พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคิดดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนที่ล่าช้า และการพิจารณาปัจจัยในการประเมินราคาที่ดิน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 นั้น ถ้ามิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะแล้วให้กำหนดโดยคำนึงถึง (1) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ก. ... (4) สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น และ (5) เหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม" ซึ่งการดำเนินการเพื่อการเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อขยายทางหลวงเทศบาล สายรามคำแหง ตอนสะพานข้ามคลองลาดบังขาว - บรรจบถนนสุวินทวงศ์ฯ มิได้มี พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดบัญญัติในเรื่องเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำหลักตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ และบริษัทที่ปรึกษาได้พิจารณาถึงที่ตั้งของที่ดิน สภาพถนน และซอยด้านหน้าของที่ดิน ลักษณะกายภาพของที่ดินสาธารณูปโภค การใช้ประโยชน์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ราคาที่ซื้อขายกันจริงตามปกติในท้องตลาดในช่วงปี 2539 ดังนั้น การที่บริษัทที่ปรึกษาเห็นว่าควรกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตารางวาละ 58,500 บาท และคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ เห็นด้วยจึงเป็นอัตราที่เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมแล้ว
การเวนคืนที่ดิน ที่ดินทุกแปลงที่อยู่ติดถนนย่อมได้รับประโยชน์จากผลของการเวนคืนแต่มากน้อยต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพที่ดินที่เป็นอยู่เดิมและจำนวนเนื้อที่ดินส่วนที่เหลือ หรือบางรายอาจไม่ได้รับประโยชน์เลยหากถูกเวนคืนจนเหลือเนื้อที่ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือใช้ได้อย่างจำกัด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนมีอัตราเท่ากันหรือใกล้เคียงกันทุกแปลงแม้จะอยู่บริเวณเดียวกันก็ตาม เนื่องจากต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงอื่นซึ่งอาจเป็นตัวแปรที่ทำให้ที่ดินแต่ละแปลงมีราคาที่แตกต่างกันประกอบด้วยตามที่กล่าวข้างต้น
การเวนคืนเป็นกรณีโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกันได้ตามความในมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนทั้งหมด ซึ่งรวมถึงเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนส่วนที่รังวัดขาดไปจำนวน 2,603,250 บาท ให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย โจทก์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2540 ครบกำหนด 120 วัน ตามมาตรา 10 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ให้แก่โจทก์ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2540 เมื่อยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวนนี้เป็นเงินที่จ่ายล่าช้ากว่ากำหนดเวลาตามความในมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ซึ่งมาตรา 33 กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่จ่ายล่าช้าดังกล่าว นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาการจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือเงินค่าทดแทนตามมาตรา 10 กรณีนี้มิใช่กรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลกำหนดเงินค่าทดแทนเพิ่มให้แก่โจทก์ตามมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากต้นเงิน 2,603,250 บาท ในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน นับแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
การเวนคืนที่ดิน ที่ดินทุกแปลงที่อยู่ติดถนนย่อมได้รับประโยชน์จากผลของการเวนคืนแต่มากน้อยต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพที่ดินที่เป็นอยู่เดิมและจำนวนเนื้อที่ดินส่วนที่เหลือ หรือบางรายอาจไม่ได้รับประโยชน์เลยหากถูกเวนคืนจนเหลือเนื้อที่ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือใช้ได้อย่างจำกัด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนมีอัตราเท่ากันหรือใกล้เคียงกันทุกแปลงแม้จะอยู่บริเวณเดียวกันก็ตาม เนื่องจากต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงอื่นซึ่งอาจเป็นตัวแปรที่ทำให้ที่ดินแต่ละแปลงมีราคาที่แตกต่างกันประกอบด้วยตามที่กล่าวข้างต้น
การเวนคืนเป็นกรณีโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกันได้ตามความในมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนทั้งหมด ซึ่งรวมถึงเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนส่วนที่รังวัดขาดไปจำนวน 2,603,250 บาท ให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย โจทก์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2540 ครบกำหนด 120 วัน ตามมาตรา 10 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ให้แก่โจทก์ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2540 เมื่อยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวนนี้เป็นเงินที่จ่ายล่าช้ากว่ากำหนดเวลาตามความในมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ซึ่งมาตรา 33 กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่จ่ายล่าช้าดังกล่าว นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาการจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือเงินค่าทดแทนตามมาตรา 10 กรณีนี้มิใช่กรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลกำหนดเงินค่าทดแทนเพิ่มให้แก่โจทก์ตามมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากต้นเงิน 2,603,250 บาท ในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน นับแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ดอกเบี้ยกรณีจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการตามสัญญา และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
คดีนี้โจทก์ขอให้จำเลยเวนคืนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนคราวก่อน แต่จำเลยไม่ดำเนินการจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำคดีมาฟ้อง และหลังจากนั้นอีก 1 ปี จำเลยเพิ่งมาตกลงซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน เนื้อที่ 21 ตารางวา ราคาตารางวาละ 35,000 บาท กรณีเช่นนี้ไม่อาจนำบทบัญญัติตามมาตรา 10, 11 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้จัดซื้อจะต้องจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขายมาอนุโลมใช้บังคับเพื่อคำนวณหาวันที่โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยได้ เพราะบทบัญญัติในส่วนนี้ใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริทรัพย์กันได้ก่อนนำคดีมาฟ้องศาล เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ฝ่ายจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยในจำนวนค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นนับจากวันที่มีการทำสัญญาซื้อขายไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่สำหรับคดีนี้โจทก์ไม่พอใจที่ฝ่ายจำเลยเพิกเฉยไม่เวนคืนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลโดยจำเลยยังไม่ได้ตกลงซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีก็ชอบที่จะให้ฝ่ายจำเลยชำระดอกเบี้ยนับจากวันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินเวนคืน กรณีจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการเวนคืนจนโจทก์ฟ้อง
โจทก์ขอให้ฝ่ายจำเลยเวนคืนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน แต่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำคดีมาฟ้อง หลังจากนั้นฝ่ายจำเลยมาตกลงซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตามมาตรา 10 และมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้จัดซื้อต้องจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขายมาอนุโลมใช้บังคับเพื่อคำนวณหาวันที่โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยได้ เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีก็ชอบที่จะให้ฝ่ายจำเลยชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืน: การอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี, การครอบครอง, และขอบเขตค่าเสียหาย
การพิจารณาว่าที่ดินที่ถูกเวนคืนแปลงใดมีที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนหรือไม่เพียงใด ต้องพิจารณาในวันที่กฎหมายกำหนดแนวเขตที่จะเวนคืนมีผลใช้บังคับในกรณีนี้คือวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ คือวันที่ 1 มกราคม 2535 ในวันดังกล่าวที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนเป็นที่ดินแปลงเดียวมีที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเนื้อที่ 113 ตารางวา และไม่มีด้านหนึ่งด้านใดน้อยกว่า 5 วา ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะขอให้ฝ่ายจำเลยเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินแปลงนี้ออกเป็นแปลงย่อยอีก 7 แปลง ภายหลังวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ เป็นผลให้ที่ดินที่แบ่งแยกดังกล่าวแต่ละแปลงมีเนื้อที่น้อยกว่า 25 ตารางวา และมีด้านหนึ่งด้านใดน้อยกว่า 5 วานั้น เกิดจากการกระทำของโจทก์เองมิใช่เกิดจากการเวนคืนโดยตรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ฝ่ายจำเลยเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินที่เหลืออยู่นั้นได้
อุทธรณ์ของโจทก์ไม่ได้ขอให้รัฐมนตรีฯ วินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงให้แก่โจทก์ ส่วนที่มีหนังสือถึงเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ขอให้เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือว่า หากเจ้าหน้าที่ไม่ยอมเวนคืนหรือจัดซื้อก็ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลืออยู่อันราคาลดลงร้อยละ 60 เป็นการขอให้เจ้าหน้าที่ที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินตามมาตรา 20 มิใช่เป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงซึ่งเป็นเงินค่าทดแทนตามมาตรา 21 วรรคสามนี้ ก่อนที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 จะมีสิทธินำคดีมาฟ้องคดีต่อศาลขอเงินค่าทดแทนส่วนนี้ได้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจะต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีก่อนตามขั้นตอนในมาตรา 25 วรรคหนึ่งและมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้รัฐมนตรีฯ กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้จากจำเลย ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวปรากฏจาก พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำเข้าสู่การพิจารณาของศาลโดยชอบแล้ว แม้จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่ได้ ยกเหตุนี้ขึ้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ผู้จะมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนตาม มาตรา 21 วรรคท้าย ต้องเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขาย หรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์อยู่แล้วในวันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นถูกกำหนดให้เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ในกรณีนี้คือวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ คือวันที่ 1 มกราคม 2535 แต่โจทก์ซื้อที่ดินที่ต้องเวนคืน มาภายหลังวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ แล้ว ทั้งการสร้างอาคารพาณิชย์แบ่งขายให้แก่บุคคลอื่นก็ไม่ใช่การอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้
โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เพียงใดนั้น ต้องเป็นไปตามที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 บัญญัติไว้ แต่ตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้หาได้มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายที่โจทก์ถูกผู้ซื้อที่ดิน (ที่ถูกเวนคืน) และอาคารพาณิชย์จากโจทก์ฟ้องให้โจทก์รับผิดไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์
อุทธรณ์ของโจทก์ไม่ได้ขอให้รัฐมนตรีฯ วินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงให้แก่โจทก์ ส่วนที่มีหนังสือถึงเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ขอให้เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือว่า หากเจ้าหน้าที่ไม่ยอมเวนคืนหรือจัดซื้อก็ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลืออยู่อันราคาลดลงร้อยละ 60 เป็นการขอให้เจ้าหน้าที่ที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินตามมาตรา 20 มิใช่เป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงซึ่งเป็นเงินค่าทดแทนตามมาตรา 21 วรรคสามนี้ ก่อนที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 จะมีสิทธินำคดีมาฟ้องคดีต่อศาลขอเงินค่าทดแทนส่วนนี้ได้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจะต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีก่อนตามขั้นตอนในมาตรา 25 วรรคหนึ่งและมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้รัฐมนตรีฯ กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้จากจำเลย ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวปรากฏจาก พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำเข้าสู่การพิจารณาของศาลโดยชอบแล้ว แม้จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่ได้ ยกเหตุนี้ขึ้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ผู้จะมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนตาม มาตรา 21 วรรคท้าย ต้องเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขาย หรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์อยู่แล้วในวันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นถูกกำหนดให้เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ในกรณีนี้คือวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ คือวันที่ 1 มกราคม 2535 แต่โจทก์ซื้อที่ดินที่ต้องเวนคืน มาภายหลังวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ แล้ว ทั้งการสร้างอาคารพาณิชย์แบ่งขายให้แก่บุคคลอื่นก็ไม่ใช่การอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้
โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เพียงใดนั้น ต้องเป็นไปตามที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 บัญญัติไว้ แต่ตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้หาได้มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายที่โจทก์ถูกผู้ซื้อที่ดิน (ที่ถูกเวนคืน) และอาคารพาณิชย์จากโจทก์ฟ้องให้โจทก์รับผิดไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6398/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องซื้อที่ดินเวนคืน: ต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายก่อนฟ้อง
จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนตามคำร้องขอของโจทก์แล้ว อันเป็นการจัดซื้อที่ดินตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ซึ่งวรรคสองให้นำบทบัญญัติมาตรา 10 มาตรา 11 และมาตรา 33 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจัดซื้อที่ดินของโจทก์ทั้งที่เจ้าหน้าที่เวนคืนไม่ได้ปฏิเสธคำร้องขอของโจทก์ และยังไม่มีการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง การฟ้องคดีของโจทก์ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนในราคาตามฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3710/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเพิ่มเติมและการซื้อที่ดินส่วนที่เหลือต้องดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินจากตารางวาละ 8,000 บาท เป็นตารางวาละ 16,000 บาท โจทก์พอใจไม่อุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 12,000 บาท โจทก์ก็ชอบที่จะฎีกาขอให้ศาลฎีกาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 16,000 บาท เท่านั้น จะขอแก้ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท ซึ่งเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แก่โจทก์และโจทก์พอใจแล้วไม่ได้ ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้แก้ โจทก์จึงฎีกาขอให้ศาลฎีกาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท ไม่ได้ด้วย
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้วินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท โจทก์จึงมีสิทธิที่จะไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้จากฝ่ายจำเลยซึ่งมากกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แก่โจทก์และโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์พอใจคำวินิจฉัยส่วนนี้ของรัฐมนตรีแล้ว ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนที่ดินตามฟ้องของโจทก์จึงหมดสิ้นไปแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาส่วนนี้ของจำเลย
โจทก์ไม่ได้ร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนที่ดินหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนและขอให้ซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนั้น เป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละขั้นตอนกับการขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน แต่การยกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เป็นการยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้วินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท โจทก์จึงมีสิทธิที่จะไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้จากฝ่ายจำเลยซึ่งมากกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แก่โจทก์และโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์พอใจคำวินิจฉัยส่วนนี้ของรัฐมนตรีแล้ว ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนที่ดินตามฟ้องของโจทก์จึงหมดสิ้นไปแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาส่วนนี้ของจำเลย
โจทก์ไม่ได้ร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนที่ดินหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนและขอให้ซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนั้น เป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละขั้นตอนกับการขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน แต่การยกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เป็นการยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8291/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การใช้สิทธิอุทธรณ์เกินกำหนด, การแก้ไขราคาเวนคืน, และสิทธิในการจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง (เดิม) บัญญัติให้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 ผู้ใดที่ไม่พอใจในราคาของ อสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตาม มาตรา 9 หรือมาตรา 23 กำหนด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนดังกล่าว ซึ่งมาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณี ดังนี้ ระยะเวลาหกสิบวันที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ต้องเป็นกรณีที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้ถูกเวนคืนแล้วผู้นั้นไม่พอใจ การที่ในตอนแรกคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิดังกล่าว และผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 ให้มา รับเงินค่าทดแทนดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2533ต่อมาผู้นั้นได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2533 แม้การอุทธรณ์ดังกล่าวจะเกินกำหนดหกสิบวันแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าต่อมาได้มีประกาศ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไข เพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีผลใช้ บังคับในวันที่ 1 มีนาคม 2534 อันเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530โดยเพิ่มเติมมาตรา 10 ทวิ ด้วย ซึ่งมาตรา 10 ทวิ ได้บัญญัติให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้ และให้ถือว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้วเป็นราคาซื้อขายที่ตกลงกันใหม่แทนราคาเดิมและราคาเบื้องต้นที่แก้ไขแล้วเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แล้วแต่กรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจดังกล่าวแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่คือคณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นฯ เพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นได้แก้ไขใหม่นี้ จึงเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตาม มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ดังนั้น เมื่อผู้มีสิทธิดังกล่าวข้างต้นไม่พอใจย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่แก้ไขใหม่ ได้อีก เมื่อ ผู้มีสิทธิฯ ไม่พอใจ และได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อยังไม่เกินกำหนด ระยะเวลาหกสิบวัน อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 25 ดังกล่าวแล้ว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังไม่วินิจฉัย อุทธรณ์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ผู้มีสิทธิย่อมมีสิทธิฟ้องคดีได้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่ต้องเวนคืนที่ดินแปลงใดแต่เพียงบางส่วน ถ้าเนื้อที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นน้อยกว่ายี่สิบห้าตารางวา หรือด้านหนึ่งด้านใดน้อยกว่าห้าวาและที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นมิได้ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับที่ดินแปลงอื่นของเจ้าของเดียวกัน หากเจ้าของ ร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือด้วยนั้นกฎหมายมาตราดังกล่าวบัญญัติขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่เวนคืนทำการเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากเจ้าของที่ดินเพราะที่ดินส่วนที่เหลือนั้นเหลืออยู่น้อยหรือมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ทำประโยชน์ต่อไป โดยกำหนดให้เจ้าของ ที่ดินร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนเสียก่อน เพื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนจะได้พิจารณาว่ากรณีต้องตามกฎหมายมาตรา ดังกล่าวหรือไม่ การที่โจทก์เคยเสนอขายที่ดินส่วนที่เหลือ ดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 แต่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ให้ราคาต่ำกว่าราคาประเมิน โจทก์จึงไม่ขาย แม้การกระทำดังกล่าวจะถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนตามมาตรา 20 วรรคหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ถ้าโจทก์ทั้งหกไม่พอใจก็ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอให้เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินโจทก์ทั้งหกในส่วนที่เหลือจากการเวนคืน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่จัดซื้อที่ดินโจทก์ทั้งหกในส่วนที่เหลือได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8291/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิอุทธรณ์, การแก้ไขราคา, และการจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือ
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา25 วรรคหนึ่ง (เดิม) บัญญัติให้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 ผู้ใดที่ไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือมาตรา 23 กำหนด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฏ.ที่ออกตามมาตรา 6 หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนดังกล่าว ซึ่งมาตรา 26 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณีดังนี้ ระยะเวลาหกสิบวันที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทนจตามมาตรา 18 ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ต้องเป็นกรณีที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้ถูกเวนคืนแล้วผู้นั้นไม่พอใจ การที่ในตอนแรกคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิดังกล่าว และผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 ให้มารับเงินค่าทดแทนดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2533 ต่อมาผู้นั้นได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม2533 แม้การอุทธรณ์ดังกล่าวจะเกินกำหนดหกสิบวันแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าต่อมาได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีผลใช้บังคับในวันที่ 1มีนาคม 2534 อันเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โดยเพิ่มเติมมาตรา 10 ทวิ ด้วย ซึ่งมาตรา 10 ทวิได้บัญญัติให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้ และให้ถือว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้วเป็นราคาซื้อขายที่ตกลงกันใหม่แทนราคาเดิม และราคาเบื้องต้นที่แก้ไขแล้วเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แล้วแต่กรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจดังกล่าวแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่คือคณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นฯ เพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน เงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นฯ ได้แก้ไขใหม่นี้ จึงเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ดังนั้นเมื่อผู้มีสิทธิดังกล่าวข้างต้นไม่พอใจย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ที่แก้ไขใหม่ ได้อีก เมื่อผู้มีสิทธิฯไม่พอใจ และได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อยังไม่เกินกำหนดระยะเวลาหกสิบวัน อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 25 ดังกล่าวแล้ว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ผู้มีสิทธิฯย่อมมีสิทธิฟ้องคดีได้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่ต้องเวนคืนที่ดินแปลงใดแต่เพียงบางส่วน ถ้าเนื้อที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นน้อยกว่ายี่สิบห้าตารางวา หรือด้านหนึ่งด้านใดน้อยกว่าห้าวาและที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นมิได้ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับที่ดินแปลงอื่นของเจ้าของเดียวกัน หากเจ้าของร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือด้วยนั้นกฎหมายมาตราดังกล่าวบัญญัติขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่เวนคืนทำการเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากเจ้าของที่ดินเพราะที่ดินส่วนที่เหลือนั้นเหลืออยู่น้อยหรือมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ทำประโยชน์ต่อไป โดยกำหนดให้เจ้าของที่ดินร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนเสียก่อน เพื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนจะได้พิจารณาว่ากรณีต้องตามกฎหมายมาตราดังกล่าวหรือไม่ การที่โจทก์เคยเสนอขายที่ดินส่วนที่เหลือดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 แต่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ให้ราคาต่ำกว่าราคาประเมิน โจทก์จึงไม่ขาย แม้การกระทำดังกล่าวจะถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง แล้วก็ตาม แต่ถ้าโจทก์ทั้งหกไม่พอใจก็ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอให้เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินโจทก์ทั้งหกในส่วนที่เหลือจากการเวนคืน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่จัดซื้อที่ดินโจทก์ทั้งหกในส่วนที่เหลือได้
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่ต้องเวนคืนที่ดินแปลงใดแต่เพียงบางส่วน ถ้าเนื้อที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นน้อยกว่ายี่สิบห้าตารางวา หรือด้านหนึ่งด้านใดน้อยกว่าห้าวาและที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นมิได้ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับที่ดินแปลงอื่นของเจ้าของเดียวกัน หากเจ้าของร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือด้วยนั้นกฎหมายมาตราดังกล่าวบัญญัติขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่เวนคืนทำการเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากเจ้าของที่ดินเพราะที่ดินส่วนที่เหลือนั้นเหลืออยู่น้อยหรือมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ทำประโยชน์ต่อไป โดยกำหนดให้เจ้าของที่ดินร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนเสียก่อน เพื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนจะได้พิจารณาว่ากรณีต้องตามกฎหมายมาตราดังกล่าวหรือไม่ การที่โจทก์เคยเสนอขายที่ดินส่วนที่เหลือดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 แต่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ให้ราคาต่ำกว่าราคาประเมิน โจทก์จึงไม่ขาย แม้การกระทำดังกล่าวจะถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง แล้วก็ตาม แต่ถ้าโจทก์ทั้งหกไม่พอใจก็ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอให้เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินโจทก์ทั้งหกในส่วนที่เหลือจากการเวนคืน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่จัดซื้อที่ดินโจทก์ทั้งหกในส่วนที่เหลือได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3453/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การประเมินค่าทดแทนตามกฎหมาย และสิทธิในการเวนคืนที่ดินส่วนที่เหลือ
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษ ในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะดังนี้การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงต้องบังคับตามมาตรา 21(1) ถึง (5) แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และในขณะที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530และในขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่ มีผลใช้บังคับคือวันที่ 1 มกราคม 2531 ที่ถูกโจทก์ที่ถูกเวนคืนมีราคาไม่สูงเกินกว่าจำนวนค่าทดแทนที่โจทก์เคยอุทธรณ์และเคยฟ้องต่อศาลและราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโจทก์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯต่ำกว่าจำนวนค่าทดแทนที่ดินที่ฝ่ายจำเลยกำหนดให้แก่โจทก์ดังนั้น เมื่อจำนวนค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนที่ฝ่ายจำเลยกำหนดให้ เป็นการกำหนดโดยได้คำนึงถึง (1)ถึง (5) ของมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 จึงเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่ต้องเวนคืนที่ดินแปลงใดแต่เพียงบางส่วน ถ้าเนื้อที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นน้อยกว่ายี่สิบห้าตารางวา หรือด้านหนึ่งด้านใดน้อยกว่าห้าวา และที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นมิได้ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับที่ดินแปลงอื่นของเจ้าของเดียวกัน หากเจ้าของร้องขอ ให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือด้วยนั้น บัญญัติขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่เวนคืนทำการเวนคืนทำการเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากเจ้าของที่ดินเพราะที่ดินส่วนที่เหลืออยู่น้อยหรือมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ทำประโยชน์ต่อไป เมื่อปรากฏว่าที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีจำนวน 361 ตารางวา และเป็นผืนเดียวติดต่อกัน มิได้ถูกแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ หากที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนี้มีด้านใดด้านหนึ่งน้อยกว่าห้าวาซึ่งสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ทำประโยชน์ต่อไปแล้ว โจทก์ก็ชอบที่จะร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดที่ดินส่วนที่เหลือนี้ทั้งหมดได้แต่โจทก์ใช้ที่ดินส่วนที่เหลือนี้เนื้อที่ประมาณ 321 ตารางวาทำถนนคอนกรีตเพื่อประโยชน์ของโจทก์จนเหลือที่ดินอยู่ตามที่โจทก์อ้างประมาณ 40 ตารางวา ซึ่งมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ประโยชน์ต่อไป แสดงว่าสภาพของที่ดินในส่วนนี้เกิดจากการกระทำของโจทก์ มิใช่เกิดจากการเวนคืนโดยตรงโจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินเฉพาะส่วนนี้ตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3453/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การประเมินค่าทดแทนที่เป็นธรรมและการใช้สิทธิในที่ดินส่วนที่เหลือ
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนี้การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงต้องบังคับตามมาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และในขณะที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด... พ.ศ.2530 เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ - บางโคล่ มีผลใช้บังคับ คือวันที่ 1 มกราคม 2531ที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนมีราคาไม่สูงเกินกว่าจำนวนค่าทดแทนที่โจทก์เคยอุทธรณ์และเคยฟ้องต่อศาลและราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโจทก์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ต่ำกว่าจำนวนค่าทดแทนที่ดินที่ฝ่ายจำเลยกำหนดให้แก่โจทก์ ดังนั้น เมื่อจำนวนค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนที่ฝ่ายจำเลยกำหนดให้ เป็นการกำหนดโดยได้คำนึงถึง(1) ถึง (5) ของมาตรา 21แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 จึงเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่ต้องเวนคืนที่ดินแปลงใดแต่เพียงบางส่วนถ้าเนื้อที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นน้อยกว่ายี่สิบห้าตารางวา หรือด้านหนึ่งด้านใดน้อยกว่าห้าวา และที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นมิได้ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับที่ดินแปลงอื่นของเจ้าของเดียวกัน หากเจ้าของร้องขอ ให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือด้วยนั้น บัญญัติขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่เวนคืนทำการเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากเจ้าของที่ดินเพราะที่ดินส่วนที่เหลืออยู่น้อยหรือมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ทำประโยชน์ต่อไป เมื่อปรากฏว่าที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีจำนวน361 ตารางวา และเป็นผืนเดียวติดต่อกัน มิได้ถูกแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ หากที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนี้มีด้านใดด้านหนึ่งน้อยกว่าห้าวาซึ่งสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ทำประโยชน์ต่อไปแล้ว โจทก์ก็ชอบที่จะร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดที่ดินส่วนที่เหลือนี้ทั้งหมดได้ แต่โจทก์ใช้ที่ดินส่วนที่เหลือนี้เนื้อที่ประมาณ321 ตารางวา ทำถนนคอนกรีตเพื่อประโยชน์ของโจทก์จนเหลือที่ดินอยู่ตามที่โจทก์อ้างประมาณ 40 ตารางวา ซึ่งมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ประโยชน์ต่อไป แสดงว่าสภาพของที่ดินในส่วนนี้เกิดจากการกระทำของโจทก์ มิใช่เกิดจากการเวนคืนโดยตรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินเฉพาะส่วนนี้ตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่ต้องเวนคืนที่ดินแปลงใดแต่เพียงบางส่วนถ้าเนื้อที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นน้อยกว่ายี่สิบห้าตารางวา หรือด้านหนึ่งด้านใดน้อยกว่าห้าวา และที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นมิได้ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับที่ดินแปลงอื่นของเจ้าของเดียวกัน หากเจ้าของร้องขอ ให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือด้วยนั้น บัญญัติขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่เวนคืนทำการเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากเจ้าของที่ดินเพราะที่ดินส่วนที่เหลืออยู่น้อยหรือมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ทำประโยชน์ต่อไป เมื่อปรากฏว่าที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีจำนวน361 ตารางวา และเป็นผืนเดียวติดต่อกัน มิได้ถูกแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ หากที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนี้มีด้านใดด้านหนึ่งน้อยกว่าห้าวาซึ่งสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ทำประโยชน์ต่อไปแล้ว โจทก์ก็ชอบที่จะร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดที่ดินส่วนที่เหลือนี้ทั้งหมดได้ แต่โจทก์ใช้ที่ดินส่วนที่เหลือนี้เนื้อที่ประมาณ321 ตารางวา ทำถนนคอนกรีตเพื่อประโยชน์ของโจทก์จนเหลือที่ดินอยู่ตามที่โจทก์อ้างประมาณ 40 ตารางวา ซึ่งมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ประโยชน์ต่อไป แสดงว่าสภาพของที่ดินในส่วนนี้เกิดจากการกระทำของโจทก์ มิใช่เกิดจากการเวนคืนโดยตรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินเฉพาะส่วนนี้ตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง