คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 24

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4851/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองหลังล้มละลาย: นิติกรรมเป็นโมฆะ เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้โดยตรง
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 24 และ 25 การที่บุคคลล้มละลายจำนองที่ดินของตนแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของผู้อื่นภายหลังที่ศาลได้พิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อันมีผลผูกพันในที่ดินที่จะต้องถูกบังคับคดีในที่สุดหากไม่ชำระหนี้ และฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะไม่ได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นิติกรรมจำนองจึงตกเป็นโมฆะ มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย แม้หากการกระทำของลูกหนี้จะเป็นการละเมิดต่อโจทก์และมีหนี้ที่จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่หนี้ดังกล่าวก็เกิดขึ้นภายหลังที่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โจทก์ไม่มีอาจนำมาขอยื่นรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 27,91 และ 94 โจทก์ชอบที่จะฟ้องลูกหนี้เป็นจำเลยโดยตรง โจทก์จะฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นจำเลยแทนลูกหนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8047/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของนิติบุคคลล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการ
อำนาจฟ้องในคดีอาญาเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งมีคำพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงทำให้บริษัทโจทก์เป็นอันเลิกกันโดยบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1236 (5) และโจทก์ย่อมหมดอำนาจที่จะทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ต่อไปอีก การจัดการรวมทั้งการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ย่อมตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจัดการแต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 , 24 ทั้งมาตรา 1247 ก็บัญญัติไว้ว่า การชำระบัญชีบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายนั้น ให้จัดทำไปตามบทกฎหมายล้มละลายที่คงใช้อยู่ตามแต่จะทำได้ ดังนั้นกรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่กลับมีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้อีกโดยอาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 เพราะมาตรา 1251 ก็ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้แล้วว่าบริษัทในเมื่อเลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย กรรมการของบริษัทย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี คดีนี้บริษัทโจทก์เลิกกันเพราะเหตุล้มละลาย กรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ชำระบัญชีและไม่มีอำนาจมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 1252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินช่วงล้มละลายเป็นโมฆะ และการครอบครองปรปักษ์ต้องแสดงการยึดถือครอบครองจริง
การซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้กระทำในช่วงเวลาที่โจทก์ถูกศาลสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินย่อม ตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และ 24 ดังนั้นการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าว จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม)ไม่มีผลบังคับ การซื้อขายที่ดินพิพาทก่อนโจทก์มีสถานะเป็นบุคคลล้มละลาย เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ไม่อาจฟังว่ามีการซื้อขายที่ดินพิพาท คดีแพ่ง การยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้เป็นการปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ จำเลยจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การ ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเพราะเหตุใด จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะต้องเรียกร้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ ได้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือภายในกำหนด 10 ปี นับแต่ เวลาสิทธินั้นได้มีขึ้นฟ้องโจทก์ขาดอายุความ โดยมิได้แสดงให้ ชัดแจ้งว่าคดีขาดอายุความเรื่องอะไรและเพราะเหตุใด คำให้การ ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาเรื่องอายุความ จึงชอบแล้ว การได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จะต้องแสดง อาการยึดถือครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อตนจริง ๆ โดยสงบและโดยเปิดเผยติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ลำพังการมีชื่อ เป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดและการเสียภาษีบำรุงท้องที่ย่อม มิใช่เป็นการครอบครองที่ดิน ที่ดินที่พิพาทคือที่ดินโฉนดเลขที่ 102174 แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เป็นโฉนดเลขที่ 102175 ก็เนื่องจากการพิมพ์ผิดพลาดจากเลข 4 เป็นเลข 5 มาแต่แรก จึงเป็นข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ดังนี้ศาลอุทธรณ์ย่อมมี อำนาจแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก กรณีหาใช่โจทก์นำสืบแตกต่างกับ ฟ้องหรือจำเลยหลงต่อสู้แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินระหว่างบุคคลล้มละลาย, อายุความ, การครอบครองปรปักษ์ และข้อผิดพลาดในการพิมพ์เลขที่ดิน
การซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้กระทำในช่วงเวลาที่โจทก์ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และ24 ดังนั้นการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113(เดิม)ไม่มีผลบังคับ
การซื้อขายที่ดินพิพาทก่อนโจทก์มีสถานะเป็นบุคคลล้มละลาย เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ไม่อาจฟังว่ามีการซื้อขายที่ดินพิพาท
คดีแพ่ง การยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้เป็นการปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ จำเลยจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเพราะเหตุใด จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะต้องเรียกร้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือภายในกำหนด 10 ปี นับแต่เวลาสิทธินั้นได้มีขึ้นฟ้องโจทก์ขาดอายุความ โดยมิได้แสดงให้ชัดแจ้งว่าคดีขาดอายุความเรื่องอะไรและเพราะเหตุใด คำให้การของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสองที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาเรื่องอายุความ จึงชอบแล้ว
การได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองตามป.พ.พ.มาตรา 1382 จะต้องแสดงอาการยึดถือครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อตนจริง ๆ โดยสงบและโดยเปิดเผยติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ลำพังการมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดและการเสียภาษีบำรุงท้องที่ย่อมมิใช่เป็นการครอบครองที่ดิน
ที่ดินที่พิพาทคือที่ดินโฉนดเลขที่ 102174 แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เป็นโฉนดเลขที่ 102175 ก็เนื่องจากการพิมพ์ผิดพลาดจากเลข 4 เป็นเลข 5 มาแต่แรก จึงเป็นข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ดังนี้ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจแก้ไขได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 วรรคแรก กรณีหาใช่โจทก์นำสืบแตกต่างกับฟ้องหรือจำเลยหลงต่อสู้แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินช่วงล้มละลายเป็นโมฆะ การครอบครองปรปักษ์ต้องเข้ายึดถือครอบครองจริง และอายุความต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ชัดเจน
การซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้กระทำในช่วงเวลาที่โจทก์ ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วอำนาจในการจัดการทรัพย์สินย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ไม่มีอำนาจกระทำ การใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 ดังนั้นการ ซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม) ไม่มีผลบังคับ การซื้อขายที่ดินพิพาทก่อนโจทก์มีสถานะเป็นบุคคลล้มละลาย เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 จึงเสียไป ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ไม่อาจฟังว่า มีการซื้อขายที่ดินพิพาท ในคดีแพ่ง การยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้เป็น การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ จำเลยจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเพราะเหตุใดจำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์จะต้องเรียกร้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือภายในกำหนด 10 ปี นับแต่เวลาสิทธินั้นได้มีขึ้น ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ โดยมิได้ แสดงให้ชัดแจ้งว่าคดีขาดอายุความเรื่องอะไรและเพราะเหตุใด คำให้การของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย ในปัญหาเรื่องอายุความจึงชอบแล้ว การได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จะต้องแสดงอาการยึดถือครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อตนจริง ๆ โดยสงบและโดยเปิดเผยติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ลำพังการมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดและการเสียภาษีบำรุงท้องที่ย่อมมิใช่เป็นการครอบครองที่ดิน ที่ดินที่พิพาทคือที่ดินโฉนดเลขที่ 102174 แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เป็นโฉนดเลขที่ 102175ก็เนื่องจากการพิมพ์ผิดพลาดจากเลข 4 เป็นเลข 5 มาแต่แรกจึงเป็นข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ดังนี้ศาลอุทธรณ์ย่อมมี อำนาจแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 วรรคแรก หาใช่โจทก์นำสืบแตกต่างกับ ฟ้องหรือจำเลยหลงต่อสู้แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์โอนเมื่อซื้อขาย แม้ยังไม่ได้โอนทะเบียน การมีชื่อในทะเบียนไม่ใช่แสดงกรรมสิทธิ์
ทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์อันจะถือได้ว่า ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาท การซื้อขายรถยนต์ แม้ยังไม่ได้โอนทะเบียนให้แก่กัน กรรมสิทธิ์ก็โอนไปยัง ผู้ซื้อได้ ส่วนการโอนทะเบียนรถยนต์ตามกฎหมายเกี่ยวกับ ทะเบียนรถยนต์ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่จะควบคุม ยานพาหนะและภาษีรถยนต์เท่านั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทและผู้คัดค้านที่ 1ซื้อรถยนต์พิพาทจากห้างฯ ผู้คัดค้านที่ 1 จึงได้กรรมสิทธิ์รถยนต์แล้วนับแต่วันซื้อขาย การที่ลูกหนี้มีชื่อในทะเบียนรถยนต์ เป็นเพียงวิธีดำเนินการแทนห้างฯ ซึ่งลูกหนี้เป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการ แม้จะปรากฏว่าลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการ จะถูกพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวในระหว่างเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ ซึ่งมีผลให้ลูกหนี้ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ แทนห้างฯ แต่การที่ลูกหนี้โอนทะเบียนรถยนต์พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเพียงเปลี่ยนตัวผู้ถือกรรมสิทธิ์จากห้างฯ เป็นของ ผู้คัดค้านที่ 1 เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการโอนรถยนต์พิพาทรายนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4203/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: หนี้เช็คเป็นโมฆะ แม้จะมีการกู้ยืม
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด แล้วจำเลยจึงกู้ยืมเงินโจทก์ แล้วจำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเกิดขึ้นภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว การที่จำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตน และมิได้กระทำตาม คำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือบุคคลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 24 การที่จำเลยฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย มูลหนี้ตามเช็คพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4203/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เช็คหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: โมฆะตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้วจำเลยจึงกู้ยืมเงินโจทก์ แล้วจำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเกิดขึ้นภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว การที่จำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตน โดยมิได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือบุคคลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 24 การที่จำเลยฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งมีวัตถุ-ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย มูลหนี้ตามเช็คพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะหนี้ตามเช็คพิพาทไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 4 จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินหลังศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด การดำเนินการของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น
ในประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดที่ดินพิพาทไว้โดยชอบหรือไม่ ซึ่งต่อมาศาลฎีกามีคำวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นที่สุดว่าการอายัดที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนี้มีผลเท่ากับว่าที่ดินพิพาทต้องถูกอายัดต่อไปเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการออกใบแทน น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินพิพาท แล้วจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนชื่อเจ้าของที่ดินจากผู้ร้องเป็นจำเลยที่ 3 ทั้ง ๆที่ผู้ร้องยังโต้แย้งว่าจำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับ ส. ย่อมไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากการเพิกถอนการโอนต้องเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังคงต้องถือว่าการโอนที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับ ส. เป็นไปโดยชอบผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีชื่ออยู่ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทจึงยังมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนน.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 3 เป็นการไม่ถูกต้อง ทั้งยังไม่มีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการออกใบแทน น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของจำเลยมีผลต่อสิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขาย การแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และการทำนิติกรรม
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทภายในกำหนด 3 ปี นับจากวันทำสัญญาคือ ภายในวันที่16 มกราคม 2519 แต่ในวันที่ 2 สิงหาคม 2517 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ชั่วคราว และต่อมาวันที่ 19 มีนาคม 2519 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวของจำเลยที่ 1 แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (1) เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ซึ่งอยู่ในช่วงที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว เพราะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาโจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายของโจทก์ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 122 ประกอบมาตรา 92 เมื่อโจทก์ไม่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และล่วงพ้นกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้แล้ว ถือว่าโจทก์ได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว แม้ต่อมาศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยที่ 1 ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วกลับมีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินได้อีก
ขณะทำสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งอยู่ในระหว่างที่ศาลพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด สัญญาดังกล่าวย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22, 24 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483ตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาทดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 ในการทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแทนตน ผู้มอบอำนาจจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจไว้ด้วย ตามป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
of 14