คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 19

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืนสิ่งปลูกสร้างที่ล่าช้าและไม่ครบถ้วน การดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายเพื่อขอเวนคืนทั้งหลัง
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2540 ซึ่งจำเลยได้เรียกโจทก์มาทำบันทึกข้อตกลงยินยอมรับเงินค่าทดแทนที่ดินเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2540 ฝ่ายจำเลยควรจะดำเนินการสำรวจอย่างจริงจังว่าสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 59/1 ถูกเวนคืนและต้องรื้อถอนในส่วนใดบ้าง ควรได้รับเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างจำนวนเท่าใดแล้วกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างในเวลาเดียวกันหรือเวลาใกล้เคียงกับที่ดำเนินการกับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน แต่หาได้ดำเนินการดังกล่าวไม่ ปล่อยเวลาในล่วงเลยไปจนถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2542 จึงได้ประมาณราคาค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่ถูกเวนคืนให้โจทก์และคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ จึงนำการประมาณราคาดังกล่าวมากำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2543 โดยแจ้งให้โจทก์ทราบภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้วกว่า 1 ปี ทำให้โจทก์เข้าใจผิดในตอนแรกว่าฝ่ายจำเลยไม่กำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ ประกอบกับตัวบ้านเลขที่ 59/1 ประมาณ 1 ใน 3 อยู่ในแนวเขตที่จะต้องเวนคืน หากให้รื้อถอนเฉพาะส่วน โครงสร้างของบ้านส่วนที่มิได้ถูกรื้อถอนจะตั้งอยู่ติดถนนสาธารณะโดยไม่มีพื้นที่ว่างระหว่างตัวบ้านกับรั้วบ้านดังเช่นสภาพของเดิมที่มีระยะห่างกันประมาณ 5 เมตร ทั้งยังทำให้พื้นที่ใช้สอยของบ้านส่วนที่เหลือจากการถูกรื้อถอนคับแคบลงไม่อาจใช้ประโยชน์ตามสภาพเดิมได้ ซึ่งทำให้เห็นได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเวนคืนบ้านที่เหลืออยู่ได้ และโจทก์ก็ได้ร้องขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างทั้งหลังก่อนวันที่ 7 ตุลาคม 2541 แล้ว แต่จำเลยไม่ดำเนินการให้ การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2541 ขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหลังจำนวน 15,000,000 บาท อันเป็นการขอให้เวนคืนสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 59/1 ในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนด้วย พอถือได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 19 แล้ว เมื่อรัฐมนตรีฯ มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวัน จึงถือว่ารัฐมนตรีฯ ให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเวนคืนตามคำร้องขอของโจทก์แล้ว ตามความตอนท้ายวรรคสองของมาตรา 19 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 59/1 ทั้งหลังจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคิดดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนที่ล่าช้า และการพิจารณาปัจจัยในการประเมินราคาที่ดิน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 นั้น ถ้ามิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะแล้วให้กำหนดโดยคำนึงถึง (1) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ก. ... (4) สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น และ (5) เหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม" ซึ่งการดำเนินการเพื่อการเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อขยายทางหลวงเทศบาล สายรามคำแหง ตอนสะพานข้ามคลองลาดบังขาว - บรรจบถนนสุวินทวงศ์ฯ มิได้มี พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดบัญญัติในเรื่องเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำหลักตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ และบริษัทที่ปรึกษาได้พิจารณาถึงที่ตั้งของที่ดิน สภาพถนน และซอยด้านหน้าของที่ดิน ลักษณะกายภาพของที่ดินสาธารณูปโภค การใช้ประโยชน์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ราคาที่ซื้อขายกันจริงตามปกติในท้องตลาดในช่วงปี 2539 ดังนั้น การที่บริษัทที่ปรึกษาเห็นว่าควรกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตารางวาละ 58,500 บาท และคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ เห็นด้วยจึงเป็นอัตราที่เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมแล้ว
การเวนคืนที่ดิน ที่ดินทุกแปลงที่อยู่ติดถนนย่อมได้รับประโยชน์จากผลของการเวนคืนแต่มากน้อยต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพที่ดินที่เป็นอยู่เดิมและจำนวนเนื้อที่ดินส่วนที่เหลือ หรือบางรายอาจไม่ได้รับประโยชน์เลยหากถูกเวนคืนจนเหลือเนื้อที่ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือใช้ได้อย่างจำกัด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนมีอัตราเท่ากันหรือใกล้เคียงกันทุกแปลงแม้จะอยู่บริเวณเดียวกันก็ตาม เนื่องจากต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงอื่นซึ่งอาจเป็นตัวแปรที่ทำให้ที่ดินแต่ละแปลงมีราคาที่แตกต่างกันประกอบด้วยตามที่กล่าวข้างต้น
การเวนคืนเป็นกรณีโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกันได้ตามความในมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนทั้งหมด ซึ่งรวมถึงเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนส่วนที่รังวัดขาดไปจำนวน 2,603,250 บาท ให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย โจทก์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2540 ครบกำหนด 120 วัน ตามมาตรา 10 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ให้แก่โจทก์ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2540 เมื่อยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวนนี้เป็นเงินที่จ่ายล่าช้ากว่ากำหนดเวลาตามความในมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ซึ่งมาตรา 33 กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่จ่ายล่าช้าดังกล่าว นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาการจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือเงินค่าทดแทนตามมาตรา 10 กรณีนี้มิใช่กรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลกำหนดเงินค่าทดแทนเพิ่มให้แก่โจทก์ตามมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากต้นเงิน 2,603,250 บาท ในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน นับแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์บางส่วน: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างที่เหลือใช้การไม่ได้ต้องใช้สิทธิภายในกรอบกฎหมาย
โจทก์เป็นเจ้าของสถานฝึกซ้อมไดร์กอล์ฟและอาคารแจ้งวัฒนะกอล์ฟไดร์วิ่งเร้น ซึ่งเป็นอาคารตึก 2 ชั้น จำนวน 1 หลัง เสาโครงเหล็กจำนวน 52 ต้น และสนามกอล์ฟพื้นที่ 21,513 ตารางเมตร ต่อมาสนามไดร์กอล์ฟของโจทก์ดังกล่าวถูกเวนคืนบางส่วนผ่ากลางสนามหญ้า โดยมีการรื้อถอนเสาโครงเหล็กบางส่วน โจทก์จึงเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ซึ่งมีอยู่ในที่ดินที่ถูกเวนคืน เมื่อการเวนคืนดังกล่าวมีผลทำให้เสาโครงเหล็กตาข่ายและสนามหญ้าที่เหลือใช้การไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ จึงเป็นการเวนคืนสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นแต่เพียงบางส่วน ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 19 และโจทก์ฟ้องขอเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากตัวทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนอันเป็นกรณีตามมาตรา 19 มิใช่กรณีตามมาตรา 21 วรรคท้าย ซึ่งหมายถึงค่าเสียหายโดยตรงที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ดังนั้นหากโจทก์เห็นว่าสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลืออยู่ใช้การไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์และโจทก์ประสงค์จะให้เวนคืน โจทก์จะต้องร้องขอต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนให้เวนคืนส่วนที่เหลืออยู่ซึ่งใช้การไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์นั้นด้วย ถ้าจำเลยที่ 2 ไม่ยอมเวนคืนตามคำร้องของโจทก์ โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ฯ ภายใน 60 วัน ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 19 เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการตามขั้นตอนตามกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนทรัพย์สินส่วนนี้ที่เหลือจากการเวนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4274/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลปรับเพิ่มค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันวางเงิน
หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 จะต้องเป็นการแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนซึ่งได้จัดเตรียมการจ่ายไว้แล้วโดยไม่ต้องกระทำการอย่างอื่นอีก หากหนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เป็นกรณีที่ยังสามารถดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอีกโดยยังไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทน ก็ไม่ใช่หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว
หนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์ผู้ถูกเวนคืนระบุเรื่องว่า ขอเชิญให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนและสิ่งที่ส่งมากับหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือแสดงรายการเอกสารที่ต้องใช้ในการทำสัญญาเกี่ยวกับค่าทดแทน และมีข้อความในหมายเหตุอีกว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่ตกลงทำสัญญา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 จะทำการวางเงินค่าทดแทนเอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือที่เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มาทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 แล้ว
สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนของจำเลยทั้งสองนั้น หลังจากมีการทำสัญญาซื้อขายต่อกันแล้ว จำเลยที่ 1 จะมีหนังสือแจ้งโจทก์ผู้ถูกเวนคืนให้มารับเงินค่าทดแทนในภายหลังอีกครั้งหนึ่ง แต่โจทก์ไม่ได้มาทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยที่ 1ต่อมาเมื่อครบกำหนด 60 วัน จำเลยที่ 1 จึงได้นำเงินค่าทดแทนไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์และมีหนังสือถึงโจทก์เรื่องแจ้งการวางเงินค่าทดแทน ซึ่งมีข้อความให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนได้โดยไม่มีข้อที่จะดำเนินการอย่างอื่นอีก ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งโจทก์ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อไร และหนังสือฉบับดังกล่าวลงวันที่ 15 มีนาคม 2534 ดังนั้น โจทก์จะต้องได้รับหนังสือไม่เร็วกว่าวันที่ 15 มีนาคม 2534 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย วันที่ 13 พฤษภาคม 2534 ไม่เกินหกสิบวัน จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้
อาคารโกดังคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียวของโจทก์มีเนื้อที่ 841.30 ตารางเมตร ตรงกับเนื้อที่ตามฟ้องของโจทก์ แม้อาคารหลังนี้อยู่ในแนวเขตที่จะเวนคืนเพียงบางส่วนเนื้อที่ 300 ตารางเมตรก็ตาม แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ขอให้เวนคืนส่วนที่เหลืออยู่ซึ่งใช้การไม่ได้แล้ว และไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีฯ ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ซึ่งถือว่ารัฐมนตรีฯ วินิจฉัยให้เจ้าหน้าที่เวนคืนตามคำร้องขอของโจทก์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 19 วรรคสอง แล้ว
เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาลโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสามส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ ส่วนวันเริ่มต้นชำระดอกเบี้ยนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่าย และปรากฏตามหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจำนวน4,149,515.37 บาท ไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม2534 ในนามของโจทก์ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวจากเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ศาลวินิจฉัยให้เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดซึ่งรวมกันแล้วเป็นจำนวน 13,403,084.63 บาท แต่ต่อมาคณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนได้แก้ไขราคาเบื้องต้นเฉพาะที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นอีก 5,607,000 บาท และโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้วเมื่อวันที่26 เมษายน 2536 นับแต่วันดังกล่าว ต้นเงินที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยจึงต้องลดลงจำนวน5,607,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4274/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติม พร้อมดอกเบี้ย
หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 จะต้องเป็นการแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนซึ่งได้จัดเตรียมการจ่ายไว้แล้วโดยไม่ต้องกระทำการอย่างอื่นอีก หากหนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เป็นกรณีที่ยังสามารถดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอีกโดยยังไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทน ก็ไม่ใช่หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว
หนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์ผู้ถูกเวนคืนระบุเรื่องว่า ขอเชิญให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนและสิ่งที่ส่งมากับหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือแสดงรายการเอกสารที่ต้องใช้ในการทำสัญญาเกี่ยวกับค่าทดแทน และมีข้อความในหมายเหตุอีกว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่ตกลงทำสัญญา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 จะทำการวางเงินค่าทดแทนเอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือที่เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มาทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 แล้ว
สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนของจำเลยทั้งสองนั้น หลังจากมีการทำสัญญาซื้อขายต่อกันแล้ว จำเลยที่ 1 จะมีหนังสือแจ้งโจทก์ผู้ถูกเวนคืนให้มารับเงินค่าทดแทนในภายหลังอีกครั้งหนึ่ง แต่โจทก์ไม่ได้มาทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยที่ 1ต่อมาเมื่อครบกำหนด 60 วัน จำเลยที่ 1 จึงได้นำเงินค่าทดแทนไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์และมีหนังสือถึงโจทก์เรื่องแจ้งการวางเงินค่าทดแทน ซึ่งมีข้อความให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนได้โดยไม่มีข้อที่จะดำเนินการอย่างอื่นอีก ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งโจทก์ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อไร และหนังสือฉบับดังกล่าวลงวันที่ 15 มีนาคม 2534 ดังนั้น โจทก์จะต้องได้รับหนังสือไม่เร็วกว่าวันที่ 15 มีนาคม 2534 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย วันที่ 13 พฤษภาคม 2534 ไม่เกินหกสิบวัน จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้
อาคารโกดังคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียวของโจทก์มีเนื้อที่ 841.30 ตารางเมตร ตรงกับเนื้อที่ตามฟ้องของโจทก์ แม้อาคารหลังนี้อยู่ในแนวเขตที่จะเวนคืนเพียงบางส่วนเนื้อที่ 300 ตารางเมตรก็ตาม แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ขอให้เวนคืนส่วนที่เหลืออยู่ซึ่งใช้การไม่ได้แล้ว และไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีฯ ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ซึ่งถือว่ารัฐมนตรีฯ วินิจฉัยให้เจ้าหน้าที่เวนคืนตามคำร้องขอของโจทก์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 19 วรรคสอง แล้ว
เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาลโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสามส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ ส่วนวันเริ่มต้นชำระดอกเบี้ยนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่าย และปรากฏตามหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจำนวน4,149,515.37 บาท ไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม2534 ในนามของโจทก์ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวจากเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ศาลวินิจฉัยให้เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดซึ่งรวมกันแล้วเป็นจำนวน 13,403,084.63 บาท แต่ต่อมาคณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนได้แก้ไขราคาเบื้องต้นเฉพาะที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นอีก 5,607,000 บาท และโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้วเมื่อวันที่26 เมษายน 2536 นับแต่วันดังกล่าว ต้นเงินที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยจึงต้องลดลงจำนวน5,607,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4274/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: กำหนดเวลาการแจ้งรับเงินค่าทดแทน, การคำนวณดอกเบี้ย, และขอบเขตการเวนคืน
หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 จะต้องเป็นการแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนซึ่งได้จัดเตรียมการจ่ายไว้แล้วโดยไม่ต้องกระทำการอย่างอื่นอีก หากหนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เป็นกรณีที่ยังสามารถดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอีกโดยยังไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทน ก็ไม่ใช่หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว
หนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์ผู้ถูกเวนคืนระบุเรื่องว่า ขอเชิญให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนและสิ่งที่ส่งมากับหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือแสดงรายการเอกสารที่ต้องใช้ในการทำสัญญาเกี่ยวกับค่าทดแทน และมีข้อความในหมายเหตุอีกว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่ตกลงทำสัญญา การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จะทำการวางเงินค่าทดแทน เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือที่เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มาทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้ว
สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนของจำเลยทั้งสองนั้น หลังจากมีการทำสัญญาซื้อขายต่อกันแล้ว จำเลยที่ 1 จะมีหนังสือแจ้งโจทก์ผู้ถูกเวนคืนให้มารับเงินค่าทดแทนในภายหลังอีกครั้งหนึ่ง แต่โจทก์ไม่ได้มาทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยที่ 1 ต่อมาเมื่อครบกำหนด 60 วันจำเลยที่ 1 จึงได้นำเงินค่าทดแทนไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์และมีหนังสือถึงโจทก์เรื่องแจ้งการวางเงินค่าทดแทน ซึ่งมีข้อความให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนได้โดยไม่มีข้อที่จะดำเนินการอย่างอื่นอีก ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งโจทก์ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อไร และหนังสือฉบับดังกล่าวลงวันที่ 15 มีนาคม2534 ดังนั้น โจทก์จะต้องได้รับหนังสือไม่เร็วกว่าวันที่ 15 มีนาคม 2534 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย วันที่ 13 พฤษภาคม 2534ไม่เกินหกสิบวัน จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้
อาคารโกดังคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียวของโจทก์มีเนื้อที่841.30 ตารางเมตร ตรงกับเนื้อที่ตามฟ้องของโจทก์ แม้อาคารหลังนี้อยู่ในแนวเขตที่จะเวนคืนเพียงบางส่วนเนื้อที่ 300 ตารางเมตรก็ตาม แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ขอให้เวนคืนส่วนที่เหลืออยู่ซึ่งใช้การไม่ได้แล้ว และไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีฯได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ซึ่งถือว่ารัฐมนตรีฯ วินิจฉัยให้เจ้าหน้าที่เวนคืนตามคำร้องขอของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา19 วรรคสอง แล้ว
เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ ส่วนวันเริ่มต้นชำระดอกเบี้ยนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่าย และปรากฏตามหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจำนวน4,149,515.37 บาท ไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 15มีนาคม 2534 ในนามของโจทก์ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวจากเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ศาลวินิจฉัยให้เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดซึ่งรวมกันแล้วเป็นจำนวน13,403,084.63 บาท แต่ต่อมาคณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนได้แก้ไขราคาเบื้องต้นเฉพาะที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นอีก5,607,000 บาท และโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้วเมื่อวันที่ 26 เมษายน2536 นับแต่วันดังกล่าว ต้นเงินที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยจึงต้องลดลงจำนวน5,607,000 บาท