คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 24

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอเพิกถอนการจดทะเบียน
การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1 ขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1เด็ดขาดแล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 1ย่อมเป็นนิติกรรมที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22,24 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพราะตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้เท่านั้นดังนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่มีผลบังคับจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ย่อมกลับสู่ฐานะเดิมโดยผลแห่งกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ผู้คัดค้านที่ 1 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วก็ต้องปรับบทตามมาตรา 24 ไม่ใช่ปรับบทตามมาตรา 114,115 เพราะคำว่า"การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างเวลาสามปีหรือสามเดือนแล้วแต่กรณีก่อนมีการขอให้ล้มละลายหรือภายหลังนั้น"ตามมาตรา 114,115 หมายถึงการโอนหรือการกระทำที่กระทำกันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หาใช่การโอนหรือการกระทำหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อการโอนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นโมฆะผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ*พิพาทที่จะโอนขายต่อให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่ 2 ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนอันจะได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 116 หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานที่ดินให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนในสารบัญที่ดินไว้แล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนในสารบัญที่ดินได้ และเจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลโดยศาลไม่ต้องสั่งเจ้าพนักงานที่ดินอีก ไม่เกินคำขอแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายระหว่างบุคคลล้มละลายเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียย่อมยกข้อความเสียเปล่าได้
เมื่อศาลพิพากษาให้บุคคลใดตกเป็นบุคคลล้มละลายแล้วตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย บุคคลนั้นย่อมไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ เว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 24ถ้าฝ่าฝืนนิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ คำว่าผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 133 เดิม (มาตรา 172 ใหม่) หมายถึงผู้ที่จะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ หากนิติกรรมที่กล่าวอ้างว่าเป็นโมฆะเป็นผลหรือไม่เป็นหรือกลับกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าบิดาโจทก์ทั้งสี่ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ส.ผู้ล้มละลาย ต่อมาบิดาโจทก์ทั้งสี่ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ทั้งสี่ และจำเลยให้การต่อสู้ว่าบิดาโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก ส.ขณะที่ส. เป็นบุคคลล้มละลาย นิติกรรมซื้อขายเป็นโมฆะโจทก์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ดังนี้จำเลยจึงเป็นผู้ที่จะได้ประโยชน์จากที่นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างส. กับบิดาโจทก์ทั้งสี่เป็นโมฆะจำเลยจึงชอบที่จะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินในคดีล้มละลาย และสิทธิการเข้าเป็นคู่ความของผู้รับจำนอง
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดแล้วอำนาจในการจัดการทรัพย์สินทั้งปวงตลอดจนการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมตกอยู่แก่ผู้คัดค้าน ตามบทบัญญัติมาตรา 22,23,24 และ 25 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บรรดาเจ้าหนี้ของจำเลยทั้งสองจะขอรับชำระหนี้ได้ แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 เท่านั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยทรัพย์พิพาทโดยเหตุที่ผู้คัดค้านไม่ให้ถอนการยึดตามคำคัดค้านของผู้ร้องที่ได้ดำเนินการตามมาตรา 158 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483แล้วนั้น เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านที่จะเข้าเป็นคู่ความในคดี ผู้คัดค้านร่วมหามีสิทธิเจ้ามาต่อสู้คดีด้วยการร้องสอดเพื่อยังให้ได้รับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) แต่อย่างใดไม่ การวางเงินเพื่อประกันความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) นั้นศาลจะมีคำสั่งเช่นนั้นได้ต่อเมื่อมีการร้องขอ เมื่อผู้คัดค้านร่วมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับผู้คัดค้านผู้ร้องก็ไม่ต้องวางเงินประกันความเสียหายตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งตามคำร้องขอของผู้คัดค้านร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน-เงื่อนเวลา-การชำระหนี้-การยินยอมชำระหนี้ด้วยตั๋วอื่น-ผลผูกพัน
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเป็นตัวแทนรับเงินจากโจทก์จำนวน5 ล้านบาทเพื่อให้บริษัทกู้ เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถให้บริษัทดังกล่าวกู้โดยตรงได้เพราะอยู่ในเครือเดียวกับโจทก์ และกรรมการของโจทก์เป็นบุคคลคนเดียวกับกรรมการของบริษัทดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2510นั้น ในปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นตัวแทนโจทก์ในการให้กู้ยืมเงินดังกล่าว และในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ดังนั้น ข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยจึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกให้โจทก์ถึงกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถาม ซึ่งมีความหมายว่าทวงถามเมื่อใดก็ต้องใช้เงินทันที แต่โจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันเกี่ยวกับหนี้ของบริษัท ง.ที่มีต่อจำเลยจำนวน 5 ล้านบาทว่า หากจำเลยยังไม่ได้รับชำระหนี้จากบริษัทดังกล่าวจนครบถ้วน โจทก์ก็จะไม่ถอนเงินฝากตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกให้โจทก์ หรือจะไม่โอนตั๋วสัญญาใช้เงินหรือสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้แก่บุคคลใด อันเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้เป็นประโยชน์แก่จำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 154 เดิมดังนั้นเมื่อพิจารณาวันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินประกอบข้อตกลงดังกล่าวข้างต้นแล้ว จึงพอเข้าใจได้ว่าโจทก์จะทวงถามให้จำเลยชำระเงินหรือถอนเงินฝากตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อเมื่อบริษัท ง.ได้ชำระหนี้ให้จำเลยจำนวน 5 ล้านบาทครบถ้วนแล้ว เมื่อปรากฏว่าต่อมาบริษัท ง.ถูกกระทรวงการคลังเพิกถอนใบอนุญาตและถูกฟ้องล้มละลาย ศาลชั้นต้นสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ดังนั้นในทางแพ่งบริษัทดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของตนอีกต่อไป ซึ่งรวมทั้งไม่มีอำนาจชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินแก่จำเลย และจำเลยได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ง.ไปยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับชำระหนี้จากบริษัทดังกล่าวครบถ้วนแล้วหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดี ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์เคยมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย จำเลยมีหนังสือตอบโจทก์ว่า บริษัท ง.ถูกถอนใบอนุญาตไม่สามารถใช้เงินแก่จำเลยได้ เพื่อให้การชำระหนี้เสร็จสิ้นไปด้วยดีจำเลยขอชำระหนี้โจทก์ด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ส. และหากโจทก์ประสงค์จะใช้เงิน จำเลยก็ยินดีรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวไว้ แสดงว่าจำเลยยินยอมชำระหนี้ให้โจทก์เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ส. โดยไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้นอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ตามวันถึงกำหนดใช้เงินในตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ เมื่อโจทก์ทวงถาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินของบุคคลล้มละลาย: สิทธิอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผลของการมอบอำนาจ
ศ. เป็นบุคคลล้มละลายได้มอบอำนาจให้โจทก์โอนที่ดินที่มีโฉนดและมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) รวมจำนวน45 แปลงให้โจทก์ โดยอ้างว่า ศ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์ การที่ศ. มีชื่อในโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1773 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองดังนั้น ที่ดินทั้ง 45 แปลงดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 109(1)เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจำหน่ายหรือจัดการทรัพย์สินนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 22(1)ศ.บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 24 ศ. จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนโอนที่ดินเป็นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินในคดีล้มละลาย: สิทธิครอบครองเป็นของบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการ
โจทก์อ้างว่ามีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินตามโฉนดและ น.ส.3 ก. เพียงแต่โจทก์ให้ ศ. ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายถือไว้แทนโจทก์เท่านั้น ดังนั้นเมื่อ ศ. มีชื่อในโฉนดที่ดิน และ น.ส.3 ก.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ดังนั้น ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 109(1) เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจำหน่ายหรือจัดการทรัพย์สินนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(1)ศ. บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 24 ศ. จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนโอนที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: สิทธิครอบครองตามชื่อในทะเบียน และอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ศ.เป็นบุคคลล้มละลายได้มอบอำนาจให้โจทก์โอนที่ดินที่มีโฉนดและมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) รวมจำนวน 45 แปลงให้โจทก์ โดยอ้างว่า ศ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์ การที่ ศ.มีชื่อในโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1773 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองดังนั้น ที่ดินทั้ง 45 แปลงดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลายมาตรา 109 (1) เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจำหน่ายหรือจัดการทรัพย์สินนั้น ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 22 (1) ศ.บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายมาตรา 24 ศ.จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนโอนที่ดินเป็นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจต่อสู้คดีของลูกหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจตามมาตรา 22 และมาตรา 24 แห่งพ.ร.บ. ล้มละลายฯ ที่จะจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ ดังนั้น เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จำเลยจึงหามีอำนาจต่อสู้คดีหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินไม่ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี ฉะนั้น เมื่อการร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นการต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่งอันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ขอเข้ามาดำเนินคดีแทน จำเลยก็ไม่มีอำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจต่อสู้คดีของลูกหนี้หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 ได้กล่าวไว้ชัดแจ้งว่า เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วลูกหนี้หามีอำนาจต่อสู้คดีใด ๆ หรือการกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินไม่ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี การร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นการต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่งอันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 3จึงไม่มีอำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาด เพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว แม้จำเลยที่ 3จะได้ยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ขอเข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ก็จะดำเนินคดีเองต่อไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อการฟ้องร้องเรียกค่าภาษี และหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการชำระหนี้แทนลูกหนี้
ปรากฏตามคำฟ้องว่า ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1เด็ดขาดก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมหมดอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ อำนาจในการจัดการทรัพย์สินและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ตกเป็นของจำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ภาษีอากรได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 เมื่อที่ดินและโรงเรือนของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 มีอำนาจจัดการนั้นมี พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 7,35บัญญัติให้ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีหน้าที่เสียภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปีหรือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินแล้วแต่กรณี กับมี พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา8,38,40 บัญญัติให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินชำระค่าภาษีปีละครั้งภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมิน จำเลยที่ 2จึงมีหน้าที่ที่จะต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่และค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง แม้เป็นหนี้ที่เกิดภายหลังจากศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วก็ตาม การที่เจ้าพนักงานของกรุงเทพมหานครโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 มีหนังสือตอบว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะบังคับสิทธิเรียกร้องได้ก็แต่โดยการขอรับชำระหนี้ จำเลยที่ 2ไม่จำต้องยื่นแบบรายการเพื่อเสียภาษีแทนจำเลยที่ 1 นั้น หนังสือตอบของจำเลยที่ 2 เป็นเพียงความเห็นของจำเลยที่ 2 ในปัญหาว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจะใช้สิทธิเรียกค่าภาษีดังกล่าวได้โดยวิธีใด ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยเพื่อให้ศาลสั่งกลับหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146.
of 14