พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังการยกเลิกการล้มละลาย และผลกระทบต่อการเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งลูกหนี้ (จำเลย)โอนขายให้ผู้คัดค้าน ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและผู้ร้องฎีกา ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ (จำเลย) ดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินแทนลูกหนี้ (จำเลย) ต่อไปลูกหนี้ (จำเลย) พ้นจากภาวะการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22,24 และ 114 ที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการโอนดังกล่าวได้ ต้องจำหน่ายคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวไม่ทำให้ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด สิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างจ่ายยังคงมี
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวมีผลเพียงทำให้จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเองต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทนหามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยเกี่ยงให้ไปขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายเท่านั้นหาใช่เป็นการปฏิเสธว่าจะเลิกจ้างหรือไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานต่อไปไม่ถือไม่ได้ว่าจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวนั้นไม่ใช่หนี้ที่จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา94แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483จึงไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนตามมาตรา146แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันเมื่อจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ทันที.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ไม่ทำให้ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด สิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างจ่ายยังคงมี
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว มีผลเพียงทำให้จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเอง ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทน หามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่ โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยเกี่ยงให้ไปขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายเท่านั้น หาใช่เป็นการปฏิเสธว่าจะเลิกจ้างหรือไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานต่อไปไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวนั้น ไม่ใช่หนี้ที่จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จึงไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนตาม มาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้าง ค้างจ่ายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชย
เมื่อจำเลยที่ 1 (ลูกหนี้) ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วย่อมหมดอำนาจ ที่จะดำเนินกิจการงานของตนต่อไป แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจัดการหรือกระทำการ ที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปแทน จำเลยที่ 1 และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าลูกจ้างของลูกหนี้ หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไปดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 บอกเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46
เงินค่าชดเชยซึ่งกฎหมายแรงงานบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องจ่าย ให้แก่โจทก์นั้นเกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ย่อมเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ตามมาตรา 94 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการกิจการทรัพย์สินแทน จำเลยที่ 1 แล้วเกิดมีเงินที่กฎหมายบังคับให้จ่ายเกิดขึ้น จำเลยที่ 2 ก็มีหน้าที่ต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 จ่ายแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้จ่ายเงินค่าชดเชยได้
เงินค่าชดเชยซึ่งกฎหมายแรงงานบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องจ่าย ให้แก่โจทก์นั้นเกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ย่อมเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ตามมาตรา 94 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการกิจการทรัพย์สินแทน จำเลยที่ 1 แล้วเกิดมีเงินที่กฎหมายบังคับให้จ่ายเกิดขึ้น จำเลยที่ 2 ก็มีหน้าที่ต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 จ่ายแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้จ่ายเงินค่าชดเชยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างหลังการพิทักษ์ทรัพย์: หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการชำระหนี้ค่าชดเชย
เมื่อจำเลยที่ 1(ลูกหนี้) ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วย่อมหมดอำนาจ ที่จะดำเนินกิจการงานของตนต่อไป แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจัดการหรือกระทำการ ที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปแทน จำเลยที่ 1 และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าลูกจ้างของลูกหนี้ หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไปดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 บอกเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 เงินค่าชดเชยซึ่งกฎหมายแรงงานบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องจ่าย ให้แก่โจทก์นั้นเกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ย่อมเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ตามมาตรา94 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการกิจการทรัพย์สินแทน จำเลยที่ 1 แล้วเกิดมีเงินที่กฎหมายบังคับให้จ่ายเกิดขึ้น จำเลยที่ 2 ก็มีหน้าที่ต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 จ่ายแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้จ่ายเงินค่าชดเชยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่สมบูรณ์ หนี้เดิมยังคงมีผลบังคับใช้ ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้
ลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค ซึ่งเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 แม้ต่อมาจะมีการทำสัญญาขายลดเช็คฉบับใหม่เพื่อเปลี่ยนกับสัญญาเดิมอันเป็นการแปลงหนี้ใหม่หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วซึ่งลูกหนี้ต้องห้ามมิให้กระทำตามมาตรา 24 การ แปลงหนี้ใหม่จึงไม่สมบูรณ์หนี้เดิมย่อมยังไม่ระงับสิ้นไปตามบทบัญญัติมาตรา 351 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่สมบูรณ์ หนี้เดิมยังคงมีผล ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้
ลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค ซึ่งเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94แม้ต่อมาจะมีการทำสัญญาขายลดเช็คฉบับใหม่ เพื่อเปลี่ยนกับสัญญาเดิมอันเป็นการแปลงหนี้ใหม่หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วซึ่งลูกหนี้ต้องห้ามมิให้กระทำตามมาตรา 24 การ แปลงหนี้ใหม่จึงไม่สมบูรณ์หนี้เดิมย่อมยังไม่ระงับสิ้นไปตามบทบัญญัติมาตรา 351 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินโดยกรรมการที่ล้มละลาย: การเปลี่ยนตัวผู้ถือแทนกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์
ส.มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไว้แทนบริษัทจำเลย ส.เป็นบุคคลล้มละลายในระหว่างเป็นกรรมการผู้จัดการ ย่อมขาดจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1154 จึง ไม่มีอำนาจถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแทนบริษัทจำเลยอีกต่อไป ดังนั้น การที่ ส. โอนที่พิพาทให้กรรมการอีกคนหนึ่งของบริษัท จึงเป็นการโอนเปลี่ยนตัวผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนบริษัทจำเลยเท่านั้น หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ การโอนจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์โดยบุคคลล้มละลายในฐานะกรรมการบริษัท: การเปลี่ยนตัวผู้ถือแทนกรรมสิทธิ์ไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์
ส.มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไว้แทนบริษัทจำเลยส.เป็นบุคคลล้มละลายในระหว่างเป็นกรรมการผู้จัดการ ย่อมขาดจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1154จึง ไม่มีอำนาจถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแทนบริษัทจำเลยอีกต่อไปดังนั้นการที่ ส. โอนที่พิพาทให้กรรมการอีกคนหนึ่งของบริษัทจึงเป็นการโอนเปลี่ยนตัวผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนบริษัทจำเลยเท่านั้นหาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ไม่การโอนจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบุคคลล้มละลายเริ่มต้นเมื่อศาลพิพากษา การสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่ทำให้ขาดจากตำแหน่งกรรมการ
คำว่า "ล้มละลาย"' ตามมาตรา 1154 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หมายถึงศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วดังนั้น การที่กรรมการบริษัทจำกัดถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นบุคคลล้มละลายตามความหมายของมาตราดังกล่าว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 62 บัญญัติว่าการล้มละลายของลูกหนี้เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงเป็นเรื่องผลเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยเฉพาะ หามีผลให้สถานะบุคคลของลูกหนี้เปลี่ยนเป็นบุคคลล้มละลายตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปด้วยไม่
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2527)
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 62 บัญญัติว่าการล้มละลายของลูกหนี้เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงเป็นเรื่องผลเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยเฉพาะ หามีผลให้สถานะบุคคลของลูกหนี้เปลี่ยนเป็นบุคคลล้มละลายตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปด้วยไม่
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2527)