คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 24

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นายจ้างไม่ถือเป็นการเลิกจ้างลูกจ้าง สิทธิค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวจึงยังไม่เกิดขึ้น
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ไม่มีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้ผู้เป็นนายจ้างกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วย ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้วลูกจ้างของลูกหนี้หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไป ดังนั้น แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ของลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้ก็ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของลูกหนี้อยู่ กรณียังไม่ถือว่ามีการเลิกจ้างเจ้าหนี้ในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 สิทธิในการรับเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงยังไม่เกิดขึ้นในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด หนี้ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงมิได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด จึงต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันในการฟ้องล้มละลาย
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์ในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่กระทำไปโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22, 24 และตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แม้ต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ คำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันศาลในคดีล้มละลายเนื่องจากฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดหรือพิพากษาให้บุคคลใดล้มละลายย่อมกระทบถึงความสามารถ สถานะและทรัพย์สินของบุคคลนั้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์ ศาลจึงต้องพิจารณาให้ได้ความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 จึงจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดได้ เมื่อโจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องโดยหนี้ดังกล่าวมีมูลหนี้มาจากสัญญากู้ยืมเงินที่ตกเป็นโมฆะจึงเป็นนิติกรรมที่ไม่มีผลตามกฎหมาย จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์ตามมาตรา 9 (2) โจทก์ไม่มีสิทธินำมูลหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของลูกหนี้ล้มละลาย ต้องฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา นับเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งและสามารถโอนให้แก่กันได้ ตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44 และมาตรา 48 วรรคหนึ่ง การโอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นการจัดการทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจการจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (1), (3) และมาตรา 24 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้แทนที่จะฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้หลังล้มละลาย: ข้อตกลงดอกเบี้ยย้อนหลังเป็นโมฆะ แต่เงินต้นสมบูรณ์
แม้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้มูลหนี้เงินยืมและอาวัลที่เจ้าหนี้ได้รับภาระใช้หนี้แทนลูกหนี้ตามเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายไปแล้วหลายครั้งก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ ล.28/2529 ของศาลจังหวัดนนทบุรี และเจ้าหนี้มิได้นำมูลหนี้ดังกล่าวไปขอชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จนกระทั่งศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ และมีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวแล้วนั้น แต่เมื่อภายหลังลูกหนี้หลุดพ้นจากภาวะล้มละลายแล้ว ลูกหนี้ได้ทำหนังสือฉบับลงวันที่ 24 เมษายน 2542 ตกลงยอมชำระหนี้เงินต้นตามจำนวนในเช็คที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่จริงคืนให้แก่เจ้าหนี้ จึงเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจและมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมายมิใช่เป็นเอกสารรับสภาพหนี้ที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 24 ซึ่งเป็นโมฆะ แต่ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลายในคดีหมายเลขแดงที่ ล.28/2529 เป็นการถือเอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ข้อตกลงดอกเบี้ยส่วนนี้จึงตกเป็นโมฆะ และพฤติการณ์แห่งกรณี คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้คืนแก่เจ้าหนี้ที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดนับแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2542 จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังพ้นล้มละลาย: ผลผูกพันของนิติกรรมและดอกเบี้ยย้อนหลัง
หนี้เงินต้นตามจำนวนในเช็ค 22,750,000 บาท เป็นหนี้ที่มาจากเจ้าหนี้ซึ่งมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของลูกหนี้และได้ชำระหนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้ไปแล้วก่อนวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้มิได้นำไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จนกระทั่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ ซึ่งการประนอมหนี้ดังกล่าวผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ ย่อมมีผลผูกพันหนี้เดิมของเจ้าหนี้ที่ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้นั้นและมีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวเท่านั้น แต่เมื่อภายหลังลูกหนี้หลุดพ้นจากภาวะล้มละลายแล้ว ลูกหนี้ได้ทำหนังสือให้แก่เจ้าหนี้ โดยตกลงยอมชำระหนี้เงินต้นจำนวนในเช็ค 22,750,000 บาท จึงเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์กับเจ้าหนี้และมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย
ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะชำระให้แก่เจ้าหนี้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันที่ 24 เมษายน 2532 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นข้อตกลงให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คดังกล่าวมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลาย เป็นการถือเอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยส่วนนี้จึงตกเป็นโมฆะเช่นกัน แต่ตามพฤติการณ์คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้จำนวน 22,750,000 บาท ที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เฉพาะส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้หลังล้มละลายมีผลผูกพันได้ แต่ดอกเบี้ยย้อนหลังในขณะล้มละลายเป็นโมฆะ
หนี้เงินต้นตามจำนวนในเช็คมีมูลหนี้มาจากเจ้าหนี้ซึ่งมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้ไปแล้วก่อนวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายเรื่องก่อนของศาลจังหวัดนนทบุรี และเจ้าหนี้มิได้นำหนี้ดังกล่าวไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จนกระทั่งศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ ซึ่งการประนอมหนี้ดังกล่าวผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้ แต่ก็มีผลผูกพันหนี้เดิมของเจ้าหนี้ที่ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้นั้นและมีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวเท่านั้น แต่ภายหลังลูกหนี้หลุดพ้นจากภาวะล้มละลายแล้ว ลูกหนี้ได้ทำหนังสือพิพาทให้แก่เจ้าหนี้โดยตกลงยอมชำระหนี้เงินต้นจำนวนในเช็ค 22,750,000 บาท ที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่จริงและลูกหนี้ยังมิได้ชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้หนังสือพิพาทดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์กับเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินคืนแก่เจ้าหนี้และมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย มิใช่เป็นเอกสารรับสภาพหนี้ตามเช็คธนาคาร ท. ที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ในระหว่างที่ลูกหนี้ยังอยู่ในภาวะล้มละลายอันเป็นการกระทำเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 24 ซึ่งตกเป็นโมฆะไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามหนังสือพิพาทเป็นเงินต้น 22,750,000 บาท
ส่วนข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะชำระให้แก่เจ้าหนี้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันที่ 24 เมษายน 2532 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นข้อตกลงให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลาย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการถือเอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยส่วนนี้ จึงตกเป็นโมฆะเช่นกันและตามพฤติการณ์แห่งกรณี คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้จำนวน 22,750,000 บาท ที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 22,750,000 บาท นับจากวันที่ 15 สิงหาคม 2542 อันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือพิพาทจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ไม่มีอำนาจต่อสู้คดีหรือกระทำการเกี่ยวกับทรัพย์สิน การร้องขอถอนบังคับคดีเป็นอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้หามีอำนาจต่อสู้คดีใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินไม่ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดีตามมาตรา 22 และ 24 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ การร้องขอให้ถอนการบังคับคดีเป็นการต่อสู้คดีใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่งอันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ถอนการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ล้มละลายไร้อำนาจคัดค้านการขายทอดตลาด อำนาจอยู่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตามบทบัญญัติมาตรา 22 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้ไม่มีอำนาจต่อสู้คดีใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี การร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นการต่อสู้คดีใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่งอันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยจึงไม่มีอำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาด แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ขอเข้าดำเนินคดีแทนจำเลย จำเลยก็จะดำเนินคดีเองต่อไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้
ตามบทบัญญัติในมาตรา 22 และ 24 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ ได้กำหนดไว้โดยแจ้งชัดว่า เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้หามีอำนาจต่อสู้คดีใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนไม่ เพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดและดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่สืบเนื่องต่อมาจนถึงการยื่นอุทธรณ์และยื่นฎีกาเป็นการดำเนินการภายหลังจากที่จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ยกกระบวนพิจารณาทั้งหมด และยกคำร้องของจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะกรรมซื้อขายในคดีล้มละลาย: การคืนเงินและดอกเบี้ยในฐานะลาภมิควรได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้ซึ่งเป็นโมฆะ แม้ไม่มีผลทำให้ฐานะของคู่กรณีแห่งนิติกรรมมาแต่ต้นเปลี่ยนแปลงไป แต่คำร้องของผู้ร้องที่ขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาทและให้ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขาย คืนเงินค่าที่ดินพิพาทที่ได้รับไว้จากลูกหนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น เป็นเพียงวิธีการที่ผู้ร้องใช้อำนาจเพื่อเก็บรวบรวมเงินของลูกหนี้เข้ารวมไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย แต่การที่ผู้คัดค้านที่ 1 เรียกให้ผู้ร้องส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาที่ดินพิพาทกลับคืนเป็นของตนเองอันเป็นข้อพิพาทต่างหากระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้ร้องในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจมีคำขอให้ลูกหนี้คืนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 มาในคำคัดค้านคำร้องของผู้ร้องได้
นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้เป็นโมฆะ การคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ต้องนำบทบัญญัติลาภมิควรได้มาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ผู้คัดค้านที่ 1 มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าที่ดินพิพาทที่ได้รับจากลูกหนี้ซึ่งเป็นลาภมิควรได้จนเต็มจำนวน เว้นแต่ผู้คัดค้านที่ 1 จะได้รับไว้โดยสุจริต จึงมีหน้าที่ต้องคืนเพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืนตามมาตรา 412 และเป็นหนี้เงินต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาผิดนัดเป็นต้นไป
of 14