พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6703/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเกิน 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี โดยอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากร ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่เจ้าพนักงานจะประเมินภาษีโดยใช้อำนาจเองนั้นต้องกระทำภายใน 2 ปี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88/6(1)(ก)แต่หากเป็นการใช้อำนาจโดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรหรือ ผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบอำนาจหน้าที่ให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว เจ้าพนักงานประเมินสามารถประเมินได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่กำหนดเวลา 2 ปีตามมาตราดังกล่าวสิ้นสุดลง เมื่อคดีนี้เป็นการใช้อำนาจโดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบอำนาจหน้าที่ให้สั่งและปฏิบัติราชการแทน กรณีจึงสามารถประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีตามมาตรา 88/6 วรรคหนึ่ง (1)(ก) ได้ แต่ต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีคือวันที่ 15 ของเดือนถัดไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสองคดีนี้ต้องเริ่มนับแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายแห่งกำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีมกราคม 2536 เมื่อเจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมตามหนังสือแจ้งการประเมินและแจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2540 จึงยังอยู่ภายในระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรา 88/6 วรรคท้าย และเมื่อการประเมินให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมสำหรับเดือนภาษีมกราคม 2536ยังอยู่ภายในระยะเวลา 5 ปีแล้ว การประเมินให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมสำหรับทุกเดือนภาษีของปี 2536ก็ย่อมยังอยู่ภายในระยะเวลา 5 ปีดังกล่าวด้วย การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว ในชั้นชี้สองสถาน ศาลภาษีอากรกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงประเด็นเดียวแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย เลื่อนคดีไปนัดฟังคำพิพากษาซึ่งหลังจากมีคำสั่งเช่นนี้แล้วก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางไว้ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ศาลสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาทตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรพ.ศ. 2539 ข้อ 16 วรรคท้าย คงเพิกเฉยเรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ต้องถือว่าโจทก์สละประเด็นข้อพิพาทอื่นแล้วการหยิบยกประเด็นอื่นมากล่าวไว้ในคำแถลงการณ์ปิดคดี ไม่ถือว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลภาษีอากรกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องยักยอกทรัพย์ไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดทรัพย์สินที่ถูกยักยอก และโจทก์มีส่วนรับผิดชอบในการเสียภาษี
ฟ้องคดีอาญาที่มิได้บรรยายให้ได้ความชัดว่าจำเลยยักยอกเงินที่พวกโจทก์มอบให้จำเลยไปเสียภาษีเท่าใด คงกล่าวไว้มีใจความสำคัญแต่เพียงจำนวนเงินที่มอบให้จำเลยไป จำนวนที่ต้องเสียภาษีรายเดือน จำนวนเงินเหลือรายเดือน จำนวนที่เหลือนี้ได้ตกลงให้จำเลยเก็บรักษาไว้เสียภาษีปลายปี เมื่อโจทก์ถูกสรรพากรเรียกไปพบหาว่าเสียภาษีไม่ครบจึงทราบว่าจำเลยยักยอกเงินที่มอบไป โดยเสียภาษีไม่ครบเท่านั้นฟ้องของโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับทรัพย์หรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับข้อหาว่าจำเลยเบียดบังยักยอกไปอันเป็นสารสำคัญฟ้องของโจทก์ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158
โจทก์ได้เห็นและทราบรายการที่ได้กรอกไว้ในแบบ ภ.ค.4เพื่อชำระภาษีการค้าที่จำเลยนำมาให้โจทก์เซ็นชื่อเป็นผู้ยื่น โจทก์ได้เซ็นชื่อลงไป จึงต้องรับผิดชอบในความถูกต้องแท้จริงของข้อความตลอดจนจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี เพราะเป็นการกระทำของโจทก์เอง
โจทก์ได้เห็นและทราบรายการที่ได้กรอกไว้ในแบบ ภ.ค.4เพื่อชำระภาษีการค้าที่จำเลยนำมาให้โจทก์เซ็นชื่อเป็นผู้ยื่น โจทก์ได้เซ็นชื่อลงไป จึงต้องรับผิดชอบในความถูกต้องแท้จริงของข้อความตลอดจนจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี เพราะเป็นการกระทำของโจทก์เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องยักยอกเงินภาษีไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดทรัพย์สิน และความรับผิดของโจทก์จากการลงชื่อรับรองเอกสาร
ฟ้องคดีอาญาที่มิได้บรรยายให้ได้ความชัดว่าจำเลยยักยอกเงินที่พวกโจทก์มอบให้จำเลยไปเสียภาษีเท่าใด คงกล่าวไว้มีใจความสำคัญแต่เพียงจำนวนเงินที่มอบให้จำเลยไป จำนวนที่ต้องเสียภาษีรายเดือน จำนวนเงินเหลือรายเดือน จำนวนที่เหลือนี้ได้ตกลงให้จำเลยเก็บรักษาไว้เสียภาษีปลายปี เมื่อโจทก์ถูกสรรพากรเรียกไปพบหาว่าเสียภาษีไม่ครบจึงทราบว่าจำเลยยักยอกเงินที่มอบไป โดยเสียภาษีไม่ครบเท่านั้น ฟ้องของโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกียวกับทรัพย์หรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับข้อหาว่าจำเลยเบียดบังยักยอกไปอันเป็นสารสำคัญ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
โจทก์ได้เห็นและทราบรายการที่ได้กรอกไว้ในแบบ ภ.ค.4 เพื่อชำระภาษีการค้าที่จำเลยนำมาให้โจทก์เซ็นชื่อเป็นผู้ยื่น โจทก์ได้เซ็นชื่อลงไป จึงต้องรับผิดชอบในความถูกต้องแท้จริงของข้อความตลอดจนจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี เพราะเป็นการกระทำของโจทก์เอง
โจทก์ได้เห็นและทราบรายการที่ได้กรอกไว้ในแบบ ภ.ค.4 เพื่อชำระภาษีการค้าที่จำเลยนำมาให้โจทก์เซ็นชื่อเป็นผู้ยื่น โจทก์ได้เซ็นชื่อลงไป จึงต้องรับผิดชอบในความถูกต้องแท้จริงของข้อความตลอดจนจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี เพราะเป็นการกระทำของโจทก์เอง