คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5777/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เวนคืนเป็นโมฆะเมื่อทำหลังหมดอายุพระราชกฤษฎีกา และเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจ
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนและจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่จะถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษฯตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา10วรรคหนึ่งไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อขณะทำสัญญาดังกล่าวพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯซึ่งกำหนดให้จำเลยที่1เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนได้สิ้นผลบังคับแล้วเพราะหมดอายุฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวย่อมสิ้นผลไปด้วยสัญญาซื้อขายนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงต้องดำเนินการใหม่เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฉบับใหม่มีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณค่าทดแทนและดอกเบี้ยที่เหมาะสมตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา9วรรคสองและวรรคสี่กำหนดให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพ.ร.ฎ.ทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่บุคคลตามมาตรา18โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้วตามมาตรา25ให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่พอใจมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพ.ร.ฎ.ได้และมาตรา26ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา25ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ดังนั้น"คณะกรรมการปรองดอง"ที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีจึงมีหน้าที่เพียงกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนเท่านั้นมิใช่ดุลพินิจโดยเด็ดขาดของคณะกรรมการฯรัฐมนตรีหรือศาลซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์หรือฟ้องของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนแล้วแต่กรณีย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนค่าทดแทนของคณะกรรมการฯชอบและเป็นธรรมตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24หรือไม่หากไม่ชอบหรือไม่เป็นธรรมแล้วก็ย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนค่าทดแทนที่คณะกรรมการฯกำหนดให้ชอบและเป็นธรรมตามมาตรา18มาตรา21และมาตรา22และมาตรา24โดยกำหนดให้ผู้ที่ถูกเวนคืนได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากค่าทดแทนที่น้อยกว่าราคาที่เป็นธรรมได้ ในเรื่องดอกเบี้ยนั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา26วรรคสามบัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นและมาตรา11วรรคหนึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา10ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7212/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน คำนวณจากวันที่ครบกำหนดจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขาย ไม่ใช่วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
เมื่อศาลวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นแก่โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคาร ออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคท้ายคดีนี้ไม่มีการวางเงินค่าทดแทนดังนั้นวันที่เริ่มต้นคิดดอกเบี้ยคือวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนซึ่งมาตรา11วรรคแรกบัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา10ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันเมื่อวันที่8มีนาคม2531จำเลยจึงต้องจ่ายเงินค่าที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่8มีนาคม2531คือภายในวันที่6กรกฎาคม2531ซึ่งเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา26วรรคท้ายจำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่6กรกฎาคม2531 โจทก์ฎีกาว่าคณะกรรมการปรองดองและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยขาดความรอบคอบและไม่เป็นธรรมโดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอย่างไรบ้างและที่ถูกต้องทั้งตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายควรจะเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7212/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน คำนวณจากวันที่ครบกำหนดจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขาย ไม่ใช่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ
เมื่อศาลวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นแก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคท้าย คดีนี้ไม่มีการวางเงินค่าทดแทน ดังนั้นวันที่เริ่มต้นคิดดอกเบี้ยคือวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทน ซึ่งมาตรา11 วรรคแรก บัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2531 จำเลยจึงต้องจ่ายเงินค่าที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่ 8 มีนาคม 2531คือภายในวันที่ 6 กรกฎาคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคท้าย จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2531 โจทก์ฎีกาว่าคณะกรรมการปรองดองและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยขาดความรอบคอบและไม่เป็นธรรมโดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอย่างไรบ้าง และที่ถูกต้องทั้งตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายควรจะเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7212/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: เริ่มนับเมื่อใดตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ
เมื่อศาลวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นแก่โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26วรรคท้าย คดีนี้ไม่มีการวางเงินค่าทดแทน ดังนั้นวันที่เริ่มต้นคิดดอกเบี้ยคือวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทน ซึ่งมาตรา 11 วรรคแรก บัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2531 จำเลยจึงต้องจ่ายเงินค่าที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่ 8 มีนาคม 2531 คือภายในวันที่6 กรกฎาคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคท้ายจำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2531
โจทก์ฎีกาว่าคณะกรรมการปรองดองและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยขาดความรอบคอบและไม่เป็นธรรมโดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอย่างไรบ้าง และที่ถูกต้องทั้งตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายควรจะเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4913/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของเจ้าหน้าที่เมื่อมีพระราชบัญญัติเวนคืนใช้บังคับ มิใช่แค่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขต
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530หมวด 1 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้บัญญัติถึงขั้นตอนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ ตั้งแต่มาตรา 5 ถึงมาตรา 17 มีใจความโดยย่อดังนี้ คือ มาตรา 5 เมื่อรัฐต้องการจะได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่นให้ดำเนินการเวนคืนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืน จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ มาตรา 6 บัญญัติว่าข้อความใดบ้างจะต้องระบุในพระราชกฤษฎีกา มาตรา 7 กำหนดให้ปิดประกาศสำเนาพระราชกฤษฎีกาในที่ต่าง ๆ มาตรา 9 เมื่อใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาแล้วให้เจ้าหน้าที่สำรวจเพื่อทราบ "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน" แล้วตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ และหากจะมีการซื้อขายก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 10ถึงมาตรา 14 ขั้นตอนต่อไปบัญญัติในมาตรา 15 ว่า เมื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอนแล้วให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวโดยให้ระบุที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นที่ต้องเวนคืนพร้อมทั้งรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีแผนที่หรือแผนผังด้วย และในที่สุดบัญญัติถึงการโอนกรรมสิทธิ์ไว้ในมาตรา 16 ว่า "ให้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนตกเป็นของเจ้าหน้าที่นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15 ใช้บังคับ" ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าการได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนยังไม่มีผลทำให้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆตามมาตรา 15 แล้ว กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นจึงจะตกเป็นของเจ้าหน้าที่นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนดังกล่าวใช้บังคับแต่ในกรณีนี้เพียงแต่ปรากฏว่าที่พิพาทอยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ดอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางเขน เขตดุสิตเขตพญาไท เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตยานนาวา เขตห้วยขวางเขตบางกะปิ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 เท่านั้นยังไม่ปรากฏว่ามีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินพิพาทตามมาตรา 15แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530แต่อย่างใด ขณะขายทอดตลาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของจำเลยอยู่ ยังไม่ตกเป็นของเจ้าหน้าที่ การขายทอดตลาดไม่ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใด ไม่อาจจะให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามคำร้องของผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการจ่ายค่าทดแทนเวนคืน: เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตาม พรบ.เวนคืน ไม่ใช่ผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 ได้กำหนดอำนาจของเจ้าหน้าที่หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจตกลงซื้อขาย กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ และจ่ายค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเห็นได้ว่าผู้ที่ต้องจ่ายค่าทดแทน คือเจ้าหน้าที่หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เมื่อการเวนคืนรายนี้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัดสายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34-บางบ่อ พ.ศ. 2525 จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ ส่วนจำเลยซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นเพียงผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเท่านั้นไม่มีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกค่าทดแทน
of 7