนเป็นการดำเนินการในขณะที่ไม่มีอำนาจและผิดขั้นตอนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ทำให้ยังไม่มีกรณีที่จะต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 ดังที่บัญญัติในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง จึงยังไม่มีกรณีที่จะเริ่มนับกำหนดเวลาที่จะต้องฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กรณีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นกรณีที่ยังไม่ถึงขั้นตอนที่จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ฝ่ายจำเลยต้องดำเนินการในเรื่องการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใหม่ จึงต้องยกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ด้วยเหตุนี้ มิใช่ยกฟ้องด้วยเหตุว่าฟ้องคดีเกินกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯในขณะที่ไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนที่ออกตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ ขณะนั้นผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ทำการแทนจำเลย ไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนแล้ว จึงไม่มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯจึงไม่มีผลใช้บังคับ และที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่จะต้องเวนคืนก็โดยอาศัยสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เป็นการแจ้งและจ่ายเงินอันสืบเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯที่ไม่มีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทนในกรณีที่ไม่มีการทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 10 เพราะขณะที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ที่ 2 ไปรับเงินค่าที่ดินตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯนั้น อำนาจของผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืน และราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2530 กำหนดโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2530 ได้สิ้นสุดลงไปพร้อมกับการหมดอายุของ พ.ร.ฎ.ดังกล่าว การดำเนินการของฝ่ายจำเลยในการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดิน การจัดซื้อ การจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนเป็นการดำเนินการในขณะที่ไม่มีอำนาจและผิดขั้นตอนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ทำให้ยังไม่มีกรณีที่จะต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 ดังที่บัญญัติในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง จึงยังไม่มีกรณีที่จะเริ่มนับกำหนดเวลาที่จะต้องฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กรณีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นกรณีที่ยังไม่ถึงขั้นตอนที่จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ฝ่ายจำเลยต้องดำเนินการในเรื่องการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใหม่ จึงต้องยกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ด้วยเหตุนี้ มิใช่ยกฟ้องด้วยเหตุว่าฟ้องคดีเกินกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6600/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินเพื่อเวนคืนชอบด้วยกฎหมาย แม้ พ.ร.ฎ.เวนคืนฉบับแรกสิ้นอายุ แต่มีฉบับใหม่ใช้บังคับต่อเนื่อง
พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง? และเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 ได้สิ้นอายุการใช้บังคับ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2535 แต่ต่อมาได้มี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร? เขตห้วยขวางและเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535 ประกาศใช้อันมีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 สิงหาคม 2535 โดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนเช่นเดียวกับ พ.ร.ฎ. ฉบับก่อน และต่อมาวันที่ 12 ตุลาคม 2536 โจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน อันอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร? เขตห้วยขวาง และเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535 ซึ่งขณะนั้นจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ. ฉบับนี้ ดังนั้น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯนั้น จำเลยที่ 2 กระทำโดยมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ. ฉบับนี้ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์ได้ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯจึงไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5723/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิการได้รับค่าทดแทนที่ถูกต้อง, การฉ้อฉลเพื่อหวังค่าทดแทนเพิ่ม และการคิดดอกเบี้ย
โจทก์กับจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ในเวลาบังคับใช้ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ซึ่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ทำให้จำเลยที่ 1 โดยผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนจากโจทก์ได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ฯ จึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญาตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
การจดทะเบียนทางภาระจำยอมในที่ดินแปลงอื่นให้แก่ที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนกระทำขึ้นภายหลังจากที่ที่ดินของโจทก์ถูกกำหนดให้อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนมาแล้วหลายปี แสดงว่าทำขึ้นโดยฉ้อฉลเพียงเพื่อประสงค์ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนมากขึ้นกว่าเดิม จึงต้องห้ามมิให้คิดเงินค่าทดแทนสำหรับราคาที่ดินที่สูงขึ้น ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 24 (2) จึงต้องถือว่าในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ มีผลใช้บังคับนั้น ที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนไม่มีส่วนใดอยู่ติดทางสาธารณะหรือทางภาระจำยอม
การจดทะเบียนทางภาระจำยอมในที่ดินแปลงอื่นให้แก่ที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนกระทำขึ้นภายหลังจากที่ที่ดินของโจทก์ถูกกำหนดให้อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนมาแล้วหลายปี แสดงว่าทำขึ้นโดยฉ้อฉลเพียงเพื่อประสงค์ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนมากขึ้นกว่าเดิม จึงต้องห้ามมิให้คิดเงินค่าทดแทนสำหรับราคาที่ดินที่สูงขึ้น ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 24 (2) จึงต้องถือว่าในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ มีผลใช้บังคับนั้น ที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนไม่มีส่วนใดอยู่ติดทางสาธารณะหรือทางภาระจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5242/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนตามราคาตลาด ณ วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ และสิทธิในการได้รับดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ กับโจทก์เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2537 และจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2537 แม้มิใช่เป็นการดำเนินการเพื่อเวนคืนโดยอาศัย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน.. พ.ศ. 2530 แต่การดำเนินการดังกล่าวอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2535 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับหลังนี้ ทำให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ที่จะต้องเวนคืนจากโจทก์และจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้แก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ กับโจทก์ โดยอาศัยอำนาจของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน.. พ.ศ. 2535 การดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์จึงเป็นการดำเนินการโดยอาศัย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2535 และไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนจึงต้องคำนึงถึงมาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 คือต้องคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2535 คือวันที่ 29 สิงหาคม 2535
โจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2537 ดังนั้น ฝ่ายจำเลยมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญาซึ่งก็คือวันที่ 15 พฤษภาคม 2537 ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว ไม่ใช่คิดจากวันรับเงินค่าทดแทน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2537 ดังนั้น ฝ่ายจำเลยมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญาซึ่งก็คือวันที่ 15 พฤษภาคม 2537 ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว ไม่ใช่คิดจากวันรับเงินค่าทดแทน