พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: โมฆะแม้ผู้ซื้อสุจริตและชำระราคาแล้ว
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นสินสมรสเมื่อผู้คัดค้านที่1จดทะเบียนหย่ากับลูกหนี้ซึ่งเป็นภริยาโดยมิได้ตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นไว้ผู้คัดค้านที่1กับลูกหนี้จึงมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันการที่ผู้คัดค้านที่1โอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านที่2ย่อมเป็นการโอนส่วนของลูกหนี้ด้วยเมื่อการโอนได้กระทำขึ้นภายหลังวันที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22และ24การโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของลูกหนี้ย่อมตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจที่จะร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของลูกหนี้ได้ เมื่อการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในส่วนของลูกหนี้กระทำหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดย่อมตกเป็นโมฆะไม่ว่าผู้คัดค้านที่2รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา114หรือไม่ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในส่วนของลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินระหว่างการล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้เหนือการโอนสินสมรสหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้มาระหว่างสมรสของผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้ จึงเป็นสินสมรส การที่ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 จดทะเบียนหย่ากับลูกหนี้โดยมิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างร่วมกัน การที่ผู้คัดค้านที่ 1 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมเป็นการโอนส่วนของลูกหนี้ด้วย เมื่อการโอนได้กระทำขึ้นภายหลังจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกอยู่แก่ผู้ร้อง ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22, 24 นิติกรรมการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของลูกหนี้จึงฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ ผู้ร้องมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของลูกหนี้ได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 หรือไม่เพราะศาลมิได้เพิกถอนการโอนตามมาตราดังกล่าว
คำว่าการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังตามมาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 นั้น หมายถึงการโอนหรือกระทำใด ๆ ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ หาใช่การโอนหรือการกระทำใด ๆ หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่
คำว่าการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังตามมาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 นั้น หมายถึงการโอนหรือกระทำใด ๆ ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ หาใช่การโอนหรือการกระทำใด ๆ หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: การเพิกถอนสิทธิในส่วนของลูกหนี้
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา114หมายถึงการโอนหรือการกระทำใดๆก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้การที่ผู้คัดค้านที่1จดทะเบียนหย่ากับลูกหนี้โดยมิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสินสมรสไว้ผู้คัดค้านที่1กับลูกหนี้จึงมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกันการที่ผู้คัดค้านที่1โอนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้คัดค้านที่2ย่อมเป็นการโอนส่วนของลูกหนี้ด้วยเมื่อได้โอนภายหลังวันที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดการโอนเฉพาะส่วนของลูกหนี้ย่อมตกเป็นโมฆะจึงหาจำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่2รับโอนทรัพย์สินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการเบิกเงินเกินบัญชีและการเลิกสัญญาสัญญาบัญชีเดินสะพัด
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของผู้ร้องจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856, 859 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายในวันที่ 29 กรกฎาคม 2524 และหลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาต่อกัน สัญญาบัญชีเดินสะพัดก็ยังไม่สิ้นสุด เมื่อจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 สัญญาบัญชีเดินสะพัดต้องเลิกกันไปโดยปริยาย สิทธิเรียกร้องของผู้ร้องตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นนับแต่นั้น ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์2535 ขอให้บังคับทรัพย์จำนองจึงยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานไม่ขาดอายุความ ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 ซึ่งเป็นวันที่ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5342/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทน
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 2 ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแทนโดยที่ดินดังกล่าวได้ถูกยึดในคดีแพ่งเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมก่อนแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอ้างว่าการขายทอดตลาดกระทำไปโดยไม่สุจริต ซึ่งหากเป็นความจริงย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงมีสิทธิยื่นคำร้องในคดีล้มละลายขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการชำระหนี้ภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง แม้ไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ แต่ถือเป็นการได้รับประโยชน์จากประกาศ
เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจในการจัดการทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ ตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ลูกหนี้หามีอำนาจดังกล่าวโดยลำพังไม่ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และ มาตรา 24 และการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องจัดการโดยมิให้เกิดความเสียหายแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ ก่อนที่จะมีประกาศกระทรวงการคลังขยายเวลายื่นรายการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลูกหนี้ได้ยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย โดยระบุว่าจะชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ ผลการประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคำขอประนอมหนี้ดังกล่าว ต่อมาศาลมีคำสั่งเห็นชอบซึ่งเป็นไปตามกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 45 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 และเป็นกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำภายหลังจากมีประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว ต่อมาลูกหนี้ก็ได้ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการที่จะรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลาแล้ว ถือเป็นการชำระหนี้ภาษีอากรที่ต้องชำระหรือนำส่งให้เจ้าหนี้ตามประกาศกระทรวงการคลังแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังโดยตรงก็ตาม หรือถึงแม้จะเป็นการดำเนินการในคดีล้มละลายในขั้นตอนของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการขยายเวลาชำระภาษีอากร: การใช้สิทธิประโยชน์จากประกาศกระทรวงการคลัง
เจ้าหนี้ซึ่งมีอยู่เพียงรายเดียวนำค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าซึ่งลูกหนี้ค้างชำระในช่วงปี 2523 ถึง 2525 มายื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต่อมาลูกหนี้ยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคำขอประนอมหนี้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 และลูกหนี้ได้วางเงินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ก่อนร้อยละ 35 ของจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เป็นเงิน 162,675.50 บาท ต่อเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2535 ปรากฏว่าก่อนที่ประชุมเจ้าหนี้จะยอมรับคำขอประนอมหนี้นั้น ได้มีประกาศกระทรวงการคลังให้ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้มีหน้าที่ยื่นรายการ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรซึ่งยังมิได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากร หรือยื่นรายการและชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วน หรือมิได้นำส่งภาษีอากรให้ครบถ้วนให้ขอชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรโดยยื่นรายการและหรือแบบชำระภาษีอากรตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด พร้อมกับชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2535 โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม กระบวนพิจารณาในการขอประนอมหนี้ดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 45 และ 46 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งกระทำภายหลังจากมีประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว และลูกหนี้ก็ได้ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลาตามประกาศนั้นแล้ว ถือเป็นการชำระหนี้ภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลังแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังโดยตรงก็ตาม หรือถึงแม้จะเป็นการดำเนินการในคดีล้มละลายในขั้นตอนของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายก็ตามแต่ก็ตรงตามวัตถุประสงค์ของประกาศกระทรวงการคลังแล้ว และกรณีนี้จะถือเป็นภาษีอากรค้างอยู่ในศาลซึ่งจะต้องมีการถอนฟ้องก่อนตามคำชี้แจงของกรมสรรพากรเกี่ยวกับประกาศดังกล่าวข้อ 4 (3) ยังไม่ถนัด เพราะเจ้าหนี้ไม่อาจถอนฟ้องได้ และลูกหนี้ก็ไม่อาจร้องขอให้เจ้าหนี้ถอนฟ้องได้เพราะลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ลูกหนี้ย่อมได้รับประโยชน์จากประกาศกระทรวงการคลังโดยไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการขยายเวลาชำระภาษีอากร: ผลกระทบต่อหนี้ภาษีค้างชำระ
เจ้าหนี้ซึ่งมีอยู่เพียงรายเดียวนำค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าซึ่งลูกหนี้ค้างชำระในช่วงปี 2523 ถึง 2525มายื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต่อมาลูกหนี้ยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคำขอประนอมหนี้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 และลูกหนี้ได้วางเงินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ก่อนร้อยละ 35 ของจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เป็นเงิน 162,675.50บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2535ปรากฏว่าก่อนที่ประชุมเจ้าหนี้จะยอมรับคำขอประนอมหนี้นั้น ได้มีประกาศกระทรวงการคลังให้ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้มีหน้าที่ยื่นรายการ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรซึ่งยังมิได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากร หรือยื่นรายการและชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วนหรือมิได้นำส่งภาษีอากรให้ครบถ้วนให้ขอชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรโดยยื่นรายการและหรือแบบชำระภาษีอากรตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด พร้อมกับชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2535โดยไม่ต้องเสียเบี้ยประกันหรือเงินเพิ่ม กระบวนพิจารณาในการขอประนอมหนี้ดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 45 และ 46 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งกระทำภายหลังจากมีประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว และลูกหนี้ก็ได้ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลาตามประกาศนั้นแล้วถือเป็นการชำระหนี้ภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลังแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังโดยตรงก็ตาม หรือถึงแม้จะเป็นการดำเนินการในคดีล้มละลายในขั้นตอนของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายก็ตาม แต่ก็ตรงตามวัตถุประสงค์ของประกาศกระทรวงการคลังแล้ว และกรณีนี้จะถือเป็นภาษีอากรค้างอยู่ในศาลซึ่งจะต้องมีการถอนฟ้องก่อนตามคำชี้แจงของกรมสรรพากรเกี่ยวกับประกาศดังกล่าวข้อ 4(3) ยังไม่ถนัดเพราะเจ้าหนี้ไม่อาจถอนฟ้องได้ และลูกหนี้ก็ไม่อาจร้องขอให้เจ้าหนี้ถอนฟ้องได้เพราะลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วลูกหนี้ย่อมได้รับประโยชน์จากประกาศกระทรวงการคลังโดยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ปรับและเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การอายัดที่ดินที่ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ใส่ชื่อบุคคลอื่นถือครองอยู่
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว แต่ใส่ชื่อบุคคลอื่นถือสิทธิในที่ดินแทนที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 109(1)เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะมีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินมิให้จำหน่ายจ่ายโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ใดจนกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้โดยไม่จำต้องทำการเพิกถอนการโอนก่อน หากผู้มีชื่อถือสิทธิในที่ดินแทนผู้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ทำการโอนที่ดินนั้นไปยังบุคคลอื่นภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ต้องถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 22,24แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ การโอนย่อมตกเป็นโมฆะและใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: ที่ดินที่โอนชื่อแต่ยังเป็นของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องได้
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวแต่ใส่ชื่อบุคคลอื่นถือสิทธิในที่ดินแทน ต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา109 (1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจรวบรวมที่ดินดังกล่าวไว้ในกองทรัพย์สินของผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินมิให้จำหน่ายโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ใดจนกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ซึ่งเป็นวิธีการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายของเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์วิธีหนึ่งตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ หากผู้มีชื่อถือสิทธิในที่ดินแทนผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ทำการโอนที่ดินนั้นไปยังบุคคลอื่นภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ต้องถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22, 24 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483การโอนย่อมตกเป็นโมฆะและใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้