คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 388

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย: การผิดสัญญาชำระมัดจำและการบอกเลิกสัญญา
ในหนังสือสัญญาจะซื้อขายกำหนดว่าโจทก์วางมัดจำไว้เป็นเงิน500,000 บาท แต่ในวันทำสัญญานั้นมีการวางมัดจำเพียง 150,000 บาท ไม่ครบตามสัญญาเนื่องจากเช็คที่โจทก์จ่ายเป็นค่ามัดจำอีก 350,000 บาท ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้การวางมัดจำแต่เพียงอย่างเดียวจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้แล้วก็ตาม แต่เมื่อคู่สัญญามีเอกสารที่เป็นหนังสือจึงต้องผูกพันกันตามข้อความที่ทำเป็นหนังสือนั้น เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันว่าต้องวางมัดจำเป็นเงิน 500,000 บาทก็จะต้องผูกพันกันตามนั้น เมื่อโจทก์วางมัดจำเพียง 150,000 บาท ไม่ครบตามสัญญาจึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
ก่อนที่โจทก์และฝ่ายจำเลยจะทำสัญญาจะซื้อขาย โจทก์และฝ่ายจำเลยได้เคยทำสัญญาซื้อขายกันมา 2 ฉบับแล้ว การที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินแปลงเดียวกันเป็นฉบับใหม่ขึ้นอีกก็สืบเนื่องมาจากโจทก์ผู้จะซื้อไม่ชำระเงินตามที่กำหนดไว้ในสัญญาฉบับก่อน ฉะนั้น การทำสัญญาจะซื้อขายโดยฝ่ายโจทก์สั่งจ่ายเช็คเป็นการชำระเงินมัดจำตามสัญญาส่วนหนึ่งนั้น ย่อมเห็นได้ในเบื้องต้นแล้วว่าคู่สัญญามีเจตนาจะให้การชำระเงินมัดจำตามจำนวนเงินและตามวันที่ลงในเช็คเป็นสาระสำคัญของสัญญาฉบับใหม่นั้น ทั้งยังมีบันทึกไว้ที่ด้านบนด้วยข้อความว่า ต่อเนื่องจากสัญญาจะซื้อขายฉบับเดิม แสดงให้เห็นวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาว่าเจตนาจะให้ถือเอาเรื่องการใช้เงินมัดจำตามเช็คดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของสัญญา และแม้ว่าสัญญาจะซื้อขายฉบับเดิมจะไม่ปรากฏข้อความว่าให้ผู้ขายบอกเลิกสัญญาได้ก็ตาม แต่โดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงไว้ดังกล่าวย่อมเห็นถึงวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาว่าหากโจทก์ผู้จะซื้อผิดสัญญาไม่ชำระเงินมัดจำ หรือผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ฝ่ายจำเลยผู้จะขายย่อมมีสิทธิบอกเลิกและริบมัดจำได้ทันที เมื่อปรากฏว่าเช็คซึ่งโจทก์สั่งจ่ายชำระเงินมัดจำส่วนหนึ่งใช้เงินไม่ได้ ซึ่งถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ฝ่ายจำเลยย่อมบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำเสียได้ตามข้อสัญญาดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 386 โดยจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 387แต่อย่างใด และเมื่อการเลิกสัญญาเป็นเพราะความผิดของฝ่ายโจทก์เอง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243-1244/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีข้อบกพร่องเรื่องเนื้อที่และทางเข้าออก ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องเงินคืน
จำเลยที่2เป็นโจทก์ในสำนวนหลังฟ้องอ้างว่าหลังจากทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์แล้วต่อมาได้ตรวจสอบที่ดินทราบว่าที่ดินไม่มีทางเข้าออกและเนื้อที่ขาดหายไปประมาณ3ไร่โจทก์ให้การสู้คดีโดยมิได้ปฏิเสธให้แจ้งชัดว่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายมิได้มีเนื้อที่ขาดหายไปดังคำฟ้องจึงต้องฟังว่าโจทก์ยอมรับว่าที่ดินตามฟ้องเนื้อที่ขาดหายไปประมาณ3ไร่ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายระบุมีเนื้อที่รวม15ไร่2งาน36ตารางวาเมื่อเนื้อที่ขาดหายไปประมาณ3ไร่การขาดหายจึงเกินจำนวนร้อยละห้าจำเลยที่2ผู้ซื้อจึงมีสิทธิบอกปัดไม่รับโอนที่ดินดังกล่าวจากโจทก์ได้ จำเลยที่1อายัดเช็คค่าดอกเบี้ยตามสัญญาจะซื้อขายภายหลังจำเลยที่2ตรวจพบว่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายเนื้อที่ขาดหายไปประมาณ3ไร่ถือได้ว่าเป็นการอายัดสืบเนื่องมาจากจำเลยที่2มีสิทธิบอกปัดไม่รับโอนที่ดินและบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา466จึงไม่เป็นการประพฤติผิดสัญญาจะซื้อขายที่เป็นเหตุให้โจทก์อ้างสิทธิเบิกสัญญาและริบมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 927/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาสื่อสารโดยปริยายและการคืนเงินมัดจำ
สัญญาซื้อขายมิได้ระบุแจ้งชัดว่า หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดนัดแล้วสัญญาเป็นอันเลิกกันทันที ทั้งวัตถุประสงค์แห่งสัญญาก็เห็นได้ว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนด การที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาท โดยกำหนดโอนที่ดินภายในเดือนมกราคม 2533 แต่เมื่อครบกำหนดตามสัญญา ไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยได้บอกกล่าวหรือเตรียมการใด ๆ ที่จะทำการโอนที่ดินตามสัญญา ทั้งได้เจรจาตกลงราคาที่พิพาทกันใหม่ แต่ไม่เป็นที่ตกลงกัน ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยายแล้ว การที่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญา หรือโจทก์มีหนังสือให้ไปโอนที่พิพาทในภายหลัง หามีผลว่าเป็นการยึดถือตามสัญญาเดิม อันจะทำให้สัญญาเดิมมีผลผูกพันแต่ประการใดไม่
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยมิได้ผิดสัญญา แต่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยาย โจทก์จำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม โดยจำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 หาได้ขัดต่อสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 927/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาซื้อขายโดยปริยาย: การเจรจาใหม่แสดงเจตนาไม่ผูกพันตามสัญญาเดิม
สัญญาซื้อขายมิได้ระบุแจ้งชัดว่าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดนัดแล้วสัญญาเป็นอันเลิกกันทันทีทั้งวัตถุประสงค์แห่งสัญญาก็เห็นได้ว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ณเวลาที่กำหนดการที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทโดยกำหนดโอนที่ดินภายในเดือนมกราคม2533แต่เมื่อครบกำหนดตามสัญญาไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยได้บอกกล่าวหรือเตรียมการใดๆที่จะทำการโอนที่ดินตามสัญญาทั้งได้เจรจาตกลงราคาที่พิพาทกันใหม่แต่ไม่เป็นที่ตกลงกันถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลง เลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยายแล้วการที่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาหรือโจทก์มีหนังสือให้ไปโอนที่พิพาทในภายหลังหามีผลว่าเป็นการยึดถือตามสัญญาเดิมอันจะทำให้สัญญาเดิมมีผลผูกพันแต่ประการใดไม่ แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญาแต่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยายโจทก์จำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิมโดยจำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391หาได้ขัดต่อสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน - ความผิดสัญญาข้าราชการ - เหตุสุดวิสัย - การไล่ออกก่อนทำสัญญา
ปัญหาว่าการที่ พ. ไม่สามารถกลับเข้ารับราชการได้เพราะโจทก์มีคำสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากการกระทำผิดวินัยก่อนจำเลยทำสัญญาค้ำประกันนั้นเมื่อปรากฏตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศในสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าสำเร็จการศึกษาแล้วก็ดีหรือการศึกษาของข้าพเจ้าต้องยุติลงด้วยประการใด ๆก็ดี ข้าพเจ้าสัญญาว่า จะกลับมาปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการทันที ฯลฯ" และ ข้อ 7 มีข้อความว่า "ถ้าข้าพเจ้าผิดสัญญาข้อ 5ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินแก่กรมการศึกษานอกโรงเรียน ดังต่อไปนี้ก.ถ้าข้าพเจ้าไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการเลย ข้าพเจ้ายอมชดใช้เงินทุน หรือเงินเดือนทั้งหมด ฯลฯ" เห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของสัญญาข้อ 5 และ 7 มีความมุ่งหมายว่าหาก พ.สำเร็จการศึกษาหรือการศึกษายุติลงด้วยประการใด ๆ แล้ว พ. ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่งจึงจะถือว่าผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้สั่งให้ พ.ออกจากราชการจึงไม่ใช่กรณีที่พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง ตามสัญญาในข้อ 9 ที่มีข้อความว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ หรือในระหว่างที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ข้าพเจ้าประพฤติผิดวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออก หรือออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับ" นั้น มุ่งหมายถึง ความประพฤติของ พ. นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป มิได้มุ่งหมายถึงความประพฤติในอดีตแต่อย่างใดการที่โจทก์สั่งให้ พ. ออกจากราชการ ก็เนื่องเพราะความประพฤติผิดวินัยของ พ. ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา ดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่า พ.ผิดสัญญาดังกล่าวเมื่อพ. ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน พ. จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันข้าราชการไปศึกษาต่อ: การผิดสัญญาเกิดจากการไม่กลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง ไม่ใช่การถูกสั่งให้ออก
ปัญหาว่าการที่ พ. ไม่สามารถกลับเข้ารับราชการได้เพราะโจทก์มีคำสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากการกระทำผิดวินัยก่อนจำเลยทำสัญญาค้ำประกันนั้นเมื่อปรากฏตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศในสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าสำเร็จการศึกษาแล้วก็ดีหรือการศึกษาของข้าพเจ้าต้องยุติลงด้วยประการใด ๆ ก็ดี ข้าพเจ้าสัญญาว่า จะกลับมาปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการทันที ฯลฯ" และ ข้อ 7 มีข้อความว่า "ถ้าข้าพเจ้าผิดสัญญาข้อ 5 ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินแก่กรมการศึกษานอกโรงเรียน ดังต่อไปนี้ ก.ถ้าข้าพเจ้าไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการเลย ข้าพเจ้ายอมชดใช้เงินทุน หรือเงินเดือนทั้งหมด ฯลฯ" เห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของสัญญาข้อ 5 และ 7 มีความมุ่งหมายว่าหาก พ.สำเร็จการศึกษา หรือการศึกษายุติลงด้วยประการใด ๆ แล้ว พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่งจึงจะถือว่าผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้สั่งให้ พ.ออกจากราชการ จึงไม่ใช่กรณีที่ พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง
ตามสัญญาในข้อ 9 ที่มีข้อความว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ หรือในระหว่างที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ข้าพเจ้าประพฤติผิดวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออก หรือออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับ" นั้น มุ่งหมายถึง ความประพฤติของ พ.นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป มิได้มุ่งหมายถึงความประพฤติในอดีตแต่อย่างใด การที่โจทก์สั่งให้ พ.ออกจากราชการ ก็เนื่องเพราะความประพฤติผิดวินัยของ พ.ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา ดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่า พ.ผิดสัญญาดังกล่าว เมื่อ พ. ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน พ. จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การตีความเจตนา, วันชำระหนี้, และขอบเขตของสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยใช้แบบพิมพ์ที่ใช้กันโดยทั่วไป โจทก์ผู้ซื้อเป็นผู้กรอกข้อความในแบบพิมพ์ด้วยหมึกสีดำก่อนจึงให้จำเลยผู้ขายเติมข้อความอื่นในภายหลังด้วยหมึกสีน้ำเงิน สำหรับกำหนดวันโอนและชำระเงินส่วนที่เหลือโจทก์กรอกข้อความเฉพาะเดือนและปีคือเดือนเมษายน 2531 ไว้โดยไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายใดเติมวันที่ลงไปในช่องว่าง การที่สัญญาจะซื้อขายไม่ได้ระบุวันที่จะไปจดทะเบียนโอนและจ่ายเงินตามสัญญาส่วนที่เหลือไว้เช่นนี้จึงจะถือว่าวันที่กำหนดตามสัญญาเป็นวันที่ 29 เมษายน 2531 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 ไม่ได้ ทั้งยังถือว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงไว้จะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนดตามมาตรา 388 ก็ไม่ได้ เพราะมิได้ระบุชัดแจ้งว่าหากผู้ซื้อผิดนัดไม่นำเงินที่เหลือมาชำระให้แก่ผู้ขายตามกำหนด สัญญาจะซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันทีสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทจึงต้องบังคับตามมาตรา 387 คือจำเลยผู้ขายจะต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนิ้ภายในเวลาสมควรก่อน การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาโดยมิได้บอกกล่าวให้โจทก์ชำระเงินก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์มิใช่ผู้ผิดสัญญาสัญญายังไม่เลิกกัน โจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
เดิมที่ดินที่ซื้อขายเป็นแปลงเดียวกัน แต่ต่อมาได้จดทะเบียนแบ่งแยกเป็น 2 โฉนด คือโฉนดเลขที่ 6470 เดิม ฉบับหนึ่ง และเลขที่ 12473 อีกฉบับหนึ่ง แม้สัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทจะระบุเฉพาะโฉนดที่ 6470 แต่ได้ระบุเนื้อที่โดยประมาณว่า 30 ไร่ จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งว่าที่ดินตามสัญญามีเนื้อที่ไม่ถึง 30 ไร่ ทั้งยังนำสืบว่าที่ดินพิพาทมี 2 แปลง คือตามโฉนดเลขที่ 6470 และ12473 แสดงว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาจะซื้อที่ดินกันเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ โดยโจทก์ไปดูที่ดินนั้นแล้ว แต่โจทก์ไม่ทราบว่าที่ดินมีกี่โฉนด จึงเว้นช่องว่างไว้ในสัญญาจะซื้อขายในช่องเลขโฉนดเพื่อให้ฝ่ายจำเลยเป็นผู้กรอก โดยโจทก์กรอกข้อความส่วนที่เป็นเนื้อที่และจำนวนเงินไว้ เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้ขายก็มิได้ทักท้วงเรื่องเนื้อที่ที่ดิน ทั้ง ๆ ที่จำเลยเป็นฝ่ายทราบเรื่องนี้เพราะเป็นผู้เก็บรักษาโฉนด เชื่อว่าจำเลยมีเจตนาตรงกับโจทก์ที่จะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินประมาณ 30 ไร่ ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 132 (เดิม) ซึ่งการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร จำเลยจึงต้องโอนที่ดินทั้งสองโฉนดแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทันที พร้อมทั้งรับชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลืออีก 250,000 บาทจากโจทก์ โดยโจทก์จะชำระเงินส่วนที่เหลือทันทีในวันที่จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ยอมไปดำเนินการดังกล่าวขอให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ดังนี้ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์วางเงินค่าที่ดิน 250,000 บาท ต่อศาลเพื่อชำระหนี้แก่จำเลยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด มิฉะนั้นโจทก์หมดสิทธิซื้อที่ดินพิพาทหาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเลิกสัญญาซื้อขายและการเลือกใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับหรือค่าชดใช้ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นตามสัญญา
ตามวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับโดยสภาพหรือโดยเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่อาจระบุได้ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 เนื่องจากสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับมิได้ระบุให้ชัดแจ้งและเด็ดขาดว่าหากจำเลยที่ 1ไม่ส่งสินค้าให้โจทก์ภายในกำหนด สัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับเป็นอันเลิกกันทันที ฉะนั้น การที่โจทก์จะใช้สิทธิเลิกสัญญาก็ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ซึ่งบัญญัติเป็นหลักทั่วไปว่าถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาซื้อขายโดยไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ให้ถูกต้อง โจทก์ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 วรรคแรก และทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเงินหลักประกันจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 และถ้าโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญานี้ด้วยตามสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกจากสิทธิตามสัญญาข้อ 8 โจทก์ยังอาจใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 9 วรรคแรก กล่าวคือในกรณีที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันที่ถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยที่ 1 ผู้ขายได้นำสินค้ามาส่งให้แก่โจทก์ผู้ซื้อและตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ระบุว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้โจทก์จะใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 8 ทั้งสองวรรคนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ ดังนี้ เมื่อข้อความตามหนังสือทวงหนี้ และหนังสือบอกเลิกสัญญาทั้งสองฉบับแสดงว่าโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาทั้งสองฉบับข้อ 8 วรรคแรก โจทก์ก็ต้องรับผลของสัญญาข้อ 8 วรรคสอง โจทก์จะเลือกรับผลคนละเหตุโดยอาศัยสัญญาข้อ 9 วรรคแรกกับวรรคสองตามที่โจทก์ต้องการนั้นไม่ได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลิกสัญญาซื้อขายและการใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับ: ข้อจำกัดในการเลือกใช้สิทธิ
ตามวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับโดยสภาพหรือโดยเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่อาจระบุได้ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 เนื่องจากสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับมิได้ระบุให้ชัดแจ้งและเด็ดขาดว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งสินค้าให้โจทก์ภายในกำหนด สัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับเป็นอันเลิกกันทันที ฉะนั้น การที่โจทก์จะใช้สิทธิเลิกสัญญาก็ต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ซึ่งบัญญัติเป็นหลักทั่วไปว่าถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาซื้อขายโดยไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ให้ถูกต้อง โจทก์ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 วรรคแรก และทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเงินหลักประกันจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 และถ้าโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญานี้ด้วยตามสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกจากสิทธิตามสัญญาข้อ 8 โจทก์ยังอาจใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 9 วรรคแรก กล่าวคือ ในกรณีที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันที่ถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยที่ 1 ผู้ขายได้นำสินค้ามาส่งให้แก่โจทก์ผู้ซื้อและตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ระบุว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จะใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 8ทั้งสองวรรคนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ ดังนี้ เมื่อข้อความตามหนังสือทวงหนี้ และหนังสือบอกเลิกสัญญาทั้งสองฉบับแสดงว่าโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาทั้งสองฉบับข้อ 8 วรรคแรก โจทก์ก็ต้องรับผลของสัญญาข้อ 8 วรรคสอง โจทก์จะเลือกรับผลคนละเหตุโดยอาศัยสัญญาข้อ 9 วรรคแรกกับวรรคสองตามที่โจทก์ต้องการนั้นไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้สิทธิเก็บกินเป็นโมฆะ หากไม่แจ้งความประสงค์ภายในกำหนดเวลา ผู้รับโอนสิทธิไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
จำเลยทำสัญญาให้บริษัท ซ. จำกัดมีสิทธิเก็บกิน(การทำเหมืองแร่) ในที่ดินของจำเลยเป็นเวลา 30 ปี โดยคู่สัญญาตกลงกันว่า หากบริษัทต้องการสิทธิเก็บกินจะต้องแจ้งให้จำเลยทราบภายในเวลาที่กำหนด ดังนั้นเมื่อบริษัทไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา แต่กลับปล่อยให้เวลาล่วงเลยเป็นเวลาเกือบ20 ปี ถือได้ว่าสัญญาให้สิทธิเก็บกินของบริษัทอันจะพึงมีต่อจำเลยนั้นใช้ไม่ได้อีกต่อไป แม้โจทก์จะเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาดังกล่าว ก็ไม่อาจอ้างสิทธิเก็บกินเอาแก่จำเลยได้ เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
of 15