คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ม. 56

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5848/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอโอนนาต้องปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายเช่าที่ดินฯ คือต้องผ่าน คชก.ก่อน จึงจะมีสิทธิฟ้องต่อศาล
การฟ้องขอให้ผู้รับโอนโอนนาให้แก่ผู้เช่านาโดยอ้างว่าผู้ให้เช่าขายนาไปโดยมิได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบนั้น ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายเสียก่อน กล่าวคือผู้เช่าจะต้องร้องขอต่อคชก.ตำบล เพื่อวินิจฉัยก่อน ตามมาตรา 54 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เมื่อ คชก.ตำบล วินิจฉัยเป็นประการใด ผู้ไม่พอใจมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัย แต่ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.ตำบล มีคำวินิจฉัยมิฉะนั้นให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด และหากมีการอุทธรณ์ต่อไปยัง คชก.จังหวัด และยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด ผู้ไม่พอใจจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัย แต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัด มีคำวินิจฉัย ตามมาตรา 56 และ 57 คำว่า อาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลต่อ คชก.จังหวัดตาม มาตรา 56 ของพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 หมายความว่า "มีสิทธิ" คู่กรณีจะใช้สิทธิก็ได้ ไม่ใช้สิทธิก็ได้ กล่าวคือเมื่อ คชก.ตำบล มีคำวินิจฉัยแล้ว ไม่ว่าฝ่ายใดจะพอใจหรือไม่พอใจก็ตามมีสิทธิที่จะเลือกอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัดหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าเลือกที่จะไม่อุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลก็ถึงที่สุด ตามมาตรา 56 วรรคสอง เมื่อถึงที่สุดแล้วคู่กรณีจะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์หรือฟ้องต่อศาล เมื่อโจทก์ใช้สิทธิขอซื้อนาพิพาทภายในกำหนดเวลาสองหรือสามปีต่อ คชก.ตำบล หรือ คชก.จังหวัด แล้ว แม้ คชก.ตำบล หรือ คชก.จังหวัดจะได้มีคำวินิจฉัยเลยกำหนดสองปีหรือสามปีตามมาตรา 54 วรรคแรกก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วโจทก์ยังมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด ต่อศาลภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา 57 วรรคแรก ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก. และผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอันเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดิน
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 56บัญญัติให้มีการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด ได้โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล การที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบล ต่อนายอำเภอและประธาน คชก.ตำบล ผ่านนายอำเภอ โดยปลัดอำเภอซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ คชก.ตำบล เป็นผู้รับหนังสือก็ตาม เมื่อปรากฏว่าประธาน คชก.ตำบลไม่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1ได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงเป็นที่สุด เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ยอมขายนาพิพาทให้โจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันเป็นที่สุดดังกล่าว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 58 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก. ต้องยื่นต่อประธาน คชก. หากไม่ถึงประธาน ถือว่าไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยเป็นที่สุด
การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล(คชก.ตำบล) จะต้องยื่นอุทธรณ์โดยทำเป็นหนังสือต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลในกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัย แต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่คณะกรรมการฯ ได้มีคำวินิจฉัย เมื่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลไม่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล ต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด (คชก.จังหวัด) คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลจึงเป็นที่สุด เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยที่ 1 ไม่ยอมขายนาพิพาทให้โจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันเป็นที่สุดของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ ตาม พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 58 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก. ต้องยื่นต่อประธาน คชก.ตำบลโดยตรง การยื่นผ่านบุคคลอื่นถือเป็นโมฆะ ทำให้คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลมีผลผูกพัน
พระราชบัญญัติ ญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56บัญญัติให้มีการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัดได้โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล การที่จำเลยที่ 1ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อนายอำเภอและประธาน คชก.ตำบลผ่านนายอำเภอ โดยปลัดอำเภอซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ คชก.ตำบลเป็นผู้รับหนังสือก็ตาม เมื่อปรากฏว่าประธาน คชก.ตำบลไม่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของคชก.ตำบล จึงเป็นที่สุด เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ยอมขายนาพิพาทให้โจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันเป็นที่สุดดังกล่าว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 58 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจ คชก. และการใช้สิทธิทางศาล: การบุกรุกที่ดินจากการบังคับใช้คำสั่ง
คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่าที่พิพาทซึ่งไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลหรือคชก.จังหวัดแล้วแต่กรณี ต้องใช้สิทธิทางศาล แม้โจทก์จะฝ่าฝืนคำสั่งของ คชก.ตำบล และมีความผิดตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ฯ มาตรา 62 คชก.ตำบลก็ต้องใช้สิทธิทางศาลด้วย จำเลยซึ่งเป็นกรรมการ คชก.ตำบลจึงไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถในไร่อ้อยของโจทก์ และมีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจ คชก. และสิทธิทางศาล: การบังคับคดีและการบุกรุกหลังสิ้นสุดสัญญาเช่า
คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่าที่พิพาทซึ่งไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลหรือ คชก. จังหวัดแล้วแต่กรณี ต้องใช้สิทธิทางศาล แม้โจทก์จะฝ่าฝืนคำสั่งของ คชก.ตำบล และมีความผิดตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมฯ มาตรา 62 คชก.ตำบลก็ต้องใช้สิทธิทางศาลด้วย จำเลยซึ่งเป็นกรรมการ คชก.ตำบลจึงไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถในไร่อ้อยของโจทก์ และมีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สิทธิผู้เช่าช่วง การบอกเลิกสัญญา และอำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่าที่ดิน
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ นั้น กฎหมายประสงค์ให้ความคุ้มครองถึงผู้เช่าช่วงโดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าด้วย นาย ท.บิดานาย ป.เช่าที่ดินพิพาทเนื้อที่ถึง 298 ไร่ จากนาง จ.มารดาโจทก์มาตั้งแต่ปี 2500 ทั้งผู้เช่าช่วงจากนาย ป.ก็เป็นผู้เช่าช่วงชุดเดิมจากนาย ท. ยิ่งกว่านี้ในสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับนาย ป.ยังขีดข้อความว่า"จะไม่เอาที่ดินที่เช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนให้ผู้อื่นเช่าต่อไป" ออก และมีลายเซ็นชื่อของโจทก์กำกับไว้ด้วย แสดงให้เห็นว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมให้นาย ป.นำที่ดินพิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงนาย ป.จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว สัญญาเช่ากำหนด 1 ปีก็ต้องถือว่ามีกำหนด 6 ปี นับแต่วันทำสัญญาเช่า
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่านาย ป.เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์เพื่อเกษตรกรรมแล้วจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัด จำเลยที่ 4ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลจึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของนาย ป. การที่จำเลยที่ 4 ได้รับคำร้องของ นาย ป.โดยมีภาพถ่ายสัญญาเช่าและหนังสือบอกเลิกการเช่าแนบมาด้วยแล้วมีความเห็นว่า การบอกเลิกการเช่าเป็นการไม่ชอบตามมาตรา 31, 34,36 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากการบอกเลิกการเช่าของโจทก์ไม่ได้แจ้งเหตุผลตามมาตรา 36 และโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่าต่อจำเลยที่ 4 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์มาชี้แจง เพราะตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติให้อำนาจซึ่งอยู่ในดุลพินิจว่าจะใช้อำนาจหรือไม่ หาใช่เป็นบทบัญญัติบังคับคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลหรือจังหวัดต้องเรียกผู้ให้เช่ามาชี้แจง ยิ่งกว่านี้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลได้วินิจฉัยลงมติเป็นเอกฉันท์โดยให้เหตุผลทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่าการบอกเลิกการเช่าของโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การพิจารณาของจำเลยที่ 4 จึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้จะเป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ของนายเทียนชัยกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลที่ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์แล้วปล่อยเรื่องทิ้งไว้เป็นปีจนกระทั่งย้ายไปรับราชการที่อื่น ไม่ดำเนินการส่งคำอุทธรณ์ไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันรับคำอุทธรณ์ก็ตาม แต่ตามมาตรา 56 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลตกไปหรือไม่มีผลบังคับหรือขาดอายุความ กำหนด15 วันดังกล่าวจึงเป็นแต่เพียงมุ่งหมายที่จะให้ดำเนินการไปโดยรวดเร็วไม่ชักช้าเท่านั้น หาได้มีผลทำให้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่านาเพื่อเกษตรกรรม สิทธิผู้เช่าช่วง และอำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่าที่ดิน
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ นั้น กฎหมายประสงค์ให้ความคุ้มครองถึงผู้เช่าช่วงโดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าด้วย นายท.บิดานาย ป.เช่าที่ดินพิพาทเนื้อที่ถึง298 ไร่ จากนาง จ. มารดาโจทก์มาตั้งแต่ปี 2500 ทั้งผู้เช่าช่วงจากนายป.ก็เป็นผู้เช่าช่วงชุดเดิมจากนาย ท. ยิ่งกว่านี้ในสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับนายป.ยังขีดข้อความว่า "จะไม่เอาที่ดินที่เช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนให้ผู้อื่นเช่าต่อไป" ออก และมีลายเซ็นชื่อของโจทก์กำกับไว้ด้วย แสดงให้เห็นว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมให้นายป.นำที่ดินพิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงนายป.จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว สัญญาเช่ากำหนด 1 ปีก็ต้องถือว่ามีกำหนด 6 ปี นับแต่วันทำสัญญาเช่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่านาย ป.เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์เพื่อเกษตรกรรมแล้วจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัด จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลจึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของนาย ป. การที่จำเลยที่ 4 ได้รับคำร้องของนายป.โดยมีภาพถ่ายสัญญาเช่าและหนังสือบอกเลิกการเช่าแนบมาด้วยแล้วมีความเห็นว่าการบอกเลิกการเช่าเป็นการไม่ชอบตามมาตรา 31,34,36 แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว เนื่องจากการบอกเลิกการเช่าของโจทก์ไม่ได้แจ้งเหตุผลตามมาตรา 36 และโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่าต่อจำเลยที่ 4 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์มาชี้แจง เพราะตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติให้อำนาจซึ่งอยู่ในดุลพินิจว่าจะใช้อำนาจหรือไม่ หาใช่เป็นบทบัญญัติบังคับคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลหรือจังหวัดต้องเรียกผู้ให้เช่ามาชี้แจง ยิ่งกว่านี้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลได้วินิจฉัยลงมติเป็นเอกฉันท์โดยให้เหตุผลทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่าการบอกเลิกการเช่าของโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การพิจารณาของจำเลยที่ 4จึงชอบด้วยกฎหมาย แม้จะเป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ของนายเทียนชัยกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลที่ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์แล้วปล่อยเรื่องทิ้งไว้เป็นปีจนกระทั่งย้ายไปรับราชการที่อื่น ไม่ดำเนินการส่งคำอุทธรณ์ไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันรับคำอุทธรณ์ก็ตาม แต่ตามมาตรา 56วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลตกไปหรือไม่มีผลบังคับหรือขาดอายุความ กำหนด 15 วันดังกล่าวจึงเป็นแต่เพียงมุ่งหมายที่จะให้ดำเนินการไปโดยรวดเร็วไม่ชักช้าเท่านั้น หาได้มีผลทำให้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัด: การข้ามขั้นตอนตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ และสิทธิของผู้เช่าที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ซึ่งเป็นการขอให้แก้ไขหรือยกเลิกมติของคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล ก่อนที่จะมีการอุทธรณ์ตามพ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56 เป็นการข้ามขั้นตอนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย เพราะเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก. ต้องเป็นกรณีมีปัญหาความสัมพันธ์ผู้เช่า-ผู้ให้เช่าเท่านั้น
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 56,57 ผู้ที่จะมีสิทธิร้องขอต่อ คชก.ตำบล วินิจฉัยเกี่ยวกับ ที่ดินที่เช่า และอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลต่อ คชก.จังหวัด เมื่อ ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ นั้น จะ ต้องเป็นกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า แต่ ขณะ ที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับโจทก์ มิใช่ผู้เช่า นา พิพาท จาก จำเลยจึงมิใช่ผู้เช่าตามพระราชบัญญัตินี้ โจทก์จึง ไม่มี สิทธิ ร้องขอ ต่อ คชก.ตำบล วินิจฉัยหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัด ต่อ ศาล โจทก์ จึงไม่อาจนำปัญหาในฐานะผู้เช่านาเดิม และการเช่าระงับไปแล้วนั้นมาอาศัยสิทธิดังกล่าวได้.
of 6