คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 388

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายกำหนดเวลาส่งมอบเป็นสาระสำคัญ ผู้ซื้อไม่พร้อมรับมอบ ถือผิดสัญญา ผู้ขายริบเงินมัดจำได้
สัญญาซื้อขายเครื่องปรับอากาศที่กำหนดให้โจทก์ผู้ซื้อตระเตรียมสถานที่สำหรับการติดตั้งเดินสายไฟฟ้า และติดสวิตช์สำหรับเครื่องปรับอากาศให้แก่จำเลยผู้ขาย ย่อมเป็นสัญญาที่ถือเอากำหนดเวลาและวิธีการส่งมอบเป็นข้อสาระสำคัญ เมื่อถือกำหนดส่งมอบตามสัญญา โจทก์ไม่มีโรงแรมให้จำเลยเข้าติดตั้งส่งมอบเครื่องปรับอากาศ เป็นกรณีที่โจทก์ละเลยไม่รับชำระหนี้จากจำเลย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 และมีสิทธิริบเงินมัดจำตามมาตรา 378(2).(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขสถานที่ติดตั้ง การไม่เตรียมสถานที่ตามกำหนดถือเป็นผิดสัญญา ผู้ขายมีสิทธิริบเงินมัดจำ
สัญญาซื้อขายเครื่องปรับอากาศที่กำหนดให้โจทก์ผู้ซื้อตระเตรียมสถานที่สำหรับการติดตั้งเดินสายไฟฟ้าและติดสวิตซ์สำหรับเครื่องปรับอากาศให้แก่จำเลยผู้ขาย ย่อมเป็นสัญญาที่ถือเอากำหนดเวลาและวิธีการส่งมอบเป็นข้อสาระสำคัญ เมื่อถึงกำหนดส่งมอบตามสัญญา โจทก์ไม่มีโรงแรมให้จำเลยเข้าติดตั้งส่งมอบเครื่องปรับอากาศ เป็นกรณีที่โจทก์ละเลยไม่รับชำระหนี้จากจำเลยโจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 และมีสิทธิริบเงินมัดจำตามมาตรา 378(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1873/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานเพิ่มเติมและการปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญา การผิดสัญญาเนื่องจากไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ตามกำหนด
ในวันที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนนำพยานเข้าเบิกความ จำเลยกับทนายจำเลยไม่ได้มาศาลโดยทนายจำเลยมอบฉันทะ ให้ เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและให้โจทก์สืบพยานไปฝ่ายเดียว ต่อมาจำเลยได้นำสืบ เปลี่ยนแปลงแก้ไข คำของพยานโจทก์ที่นำสืบไว้ดังกล่าว เช่นนี้ เป็นเรื่องทนายจำเลย ไม่มีโอกาสซักค้านพยานโจทก์ มิใช่ทนายจำเลยไม่ถามค้านเพื่อเอาเปรียบ ในเชิงคดีเมื่อ เรื่องที่จำเลยนำสืบนั้นตรงตามข้อต่อสู้ในคำให้การ ซึ่งเป็น ประเด็นข้อพิพาทในคดีแล้ว ข้อนำสืบของจำเลยจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 ทั้งในวรรคสามของมาตรานี้ยังให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังคำพยานเช่น ว่านี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้อีกด้วย
สัญญาได้กำหนดเวลาให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้แก่จำเลยไว้ชัดแจ้งแล้ว ไม่มีระบุไว้ในข้อใดให้โจทก์ต้องสอบถามจำเลยก่อนชำระหนี้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตาม สัญญาเพราะโจทก์ ไม่อาจกระทำการชำระหนี้ได้ภายในเวลาที่ กำหนดไว้ดังกล่าว โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1873/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลังสืบพยานไปฝ่ายเดียว และการผิดสัญญาจากการไม่ปฏิบัติตามกำหนดเวลา
ในวันที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนนำพยานเข้าเบิกความจำเลยกับทนายจำเลยไม่ได้มาศาลโดยทนายจำเลยมอบฉันทะ ให้ เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและให้โจทก์สืบพยานไปฝ่ายเดียวต่อมาจำเลยได้นำสืบ เปลี่ยนแปลงแก้ไข คำของพยานโจทก์ที่นำสืบไว้ดังกล่าวเช่นนี้ เป็นเรื่องทนายจำเลย ไม่มีโอกาสซักค้านพยานโจทก์มิใช่ทนายจำเลยไม่ถามค้านเพื่อเอาเปรียบ ในเชิงคดีเมื่อ เรื่องที่จำเลยนำสืบนั้นตรงตามข้อต่อสู้ในคำให้การ ซึ่งเป็น ประเด็นข้อพิพาทในคดีแล้วข้อนำสืบของจำเลยจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 ทั้งในวรรคสามของมาตรานี้ยังให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังคำพยานเช่น ว่านี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้อีกด้วย สัญญาได้กำหนดเวลาให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้แก่จำเลยไว้ชัดแจ้งแล้ว ไม่มีระบุไว้ในข้อใดให้โจทก์ต้องสอบถามจำเลยก่อนชำระหนี้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตาม สัญญาเพราะโจทก์ ไม่อาจกระทำการชำระหนี้ได้ภายในเวลาที่ กำหนดไว้ดังกล่าว โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินมีเงื่อนไขโฉนดเป็นสำคัญ ผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำคืน
สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีข้อความระบุชัดว่า ผู้จะซื้อซึ่งหมายถึงโจทก์จะต้องจ่ายเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือทั้งหมดต่อเมื่อผู้ขายคือจำเลย จัดทำหนังสือสำคัญให้แล้วเสร็จ (โฉนด) ภายใน 12 เดือน ถ้าหลักฐาน ไม่เสร็จผู้ซื้อไม่รับโอน โดยผู้จะซื้อจะต้องจ่ายเงินให้หมดงวดสุดท้าย ภายในวันครบกำหนดที่ให้จำเลยจัดทำหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ซื้อที่ยึดถือเอาโฉนดที่ดินเป็นข้อสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้จัดการทำโฉนดที่ดิน แปลงที่จะขายให้แก่โจทก์ จนเลยระยะเวลาตามสัญญา เป็นการละเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้ โดยมิพักต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 แต่เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย ตามตำบลที่อยู่ของจำเลยในปัจจุบัน โดยส่งทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแต่จำเลยไม่ยอมรับ กรณีถือได้ว่าโจทก์ ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วจำเลยต้องคืนมัดจำให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกำหนดชำระเงินในสัญญาจะซื้อขาย และผลของการผิดนัดชำระเงินตามสัญญา
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อ 2 กำหนดว่า โจทก์ผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินค่าซื้อที่ดินโดยแบ่งเป็น 3 งวด งวดที่ 3 ชำระในวันที่ 10 กรกฎาคม 2522 และข้อ 5 กำหนดว่า" ผู้จะซื้อให้สัญญาว่า ถ้าผู้จะซื้อผิดนัดการชำระเงินตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 ผู้จะซื้อยินดีให้ผู้จะขายถือว่าผู้จะซื้อผิดสัญญา และยินดีให้ผู้จะขายริบเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมด โดยมิต้องบอกกล่าวใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ถือว่าสัญญาฉบับนี้สะดุดหยุดลงด้วย" การที่จำเลยยินยอมให้โจทก์แก้วันที่ในเช็คซึ่งชำระเงินงวดที่ 3 จากวันที่ 10 กรกฎาคม 2522 เป็นวันที่10 กันยายน 2522 เป็นการตกลงเลื่อนกำหนดการชำระเงินออกไปโดยกำหนดวันชำระเงินใหม่ไว้แน่นอนเช่นเดิมไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีไม่ถือเคร่งครัดตามกำหนดการชำระเงิน ความตกลงเช่นนี้แปลได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงกันเปลี่ยนกำหนดชำระเงินงวดที่ 3 ในข้อ 2 แห่งสัญญาเสียใหม่เท่านั้นหากระทบกระทั่งถึงสัญญาข้อ 5 ไม่ ดังนั้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของโจทก์ไม่พอจ่าย เป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้รับชำระเงินงวดที่ 3 ตามกำหนดใหม่ จึงถือว่าโจทก์ผิดนัดชำระเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อ 2 มีผลทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วและสัญญาเป็นอันเลิกกันตามสัญญาข้อ 5 โดยหาต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาอีกไม่ และจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกำหนดชำระหนี้ และผลกระทบต่อสิทธิในการริบเงินตามสัญญาจะซื้อขาย
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อ 2 กำหนดว่าโจทก์ผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินค่าซื้อที่ดินโดยแบ่งเป็น 3 งวด งวดที่ 3 ชำระในวันที่ 10 กรกฎาคม 2522 และข้อ 5 กำหนดว่า 'ผู้จะซื้อให้สัญญาว่า ถ้าผู้จะซื้อ ผิดนัดการชำระเงินตามที่ระบุไว้ในข้อ 2. ผู้จะซื้อยินดี ให้ผู้จะขายถือว่าผู้จะซื้อผิดสัญญา และยินดีให้ผู้จะขาย ริบเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมด โดยมิต้องบอกกล่าวใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ถือว่าสัญญาฉบับนี้สะดุดหยุดลงด้วย'. การ ที่จำเลยยินยอมให้โจทก์แก้วันที่ในเช็คซึ่งชำระเงินงวดที่ 3 จากวันที่ 10 กรกฎาคม 2522 เป็นวันที่ 10 กันยายน 2522 เป็นการตกลงเลื่อนกำหนดการชำระเงินออกไปโดยกำหนดวันชำระเงินใหม่ไว้แน่นอนเช่นเดิมไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีไม่ถือเคร่งครัดตามกำหนดการชำระเงิน ความตกลงเช่น นี้แปลได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงกันเปลี่ยนกำหนดชำระเงินงวดที่ 3 ในข้อ 2 แห่งสัญญาเสียใหม่เท่านั้นหากระทบกระทั่ง ถึงสัญญาข้อ 5 ไม่ ดังนั้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เพราะเงินในบัญชีของโจทก์ไม่พอจ่าย เป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้รับชำระเงินงวดที่ 3 ตามกำหนดใหม่ จึงถือว่าโจทก์ผิดนัดชำระเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อ 2 มีผลทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วและสัญญาเป็น อันเลิกกันตามสัญญาข้อ 5 โดยหาต้องบอกกล่าวเลิกสัญญา อีกไม่ และจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายใน ระยะเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา ความผิดของผู้ว่าจ้างในการไม่ส่งมอบพื้นที่ และสิทธิในการบอกเลิกสัญญา
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคาร จำเลยผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ต้องมอบพื้นที่และกำหนดแนวเขตพื้นที่ที่โจทก์จะต้องก่อสร้าง การที่จำเลยสั่งระงับการก่อสร้าง เฉพาะการวางผังและตอกเสาเข็มรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นนั้นเป็นความผิดของจำเลยที่ไม่ตรวจแนวเขตที่ดินให้แน่นอนเสียก่อน จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ไม่สามารถให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาต่อไปได้แต่ในสัญญาจ้างเหมาไม่มีข้อสัญญาให้สิทธิในการบอกเลิกสัญญาไว้เลย สิทธิในการบอกเลิกสัญญาจึงย่อมมีอยู่เฉพาะตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้นแม้สัญญาจ้างเหมาจะกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนแต่เมื่อมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นข้อสำคัญอีกต่อไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยดำเนินการให้โจทก์ลงมือก่อสร้างต่อไปโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยแก้ไขข้อขัดข้อง ไม่สามารถแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดให้แล้ว โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ หากโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติดังกล่าว โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อโจทก์ยังไม่มีแม้แต่สิทธิที่จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา การผิดสัญญา การบอกเลิกสัญญา และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคาร จำเลยผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ต้องมอบพื้นที่และกำหนดแนวเขตพื้นที่ที่โจทก์จะต้องก่อสร้างการที่จำเลยสั่งระงับการก่อสร้างเฉพาะการวางผังและตอกเสาเข็มรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นนั้นเป็นความผิดของจำเลยที่ไม่ตรวจแนวเขตที่ดินให้แน่นอนเสียก่อนจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ไม่สามารถให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาต่อไปได้แต่ในสัญญาจ้างเหมาไม่มีข้อสัญญาให้สิทธิในการบอกเลิกสัญญาไว้เลย สิทธิในการบอกเลิกสัญญาจึงย่อมมีอยู่เฉพาะตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้นแม้สัญญาจ้างเหมาจะกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน แต่เมื่อมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นข้อสำคัญอีกต่อไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยดำเนินการให้โจทก์ลงมือก่อสร้างต่อไปโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยแก้ไขข้อขัดข้อง ไม่สามารถแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดให้แล้ว โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ หากโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติดังกล่าว โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อโจทก์ยังไม่มีแม้แต่สิทธิที่จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791-2792/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของตัวแทน, หนังสือมอบอำนาจ, สัญญาซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญา, ค่าบำเหน็จนายหน้า
นิติบุคคลที่จะเป็นตัวแทนฟ้องความแทนผู้อื่นตามที่ได้รับมอบอำนาจไม่จำต้องมีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนฟ้องความอีกต่างหากถ้าเรื่องที่เป็นความอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 263/2503)
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศ มีการรับรองโดยเจ้าหน้าที่ศาลแห่งเมืองนั้นโดยมีสถานกงสุลไทยรับรองมาอีกชั้นหนึ่งว่าตราที่ประทับในหนังสือมอบอำนาจเป็นตราที่ถูกต้องของศาลชั้นสูงใบมอบอำนาจนี้ถือว่าถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
โจทก์และจำเลยมีเจตนาจะให้วัตถุประสงค์แห่งสัญญาซื้อขายเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยก็ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อนตามมาตรา 387 แต่เมื่อจำเลยมิได้บอกเลิกสัญญากลับขอให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาต่อไปโดยไม่ถือว่าโจทก์ผิดสัญญาถือว่าจำเลยและโจทก์มิได้ถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญต่อไปต่อมาจำเลยจะบอกเลิกสัญญากับโจทก์ทันทีไม่ได้ต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาก่อนเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาได้
เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้ชี้ช่องให้โจทก์ที่ 1 และจำเลยได้ทำสัญญากันเสร็จจำเลยก็ต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามที่จำเลยกับโจทก์ที่ 2 ได้ตกลงกันไว้โดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่สัญญาจะได้ปฏิบัติตามสัญญานั้นในเวลาต่อไปหรือไม่
of 15